Home > เศรษฐกิจ (Page 5)

เอกชนหวังรัฐบาลใหม่ สร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย

หลังการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในรอบ 8 ปีของไทยผ่านพ้นไปไม่กี่วัน ดูเหมือนสถานการณ์การเมืองไทยที่มักจะถูกยึดโยงไว้กับความมั่นคงด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจระดับมหภาค จุลภาค อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุน ด้วยว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะสร้างความมั่นใจจนไปถึงสามารถกระตุ้นสัญญาณชีพของเศรษฐกิจไทยได้ หลายฝ่ายเรียกร้องให้ไทยมีการเลือกตั้งในเร็ววัน ด้วยหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะสามารถเปลี่ยนหน้าเศรษฐกิจได้ คงไม่ต่างอะไรกับนักพนันที่วาดฝันว่าไพ่ในมือของตนจะเปลี่ยนแต้มในยามเข้าตาจนให้สร้างความได้เปรียบมากขึ้น แม้บางส่วนจะเห็นต่างว่า รัฐบาลทหารมีข้อดีอยู่บ้าง นั่นคือความสงบภายใต้กฎหมายข้อบังคับที่ถูกประกาศใช้ ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ความสงบที่ฉาบไล้อยู่เบื้องหน้านั้น กลับซ่อนเร้นคลื่นใต้น้ำที่รอวันกระเพื่อม และถึงวันนี้ผลการเลือกตั้งที่ถูกเปิดเผยออกมาเกือบครบร้อยเปอร์เซ็นต์ หลายพรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง กำลังพยายามอย่างหนักที่จะจับขั้วการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาล แน่นอนว่าถึงเวลานี้ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นไปในรูปแบบใด เพราะความเป็นไปได้มีทั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก รัฐบาลผสมเสียงข้างน้อย หรือท้ายที่สุดจบที่รัฐบาลเฉพาะกาล แต่ถึงแม้จะยังไม่มีความแน่นอนในสถานการณ์การเมือง ทว่า ภาคเอกชนกลับแสดงความคิดความเห็น ที่เต็มไปด้วยความคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นน่าจะนำพาให้เศรษฐกิจไทยดำเนินไปข้างหน้าได้ ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองว่า “การเลือกตั้งอาจได้รัฐบาลผสม ซึ่งทำให้เกิดการยุบสภาบ่อยครั้ง แต่หากรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เศรษฐกิจน่าจะขับเคลื่อนไปได้ แต่อาจไม่ใช่ทิศทางที่สูงมาก การเติบโตของประเทศในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนี้ จะขยายตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียง 4 เปอร์เซ็นต์ น่าจะมีโอกาสฟื้นตัวและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ” หากดูตัวเลขการขยายตัวของ GDP ในห้วงยามที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศด้วยทัศนคติที่เป็นกลาง ต้องยอมรับว่าความสงบที่เกิดขึ้นภายในบ้านเมืองทำให้ไทยก้าวห่างจาก “คนป่วยแห่งเอเชีย” และทำให้ GDP

