Home > สินค้าขึ้นราคา

ของแพง-กำลังซื้อหด ดิ้นหากลยุทธ์ช่วงชิงยอดขาย

ทั้งราคาน้ำมัน ราคาก๊าซหุงต้ม และต้นทุนวัตถุดิบ กลายเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่เจ้าของแบรนด์สินค้ารายใหญ่ต้องดิ้นหากลยุทธ์กระตุ้นกำลังซื้อ ชนิดที่แม้แต่เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ออกมายอมรับว่า ต้นทุนสินค้ารอบนี้รุนแรงหนักหน่วงสุดในรอบ 26 ปี หรือตั้งแต่เริ่มต้นจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ ขณะเดียวกัน บรรดาแบรนด์สินค้าต่างทยอยขอขึ้นราคาขายส่งกับกลุ่มผู้ค้าส่งหรือพวกยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพราะไม่สามารถปรับราคาขายปลีก เนื่องจากถูกกระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลกดดันมาอีกต่อหนึ่ง โดยเฉพาะการประกาศขึ้นราคาขายส่งบะหมี่ซอง “มาม่า” ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลายเป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจและวิกฤตต้นทุนวัตถุดิบ หลังไม่เคยปรับราคามานานกว่า 15 ปี ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 บริษัท ไทยเพรซิเด้นท์ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ มาม่า ทยอยแจ้งการปรับขึ้นราคาสินค้าไปยังคู่ค้าต่างๆ หลังพยายามตรึงราคามาตั้งแต่ปลายปี 2564 โดยต้นทุนหลักสำคัญ เช่น แป้งสาลี น้ำมันพืช และค่าขนส่ง ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและไม่สามารถแบกรับได้อีกต่อไป รอบแรกระบุขึ้นราคาขายส่งกลุ่มเส้นสีเหลือง เช่น รสต้มยำกุ้ง รสหมูสับ โดยมาม่าแบบกล่อง 30 ซอง จากเดิมกล่องละ 143

Read More

เงินเฟ้อพุ่ง ราคาพลังงาน-อาหารสูง เศรษฐกิจโลกติดลบ

สถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน คงต้องเรียกว่าสาหัส เมื่อนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ออกแถลงตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 7.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 เงินเฟ้อที่สูงขึ้นครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอีกหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือประเทศในแถบยุโรป ซึ่งเป็นผลมาจากราคาพลังงานและอาหาร ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินเฟ้อในประเทศไทยถูกผลักดันจากราคาพลังงานกว่า 60% และราคาอาหารประมาณ 17% ซึ่งหากหักพลังงานและอาหารออก ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.28% แน่นอนว่าปัจจุบันคนไทยเริ่มมีอาการร้อนๆ หนาวๆ และพยายามเร่งปรับตัว หลายครัวเรือนปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ทว่า จำนวนเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าแม้จะมีเท่าเดิม แต่มูลค่ากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง หากภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นเช่นนี้ นอกจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น คนไทยจะต้องแบกรับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ภาครัฐยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม และทยอยปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันได การปรับขึ้นค่าเอฟที (FT) ของค่าไฟฟ้า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ทั้งเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป สินค้ากลุ่มพลังงานที่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 37.24% สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 6.18% ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนระหว่างเดือนเมษายนกับเดือนพฤษภาคม ภาพรวมค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 246 บาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าระดับเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี โดยจะมีระดับสูงสุดในช่วงไตรมาส

Read More

สินค้าขึ้นราคาสวนทางรายได้ เพิ่มความเปราะบางต่อครัวเรือน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ในภาวะยากลำบาก บางครอบครัวอาจมองว่านี่เป็นยุคข้าวยากหมากแพงก็ว่าได้ โดยก่อนหน้าที่สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการถูกปรับราคาให้สูงขึ้นในช่วงหนึ่ง เช่น ค่าไฟฟ้า ไข่ไก่ เนื้อหมู ซึ่งเกิดจากภาวะโรคระบาดในสุกรที่ส่งผลต่อกลไกตลาดโดยตรง ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าราคาเนื้อหมูและไข่ไก่เริ่มมีการปรับตัวลงและเข้าสู่ภาวะปกติ ทว่า ยังคงมีความกังวลจากภาคประชาชนอยู่ไม่น้อย เมื่อยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ปรับตัวไปแล้ว และบางรายการอาจจะทยอยปรับขึ้นในอนาคต โดยมีสาเหตุมาจากต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้น นั่นทำให้ค่าใช้จ่ายต่อภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นซึ่งสวนทางกับรายได้ของประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนช่วงหลังปีใหม่ จะไม่ได้ส่งผลให้เกิดการยกระดับมาตรการคุมเข้มการระบาด ผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงมีจำกัด แต่อย่างไรก็ตามระดับราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งอาหารสด เช่น เนื้อหมู รวมถึงราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องได้กดดันกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ส่งผลให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบันลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 30.9 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 33.2 บ่งชี้ว่าครัวเรือนยังมีมุมมองว่าค่าครองชีพจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้จัดผลสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองด้านระยะเวลาของระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นกับวิธีรับมือของครัวเรือน ผลสำรวจบ่งชี้ว่าหากครัวเรือนมีมุมมองว่าระยะเวลาที่ระดับราคาสินค้าจะอยู่ในระดับสูงยิ่งนานจะยิ่งส่งผลให้ครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายรายการที่ไม่จำเป็นออกไปเพิ่มมากขึ้น แต่หากมีมุมมองว่าระดับราคาสินค้าที่สูงจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 1 เดือน ครัวเรือนจะนำเงินออมที่มีออกมาใช้ทดแทนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าสถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนทั้งในปัจจุบันที่สะท้อนผ่านการนำเงินออมออกมาใช้และในระยะข้างหน้าที่จะมีการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง และในระยะข้างหน้าระดับราคาสินค้ามีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องหรืออย่างน้อยจนถึงสิ้นไตรมาสแรกของปี สาเหตุหลักมาจากการปรับเพิ่มขึ้นราคาพลังงานที่เป็นทั้งต้นทุนทางอ้อมของราคาสินค้าผ่านต้นทุนค่าขนส่ง การผลิต และทางตรงที่ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนผ่านค่าโดยสารและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันต่างๆ ขณะที่ภาพรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จะยังไม่สามารถกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือเยียวยาและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจากภาครัฐยังมีความจำเป็นต่อเนื่องในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีความเปราะบางสูง นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้ว่า ทางกรมฯ ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบต้นทุนน้ำมันดีเซลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ตามคำสั่งของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

Read More