Home > โควิด (Page 10)

ร้านค้า-อาหารระส่ำหนัก หลัง COVID-19 ระบาดใหม่

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะทวีความหนักหน่วงเพิ่มขึ้น หลังจากที่พบว่ากลไกรัฐมีความบกพร่องในการป้องปรามและป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ซึ่งนอกจากจะมีต้นทางมาจากการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของทั้งแรงงานไทยที่เดินทางกลับเข้าประเทศหลังไปทำงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และแรงงานต่างชาติที่กลับเข้ามาหนุนนำกลไกเศรษฐกิจแล้ว ล่าสุดยังพบว่าการแพร่ระบาดในลักษณะของการติดเชื้ออย่างเป็นกลุ่มก้อนระลอกใหม่เกิดขึ้นจากการลักลอบเล่นการพนันในบ่อนการพนันผิดกฎหมายในหลายพื้นที่อีกด้วย ข้อน่าสังเกตว่าด้วยความฉ้อฉลของเจ้าหน้าที่ที่มีสังกัดอยู่ในกลไกรัฐ กลายเป็นคำถามที่รอคอยคำตอบต่อสาธารณชน และก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยถึงความโปร่งใสและความจริงจังในการนำพาประเทศออกจากวิกฤตโรคระบาดที่กำลังกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางในห้วงเวลาปัจจุบัน เทศกาลแห่งความสุขในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมากลายเป็นช่วงเวลาแห่งความประหวั่นวิตกของคนไทย ที่ติดตามมาด้วยการชะลอการท่องเที่ยวเดินทางและชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหลากหลาย ที่ส่งผลลบต่อภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เคยคาดว่าจะกระเตื้องขึ้นจากการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ให้หดตัวลดลงอย่างไม่อาจเลี่ยง ควบคู่กับการติดตามมาตรการของของรัฐว่าจะดำเนินไปในทิศทางแบบใด นอกจากนี้ การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ยังได้รับการประเมินว่าจะทำให้ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ได้รับความสูญเสีย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาท และความสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล อาจมีมูลค่ารวมกัน 13,000 ล้านบาท จากการชะลอการบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้น โดย สมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบหลักในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำ โดยปริมาณสัตว์น้ำสดที่ใช้ในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำเค็ม มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 40 ของทั้งประเทศ ไม่รวมวัตถุดิบนำเข้า การปิดเมืองตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2563 ถึง 3 มกราคม 2564 จึงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าและการผลิตหมวดนี้ไม่น้อย ความพยายามของกลไกรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : ศบค. ที่จะเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายของโรคด้วยการจำแนกพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด ตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในแต่ละพื้นที่มาเป็นเกณฑ์ในการจัดการ ควบคู่กับการหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่ามาตรการ lockdown ที่เชื่อมโยงกับมาตรการเยียวยา

Read More

อนาคตของเยาวชน บนสถานการณ์ COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ขวบปี และกระจายขยายตัวเป็นโลกระบาดขนาดใหญ่ซึ่งปกคลุมอาณาบริเวณและพื้นที่ทุกภูมิภาคของโลก นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน ผลิตภาพทางธุรกิจอุตสาหกรรมแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อมิติทางการศึกษาและพัฒนาการของเยาวชนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของ COVID-19 ได้ส่งผลให้โรงเรียนใน 192 ประเทศทั่วโลก ต้องปิดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยอาศัยเทคโนโลยีเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านแทน ซึ่งการระงับการเรียนการสอนตามปกติได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาจำนวนรวมมากกว่า 1.6 พันล้านคนทั่วโลก และมีนักเรียนอีกไม่ต่ำกว่า 870 ล้านคนใน 51 ประเทศ ที่ยังไม่สามารถกลับไปเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติอีกด้วย กรณีดังกล่าวทำให้กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ : UNICEF ระบุว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตทางด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยนักเรียนไม่น้อยกว่า 24 ล้าคน มีความเสี่ยงที่จะต้องหลุดออกจากระบบและวงจรการศึกษาอย่างถาวร เพราะเมื่อนักเรียนไม่สามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนได้นานมากเท่าไร โอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนเมื่อมาตรการต่างๆ มีการผ่อนปรนลง เพราะการไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเยาวชน และเพิ่มความเสี่ยงที่เยาวชนจะเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพจิต รวมถึงยังมีความเสี่ยงที่เยาวชนจะต้องเจอกับปัญหาด้านการใช้แรงงานเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ และไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ ประเด็นที่น่าสนใจที่ UNICEF ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของโรงเรียนไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถานที่ที่อำนวยการศึกษาเรียนรู้ให้กับเยาวชนเท่านั้น