Read More

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดไทยไปไม่พ้นภาวะชะงักงัน

แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นปี 2562 จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น จากเหตุปัจจัยว่าด้วยกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าได้สร้างความตื่นตัวทางเศรษฐกิจกว่า 5 หมื่นล้านบาทมาช่วยหนุน ควบคู่กับปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เริ่มทยอยกลับมาสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง หากแต่ภายใต้สถานการณ์ความชะลอตัวทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินต่อเนื่องจากเหตุของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรณีว่าด้วยการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ BREXIT ที่ยังคงยืดเยื้อหาข้อสรุปที่พึงประสงค์ระหว่างกันไม่ได้ ได้กลายเป็นปัจจัยกดทับให้เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะงักงันต่อเนื่องออกไปอีก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกามีความผ่อนคลายลงจากการประกาศขยายเวลาการเก็บภาษีสินค้าจากจีนจากอัตราเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ออกไปอีก 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการประวิงเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมเจรจาเพื่อแสวงหาทางออกกันอีกครั้ง ซึ่งทำให้สงครามการค้าที่หลายฝ่ายกังวลใจยังไม่ขยายวงและบานปลายมากไปกว่าที่ผ่านมา แต่ความเคลื่อนไหวจากฝั่งฟากยุโรปกลับส่งสัญญาณเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับลดอัตราเร่งลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่ยังคงดำเนินต่อไปจากเหตุปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามจากนโยบายกีดกันทางการค้า และความเปราะบางในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ล้วนส่งแรงกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ถ้อยแถลงของธนาคารกลางยุโรป ดำเนินไปท่ามกลางการอ่อนค่าลงของเงินยูโรจนมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนในช่วงต้นเดือนมีนาคม ในขณะที่สมาชิก 19 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันในกลุ่มประเทศยูโรโซน เผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 เมื่อเศรษฐกิจของอิตาลีประสบปัญหาจากประเด็นทางการเมืองภายใน และการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยอัตราขยายตัวของจีดีพีลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่การถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (BREXIT) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันกับอียูโดยตรง โดยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและไม่อาจคาดการณ์ได้

Read More

เศรษฐกิจไทยปี 2562 ถึงเวลาเชือดไก่ ต้มหมู เซ่นสังเวย?

ท่ามกลางบรรยากาศของการรณรงค์หาเสียงในมหกรรมการเลือกตั้งปี 2562 ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นเพิ่มขึ้นทุกขณะ โดยหลายฝ่ายประเมินว่าจะมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น รวมถึงช่วยฟื้นความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชนและการลงทุนของภาคธุรกิจในระยะถัดไป หากแต่ในอีกด้านหนึ่งของสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่สะท้อนผ่านการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา อาจให้ภาพที่สะท้อนถึงสภาพตลาดโดยรวมที่ถูกกดดันจากความกังวลของประชาชนต่อกำลังซื้อ ทั้งจากผลกระทบที่ได้รับจากฝุ่นพิษ PM2.5 ที่ทำให้พวกเขามีภาระในการดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 นี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมเป็นมูลค่าสูงถึง 8,000-10,000 ล้านบาทเลยทีเดียว ความคึกคักของเทศกาลตรุษจีนที่ถดถอยลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนประพฤติกรรมของคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ ที่ไม่เคร่งครัดกับแบบแผนประเพณีเหมือนคนรุ่นก่อน แต่ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มิติมุมมองต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เน้นกิจกรรมประหยัด และระมัดระวังในการจับจ่ายมากขึ้น เพราะต่างตระหนักว่ากำลังซื้อในแต่ละปีไม่ได้เพิ่มขึ้น จากผลของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ต่อเนื่องยาวนาน กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากกลุ่มประชากรที่มีรายได้ปานกลางถึงระดับล่าง ซึ่งอ่อนไหวต่อปัจจัยด้านกำลังซื้อ ที่พร้อมปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนของกิจกรรมบางอย่างที่ทำได้ และเน้นความประหยัด ทั้งการซื้อเครื่องเซ่นไหว้ การแจกเงินแต๊ะเอีย รวมถึงการทำบุญ ท่องเที่ยว ขณะที่เครื่องเซ่นไหว้ โดยเฉพาะกระดาษไหว้เจ้า กลายเป็นส่วนประกอบที่ถูกลดทอนลงมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมจากเหตุของการตื่นตัวเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อีกด้วย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ปริมาณเม็ดเงินใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2562 ที่ผ่านมา ได้รับการประเมินว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในระดับร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (YoY) หากแต่เมื่อประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยในระยะที่ยาวออกไปหลายฝ่ายก็ยังเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้ในระดับร้อยละ 3.6-3.8 ซึ่งเป็นการเติบโตแบบชะลอตัวจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ได้รับการประเมินว่าส่วนหนึ่งจะมาจากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐวงเงิน

Read More

การท่องเที่ยวทรุด ฉุดเศรษฐกิจไทยร่วง?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าฟันเฟืองที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้นมีอยู่เพียงไม่กี่อย่าง เช่น การส่งออก และการท่องเที่ยว และหลายครั้งที่สถานการณ์ทำให้เราประจักษ์ชัดว่าการท่องเที่ยวของไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อรากฐานทางเศรษฐกิจในทุกระดับ ทุกๆ ภาครัฐและเอกชนของไทยจะตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวว่าในแต่ละปีจะต้องมีรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวเท่าไหร่ รวมไปถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยและบทสรุปทั้งเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ในแต่ละปีที่ออกมามักสูงกว่าเป้าหมายที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ทว่า ในปีนี้โดยเฉพาะห้วงเวลานี้กลับแตกต่างออกไปทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวลดจำนวนลงแม้จะยังไม่ใช่จำนวนที่มากมายนัก แต่กลับสร้างความตระหนกให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ธุรกิจรถทัวร์ เรือนำเที่ยว หรือธุรกิจอื่นที่ล้วนแต่อยู่ในห่วงโซ่ย่อมได้รับผลกระทบแห่งระลอกคลื่นนี้เช่นกัน เมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงข่าว รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวเดือนกันยายน 2561 ว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 2,655,562 คน โดยจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกมากที่สุด 1,948,414 คน รองลงมา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป เอเชียใต้ อเมริกา ตะวันออกกลาง โอเชียเนีย และแอฟริกา ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัว 2.13 เปอร์เซ็นต์ กระนั้นอัตราการขยายตัวดังกล่าว เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ลดลง 0.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมีทั้งเรื่องของฤดูกาล ที่เป็นช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่หลายคนกำลังจับตาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือ ความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยว โศกนาฏกรรมเรือฟินิกซ์ล่มที่จังหวัดภูเก็ต ดูจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อเหตุการณ์ครั้งนั้นมีนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิตมากถึง 47 ราย

Read More

เศรษฐกิจไทย ปีหมา 2561 บนความหวังของ “อีอีซี”

ความพยายามของกลไกภาครัฐที่จะโหมประโคมความก้าวหน้าในนโยบายเศรษฐกิจว่าประสบผลสำเร็จและกำลังดำเนินไปท่ามกลางการฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นข่าวดีที่ต้องรีบประชาสัมพันธ์ ไม่ต่างจากการโฆษณาสินค้าชั้นดีที่ต้องเร่งทำตลาด เพราะประเด็นดังกล่าวผูกพันอยู่กับดัชนีความเชื่อมั่น ไม่ว่าข้อเท็จจริงของสภาพการณ์ที่ปรากฏจะสอดรับกับความมุ่งหมายของรัฐหรือไม่ก็ตาม รายงานตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงปี 2560 ที่นำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ซึ่งระบุว่าในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวร้อยละ 3.9 ดูจะสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความพึงพอใจให้กับสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ไม่น้อย ก่อนที่จะระบุว่า เป้าหมายการเติบโตของปี 2561 ที่กำหนดไว้ในระดับร้อยละ 4.1 ดูจะเป็นเป้าหมายที่ทุกฝ่ายมั่นใจว่าจะผ่านไปได้อย่างไม่ลำบากนัก เป็นการโหมประโคมข่าวดีอย่างกึกก้อง ไม่ต่างจากเสียงสนั่นของประทัดแห่งการเฉลิมฉลองต้อนรับปีหมา ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่เพิ่งผ่านมา สอดรับกับดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ได้รับการตีความว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของหลากหลายสำนัก กระนั้นก็ดี ประเด็นหลักสำคัญของกลไกในการบรรลุสู่เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยนับจากนี้ อยู่ที่การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการปรับฐานอุตสาหกรรมเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นกระแสโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อขยายฐานการส่งออกให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ความมั่นใจของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลในด้านหนึ่งผูกพันอย่างแนบแน่นกับความพยายามผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. … หรือกฎหมายอีอีซีได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นประหนึ่งแรงกระตุ้นที่ทำให้เชื่อว่าโครงการอีอีซี ซึ่งเป็นความหวังใหม่ของไทยในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มรูปแบบ ความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ดูจะเป็นความเชื่อมั่นที่วางเดิมพันไว้กับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จับต้องไม่ได้ และอาจต้องรอให้โครงการ EEC ที่หวังจะเป็นประหนึ่งหัวรถจักรที่จะลากจูงองคาพยพเศรษฐกิจไทยให้เคลื่อนผ่านหลักไมล์และเส้นทางยากลำบากไปถึงฝั่งฝัน ด้วยแรงขับเคลื่อนแห่งความหวังท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วรอบข้าง ได้เริ่มต้นทำงานอย่างมีรูปธรรมเสียก่อน ความหวังที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ผลสำเร็จจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการพัฒนา EEC

