Home > ธุรกิจอีเวนต์

จีนเปิดประเทศเอื้อธุรกิจอีเวนต์ไทย ในมุมมองของ ศุภแมน มรรคา

การเปิดประเทศของจีนเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ ทั้งในแง่การท่องเที่ยวที่เริ่มเห็นสัญญาณชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ ของไทยก็ได้รับอานิสงส์ไม่ต่างกัน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ การค้าการลงทุน ศูนย์วิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจจากสถาบันต่างๆ ล้วนประเมินและคาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปิดประเทศของจีน ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน แม้ว่าภาคการส่งออกปีที่ผ่านมาจะชะลอตัวลงไปบ้าง ขณะที่ตัวเลขการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ประจำปี 2565 ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดเผยออกมา น่าจะเป็นสิ่งสะท้อนแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดี ข้อมูลระบุว่า มีผู้ประกอบการธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจัดตั้งใหม่ ทั่วประเทศ 76,488 ราย เพิ่มขึ้น 3,530 ราย หรือเพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ อีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจ ที่จะเป็นการชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดคือ มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั้งสิ้น 429,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาท หรือ 87.04 เปอร์เซ็นต์ โดยประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 7,061 ราย รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 4,833 ราย และธุรกิจภัตตาคาร

Read More

CMO ชูไตรมาส 3-4 โดดเด่น คว้าเมกะโปรเจกต์เพียบ รายได้ทั้งปี Turnaround พลิกทำกำไรรอบ 3 ปี

“ซีเอ็มโอ” ส่งซิกผลงานไตรมาส 3-4/2565 เติบโตต่อเนื่อง หลังภาพรวมธุรกิจของประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัว ตลอดจนเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ส่งผลให้ธุรกิจอีเวนต์คึกคัก มั่นใจรายได้ทั้งปี ทะลุพันล้านบาท กลับมาทำกำไรได้ครั้งแรกในรอบ 3 ปี ชี้ Q4 สดใส งานจ่อคิวเพียบ ทั้งกลุ่มงานอีเวนต์ – กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เสริมทัพด้วยธุรกิจซัพพลายอุปกรณ์ระบบภาพแสงเสียง รวมไปถึงงานออกแบบก่อสร้าง และบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ พร้อมเตรียมรุกตลาด เซ้าท์ อีสต์ เอเชีย ประเดิม เวียดนาม และสิงค์โปร์ ล่าสุดเตรียมจับมือยักษ์ใหญ่ด้านเอ็นเตอร์เทนเม้นท์จากเกาหลี จัดงาน Music Festival ระดับโลกอีกหลายงาน นายกิติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าแนวโน้มธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี 2565 จะมีการขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอีเวนต์ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น เรียกได้ว่าสถานที่จัดงานถูกจองจัดงานแฟร์ใหญ่ระดับประเทศเต็มยาวถึงสิ้นปี ซึ่ง CMO ในไตรมาส 4

Read More

CMO ขานรับนโยบายเปิดประเทศ เดินหน้าตามแผน เชื่อธุรกิจอีเวนต์ยังมีความหวัง

“ซีเอ็มโอ” ประกาศเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ขานรับนโยบายเปิดประเทศพร้อมเพิ่มทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ เชื่อธุรกิจอีเวนต์ยังไม่หมดหวัง ผู้ประกอบการต่างปรับตัวเน้นจัดกิจกรรมผ่านออนไลน์ หวังอีเวนต์ปลายปีกลับมาคึกคักรับไฮซีซัน มั่นใจปีหน้ารายได้กลับมาแตะ 1,400 ล้านบาท สถานกาณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2563 สร้างผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่อธุรกิจอีเวนต์และซัปพลายเชน อย่างโรงแรม ศูนย์ประชุม ตลอดจนซัปพลายเออร์ที่ให้บริการเช่าอุปกรณ์ต่างๆ การจัดงานรูปแบบเดิมหรือออนกราวด์ถูกระงับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต้องปิดตัวลง หรือหยุดกิจการชั่วคราวเพื่อรอวันที่สถานการณ์คลี่คลาย และในขณะเดียวกันผู้ประกอบการต่างก็หาทางปรับตัวเพื่อให้กิจการอยู่รอดได้ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยปรับไปจัดงานในรูปแบบออนไลน์ หรือเวอร์ชวล อีเวนต์ (Virtual Event) แทน ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็นงานเปิดตัวสินค้า งานประชุม งานแฟชั่นโชว์ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งงานแฟนมีตติ้งระหว่างศิลปินและแฟนคลับ ซึ่งถึงแม้จะเป็นทางออกที่ดีในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งรายได้และอรรถรสของงานคงไม่สามารถเทียบเท่ากับการจัดงานในรูปแบบเดิมได้ แต่จากนโยบายการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มีผลในวันที่ 1 พ.ย. ตลอดจนมาตรการคลายล็อกดาวน์และการยกเลิกเคอร์ฟิว ประกอบกับช่วงปลายปีที่ถือเป็นไฮซีซันและเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ถือเป็นสัญญาณบวกที่ทำให้ธุรกิจอีเวนต์เริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ผู้ประกอบการต่างคาดหวังการปลดล็อกสำหรับธุรกิจอีเวนต์ให้สามารถกลับมาจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO เปิดเผยว่า ก่อนการระบาดของโควิดธุรกิจอีเวนต์มีมูลค่าการตลาดหลักหมื่นล้านบาท หากสถานการณ์คลี่คลาย