Read More

LPP ประกาศ 12 มาตรการยกระดับการดูแล 200 ชุมชนให้ผ่านวิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่

LPP ประกาศ 12 มาตรการยกระดับการดูแลและการบริหารชุมชนกว่า 200 ชุมชน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่-2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัทบริหารจัดการชุมชนในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวว่า หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ไปทั่วประเทศ บริษัท ได้ประกาศ 12 มาตรการเพื่อยกระดับการดูแลชุมชนภายใต้การบริหารงานของ LPP ที่มีอยู่ทั้งหมดมากกว่า 200 ชุมชน จำนวนผู้อยู่อาศัยประมาณ 300,000 คน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในชุมชน และมีส่วนในการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19 ในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ

Read More

การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน – ก้าวสำคัญตลาดอาคารสำนักงานปี 64

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการใช้พื้นที่สำนักงานอย่างไรนั้นยังคงไม่สามารถทราบได้อย่างชัดเจนท่ามกลางการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายในหลายแวดวงธุรกิจ ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เผยว่า บริษัทต่างๆ จะพิจารณาทบทวนบทบาทใหม่ของพื้นที่สำนักงานในฐานะที่เป็นสถานที่สำหรับการทำงานร่วมกัน และสร้างวัฒนธรรมขององค์กรโดยต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจในช่วงหลายปีต่อจากนี้ นายชาญวิชญ์ พสุวัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการออกแบบโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย อธิบายว่า “ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดอาคารสำนักงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมุมมองของบริษัทต่างๆ ในเรื่องพื้นที่ทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ในช่วงก่อนปี 2558 ความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ "การขยายพื้นที่สำนักงาน" โดยใช้งบประมาณเป็นตัวกำหนด ขณะที่ช่วงปี 2558-2562 แนวโน้มได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ “การใช้งบประมาณให้คุ้มค่า” โดยลูกค้า 53% พิจารณาทบทวนว่าจะสามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจและจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นด้วยพื้นที่สำนักงานที่มีอยู่เดิมแทนการขยายพื้นที่ได้อย่างไร และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลดความเสี่ยงคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเรื่องการเช่าพื้นที่สำนักงาน บริษัทหลายแห่งในเอเชียแปซิฟิกคาดการณ์ว่าภายในปี 2568 แนวโน้มการทำงานจะเปลี่ยนไป โดยมีการผสมผสานการทำงานนอกพื้นที่สำนักงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในปี 2563 แม้จะมีการตั้งคำถามต่อความจำเป็นของการมีพื้นที่สำนักงานจากการที่พนักงานมีประสบการณ์ในการทำงานนอกสำนักงานครั้งที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อกลับมาสู่การทำงานตามปกติ ผู้เช่าพื้นที่สำนักงานก็ยังคงไม่ได้ละทิ้งแนวความคิดเรื่องการมีอยู่ของพื้นที่สำนักงาน หากแต่ต้องสร้างความมั่นใจว่าสามารถใช้พื้นที่สำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นไปอีก

