Home > โควิด-19 (Page 17)

เอสเอ็มอีท่องเที่ยวไทย เผชิญวิกฤตที่ยังไร้ทางออก

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมหลักๆ ของไทยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก และเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้สร้างผลกระทบเชิงลบในทุกระนาบ โดยที่ไม่อาจรู้ได้เลยว่า เมื่อใดสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 คือ ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน แม้ว่าในห้วงเวลาปัจจุบันไวรัสจะยังคงอยู่บนโลกนี้อย่างไม่มีวี่แววว่าจะจางหายไป แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยยังพอมีแรงที่จะขับเคลื่อนไปได้บ้าง เมื่อไทยยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าต้องการ ขณะที่ภาคการลงทุนที่เหล่านักลงทุนยังต้องมองสถานการณ์ในหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองที่เริ่มส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลื่อนการลงทุนในไทยออกไป เมื่อยังมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ยากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายฝ่ายยอมรับว่าครั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตของจริง เมื่อรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 70-80% โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2562 ประมาณ 39.7 ล้านคน และสร้างรายได้มากถึง 1.93 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับไวรัสร้ายนี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนเพียง 6.69 ล้านคน และสร้างรายได้รวม 3.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปประมาณ 4.89 แสนล้านบาท การสูญเสียรายได้หลักของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจดทะเบียนขอเลิกประกอบกิจการประมาณ 90 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 39 ราย เชียงใหม่ 9 ราย ภูเก็ต

Read More

จ๊อบไทย เผยความต้องการแรงงานครึ่งปีแรก โควิด-19 ทำธุรกิจลดการจ้างงานสูงสุด 75% สายงานแพทย์/สาธารณสุข เนื้อหอมสุดในช่วงโควิด-19

จ๊อบไทย (JobThai) ผู้ให้บริการหางาน สมัครงาน ออนไลน์ อันดับ 1 ของประเทศไทย ซึ่งให้บริการเข้าสู่ปีที่ 20 เปิดเผยว่า จากการรวบรวมข้อมูลความต้องการแรงงานขององค์กรในจ๊อบไทยแพลตฟอร์ม พบว่า องค์กรมีความต้องการแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกรวมกันอยู่ที่ 303,776 อัตรา (เป็นการนับจำนวนอัตราแบบไม่ซ้ำกัน) ซึ่งมีการเปิดรับสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 124,629 อัตรา แต่ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายนการจ้างงานลดลง 16.5% เทียบกับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นและกระจายวงกว้างมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนด้านผู้ใช้งาน หางาน สมัครงาน มีการใช้งานมากกว่า 11 ล้านคน เติบโตขึ้น 7.5% ซึ่งมีการสมัครงาน 8,876,727 ครั้ง เติบโตขึ้น 31.0% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการจ๊อบไทย (JobThai) กล่าวว่า

Read More

ระเฑียร ศรีมงคล เร่ง Re-engineering องค์กร นำ KTC ฝ่าวิกฤต

“วิกฤตครั้งนี้หนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 อาจจะหนักที่สุดในรุ่นอายุของเรา และที่สำคัญมันทำให้ธุรกิจบัตรเครดิตเปลี่ยนไปอย่างถาวร” ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย (เคทีซี) กล่าวกับผู้จัดการ 360 องศา ถึงการระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างและซึมลึกจนหลายฝ่ายมองว่าแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้อาจจะกลายเป็นสึนามิทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลก หลายธุรกิจที่ไม่สามารถทนต่อบาดแผลทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ ต้องประกาศล้มละลายหรือปิดตัวลง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจที่ยังอยู่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เช่นเดียวกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “เคทีซี” ผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรนิวไฮมาได้ต่อเนื่องถึง 7 ปีซ้อน แต่วิกฤตโควิดครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรไม่น้อยเช่นกัน ทำให้ต้องเร่ง Re-engineering องค์กร หากลยุทธ์ที่จะนำพาเคทีซีฝ่าวิกฤต โดยบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึงต้องเตรียมรับมือกับโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากการแพร่ระบาดของไวรัสและการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และภาคการใช้จ่ายของประชาชน ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ลดลง ยอดการใช้บัตรในเดือนเมษายน 2563 ลดลงถึง 40% โดยกระทบทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจด้าน

Read More

การล่มสลายของธุรกิจไทย เปราะบาง-อิงต่างชาติมากเกินไป?

การประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขจีดีพีไทยในปี 2563 ที่อาจติดลบถึง 9 เปอร์เซ็นต์ เสมือนเป็นการยอมรับโดยดุษณีว่า เศรษฐกิจไทยยังไร้กำลังฟื้นตัว และวิกฤตจากโควิด-19 ส่งผลเสียต่อระบบหนักกว่าเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจในหลายสถาบันต่างมองหาความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวไปในรูปแบบใด ระหว่างรูปแบบตัว V รูปแบบตัว U หรือรูปแบบตัว L ซึ่งตัวแปรที่จะก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่อาศัยจังหวะที่เอื้ออำนวยอันนำมาซึ่งกำลังซื้อที่แข็งแรงขึ้นหรือนโยบายจากภาครัฐที่จะผลักดันให้อุปสงค์เพิ่มกำลังขึ้นเท่านั้น แค่เพียงนโยบายอุดหนุนจากรัฐบาลที่มุ่งหวังให้มีกระแสเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนในชาติด้วยกันเอง ดูจะไม่เพียงพอเสียแล้ว เมื่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการล้วนแต่ใช้มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งดูจะเป็นการ์ดที่มีไว้ป้องกันตัวเอง เพราะสถานการณ์ในหลายด้านยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด ไม่ว่าจะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สงครามการค้ารอบใหม่ที่เริ่มร้อนแรงขึ้น หรือเหตุการณ์โศกนาฏกรรมคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก หลังจากมาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลประกาศออกมา พร้อมทั้งนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ประชาชนยังใช้สิทธิไม่มากอย่างที่หวังไว้ สัดส่วนการเข้าใช้สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเพียงกระผีกลิ้นจากโครงการดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์ของกำลังซื้อภายในประเทศ และการระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชนมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อภาคเอกชนต่างเรียกร้องให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีเงินหมุนเวียนเข้ามายังสายใยของธุรกิจที่แบกความหวังอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่นับถอยหลังสู่การล่มสลาย เมื่อมองไม่เห็นสัญญาณในทางบวกที่พอจะไปต่อได้ นั่นอาจเป็นเพราะโครงสร้างของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยเกาะติดและยึดโยงกับรายได้ที่มาจากต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เวลานี้อาจดูเป็นเรื่องยาก หากผู้ประกอบการไทยจะมองหาตลาดใหม่เข้ามาทดแทนตลาดเดิม เมื่อหลายประเทศคู่ค้ายังประสบกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ต่างกัน วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างผลกระทบให้แก่ธุรกิจทุกขนาด และทุกแวดวง โดยเฉพาะธุรกิจ SME ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อ

Read More

บ้านปูฯ ชวนคนไทยร่วมบริจาคโลหิต ฝ่าวิกฤติเลือดขาดแคลนจากโควิด-19

บ้านปูฯ ชวนคนไทยร่วมบริจาคโลหิต ฝ่าวิกฤติเลือดขาดแคลนจากโควิด-19 ร่วมผลิตหน้ากาก “Mask for Blood Hero” ในโครงการ Plus One เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต แจกฮีโร่ผู้บริจาคกว่า 400,000 ชิ้นทั่วประเทศ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมหยุดชะงัก เช่นเดียวกับการบริจาคโลหิตที่มียอดผู้บริจาคลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทว่าความต้องการในการใช้โลหิตเพื่อรักษาผู้ป่วยไม่ได้ลดลงเลย บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นวิกฤติดังกล่าว จึงร่วมมือกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนหน้ากาก “Mask for Blood Hero” ในโครงการ Plus One เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต สานต่อความตั้งใจแน่วแน่ในการร่วมดูแลสังคมไทยอย่างดีที่สุดทั้งในเวลาปกติและในภาวะวิกฤติ โดยบริษัทและไทยวาโก้ จัดสรรงบประมาณ 20 ล้านบาท สมทบโครงการฯ สำหรับผลิตหน้ากากอนามัย “Mask

