Home > โชคดี สมิทธิ์กิตติผล

ผู้บริโภคและอาสาสมัครฮีโร่พิทักษ์สัตว์ ยื่นจดหมายเร่งกดดัน KFC แฟรนไชส์ซี 3 ยักษ์ใหญ่ยุติการทรมานไก่อย่างเร่งด่วน

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย อาสาสมัคร และ ตัวแทนผู้บริโภคที่ใส่ใจในสวัสดิภาพสัตว์ ทำกิจกรรมรณรงค์บริเวณพื้นที่สี่แยกหลักและ บริเวณหน้าสาขา KFC ของทั้งสามแฟรนไชส์ซีในกรุงเทพฯ ได้แก่ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด,  บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด โดยเรียกร้องให้ KFC ประเทศไทย เร่งประกาศนโยบายยุติการทรมานไก่ในฟาร์มโดยด่วน เพื่อยกระดับคุณภาพของอาหารให้มีความใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์ก่อนถึงมือผู้บริโภค พร้อมเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมลงชื่อในแคมเปญ The Real Secret Recipe ผลักดันเพื่อยกระดับสวัสดิภาพไก่ให้ดีขึ้น ช่วงเช้าวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565 อาสาสมัครฮีโร่พิทักษ์สัตว์กว่า 50 คนร่วมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ พร้อมชูป้ายข้อความ “The Real Secret Recipe สูตรลับของผู้พันที่แท้จริง ผู้พันอย่าทอดทิ้งไก่” บริเวณสี่แยกไฟแดงหลัก เพื่อส่งเสียงแทนไก่จำนวนมากที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากระบบฟาร์มโรงงาน จากนั้นได้เดินทางไปยื่นจดหมายที่ KFC ประเทศไทย 3 สาขาใหญ่ เพื่อส่งข้อความถึงผู้บริหารแฟรนไชส์ซียักษ์ใหญ่ทั้ง 3 ราย โดยผ่านตัวแทนทั้ง 3 สาขา การเเสดงพลังของผู้บริโภคชาวไทย และอาสาสมัครฮีโร่พิทักษ์สัตว์ในครั้งนี้ เรียกร้องให้ร่วมผลักดันให้เกิดการยกระดับคุณภาพของอาหารในจาน ต้องไม่ได้มาจากวิธีปฏิบัติที่โหดร้ายทารุณ และในฐานะที่ KFC เป็นแฟรนไชส์ระดับโลก ให้มีนโยบายด้านสวัสดิภาพสัตว์เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ใช่เป็นลักษณะสองมาตรฐานอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ โชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญระบบอาหาร องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า 

Read More

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเห็นพ้องสหภาพยุโรป ออกกฎเข้มจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ฟาร์ม

เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรปบังคับใช้กฎหมายใหม่ที่มีผลในการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องในสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection เห็นพ้องว่าการบังคับใช้กฎหมายครั้งสำคัญนี้ถือเป็นความเคลื่อนไหวด้านนโยบายที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลก ในแต่ละปี ทั่วทวีปยุโรปมีการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มในกรงขังกว่า 300 ล้านตัว และในแต่ละปีมีการผลิตไก่พันธุ์เนื้อถึง 7,200 ล้านตัว สัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์ทรมานในฟาร์มขนาดใหญ่ และได้รับยาปฏิชีวนะทางอาหารหรือน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากวิธีการเลี้ยงที่โหดร้าย ซึ่งกฎระเบียบฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปได้กำหนดให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาสัตว์ที่ป่วยเท่านั้น (ไม่ใช่ให้รวมทั้งคอก) ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อแก้ปัญหาจากการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มที่มีสวัสดิภาพต่ำนับแต่นี้ไปจึงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ที่ผ่านมาปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นได้ส่งผลกระทบทำให้เกิดวิกฤตด้านสาธารณสุขทั่วโลก3 ในแต่ละวันมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกมากถึง 3,500 คนจากการติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (Superbugs) ซึ่งประมาณ 3 ใน 4 ของปริมาณยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ทั่วโลกถูกใช้กับสัตว์ฟาร์ม โดยเฉพาะในฟาร์มอุตสาหกรรมที่มีการเลี้ยงดูอย่างทารุณโหดร้าย ในทางกลับกันสัตว์ที่ได้รับการเลี้ยงในฟาร์มที่มีสวัสดิภาพสูงจะมีสุขภาพดีกว่า มีภูมิต้านทานโรคได้ดีกว่า และแทบไม่ต้องพึ่งพายาปฏิชีวนะ เนื่องจากทวีปยุโรปเป็นแหล่งนำเข้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้นกฎระเบียบใหม่นี้จะส่งผลกระทบไปยังผู้ผลิตทั่วโลก เนื่องจากสหภาพยุโรปจะสามารถปฏิเสธการนำเข้าสัตว์ที่มีชีวิตหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเติบโตของสัตว์ สหภาพยุโรปจะดำเนินการบังคับใช้กฎระเบียบใหม่นี้สำหรับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทั้งภายในทวีปยุโรปและรวมถึงประเทศคู่ค้า Jacqueline Mills หัวหน้าฝ่ายสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า “เราพบเห็นสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ฟาร์มในกรงขังที่น่าหดหู่ เช่น ไก่ที่มีอัตราการเจริญโตเร็วมากจนยืนไม่ได้ และลูกหมูก็ถูกตัดตอนอวัยวะอยู่เป็นประจำ สัตว์นับพันล้านตัวที่เกิดในฟาร์มอุตสาหกรรมต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ยาก นี่อาจทำให้เราได้บริโภคเนื้อสัตว์ราคาถูก แต่เรากลับลืมนึกถึงสิ่งที่ต้องแลกมาด้วยปัญหาสุขภาพของเราเอง” “วันนี้สหภาพยุโรปกำลังเดินหน้าแนวทางใหม่ที่เข้มข้นขึ้นในการแก้ไขปัญหาวิกฤต Superbugs ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ฟาร์มจะต้องยกระดับคุณภาพชีวิตสัตว์ ทุกประเทศทั่วโลกจะต้องลุกขึ้นเผชิญความจริงที่ว่า เราต้องยุติการเร่งผลิตเนื้อสัตว์ที่เต็มไปด้วยยาปฏิชีวนะที่เป็นผลจากการปกปิดปัญหาสวัสดิภาพสัตว์

