Home > มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์

20 ปี “ม่วนใจ๋ เบลนด์” สัมพันธภาพระหว่างสตาร์บัคส์กับชาวไร่กาแฟ

ถ้าพูดถึง “สตาร์บัคส์” แล้ว ถือเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเชนร้านกาแฟชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาที่มีสาขาและฐานลูกค้าที่เหนียวแน่นอยู่ทั่วโลก เช่นเดียวกับในเมืองไทยที่สตาร์บัคส์สามารถครองใจผู้บริโภคชาวไทยมายาวนานถึง 25 ปี จนกลายเป็นบ้านหลังที่สาม หรือ Third Place สำหรับใครหลายๆ คน ที่ชื่นชอบทั้งบรรยากาศร้านที่เป็นเอกลักษณ์ บริการ และกาแฟหอมกรุ่นที่มาจากเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดีของสตาร์บัคส์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ม่วนใจ๋ เบลนด์” เมล็ดกาแฟพันธุ์อะราบิก้าที่ปลูกโดยชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของไทย ที่ไม่ได้เป็นเพียงเมล็ดกาแฟที่สร้างความม่วนอ๊กม่วนใจ๋ให้กับคอกาแฟเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนของสัมพันธภาพระหว่างสตาร์บัคส์กับชาวไร่กาแฟที่ดำเนินมาถึง 20 ปีเต็มด้วยเช่นกัน และในโอกาสปีที่ 20 ของม่วนใจ๋ เบลนด์ “ผู้จัดการ 360 องศา” ขอพาไปย้อนเรื่องราวการเดินทางของกาแฟอะราบิก้าพันธุ์ดีจากภาคเหนือของไทยกันอีกครั้ง เรื่องราวของเมล็ดกาแฟม่วนใจ๋ เบลนด์ เกิดขึ้นในปี 2545 เมื่อสตาร์บัคส์เล็งเห็นว่าทางภาคเหนือของไทยเป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นดีและอยากทำให้กาแฟไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงได้ทำงานร่วมกับทางมูลนิธิพัฒนาชาวเขาแบบผสมผสาน (Integrated Tribal Development Foundation: ITDF) ที่มี ‘อ.ไมค์ แมนน์’ เป็นผู้อำนวยการโครงการ เพื่อเฟ้นหาเมล็ดกาแฟคุณภาพที่ได้มาตรฐานของสตาร์บัคส์ โดยเริ่มจากการสำรวจทางภาคเหนือของไทยเพื่อหาเมล็ดกาแฟ ก่อนที่จะส่งเมล็ดกาแฟไปทดสอบคุณภาพที่สตาร์บัคส์ในเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงตกลงทำสัญญาสั่งซื้อเมล็ดกาแฟเป็นครั้งแรกกับชาวไร่ที่หมู่บ้านห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย

Read More

Zero Summit 2021 งานสัมมนาแรกในไทยชวนเหล่าผู้นำมาแก้ไขปัญหาขยะอาหารอย่างจริงจัง

เรากำลังมาถึงจุดที่ไม่อาจแก้ไขวิกฤตการภาวะโลกร้อนได้อีกแล้ว... ปัญหาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่กำลังดำเนินอยู่บนความท้าทาย กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้โลกของเราเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด แสดงให้เห็นชัดว่าหากเราไม่ทำอะไรเลย เราจะไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ดังเดิมและการรักษาโลกของเราก็อาจจะสายเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความมั่นคงทางอาหารที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาขยะอาหาร ในแต่ละปีเราต้องสูญเสียอาหารดีๆที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อการบริโภคของมนุษย์ไปมากถึง 931 ล้านตันทั่วโลก ซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่ยังมีคนกว่า 1 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ ในประเทศไทยตามการศึกษาโดยกรมควบคุมมลพิษ 64% ของขยะมูลฝอยเป็นขยะอาหาร ซึ่งเท่ากับว่าประเทศของเรามีขยะอาหารมากถึง 17.5 ล้านตันต่อปี! ซึ่งขยะอาหารบางส่วนเป็นอาหารที่เราไม่อาจได้เห็นตามท้องตลาด ดังเช่น อาหารที่ผลิตขึ้นมาแล้วแต่ไปไม่ถึงมือผู้บริโภคด้วยเหตุผลบางประการจึงทำให้ถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตามยังคงมีธุรกิจอีกมากมายที่ไม่ได้มีจัดการอาหารส่วนเกิน และขยะอาหารอย่างจริงจัง ในขณะที่ยังมีประชากรจำนวนมากขึ้นที่จัดอยู่ภายใต้เส้นความยากจน และประชากรกว่า 6.5 ล้านคนในประเทศยังคงขาดแคลนอาหาร อีกทั้งประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองภาคธุรกิจที่มีความประสงค์บริจาคอาหารส่วนเกินให้กับชุมชนที่เดือดร้อนจึงทำให้การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ เราจะมาค้นหาคำตอบ และหาแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน (SDGs) ไปด้วยกันภายในปี 2030 ตามที่องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ทั่วโลกมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาในทันทีในงาน ZERO Summit 2021 งานสัมมนา (ออนไลน์) ครั้งแรกที่ขับเคลื่อนเรื่องการแก้ไขปัญหาขยะอาหารเพื่อสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนจัดโดย มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (เอส โอ เอส) มูลนิธิกู้ภัยอาหารแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 2564

Read More