Read More

มอเตอร์โชว์ 2020 ภาพสะท้อนความหวังยานยนต์ไทย

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายต้องปิดลงหรือเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมนับตั้งแต่เมื่อปลายเดือนมีนาคมก่อนที่จะมีการทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคในแต่ละระยะและการกำหนดวิถีใหม่ในการจัดกิจกรรมด้วยขั้นตอนปฏิบัติในการป้องกันและคัดกรอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งดูเหมือนว่างานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-26 กรกฎาคมที่ผ่านมา จะผ่านเกณฑ์และเก็บรับความสำเร็จภายใต้สถานการณ์ยากลำบากของสังคมไทยไปได้ด้วยดี จำนวนยอดผู้เข้าชมงานรวมมากกว่า 1 ล้านคนในช่วงเวลาสองสัปดาห์ของการจัดงาน ในด้านหนึ่งอาจสะท้อนภาพความสนใจของผู้บริโภคที่ต้องการเลือกซื้อยานพาหนะคันใหม่ ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งบ่งชี้ว่าประชาชนซึ่งต้องห่างหายจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการตลาดจากผลของมาตรการควบคุมที่นำไปสู่การปิดเมือง มีความต้องการที่จะกลับไปใช้วิถีชีวิตที่เป็นปกติ แม้ว่าจะมีวิถีใหม่คอยกำกับก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจจากงาน มอเตอร์โชว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของยอดจองรวมที่มีสูงถึง 22,791 คัน ซึ่งแบ่งเป็นยอดจองรถยนต์รวม 18,381 คัน และรถจักรยานยนต์รวม 4,410 คัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคภายในประเทศยังพอจะมีกำลังซื้อเหลืออยู่บ้างท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยและผลกระทบที่กระจายอยู่ทั่วโลก ที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายก็ตาม ข้อเท็จจริงในกรณีของประเทศไทย ซึ่งแม้จะไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นจำนวนมากเหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ หากแต่ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังของรัฐตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว เนื่องมาจากรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากการท่องเที่ยว รวมถึงการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ไม่สามารถส่งออกได้ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จนต้องมีการปรับลดเป้าหมายการผลิตจากที่เคยกำหนดไว้ในระดับ 2 ล้านคันมาเป็น 1.4 ล้านคันในช่วงก่อนหน้านี้ และลดเหลือ 1 ล้านคันในเวลาต่อมา ภายใต้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในสภาวะไม่เอื้ออำนวยต่อการจับจ่ายของผู้บริโภคเช่นนี้ แม้ค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่มาร่วมอยู่ในงานจะพยายามนำเสนอแคมเปญส่งเสริมการขายที่ดีภายในงาน แต่ผู้บริโภคก็ยังคงชะลอการตัดสินใจในการซื้อรถออกไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่ามีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้บริโภค ในการตัดสินใจใช้เงินในสภาวะดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ดี

Read More

กระบี่ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ร่วมปกป้องรักษาทุนธรรมชาติอันล้ำค่าของจังหวัดกับ “โครงการหวงแหนกระบี่”

จากวิกฤติระดับโลกอย่างการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้คนทั่วโลก แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนทั้งโลกได้ประจักษ์คือ ธรรมชาติยังมีพลังที่จะฟื้นฟูตัวเองได้ เราได้หายใจในอากาศที่ดีขึ้น ได้เห็นท้องทะเลที่สวยงาม สัตว์ที่หายากกลับมาปรากฎตัว สิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ กลับมาเป็นไปได้ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน จังหวัดกระบี่นับเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีทุนทางธรรมชาติอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับโลกของทะเลฝั่งอันดามัน ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่มีความสำคัญต่อสิ่งแวดดล้อมที่โดดเด่นล้ำค่าและมีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่หลากหลาย อีกทั้งวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นับเป็นสมบัติล้ำค่ายากจะหาสิ่งใดมาทดแทน จังหวัดกระบี่จึงได้ริเริ่มความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการและคนในชุมชนเพื่อร่วมกันปกปักรักษากระบี่ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามการรักษาสมดุลระหว่างการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทุนทางธรรมชาติ นับเป็นความท้าทายที่จังหวัดกระบี่ต้องเผชิญ จังหวัดกระบี่จึงได้ผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลธุรกิจ การท่องเที่ยวที่สามารถสร้างความยั่งยืนและสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งทุกแนวปฏิบัติที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ริเริ่มนั้น แสดงให้เห็นถึงการมีเป้าหมายร่วมกันคือ การรักษาทุนทางธรรมชาติของกระบี่ด้วยการปกป้องในวิถีแห่งความยั่งยืนและผลักดันให้จังหวัดกระบี่ก้าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกอย่างเต็มภาคภูมิ เช่นเดียวกับ โครงการหวงแหนกระบี่ (Cherish Krabi) ที่ต้องการสร้างจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เห็นความสำคัญของจังหวัดกระบี่ สร้างความเข้าใจและเชิญชวนสังคมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจหวงแหนกระบี่ หาแนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมผ่านบทบาทของตัวเองเพื่อร่วมสร้างคุณค่าให้แก่แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนวัฒนธรรมพื้นถิ่น และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พ.ต.ท.ม.ล. กิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า “กระบี่มีต้นทุนทางธรรมชาติที่ประเมินค่าไม่ได้ ทั้งสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้และที่มนุษย์สร้างขึ้น มีระบบนิเวศที่หลากหลายทั้งภูเขาและป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทะเลที่สวยงาม ถ้ำและภาพเขียนโบราณ เป็นสิ่งที่คนกระบี่รักและหวงแหน อยากให้สิ่งเหล่านี้คงอยู่ไปนาน ๆ ถามว่าในอนาคตอยากเห็นกระบี่เป็นอย่างไร ก็อยากเห็นกระบี่คงความสวยงามอย่างนี้ แต่มีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น เป็นระบบ มีมิติทางธรรมชาติ

