Home > เศรษฐกิจ (Page 2)

CLMV ได้รับอานิสงส์ที่แตกต่าง หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) อย่างหนักในปี 2020 ไม่แตกต่างจากที่ไทยได้รับ แต่ในปี 2021 ขณะที่ไทยยังคงเผชิญหน้ากับการขยายวงการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทว่า กลุ่มประเทศ CLMV กลับมีผู้ติดเชื้อลดจำนวนลง โดยล่าสุดข้อมูลวันที่ 29 มิถุนายน 2564 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในเมียนมา 1,225 ราย กัมพูชา 883 ราย เวียดนาม 398 ราย และ สปป. ลาว 0 ราย นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าประเทศในกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มการเติบโตหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงขึ้น ศูนย์วิจัยกรุงศรีระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (CLMVIP) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ

Read More

ความเชื่อและความเป็นจริง วิ่งสวนทางในเศรษฐกิจไทย?

ความพยายามของกลไกรัฐไทยที่จะกระตุ้นเร้าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยให้กลับมาฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนทางกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เพราะแม้รัฐไทยจะพยายามสื่อสารว่าได้ตั้งเป้าหมายและต้องการที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564 กลับมาเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 โดยจะเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกมิติ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รวมถึงการเร่งการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว หากแต่จากการประเมินเศรษฐกิจไทยโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กลับระบุว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 โดยไอเอ็มเอฟได้ชี้แนะให้รัฐไทยใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจง ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ด้วยการแก้ พ.ร.ก. ซอฟต์โลน ซึ่งจะขยายไปถึงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าเอสเอ็มอี เช่น ภาคโรงแรม ที่จะเป็นการให้สินเชื่อใหม่ เชื่อมโยงไปกับโครงการโกดังเก็บหนี้ ซึ่งจะให้ธุรกิจที่เดินต่อไปไม่ได้ให้โอนธุรกิจไว้ที่โกดังก่อน และเมื่อมีความสามารถก็ให้กลับมาซื้อคืนในราคายุติธรรม ต้องยอมรับว่าการตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 4 เป็นโจทย์ที่ท้าทายและหวังผลสัมฤทธิ์ได้ยากในภาวะเช่นนี้ หากแต่กลไกรัฐไทยยังคงผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ จะมาจากการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวรับอานิสงส์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อประเทศไทยจะเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงปลายปี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก ซึ่งถือเป็นความคาดหวังที่อยู่บนสมมุติฐานของความเชื่อ มากกว่าที่จะอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งการดูแลเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้นไป ฐานความคิดที่ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจในกลไกรัฐไทย ในด้านหนึ่งให้น้ำหนักอยู่กับการมาถึงและผลจากการฉีดวัคซีนต้าน

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

เศรษฐกิจโลกฟื้น แต่ไทยยังไร้สัญญาณบวก

ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกและเป็นปัจจัยฉุดรั้งการจำเริญเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง หากแต่การคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 มาสู่ระดับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการอนุมัติและฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ในประเทศต่างๆ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยเกื้อหนุนความหวังที่จะเห็นการยุติการแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคตอันใกล้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศยังประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 ที่ผ่านมามีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะหดตัวลดลงที่อัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งดีกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคม ที่ IMF ระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 4.4 ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการคาดการณ์ไว้เดิมนี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกในภาพรวม แต่เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจโลกดำเนินไปท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 5.1 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 โดยได้ปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาตรการภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผ่านการอนุมัติเห็นชอบของรัฐสภาก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอีก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนในปี

