Home > รัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ

การเว้นระยะห่างทางสังคมกำหนดอนาคตร้านค้านอกห้างสรรพสินค้า

ร้านค้าปลีกเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากมาตรการต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเริ่มในช่วงต้นปี 2563 ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก เผยว่า มาตรการต่าง ๆ เพื่อการเว้นระยะห่างทางสังคม เช่น การปิดห้างสรรพสินค้าชั่วคราว การลดเวลาให้บริการลงในช่วงเคอร์ฟิว ไปจนถึงข้อกำหนดอื่น ๆ โดยเฉพาะสำหรับร้านอาหารที่ต้องลดเวลาให้บริการ กำลังเป็นตัวแปรในการกำหนดแนวโน้มการเจริญเติบโตของร้านค้านอกห้างสรรพสินค้า นางสาวจริยา ถ้ำตรงกิจกุล หัวหน้าแผนกพื้นที่ค้าปลีก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า “ผู้ค้าปลีกกำลังมองหาทางเลือกที่หลากหลายในการขยายแบรนด์ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การตั้งสาขาใหม่ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มกำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านที่ตั้งอยู่นอกห้างสรรพสินค้า เช่น ร้านแบบคีออสก์และป๊อปอัปในสถานีขนส่งมวลชน ฟู้ดทรัค ร้านสแตนด์อโลนชั่วคราว จุดรับสินค้าในจุดแวะพักระหว่างทางหรือปั๊มน้ำมัน ทำเลที่ตั้งร้านที่ไม่ใช่ในห้างสรรพสินค้า เช่น ย่านค้าขายที่มีร้านค้าเรียงกันเป็นแถบ (Strip Mall) และตลาดนัดกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จากบรรดาร้านค้าปลีกที่มีการตื่นตัว และพยายามปรับตัว การย้ายร้านค้าไปนอกห้างสรรพสินค้าสามารถช่วยลดข้อจำกัดจากมาตรการที่กำหนดไว้เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น การปิดห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เราต่างได้เรียนรู้แล้วว่า ไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลงหรือไม่ หรือจะเกิดขึ้นนานแค่ไหน “ทำเลที่ตั้งนอกห้างสรรพสินค้าอาจเป็นหนึ่งในกลยุทธ์พื้นที่เป้าหมายของร้านค้าปลีก เนื่องจากแบรนด์ที่เลือกใช้สถานที่ประเภทนี้จะสามารถเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะในตลาดนั้น ร้านค้ารูปแบบนี้มักจะมีความยืดหยุ่นกว่า และสามารถทำสัญญาเช่าระยะสั้นกว่าได้ ช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถปรับเปลี่ยนและบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Read More

ภูเก็ต แซนด์บอกซ์: ได้ผล หรือ พลาดเป้า?

โครงการภูเก็ต แซนด์บอกซ์ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ในฐานะต้นแบบสำหรับการเปิดประเทศของไทย แต่โครงการนี้ก็มาพร้อมกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ หลายประการ ซึ่งถ้าการปฎิบัติและผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนดไว้ โครงการก็จะถูกยกเลิก ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก ให้ความเห็นว่า ข้อกำหนดที่มีความซับซ้อนสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามา เช่น การขอหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศ (Certificate of Entry: COE) ขั้นตอนการตรวจสอบเรื่องวัคซีน และข้อกำหนดในการตรวจหาเชื้อแบบ PCR ที่ต้องตรวจหลายครั้ง อาจส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเข้ามาลดลง นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย รายงานว่า ในปี 2562 เฉพาะภูเก็ตเพียงจังหวัดเดียวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกาะแห่งนี้ราว 3.93 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 89% ของรายได้จากการท่องเที่ยวในภูเก็ต ในปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนภูเก็ตมีทั้งหมดราว 4 ล้านคน ขณะที่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ภูเก็ตจะมีนักท่องเที่ยวน้อยกว่า

Read More