Read More

ส่งออกติดลบฟื้นยาก สินค้าเกษตร-อาหาร ความต้องการพุ่ง

ส่งออกของไทยไม่อาจฟื้นตัวได้ไว แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศจะอยู่ในเกณฑ์ดี ที่แสดงให้เห็นถึงการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้อยู่ในวงจำกัดได้ เมื่ออีกหลายประเทศยังมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง และยังมีมาตรการคุมเข้มกึ่งล็อกดาวน์ ซึ่งป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งออก เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะชะลอตัว เมื่อกำลังซื้อของประชากรโลกยังจับกลุ่มอยู่ในหมวดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การส่งออกของไทยที่หดตัวลงในกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตัวเลขมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยที่ พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2563 มีมูลค่า 16,444.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 23.17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,833.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.05% การค้าเกินดุล 1,610.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2563 การส่งออกมีมูลค่า 114,342.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.09% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 103,642.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.62% และการค้าเกินดุล 10,700.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การหดตัวของการส่งออกไทยเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองในหลายระดับในต่างประเทศ ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนกำลังลงและสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลายาวนานมากขึ้น สินค้าส่งออกศักยภาพของไทยที่หดตัวสูงในเดือนมิถุนายน

Read More

ปตท. ชวนเยาวชนประกวดนวัตกรรมพิชิตโควิด-19 ในโครงการ “พลังเล็กเปลี่ยนโลก ปี 8”

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ร่วมกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (อสมท) เชิญชวนเยาวชน อายุ 9-18 ปี เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ความคิดสร้างสรรค์ ในโครงการ “พลังเล็กเปลี่ยนโลก ปี 8” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมพิชิตโควิด-19" ชิงทุนการศึกษากว่า 280,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 9 ตุลาคม 2563 นางปิยดา จงพยุหะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ปัจจุบันมีส่วนช่วยในการแก้ไขหลายปัญหาในสังคม ซึ่งในวิกฤตหลายครั้ง เรามักจะเห็นการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เสมอ อย่างวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19 ก็เช่นกัน ที่นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นจากการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ปตท.

Read More

โรงงานญี่ปุ่นย้ายฐานสู่เวียดนาม อุตสาหกรรมไทยไร้แรงดึงดูด?

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกได้รับบทเรียนสำคัญ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของปัจจัยอันนำไปสู่การออกนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่พร้อมจะสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในการย้ายฐานผลิตออกจากประเทศจีน เมื่อการระบาดของไวรัสในจีนส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากมาตรการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง และส่งผลกระทบด้าน Supply chain ต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ การลดการพึ่งพาจีนจึงดูจะเป็นทางออกที่ดีจากบทเรียนครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นอาศัยจังหวะเวลานี้ ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนด้านการเงินแก่บริษัทญี่ปุ่นเพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน เพื่อกลับมาลงทุนในประเทศบ้านเกิดและในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยที่กำลังตั้งลำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เริ่มมีประกายความหวังว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นตบเท้าเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น ทว่า สัญญาณการเบนเข็มของโรงงานญี่ปุ่นที่จะมาไทยนั้นเริ่มเบาบางลง นับตั้งแต่มีข่าวการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปสู่เวียดนามของ Panasonic ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นของแรงงานไทย ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งคือ Panasonic เองมีฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเวียดนามอยู่ก่อนแล้ว ข้อมูลจาก Nikkei Asian Review ระบุว่า การย้ายฐานการผลิตของ Panasonic สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างโรงงานในพื้นที่ใหม่ของบริษัทญี่ปุ่น เพราะช่วงศตวรรษที่ 70 (พ.ศ. 2513-2522) บริษัทญี่ปุ่นเริ่มย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมายังสิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะค่าเงินเยนแข็ง แต่เมื่อค่าแรงในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นเป้าหมายลำดับถัดมา และปัจจุบันหลายบริษัทกำลังย้ายออกจากประเทศไทย โดยภายในปี 2563 Panasonic จะทยอยหยุดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยลง เช่น เครื่องซักผ้าที่จะหยุดผลิตในเดือนกันยายน และตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนจะปิดโรงงานในเดือนมีนาคม ปี 2564 ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานในโรงงานแห่งนี้ถูกเลิกจ้างราว 800

Read More