Read More

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ย้ำเร่งใส่ใจ ‘สวัสดิภาพสัตว์’ ห่วงผลกระทบจากวิกฤตโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

ปัญหาวิกฤตหมูราคาแพงเกิดจากหลายสาเหตุแต่ปัจจัยที่สำคัญในขณะนี้คือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) หรือ เชื้อไวรัส "ASF" ไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบาดใน “หมู” ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่คนในสังคมตื่นตัว องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐเร่งกำหนดแนวทางการจัดการที่ชัดเจนให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ ในการจัดการโรคระบาด รวมถึงการกำจัดหมูที่ตายหรือติดโรคในฟาร์มจำนวนมหาศาล นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการโครงการสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า “จากข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2562 มีการประเมินว่ามีหมูถึง 1 ใน 4 ทั่วโลกจะตายจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เมื่อระบาดจะกำจัดโรคได้ยาก เพราะในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน หมูที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบทั้งหมด ตอนนี้ในประเทศไทย เราได้เห็นจากภาพข่าวมีซากหมูที่ถูกพบในลำน้ำสาธารณะ บริเวณพื้นที่รอบๆฟาร์มหมู ฯลฯ ที่ปรากฎในสื่อหลายสำนักข่าวตลอดช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามถึงวิธีการจัดการที่เหมาะสม มีมนุษยธรรมที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากลเพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อจัดการทำให้สัตว์ที่ได้รับผลกระทบให้ได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม เพราะหมูคือสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกกลัว เจ็บปวดและทรมาน ไม่ต่างจากคน และในฐานะที่ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เราจึงอยากเน้นย้ำให้ภาครัฐของไทยให้ความสำคัญกับแนวทางการจัดการอย่างมีมนุษยธรรมและสอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล (Humane Culling) ตามข้อแนะนำขององค์การสุขภาพสัตว์โลก เพื่อให้การควบคุมการระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเจ็บปวดทรมานของสัตว์” องค์กรฯ ได้พบกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศที่เราได้รับรายงานพบว่า มีการฝัง

Read More

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เปิดตัวเกม Piggy Run ครั้งแรกในไทย ชวนร่วมพาหมูหนีภัยผลักดันสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เปิดตัวเกม Piggy Run ครั้งแรกในไทย ชวนร่วมพาหมูหนีภัยพร้อมผลักดันสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World Animal Protection) เดินหน้ายกระดับสวัสดิภาพสัตว์ต่อเนื่อง พร้อมชวนประชาชนร่วมแก้ปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม ผ่านการร่วมเล่นเกม “Piggy Run” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเพื่อนำมาสู่การผลักดันด้านสวัสดิภาพสัตว์และยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์ม อันจะส่งผลต่อการเกิดวิกฤติเชื้อดื้อยาที่เป็นอันตรายต่อชีวิตคนจำนวนมาก นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า “ปัจจุบันสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรมยังต้องทนทุกข์ทรมานจากวิธีการเลี้ยงที่ขัดต่อสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การใช้กรงขังคอกทั้งชีวิต หรือการตัดตอนอวัยวะอย่างเจ็บปวด เป็นต้น วิธีการเหล่านี้นำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมหาศาลเพื่อป้องกันความเจ็บป่วยจากสภาพความเป็นอยู่ที่โหดร้าย และนำไปสู่การเกิดเชื้อดื้อยาในฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรมและส่งตามายังผู้บริโภค รวมถึงแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม เกม Piggy Run จึงเป็นการจำลองให้เห็นว่าสัตว์ฟาร์มต้องเจออะไรบ้าง โดยบอกเล่าผ่านหมูน้อย Piggy โดยที่ผู้เล่นต้องเผชิญความท้าทายด้วยการขยับหัวเพื่อช่วยให้หมูรอดจากภัยต่างๆ ซึ่งรับรองว่าทุกคนจะตื่นเต้นท้าทายกับสถานการณ์ในเกมพร้อมกับการได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการณรงค์ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มและลดการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคไปพร้อมกัน” เกม Piggy Run เป็นเกมแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยหมูให้รอดจากภัยร้ายต่างๆ โดยสถานการณ์ในเกมสะท้อนมาจากปัญหาการเลี้ยงหมูในฟาร์มอุตสาหกรรมที่ยังความใส่ใจด้านสวัสดิภาพ ทำให้ฟาร์มอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะแบบเกินความจำเป็นในฟาร์มเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้น โดยปราศจากการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุซึ่งมาจากการเลี้ยงที่ไม่ใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์นั่นเอง โดยปัจจุบันวิกฤติเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาปีละกว่า 38,000 คนหรือมีผู้เสียชีวิตทุกๆ 15 นาที องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมเล่นเกม Piggy Run

Read More