Read More

COVID-19 ระบาดใหม่ ฉุดท่องเที่ยวไทยดิ่งลงเหว

การอุบัติขึ้นของ COVID-19 ที่ไม่ว่าจะถูกกำหนดนิยามว่าเป็นการระบาดรอบสองหรือการระบาดครั้งใหม่กำลังส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการเดินทาง ที่คาดหมายว่าจะกลับมามีสีสันและบรรยากาศคึกคักในช่วงปลายปีนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่าการระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นจะได้รับการประเมินว่าไม่รุนแรง จากผลของระบบติดตามไต่สวนโรคที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่ามีประสิทธิภาพและจำกัดการแพร่ระบาดได้ดี แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อรายได้จากภาคธุรกิจและกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยว ที่ชะลอตัวกว่าที่เคยคาดหวังไว้เดิม โดยคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวและกิจกรรมจับจ่ายใช้สอยที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่สูญเสียไปไม่ต่ำกว่า 1.4-1.7 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายปีนี้ ความกังวลใจต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดรอบใหม่ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการเดินทางและกิจกรรม “ไทยเที่ยวไทย” ที่เป็นความหวังหลักในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2563 และลุกลามไปถึงกิจกรรมช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ 2564 ซึ่งทำให้โรงแรมและรีสอร์ตทั่วประเทศได้รับผลกระทบเรื่องยอดจองห้องพักล่วงหน้า รวมถึงโอกาสการสร้างรายได้ในช่วงปีใหม่ที่ลดน้อยลง ตัวเลขที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562-2563 ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ประมาณ 28,200 ล้านบาท ขณะที่สำนักวิจัยหลายแห่งมีผลสำรวจตรงกันว่า ชาวไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพลดงบประมาณใช้จ่ายช่วงปีใหม่ลงมาอย่างชัดเจน เฉพาะในกรุงเทพฯ จะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ประมาณ 30,000 ล้านบาทต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะเฉพาะรายเมืองท่องเที่ยว พบว่าเมืองรองอย่างนครศรีธรรมราช น่าน และสุโขทัยที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมเดินทางไปเยือน รวมถึงโรงแรมในย่านนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี อาจได้รับผลกระทบในช่วงปีใหม่น้อยกว่าเมืองท่องเที่ยวหลักอื่นๆ ส่วนโรงแรมในบุรีรัมย์ซึ่งเป็นเมืองที่พึ่งพิงรายได้ท่องเที่ยวจากการจัดงานอีเวนต์เป็นหลัก คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบมากพอสมควร สำหรับเมืองท่องเที่ยวหลักอย่างกรุงเทพฯ และหาดใหญ่ สงขลา ซึ่งพึ่งพิงฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเพราะยังไม่มีการเปิดประเทศ ซึ่งโรงแรมในกรุงเทพฯ ยังจำกัดความคึกคักอยู่เฉพาะเป็นบางโรงแรมเท่านั้น โดยยังมีโรงแรมอีกจำนวนมากที่ยังไม่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโรงแรมมาตั้งแต่ต้นปี

Read More

เตรียมพร้อมรับมือโลกหลังวิกฤติโรคระบาดด้วยเทคโนโลยี

ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกเผชิญหน้ากับโรคระบาดโดยไม่มีใครคาดคิด เทคโนโลยีถูกนำมาช่วยแก้ไขวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการแพทย์ การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป และคาดการณ์ว่าเทคโนโลยียังจะเป็นปัจจัยหลักสำคัญของโลกหลังภาวะการโรคระบาดอีกด้วย ภายในงานสัมมนาหัวข้อ "Beyond the Pandemic: A Decade of Challenges from 2021'' นายไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงแนวทางการปรับวิธีดำเนินธุรกิจในโลกหลังโควิด-19 ว่า “สิ่งที่ภาคธุรกิจควรคำนึงถึงคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรและการดำเนินธุรกิจจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ซึ่งมีการขยายตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด” โดยเทคโนโลยี 5G เปรียบเสมือนเครื่องมือผลักดันสู่ความเป็นดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G เป็นลำดับที่ 3 – 4 ของโลก หากในปี พ.ศ. 2564 มีการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัล จะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายที่ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจ และการสาธารณสุข” ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยให้ข้อมูลว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ

Read More

เศรษฐกิจไทยปีฉลู 2021 ความหวังที่เตรียมฉลองฉลุย?

