Home > มอเตอร์ เอ็กซ์โป

จากมอเตอร์ เอ็กซ์โป ถึงอนาคตยานยนต์ไทย

ความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการยานยนต์และตลาดยานยนต์ในประเทศไทย ดูจะมีความคึกคักและเป็นที่จับตามองในฐานะที่อาจเป็นดัชนีหรือสัญญาณบ่งชี้ทิศทางในอนาคตของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของกำลังซื้อ ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ หลังจากที่ตลาดส่งออกยานยนต์ได้รับผลกระทบจากพิษของสงครามทางการค้าที่ฉุดให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอตัวต่อเนื่องตลอดทั้งปี แม้ว่าปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบแผ่กว้างไปในทุกอุตสาหกรรม หากแต่สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ผลกระทบที่เกิดขึ้นดูจะหนักหน่วงและรุนแรงมากเป็นพิเศษ เพราะความเป็นไปของผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศไทย ยังพึ่งพิงตลาดส่งออกมากถึงร้อยละ 50 ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องพลิกกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง หลังจากที่การส่งออกยานยนต์สำเร็จรูปและชิ้นส่วนอยู่ในภาวะชะงักงัน ผลของการชะลอตัวในตลาดส่งออกผนวกกับภาวะถดถอยซบเซาทางเศรษฐกิจของไทย รวมถึงความเข้มงวดที่เพิ่มมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ของสถาบันการเงิน กลายเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ปรับลดเป้าการผลิตรถยนต์ในปี 2562 ลงจากเป้าหมายเดิมที่ 2.15 ล้านคันเหลือเพียง 2 ล้านคัน โดยเป็นไปเพื่อตลาดส่งออกและตลาดในประเทศอย่างละ 1 ล้านคัน ซึ่งการปรับลดเป้าการผลิตดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยหดหายไปไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาทเลยทีเดียว การปรับลดกำลังการผลิตของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความกังวลใจอย่างกว้างขวาง เมื่อโรงงานประกอบรถยนต์หลายแห่งมีการปรับลดเวลาการทำงานของพนักงานในโรงงานหรือแม้กระทั่งหยุดทำงานชั่วคราวตามประกาศบริษัท ซึ่งแม้การหยุดดังกล่าวจะไม่มีผลใดๆ กับการคำนวณเบี้ยขยัน หรือการประเมินผลงาน หากแต่การที่บริษัทจ่ายเงินค่าจ้างให้กับพนักงานทุกระดับในอัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้างปกติ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานจากผลของการปรับตัวให้สอดรับกับปริมาณคำสั่งซื้อที่ลดลง ย่อมส่งผลต่อรายได้ของแรงงานในโรงงานเหล่านี้อย่างไม่อาจเลี่ยง ยังไม่นับรวมกรณีที่ผู้ประกอบการบางแห่งส่งหนังสือเลิกจ้างพนักงาน โดยบริษัทจะจ่ายค่าแรง และค่าสินไหมทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายอีกด้วย ปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ดำเนินไปในทิศทางขาลงอย่างต่อเนื่อง อาจได้รับการประเมินว่าอยู่ในสถานการณ์ประคองตัวที่บางฝ่ายยังเชื่อว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ หากแต่ในห้วงเวลาปัจจุบันดัชนีและตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในทุกมิติได้บ่งชี้ถึงทิศทางขาลงและถดถอยรอบด้าน ทั้งในมิติของความเชื่อมั่น การลงทุน การส่งออก ค่าเงินบาท สงครามการค้า ซึ่งปัจจัยลบเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาและเตรียมพร้อมมาตรการเพื่อรับมือสถานการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด ก่อนหน้านี้ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเคยกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ยานยนต์ไทยเพื่อการปรับตัวเข้าสู่ภาวะแข่งขันของ

Read More