Home > รัสเซีย-ยูเครน

จับตาความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร

ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การสู้รบยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลง แม้จะมีการเปรยถึงการเจรจาเพื่อหาข้อยุติระหว่างสองชาติ ทว่าจนถึงเวลานี้ การเจรจาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น แน่นอนว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นในยูเครนโดยรัสเซีย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไม่อาจเลี่ยง โดยเฉพาะในพื้นที่ยุโรป แม้จะมีการประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย โดยมีการห้ามทำธุรกรรมการค้า การลงทุน หรือการประกาศยึดทรัพย์สินของผู้นำรัสเซียแล้วก็ตาม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดความผันผวนทางตลาดเงินทั่วโลก รวมไปถึงราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และล่าสุดราคาน้ำมันดิบเช้าวันที่ 2 มีนาคม สูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ 108 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นั่นเพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และยังเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ รัสเซียและยูเครนยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น ข้าวสาลี และข้าวโพด โดย วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ในเบื้องต้นสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่าหลายฝ่ายคาดการณ์ กดดันกำลังซื้อ ต้นทุนการผลิต และสร้างความยากลำบากในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ แต่หากสถานการณ์ทวีความรุนแรงอาจส่งผลต่อภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงปัญหาการขาดแคลนไมโครชิป เนื่องจากรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตก๊าซนีออนและแร่พัลลาเดียมซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ ภาวะสงครามและการคว่ำบาตรที่รุนแรงอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะยุโรป ซึ่งเชื่อมโยงอย่างมากกับรัสเซีย ทั้งในแง่พลังงาน ภาคเศรษฐกิจ และภาคการเงิน ขณะที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ หากไม่ลุกลามบานปลายจนกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในระยะยาว

Read More