Read More

โควิดระลอกสามทุบตลาดอีเวนต์ รายได้หายกว่าหมื่นล้านบาท

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ถูกพิษโควิด-19 เล่นงานอย่างหนัก คือ ธุรกิจอีเวนต์ นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในช่วงต้นปี 2563 และรัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปในวงกว้าง ในแต่ละปีตลาดธุรกิจอีเวนต์มีมูลค่าสูงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท แม้สภาพของเศรษฐกิจไทยในช่วง 5-10 ปีหลังจะอยู่ในภาวะลุ่มๆ ดอนๆ ก็ตาม แต่ในช่วงปลายปี 2560 ธุรกิจอีเวนต์เริ่มส่งสัญญาณกลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งนั่นส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจอีเวนต์ในปี 2561 ฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ปี 2562 มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจอีเวนต์อยู่ที่ประมาณ 12,000 ล้านบาท ในปีนั้นแม้จะมีปัจจัยลบหลายด้านมากระทบ แต่ยังมีแนวโน้มที่สดใสต่อเนื่อง ขณะที่ปี 2563 เป็นปีที่แทบทุกอุตสาหกรรมหยุดชะงัก ในด้านของธุรกิจอีเวนต์ บริษัทออแกไนเซอร์ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่สามารถจัดงานส่งเสริมการขาย หรืองานแสดงสินค้าใดๆ ได้ ตามคำสั่งของ ศบค. ส่งผลให้รายได้หลักของผู้ประกอบการเหล่านี้หายไปกว่าครึ่ง ธุรกิจอีเวนต์เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากรองจากธุรกิจท่องเที่ยว สถานการณ์โควิด-19 ในไทยช่วงกลางปี 2563 เริ่มผ่อนคลายลง มาตรการหลายอย่างถูกยกเลิกเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ บรรยากาศการจัดอีเวนต์เริ่มกลับมามีให้เห็นอีกครั้ง จนผู้ประกอบการหลายรายคาดหวังว่าบรรยากาศการจัดงานอีเวนต์จะมีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2564 ทว่า จุดพลิกผันที่ส่งผลให้ยอดจองสถานที่จัดงานและกิจกรรม รวมไปถึงการจ้างงานของบริษัทออแกไนซ์ต้องถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด คือการระบาดระลอกสาม ที่ดูจะสร้างบาดแผลสาหัสกว่าสองครั้งที่ผ่านมา แน่นอนว่า

Read More

ก้าวย่างสำคัญของ Rightman ในยุค Digital Disruption

สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่อยู่ในภาวะไม่ค่อยจะสู้ดีนัก แม้ว่าภาครัฐจะแถลงตัวเลขในแต่ละไตรมาสว่า เหนือกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และมีทิศทางการเติบโตที่ดี มีแนวโน้มที่สดใส ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่ประชาชนทุกหย่อมหญ้าล้วนโอดครวญ แน่นอนว่าทุกธุรกิจล้วนได้รับผลกระทบไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ขณะที่ประชาชนกำลังเฝ้ารอให้ภาครัฐมีมาตรการออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยหวังให้สถานการณ์ฟื้นตัวเร็วขึ้น กระนั้นการเฝ้ารอความช่วยเหลือจากภาครัฐคงไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก ความเที่ยงตรงของเวลาทำให้ภาคประชาชนจำต้องหาทางออกด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะกลวิธีการปรับตัวเพื่อให้สามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางพายุทางเศรษฐกิจที่กระหน่ำอย่างต่อเนื่อง และธุรกิจที่มีความอ่อนไหวง่ายต่อสถานการณ์ความไม่มั่นคงต่างๆ อย่างธุรกิจอีเวนต์ ที่มักได้รับผลกระทบทางตรง ไม่ว่าในห้วงยามนั้นประเทศไทยจะอยู่ในภาวะใด ทั้งช่วงเวลาความขัดแย้งทางการเมือง อิทธิพลจากเศรษฐกิจโลก หรือเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศอยู่ในช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้า ล้วนเป็นเหตุให้เกิดการชะลอตัวของธุรกิจอีเวนต์แทบทั้งสิ้น แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์หลายด้านเริ่มคลี่คลาย และมองเห็นสัญญาณอันเป็นนิมิตหมายที่ดี พอจะมองเห็นความสดใสที่ทำให้ธุรกิจอีเวนต์กระเตื้องขึ้นมาได้บ้าง ทว่า การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย กลายเป็นวิกฤตแห่งบททดสอบครั้งสำคัญอีกครั้งต่อธุรกิจอีเวนต์ ว่านักธุรกิจ นักการตลาดจะใช้กลยุทธ์ใด หรือมีความแข็งแกร่งเพียงไหนที่จะก้าวผ่านช่วงเวลาที่เรียกว่า Digital Disruption ไปได้หรือไม่ การมาถึงของยุค Digital ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องพยายามปรับตัวด้วยอัตราเร่งที่เกือบจะไร้เวลาในการเตรียมความพร้อม ทั้งธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ถูกคลื่นสึนามิ Digital กลืนหายไปจากแวดวงด้วยความรวดเร็วอย่างน่าใจหาย และที่ค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีคือ ธุรกิจธนาคาร ที่ถูกกระแส Digital สร้างผลกระทบให้ไม่แตกต่างกัน จนทำให้หลายธนาคารต้องหามาตรการเพื่อรับมือ จนท้ายที่สุด การปิดสาขาดูจะเป็นคำตอบและทางออกที่ดีที่สุดในการลดต้นทุน เป็นที่แน่นอนว่าอีกหนึ่งธุรกิจที่ไม่อาจหลีกหนีสถานการณ์นี้ได้คือ ธุรกิจอีเวนต์ ที่ต่างต้องเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงนี้ และหาทางปรับตัว ซึ่งบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด (Rightman Co., Ltd.) เป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังศูนย์การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มากมาย

Read More