Read More

จากแรงส่งสู่แรงเฉื่อย รัฐหมดมุกกระตุ้นเศรษฐกิจ?

ปี 2017 กำลังเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี ควบคู่กับการเป็นจุดเริ่มต้นของงบประมาณก้อนใหม่ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีมูลค่ารวม 2.9 พันล้านล้านบาท หากแต่สถานการณ์โดยรวมทางเศรษฐกิจของไทยดูจะไม่ได้ดำเนินไปตามที่กลไกภาครัฐพยายามที่จะโหมประโคมว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้นแล้วมากนัก ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐดูจะทุ่มเทความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ การเร่งลงทุนในส่วนของรัฐวิสาหกิจ และการใช้นโยบายด้านภาษี ที่หลายฝ่ายเชื่อว่ามาตรการหลากหลายดังกล่าวได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องและเกินกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ภายใต้แรงส่งจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดำเนินมาก่อนหน้า และทำให้ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2017 หรือในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไม่จำเป็นต้องนำเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ อีก ตรรกะวิธีคิดดังกล่าวในด้านหนึ่งเป็นผลจากกระบวนทัศน์ที่ฝากความหวังไว้กับการเบิกจ่ายงบลงทุนจากเงินงบประมาณประจำปีงวดใหม่ ที่เป็นงบประมาณขาดดุล ที่เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยในช่วงท้ายของปีกระเตื้องขึ้นอีก ตัวเลขประมาณการภาพรวมเศรษฐกิจถูกนำมาอ้างอิงอย่างต่อเนื่องในฐานะภาพสะท้อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยต่างระบุว่า เศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากผลของการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเกินกว่าที่ประมาณการไว้และอาจทำให้ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปรับไปสู่ร้อยละ 3.8 จากเดิมที่ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ที่ระดับร้อยละ 3.4 เท่านั้น ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากความสำเร็จในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว ที่ดำเนินผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจในด้านหนึ่งกลับสะท้อนความตีบตันของมาตรการที่จะนำเสนอในอนาคต เพราะในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะดีขึ้น แต่ในภาพที่เล็กลงไปในระดับจุลภาค ผลของเศรษฐกิจกลับมีแนวโน้มไปในทิศทางตรงกันข้าม หรือได้รับผลอย่างไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังเผชิญความยากลำบาก และเป็นประเด็นที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องคำนึงและให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง มาตรการของภาครัฐที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติล่าสุด ในนามของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกขานโดยทั่วไปว่าบัตรสวัสดิการคนจน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ในด้านหนึ่งได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่าสังคมไทยยังมีผู้มีรายได้น้อยมาขึ้นทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการดังกล่าวมากถึง 10-14 ล้านคน ซึ่งดูเหมือนว่าความมุ่งหมายที่จะนำพาประเทศไทยให้ “ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง”