ความเป็นไปของสังคมเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2020 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ดูจะเป็นขวบปีแห่งความยากลำบากและเป็นปีแห่งการสูญเสียที่ทำให้ประเทศไทยต้อง ชวด โอกาสหลากหลายอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์และสถาบันวิจัยจำนวนมากต่างเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาถดถอยต่อเนื่องมานาน ได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงปลายปี 2019 และมีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2020 แต่เหตุไม่คาดฝันว่าด้วยการอุบัติขึ้นของการแพร่ระบาด COVID-19 ในลักษณะ pandemic หรือการระบาดใหญ่ที่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกได้ฉุดให้สถานการณ์กลับตาลปัตร ผิดไปจากที่ผู้คนคาดหวังไว้ ประเด็นสำคัญซึ่งถือเป็นความเปราะบางของเศรษฐกิจสังคมไทยก็คือ ปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะที่อ่อนแอกว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ อย่างมาก เห็นได้จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เทียบกับการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย IMF คาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2020 ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวลงร้อยละ 4.4 และจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในปี 2021 พร้อมกับระบุว่าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่จะหดตัวลงร้อยละ 5.7 ในปี 2020 และจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2021 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า GDP ไทยจะปรับลดลงร้อยละ 7.8 ในปีนี้และขยายตัวร้อยละ 3.5 ในปีหน้า กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจไทยตกต่ำรุนแรงกว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ

Read More

COVID ระบาดระลอก 2 เผยรูรั่วมาตรการรัฐไทย

ข่าวการลักลอบกลับเข้าเมืองไทยอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติของแรงงานชาวไทยที่ไปทำงานอยู่ในเมียนมาเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา พร้อมกับข่าวการพบเชื้อ COVID-19 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในวงกว้างจนมีสถานะที่เป็น super spreader ที่ยากจะควบคุมพื้นที่ในการสกัดและป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่ กำลังเป็นภาพสะท้อนความสามารถในการบริหารจัดการของกลไกภาครัฐว่าหย่อนยานและมีความบกพร่องอย่างไร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. พยายามเน้นย้ำในมาตรการป้องกัน ควบคู่กับการสร้างมายาภาพให้ COVID-19 เป็นประหนึ่งปิศาจร้ายที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมด้วยช่วยกันสกัดกั้นและควบคุมอย่างเข้มงวด จนนำไปสู่มาตรการปิดเมือง ระงับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางหลากหลายเป็นระยะเวลาหลายเดือนก่อนที่จะมีการผ่อนปรนมาตรการเข้มงวดเหล่านั้นให้คลี่คลายเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ หรือ new normal ในสังคมไทยอย่างช้าๆ ท่ามกลางข้อเท็จจริงว่าด้วยความสูญเสียทางเศรษฐกิจเบื้องต้นที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท และยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องสูญเสียอีกเป็นจำนวนเท่าใดในการฟื้นฟูกลไกเศรษฐกิจไทยให้กลับมาดำเนินไปข้างหน้าอีกครั้ง ท่ามกลางซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดที่เข้มงวดเกินกว่าที่ควรหรือเกินความจำเป็นในช่วงก่อนหน้า ทำให้เสียงเรียกร้องในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มระดับความดังขึ้นเป็นระยะ ขณะที่กลไกรัฐไทยเริ่มตระหนักถึงความชะงักงันทางเศรษฐกิจที่เกิดจากมาตรการควบคุมที่ห่มคลุมด้วยมายาภาพของปิศาจร้าย COVID-19 เริ่มออกมาตรการส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่ายในทุกระดับและกระจายออกไปสู่ต่างจังหวัดไม่ว่าเป็นโครงการออกไปเที่ยว ไปเที่ยวด้วยกัน ด้วยหวังว่าโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวในลักษณะเช่นนี้จะช่วยนำพาและกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่สูญเสียรายได้อย่างหนักตลอดระยะเวลาที่รัฐห้ามการเดินทางและการปิดประเทศที่ทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศหดหายไปจากภูมิทัศน์การท่องเที่ยวของไทย ความพยายามของรัฐไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจดำเนินไปไกลถึงขนาดที่ยอมผ่อนปรนให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มเดินทางเข้าประเทศได้ด้วยช่องทางพิเศษหรือที่เรียกว่า special tourist visa ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องพำนักในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน หรือ long stay ตามมาตรการผ่อนปรนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปีที่เป็นช่วงเทศกาลและฤดูการเดินทางท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย ก่อนหน้าที่จะมีข่าวการลักลอบกลับเข้าเมืองไทยอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติของแรงงานชาวไทย แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือทั้งเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และอีกหลายจังหวัดดูจะกำลังได้รับอานิสงส์จากมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐไม่น้อยจากข้อเท็จจริงที่ว่าแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือของไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับช่วงฤดูหนาวหรือช่วงปลายปี และถือเป็นช่วงเวลา high season ที่พร้อมจะดึงดูดนักท่องเที่ยวและหมุนเวียนเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี หากแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าด้วยการแพร่ระบาดครั้งใหม่โดยกลุ่มคนที่หลบหนีเข้าเมืองเข้ามาในพื้นที่ ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มจะตื่นตัวและกลับมาคึกคักสะดุดชะงักลงเล็กน้อย ท่ามกลางความกังวลของทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว จนทำให้บางส่วนระงับหรือยกเลิกการเดินทางไปชั่วคราว ความเปราะบางของสถานการณ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้นในด้านหนึ่งสะท้อนภาพความตื่นตัวในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนคนไทยโดยทั่วไป ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำให้เห็นถึงผลพวงของมายาภาพว่าด้วย COVID-19

