Home > ประเพณีลอยกระทง

สายน้ำและวิถีชุมชน เงาสะท้อนของสังคมที่เปลี่ยนไป

คนไทยไม่สามารถตัดขาดจากสายน้ำได้ เมื่อสายน้ำหรือแม่น้ำทอดตัวผ่านชุมชน ผ่านเมือง ไม่ว่ายุคใดสมัยใดแม่น้ำจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดสำคัญที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนจวบจนปัจจุบันกาล หน้าที่ของสายน้ำเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากที่เคยถูกใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค ใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาหาสู่กัน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นตลาด ทุกวันนี้แม้บทบาทหน้าที่ของแม่น้ำจะลดลง ทว่าสายน้ำยังคงดำเนินไปตามครรลองเฉกเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต การเปลี่ยนผ่านของสังคมและผู้คนกลายเป็นตัวกำหนดบทบาทใหม่ให้แก่แม่น้ำไปโดยปริยาย วิถีชีวิตของคนไทยในยุคดิจิทัล ชีวิตที่หลายคนนิยามว่า คือชีวิตที่ศิวิไลซ์ ชีวิตที่ถูกกำหนดให้ดำเนินไปด้วยความไวของสัญญาณอินเทอร์เน็ตระดับ 4G แต่น่าแปลกที่ความรวดเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ได้ทำให้ผู้คนหยุดความคำนึงถึงบรรยากาศและวิถีชีวิตเก่าๆ ที่ดำเนินคู่ไปกับสายน้ำได้เลย แต่กลับยิ่งโหยหาและปรารถนาที่จะดึงเอาความรู้สึกดั้งเดิมเหล่านั้นกลับมา ประเพณีลอยกระทง เป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยได้เป็นอย่างดี เพราะถึงแม้ว่า โลกจะหมุนเวียน ฤดูกาลจะผันผ่านไปนานเท่าไร งานลอยกระทงจะถูกสืบสานต่อไป ตามความเชื่อที่ว่า การลอยกระทงเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ให้น้ำใช้อุปโภค บริโภค หรือบางคนเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการสะเดาะเคราะห์ และปัดเป่าสิ่งไม่ดีให้ออกจากชีวิต งานลอยกระทงแต่ละปี ภาพจำที่ฉายชัดในความทรงจำของใครหลายคน คืองานลอยกระทงส่วนใหญ่ถูกจัดขึ้นภายในวัดวาอารามซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ติดคลอง ติดแม่น้ำ อาหารการกินมักหนีไม่พ้นขนมน้ำตาลปั้นรูปสัตว์ รูปดอกไม้ ลูกชิ้นปิ้ง สายไหม รำวง และเสียงเพลงที่เปิดคลอเบาๆ เพื่อสร้างบรรยากาศ รวมไปถึงชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน เครื่องเล่นที่เด็กหลายคนต้องไม่พลาดสักครั้ง เหนืออื่นใดคือกระทงที่นำมาลอยล้วนแต่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเองในยามบ่ายจากต้นกล้วยใบกล้วยหลังบ้าน เทคโนโลยีและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้บรรยากาศเหล่านี้ค่อยๆ เจือจางลงไปตามกาลเวลา การประดิษฐ์กระทงเพื่อนำไปลอยเองดูจะหายากขึ้นในสังคมปัจจุบัน เมื่อความสะดวกสบายเข้ามาทดแทน กระทงก็หาซื้อง่ายขึ้นและราคาไม่แพง เวลาในแต่ละวันยังคงเท่าเดิม ทว่า ผู้คนกลับใช้เป็นข้ออ้างว่า

Read More