Home > เกษตร

ชาวบุรีรัมย์ปรับวิธีเก็บน้ำผึ้งเดือน 5 สืบสานประเพณีตีผึ้งร้อยรังช่วงโควิด

ชาวบุรีรัมย์สืบสานประเพณีตีผึ้งร้อยรัง ปรับวิธีเก็บน้ำผึ้งเดือน 5 ในช่วงโควิด-19 ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงก่อนเคอร์ฟิวเพื่อให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่สูญเสียรายได้ของชุมชน พร้อมจัดเวรยามดูแลและทำงาน อ.สำราญ ธุระตา อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หัวหน้าโครงการ “การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านอัตลักษณ์ประเพณีตีผึ้งชุมชนสายตรีพัฒนา 3 ตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์” โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า น้ำผึ้งเดือน 5 เป็นน้ำผึ้งคุณภาพดีที่หลายคนเฝ้ารอจับจองที่จะได้น้ำผึ้งแท้จากรวง ชาวชุมชนได้ช่วยกันอนุรักษ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณ โดยจะปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ให้เห็นค่าของดีในชุมชนร่วมสืบสานต่อกันมา มีกฎระเบียบของหมู่บ้านที่หารือกันไว้ว่าจะเก็บน้ำผึ้งเพียงปีละครั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้เพื่อความยั่งยืน ชุมชนเล็กๆ แห่งนี้มี "ประเพณีตีผึ้งร้อยรัง" ซึ่งเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นหนึ่งใน OTOP ท่องเที่ยว นวัตวิถี ที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่ง มีการนำเที่ยวชมผึ้งร้อยรังเพื่อชิมความหวานน้ำผึ้งเดือนห้า โดยทุกปีทางชุมชนจะร่วมกันตกแต่งสถานที่ให้สะอาดงดงามและเป็นระเบียบ มาท่องเที่ยวกัน ในทุกๆ ปี เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ชุมชนสายตรีพัฒนา 3

Read More

ชาวบุรีรัมย์ทำธนาคารอาหารสู้ภัยโควิด แนะภาคเกษตรต้องปรับตัวตลอดห่วงโซ่

สกสว.เผยชาวบ้านลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ร่วมกันพลิกฟื้นที่ดินว่างเปล่าหันมาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเป็นธนาคารอาหารของหมู่บ้านสู้ภัยโควิด-19 ในช่วงกักตัวปิดหมู่บ้าน ขณะที่นักวิชาการด้านสหกรณ์แนะหลังเปิดเมือง ภาคเกษตรต้องปรับตัวสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค พัฒนามาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ภายใต้มาตรฐานสุขอนามัย ผศ.อุทิศ ทาหอม หัวหน้าโครงการ "รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนบ้านห้วยหวายพัฒนา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์" อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจากฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ตนและคณะวิจัยชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำหนองโดนให้เป็นพื้นที่ “กินได้ เที่ยวได้ ขายได้” เมื่อมีปัญหาวิกฤตโควิด-19 ชาวบ้านจึงร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานสำหรับเป็นธนาคารอาหาร (Food Bank) หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางการได้สี่งปิดการเข้าออกหมู่บ้าน ชาวชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนาต้องกักตัว กักอาหาร เว้นห่างระยะ ตนจึงขยายผลงานวิจัยด้วยการชักชวนชาวบ้านร่วมกันพลิกฟื้นพื้นที่ว่างเปล่าของชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนารอบคูสระหนองโดน จำนวน 15 ไร่ ที่ทิ้งไว้เฉย ๆ ให้เกิดประโยชน์ ทำแปลงผักปลอดสารพิษจำนวน 51 แปลง กลายเป็นพื้นที่ทำกินของชุมชนและสร้างฐานอาหารรับมือวิกฤตโควิด-19 “แปลงผักปลอดสารพิษที่ชาวชุมชนได้ร่วมกันปลูก เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็แบ่งกันทั้งชุมชน นอกจากการบริโภคในครัวเรือนแล้วยังนำไปขายในตลาดอำเภอลำปลายมาศ และมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อในชุมชน กลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องออกไปซื้อหาอาหารภายนอกซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรค และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ การที่ชุมชนได้ยกระดับฐานทรัพยากร

Read More