Read More

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อชีวิตผู้หญิงอินเดีย

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเวลามากกว่า 10 เดือนแล้ว และสถานการณ์ในหลายประเทศก็ยังคงมีการแพร่ระบาดสูง หรือบางประเทศที่เริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีระดับหนึ่ง อย่างนิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกตามเมืองใหญ่ๆ และยังไม่มีประเทศไหนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนออกมาใช้ได้ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 คนแรกของประเทศเมื่อ 3 มีนาคม 2020 และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพบผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 100 คน เมื่อ 27 มีนาคม 2020 และ 500 คน เมื่อ 4 เมษายน 2020 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอินเดียเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ วันที่ 17 กรกฎาคม 2020 จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 1 ล้านคน ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง มีการยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นกว่า 32,000 คน

Read More

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป จัดอันดับ 10 พฤติกรรมบนวิถี New Normal หลังโควิด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาคภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและภาคแรงงาน ต่างมีการปรับตัวเพื่อรับมือและสอดรับกับวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) ล่าสุด “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย” ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 1,124 คน ในหัวข้อ “วิถีชีวิตแบบใหม่หลังโควิดส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคุณอย่างไร” พร้อมเผย 10 อันดับปรากฎการณ์วิถีชีวิตแบบใหม่หลังโควิดที่ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเริ่มเข้าสู่ระยะปลดล็อคมาระยะหนึ่งแล้ว แต่พฤติกรรมหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ของผู้คนในปัจจุบัน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตลาดแรงงานเชิงนวัตกรรมชั้นนำระดับโลก ได้จัดอันดับ 10 พฤติกรรมที่ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานไว้ดังนี้ สำหรับอันดับที่หนึ่ง 90.91% คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับรูปแบบการช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งเห็นได้ชัดในสถานการณ์ครั้งนี้ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดอี-คอมเมิร์ซ เติบโตพุ่งขึ้นไปอีก ข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด มีคาดการณ์ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ หรือช้อปออนไลน์ในกลุ่ม C2C หรือ Customer to Customer ไม่รวมบริการจองที่พักโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน ดิจิทัลคอนเทนต์ และบริการอื่น ๆ ระบุว่าในปี 2563 ธุรกิจช้อปออนไลน์มีมูลค่าที่ 220,000 ล้านบาท

Read More