Home > มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักวิจัย มช. พบดอกหอมใหม่จากนราธิวาส “บุหงาลลิษา” ตามชื่อของลิซ่า Blackpink

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค้นพบพืชดอกหอมชนิดใหม่ของโลกที่หายากและเสี่ยงสูญพันธุ์จากนราธิวาส ตั้งชื่อ “บุหงาลลิษา” เพื่อเป็นเกียรติแก่ ลิซ่า Blackpink ศิลปินชื่อก้องโลกชาวไทย ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของนักศึกษาป.เอกที่ร่วมทีมวิจัย นักวิจัยสังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผศ. ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู น.ส.อานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ และนายอับดุลรอแม บากา นักวิจัยสังกัดกลุ่มวิจัยอิสระ PDiT: Plant Diversity in Thailand พร้อมผู้ร่วมวิจัยอีกหลายคน ร่วมกันศึกษาตัวอย่างพืชดอกหอมวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ในจังหวัดนราธิวาส โดยบูรณาการข้อมูลสัณฐานวิทยาและวิวัฒนาการชาติพันธุ์เชิงโมเลกุลเข้าด้วยกัน พบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกจำนวน 1 ชนิด คือ บุหงาลลิษา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Friesodielsia lalisae Damth., Baka & Chaowasku โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ลลิษา มโนบาล หรือลิซ่า ศิลปินชื่อดังชาวไทยวง Blackpink สังกัดวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งความมุ่งมั่นของลิซ่าเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาระดับปริญญาเอกของ

Read More

มช. ยกระดับไก่พื้นเมืองสู่วัตถุดิบระดับโลกสร้างรายได้ให้เกษตรกร

ไก่ประดู่หางดำ ถือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองยอดนิยมที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะมีลักษณะเด่นตรงกับความต้องการของตลาด เป็นไก่พันธ์เนื้อที่มีอัตราการเจริญเติบโตดี มีรสชาติอร่อย ทำให้ไก่ประดู่หางดำเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นโครงการ "จากจมูกถึงหาง" ละเอียด ละเมียด ละมุน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะเกษตรศาสตร์ ในงานวิจัยยกระดับไก่พื้นเมืองสู่วัตถุดิบเมนูสากลระดับโลก กว่าจะได้ไก่ที่มีรสชาติอร่อย เป็นเมนูขึ้นโต๊ะอาหารได้อย่างสวยงามนั้น ต้องอาศัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่ประดู่หางดำ จากทีมอาจารย์นักวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้แผนงานวิจัย นวัตกรรมและการพัฒนากระบวนการผลิตไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำ) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2564 ในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาปรับใช้ในกระบวนการเลี้ยงไก่ ควบคู่กับการให้ความรู้เกษตรกร ตั้งแต่การฟักไข่ การดูแลพ่อแม่พันธุ์ การนำงานวิจัยเข้ามาช่วยในเรื่องการลดต้นทุนอาหารเพื่อให้ขายไก่มีกำไรมากขึ้น หลังจากเมื่อได้ไก่ที่สมบูรณ์แล้ว ในโครงการยังช่วยเรื่องการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไก่ไปแปรูปเป็นอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเนื้อไก่ประดู่หางดำที่ได้คุณภาพ ซึ่งนอกจากจะทำเป็นอาหารพื้นเมืองหรืออาหารไทยได้อร่อยแล้ว ยังขึ้นโต๊ะเป็นเมนูอาหารสากลได้อย่างสวยงาม โดยการสร้างสรรค์ของเชฟมืออาชีพจากร้านอาหารชื่อดังในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมนูอาหาร เช่น น่องและสะโพกไก่เหลืองบุษราคัมย่างไฟอ่อน ข้าวไร่เดอะแม่นายส์ ไวเนอรี่หุงน้ำสต๊อกไก่เหลืองบุษราคัม ปรุงรสแบบสเปน เครื่องเทศสีเหลืองทอง , สะโพกไก่ประดู่หางดำ

Read More

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นสร้างนวัตกรรมสีเขียว วิเคราะห์ทางเคมีจากภูมิปัญญาบรรพชนฝาง

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ม.เชียงใหม่ พัฒนาภูมิปัญญามากกว่า 100 ปีของบรรพชนชาวฝางสู่ “นวัตกรรมสีเขียว” ในการวิเคราะห์ทางเคมี สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เกิดตัวอย่างการใช้จริง รวมถึงใช้ในการศึกษาแนวใหม่-ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมีที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ ศ.ดร. เกตุ กรุดพันธ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตนได้ริเริ่มพัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีโดยใช้รีเอเจนต์จากธรรมชาติ ซึ่งบุกเบิกการสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากว่า 15 ปี อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำเนินโครงการ “นวัตกรรมสีเขียวในการวิเคราะห์ทางเคมีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดยมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย “Local issues- Global impact- Sustainable world” มุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดสมัยใหม่ รวมถึงการสร้างและขยายเครือข่ายเพื่อการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายมิติ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า 100 ปี ของบรรพชนชาวฝาง นำมาสู่การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ และคลัสเตอร์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมี ดร.กนกวรรณ คิวฝอ เข้าร่วมพัฒนาต้นแบบรีเอเจนต์ธรรมชาติแบบพร้อมใช้ และขยายเครือข่ายการใช้งานเริ่มต้นไปยังมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ

Read More

มช. มุ่งพัฒนาสปาล้านนาและผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่สากล

สกสว.หนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนาสปาล้านนาและผลิตภัณฑ์จากพืชหอมประจำถิ่น ว่านเสน่ห์จันทร์หอมและตะไคร้ภูเขา หวังยกระดับมาตรฐานสากล ตามแผนงานวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้อำนวยการแผนงานวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคตของโลกและของประเทศ มีมูลค่าการตลาดสูงเป็นอันดับ 4 รองจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 15.6 จากรายได้การท่องเที่ยวทั้งหมด คณะวิจัยจึงได้ศึกษาหาแนวทางการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวเชิงกีฬา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทำให้ได้ชุดความรู้ใหม่และข้อมูลการวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทย และร่างแนวทางการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่สามารถนำไปบริหารจัดการโครงการวิจัยให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมาย พร้อมกับผลักดันสู่กระบวนการกำหนดนโยบายที่มีความเหมาะสม เช่น การส่งเสริมด้านกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างความร่วมมือ การผลักดันระบบสาธารณะที่เกี่ยวข้อง นำมาซึ่งการสร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยวและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น หรือระดับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเข้าสู่กระบวนการวิจัยในชุมชนและพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ขยายผลต่อผู้ประกอบการกีฬาและสปาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืน ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น หัวหน้าโครงการการพัฒนาสปาล้านนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ระบุว่าการให้บริการสปาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวหนึ่งของไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More