Read More

บัตรเครดิตดิ้นหนีวิกฤต เร่งกระตุ้นยอดรับศกใหม่

 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถส่งสัญญาณเชิงบวกมากระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและจับจ่ายใช้สอย ดูเหมือนว่าธุรกิจบัตรเครดิตจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ และมีอัตราการเติบโตที่ไม่สดใสเท่าที่หลายฝ่ายคาดหวังนัก เพราะนอกจากสถิติการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และการเติบโตของสินเชื่อ ตลอดจนการขยายตัวของฐานบัตรเครดิต จะเป็นไปอย่างค่อนข้างชะลอตัว ควบคู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าภาระหนี้สินสะสมของครัวเรือนยังคงกดดันการใช้จ่าย และเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตแต่ละรายต้องพยายามรักษาคุณภาพสินเชื่อบัตรเครดิต ท่ามกลางแรงกดดันของภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่นี้ด้วย กระนั้นก็ดีการแข่งขันในธุรกิจบัตรเครดิต ยังดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยประเมินได้จากสัญญาณการทำตลาดของผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่ค่อนข้างคึกคักและมีสีสันใหม่ๆ มานำเสนอต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกแคมเปญทางการตลาดและการขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการ ซึ่งเมื่อผนวกกับเป้าหมายทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละรายยิ่งทำให้การแข่งขันหนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีก ทิศทางหนึ่งที่เกิดขึ้นในกลยุทธ์ช่วงชิงและขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่การมุ่งขยายธุรกิจออกสู่พื้นที่ในเขตภูมิภาค ควบคู่กับการสร้างแรงจูงในการจับจ่ายสำหรับกลุ่มลูกค้าตลาดกลางและบน ภายใต้สิทธิประโยชน์และรายการพิเศษที่เพิ่มมากขึ้น แต่การทำตลาดเชิงรุกในพื้นที่ต่างจังหวัดของธุรกิจบัตรเครดิตไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบเรียบ หากต้องเผชิญกับความท้าทายในประเด็นต่างๆ ไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะในมิติของการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีศักยภาพเนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายแรกๆ ของผู้ประกอบการบัตรเครดิตบางส่วนน่าจะมีบัตรเครดิตแล้ว รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ต่างจังหวัดที่เป็นเป้าหมาย  เพราะแม้บางส่วนจะมีเศรษฐกิจที่อิงกับภาคการท่องเที่ยว และมีแนวโน้มฟื้นตัวกระเตื้องขึ้นบ้างตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ต้องยอมรับว่าพื้นที่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ยังผูกโยงกับภาคการเกษตรซึ่งถูกกดดันจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำรุนแรง ขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของการลงทุนภาครัฐ ซึ่งหวังจะเป็นแรงหนุนกระตุ้นการเติบโตของภาคก่อสร้างยังกลายเป็นปัจจัยกดดันกำลังซื้อและระดับรายได้ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจบัตรเครดิต ยังไม่นับรวมถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าต่างจังหวัดที่ส่วนใหญ่นิยมและคุ้นเคยกับการใช้จ่ายด้วยเงินสด ซึ่งอาจมีผลต่อการออกแคมเปญการตลาดเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ด้วยสภาวะความอิ่มตัวของฐานลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการบัตรเครดิตจะมีทางเลือกไม่มากนัก และทำให้กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจบัตรเครดิตในต่างจังหวัดปรับเพิ่มขึ้น ทั้งยังอาจเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการผลักดันการเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมาด้วย ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ การขยายฐานลูกค้าศักยภาพในต่างจังหวัด โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองรองของแต่ละภูมิภาค ซึ่งถือเป็นพื้นที่ Blue Ocean ของธุรกิจบัตรเครดิต ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในภาพกว้างของธนาคารพาณิชย์และกลุ่มนอนแบงก์ที่มีบริษัทแม่เป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่มีแผนรุกธุรกิจแบงกิ้งในต่างจังหวัด และปรากฏภาพการขยับตัวรุกธุรกิจบัตรเครดิตในต่างจังหวัดอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งคงเป็นอานิสงส์จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ในพื้นที่เหล่านี้ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีร้านค้ารองรับการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น แต่ความร้อนแรงในเกมการแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตที่น่าจับตาอยู่ที่ความพยายามช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดกลุ่มลูกค้าระดับบนหรือมีรายได้สูงกว่า 50,000 บาทต่อเดือน ที่ทวีความเข้มข้นขึ้นต่อเนื่องมานับปี

Read More

ครบรอบ 3 เดือนของ ดร.สมคิด กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจแบบ S-Curve

 สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกกำลังประสบกับภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มานั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อหวังจะใช้ความสามารถในด้านเศรษฐศาสตร์มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น  ปัญหาเศรษฐกิจที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยอุดมไปด้วยนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นการเติบโต และกลยุทธ์ที่จะสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุน กระนั้นการเข้ามาของ ดร.สมคิด ยังคงดำเนินไปในแนวทางเฉกเช่นเดิม  จนกระทั่งวันนี้ 23 พฤศจิกายน 2558 ครบรอบ 3 เดือนของการเข้ามาทำงานของคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ โดยมีภารกิจที่สำคัญประการแรกคือ หยุดยั้งภาวะการทรุดตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังถดถอย ภาวะปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ความมั่นใจของนักลงทุนและผู้บริโภคลดลง  ซึ่งทันทีที่ ดร.สมคิดเข้ามาทำงานก็มีทั้งมาตรการและนโยบายออกมาอย่างชัดเจน แต่กระนั้นนโยบายที่ออกมาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปในแนวทางเดียวกันว่า “นโยบายประชานิยม” ทั้งมาตรการเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน จัดสรรเงินให้แก่ตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท และเร่งรัดการลงทุนโครงการที่มีขนาดต่ำกว่า 1 ล้านบาท มาตรการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี และมาตรการสุดท้ายคือการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเบื้องต้นงบประมาณที่รัฐส่งเข้าระบบเศรษฐกิจสูงถึง 5 แสนล้านบาท และมีผลในการใช้จ่ายเศรษฐกิจถึง 2 เท่า โดย ดร.สมคิดกล่าวถึงกรณีดังกล่าวอย่างน่าสนใจไว้ในปาฐกถาพิเศษ “ยกเครื่องเศรษฐกิจใหม่ Thailand’s New S-Curve” ว่า

Read More

ฟื้นเศรษฐกิจแบบไทยไทย? ตามรอย Discover Thainess

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องไปทั่วบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ควันไฟและเศษฝุ่นปูนที่ลอยคละคลุ้งอยู่ในอากาศเพิ่งจางหายไปไม่นาน นับเป็นเหตุการณ์ระทึกขวัญที่สร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวไม่น้อย ส่งผลให้มีการยกเลิกการจองโรงแรมสำหรับเข้าพักในบางพื้นที่ ความวิตกปรากฏอยู่เพียงไม่นานเมื่อทุกชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นทันตา แน่นอนว่าหลายฝ่ายเป็นกังวลต่อเหตุดังกล่าว ว่าจะส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยที่กำลังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่องชะลอตัวลง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของไทยกำลังน่าเป็นห่วง ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวอาจจะช่วยพยุงและหนุนนำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้บ้าง ซึ่งหากดูจากสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2558 มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 30.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 826,867.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.95  โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามียุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 ซึ่งมุ่งเน้นในด้านมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสุดท้าย ทั้งนี้หลังจากเปิดระดมความคิดเห็นจากหลายฝ่ายจึงได้ข้อสรุป 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการตลาด 2. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการพัฒนาสินค้าและบริหารท่องเที่ยว และ 3. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ ปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย อีกหนึ่งแคมเปญที่ภาครัฐตั้งธงขึ้นมาเพื่อหวังให้เป็นหมากสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ซึ่งแม้จะได้ผลอยู่บ้างจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างหนักหน่วง หากแต่เกิดคำถามขึ้นในเวลาที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า การท่องเที่ยวไทยมาถูกทางหรือไม่ จะดีกว่าไหมหากจะมองข้ามความงามอันฉาบฉวย แล้วหันกลับมามองให้ลึกถึงทรัพยากรที่มีอยู่และพัฒนาเพื่อผลประโยชน์อันจีรัง นอกจากยุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทยแล้ว กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ ยังผลักดันกลยุทธ์พัฒนาเชิงพื้นที่ 5 คลัสเตอร์ รีแบรนดิ้งพลิกโฉมท่องเที่ยวไทย ยกระดับจากแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกสู่แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีสาระสำคัญของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง

Read More