Read More

โควิดระลอกใหม่กระทบหนี้ครัวเรือน ซ้ำเติมความเปราะบางทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวนับตั้งแต่สถานการณ์ของผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นศูนย์ และพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน เป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น ความฝัน ความหวังของผู้คนในหลายแวดวงเริ่มปรากฏแจ่มชัดขึ้น เมื่อเริ่มมองเห็นสัญญาณอันดี จากสถานการณ์การติดเชื้อที่ลดลงภายในประเทศ ภาครัฐจึงเร่งประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงลึกในระดับฐานรากมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้คนในประเทศช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป ให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แม้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจกำลังเดินเครื่องไปข้างหน้าอย่างช้าแต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ทว่า ทุกสิ่งกลับพังครืนลงมาก่อนศักราชใหม่จะเริ่มขึ้น จุดเริ่มต้นการระบาดระลอกใหม่มาจากกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการลักลอบนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทย โดยไม่ผ่านระบบตรวจคัดกรองโรค รวมไปถึงกลุ่มคนไทยที่เดินทางออกนอกประเทศเพื่อทำกิจกรรมในบ่อนพนันในต่างประเทศ และหลบหนีกลับเข้ามาหลังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในบ่อน ขณะที่คนในประเทศตั้งการ์ดสูง ด้วยความพยายามอย่างสุดกำลังที่จะดึงกราฟผู้ติดเชื้อในประเทศให้เป็นศูนย์ และรอคอยวัคซีนที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหยุดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสครั้งนี้ เมื่อการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นและขยายวงกว้างมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาครัฐต้องออกคำสั่งหยุดดำเนินกิจการ กิจกรรมบางจำพวก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส แม้จะส่งผลดีต่อการควบคุมด้านสาธารณสุข แต่กลับส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฐานราก รายได้ที่หดตัวอยู่ในช่วงพีคของการระบาดระลอกแรก กำลังกลับสู่สภาพเกือบปกติจากการดำเนินกิจการได้หลังการผ่อนคลายมาตรการในปีที่ผ่านมา แต่การระบาดระลอกใหม่ส่งผลเสียต่อสถานการณ์ทางการเงินหนักกว่าเดิม เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงจำนวนมาก จีดีพีของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน และตัวที่ชี้วัดสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงทางเศรษฐกิจของไทยคือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น กระทั่งไตรมาส 3/2563 ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีที่ 86.6 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรก และความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ต้องยอมรับว่าความแข็งแรงด้านสภาพการเงินของครัวเรือนไทยดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของการขอใช้สินเชื่อทั้งจากในระบบและนอกระบบ ในขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนบางส่วนค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นส่งผลโดยตรงกับสภาพคล่องด้านการเงินของประชากรไทย สถานการณ์ในปัจจุบันกลายเป็นตัวซ้ำเติมปัญหาที่เปราะบางเป็นทุนเดิมให้สาหัสมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่หนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นมาที่

Read More

โควิดระบาดระลอกใหม่ เสี่ยงล็อกดาวน์ กระทบเศรษฐกิจ

หลังการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี ไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการจัดการด้านสาธารณสุขในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าปัจจุบันจะยังพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้าง ทว่าก็เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น สถานการณ์ภายในประเทศเริ่มดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ห้างร้านที่เคยหยุดกิจการไปในช่วงเวลาหนึ่ง สามารถกลับมาสู่รูปแบบเกือบปกติ ภาครัฐหว่านนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับ และผลออกมาเป็นที่น่าพอใจของทุกฝ่าย ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยเศรษฐกิจเกือบทุกสถาบันประเมินว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ไม่มีการระบาดระลอกใหม่ และรัฐบาลออกมาตรการหนุนนำเศรษฐกิจ พร้อมทั้งประชาชนที่มีกำลังซื้อนำเงินออกมาจับจ่ายตามสมควร การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในประเทศทำให้เกิดภาวะความต้องการแรงงานจำนวนมาก ในขณะเดียวกันกับที่แรงงานจากภายนอกก็ต้องการกลับเข้ามาในประเทศไทยเช่นกัน กระทั่งเกิดการลักลอบเข้าไทยตามเส้นทางธรรมชาติถี่ขึ้นจนปรากฎบนหน้าข่าวหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์แทบทุกสำนัก นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากการทำงานอย่างหนักของเจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถหยุดการกระทำดังกล่าวได้ แน่นอนว่า ด้วยอาณาเขตของไทยที่มีชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาเป็นระยะทางยาวหลายพันกิโลเมตร เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจไม่สามารถควบคุมและดูแลพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับมีกลุ่มบุคคลที่แสวงหาผลประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว ด้วยการรับจ้างขนแรงงานต่างด้าวข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่หรือระลอกสองเริ่มขึ้นเมื่อ ศบค. แถลงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า พบผู้ติดเชื้อในประเทศจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 1 ราย เป็นเจ้าของแพปลา และในวันที่ 19 ธันวาคม พบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 12 ราย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันทำให้ภาครัฐต้องดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพบการติดเชื้อในแรงงานต่างด้าวจำนวน 516 ราย และมีการติดเชื้อภายในประเทศอีก 19 ราย ในวันที่ 20 ธันวาคม การพบผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นแตะหลักร้อยภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่งผลให้พ่อเมืองจังหวัดสมุทรสาครประกาศใช้มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Read More

พินิจปัจจัยฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ส่งจีดีพีไทยติดลบน้อยลง

เศรษฐกิจไทยเดินทางมาถึงเดือนสุดท้ายของศักราช พร้อมกับรอยแผลที่บาดลึกจนเกิดแผลเป็น ที่แน่นอนแล้วว่า ผลพวงนั้นจะยังคงตามติดไปจนถึงศักราชใหม่อย่างไม่อาจเลี่ยง วิกฤตจากเชื้อไวรัสโควิดสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนไม่น้อย ผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงรายใหญ่ ต้องเผชิญกับความยากเข็ญในช่วงที่ผ่านมา หากสายป่านยาวอาจจะพอใช้ให้ยืนระยะต่อไปได้ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรืออาจถาวร ด้านตลาดแรงงานไทยประสบปัญหาจากวิกฤตนี้ไม่ต่างกัน ข่าวเลิกจ้าง ลดค่าแรง ลดเวลาทำงาน ที่ปรากฏให้เห็นแบบรายวัน ส่งผลต่อรายได้ของประชาชนแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัจจัยด้านรายได้นี้กระทบต่อความสามารถในการดำรงชีวิต การจับจ่ายใช้สอย การชำระหนี้ อันนำมาซึ่งหนี้เสีย และกำลังซื้อของภาคประชาชนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในปีนี้ค่อยๆ ไต่ระดับลงจนกระทั่งติดลบในที่สุด แม้ไทยจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลขและจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยค่อยๆ ลดจำนวนลง และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขไทยสร้างชื่อด้วยการควบคุมเชื้อไวรัสให้อยู่ในวงจำกัดได้เป็นอย่างดี ด้านรัฐบาลพยายามเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับฟันเฟือง และประชาชนส่วนใหญ่สามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดในวิกฤตที่เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่และรอคอยวัคซีนด้วยความหวังที่จะทำให้วิกฤตนี้สิ้นสุดลง บริษัทผลิตวัคซีนเร่งพัฒนา ทดสอบ และผลิตเพื่อนำออกมาใช้กับประชากรโลก หลายประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น จีน ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อีกหลายประเทศควบคุมสถานการณ์ของเชื้อไวรัสในประเทศตัวเองได้ดีพอสมควร ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ EIC หรือ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2020 เป็นหดตัวน้อยลงที่ -6.5% จากเดิมคาดว่า -7.8% มูลเหตุมาจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2020 โดยจากข้อมูล GDP ในช่วงไตรมาส 3

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงรอบ 18 ปี  ทำเศรษฐกิจไทยบอบช้ำรุนแรง

คงไม่มีปาฏิหาริย์ใดที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ เมื่อดัชนีสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปได้ ยังคงถูกล้อมกรอบไปด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งกำลังซื้อของภาคประชาชนที่อ่อนกำลังลงเป็นทุนเดิม การขยายตัวของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางประเภทจนทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย ผนวกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางยิ่งขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ติดลบทั้งสองไตรมาสที่ผ่านมา น่าจะอธิบายความได้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิดจะเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง แต่ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีค่อยๆ ไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง และเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคือสัญญาณบ่งบอกความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น นั่นคือ ระดับ “หนี้ครัวเรือน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานออกมาอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของไตรมาสก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเพียง 3.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่ามูลหนี้ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายอะไร ทว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ การปรับลดลงของจีดีพีที่ติดลบเพิ่มขึ้น หรือเข้าใจง่ายๆ นั่นคือรายได้ของประชาชนลดลง ทั้งจากปัญหาการว่างงานและการถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงตัวเลขของตลาดแรงงานในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวแตะระดับ 7.5 แสนคน และจำนวนผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มคนที่ยังมีงานทำแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นใกล้เคียง 5.4 ล้านคน แม้ว่าจำนวนผู้เสมือนว่างงานจะลดลงเหลือ

Read More

ไร้สัญญาณบวก เศรษฐกิจไทยทรุดต่อเนื่อง

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณบวก หลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างบาดแผลและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งปัญหาการปิดกิจการของธุรกิจและความเปราะบางในตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคและความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการปิดกิจการที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก่อนหน้านี้ก็คือในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาพบว่าอัตราว่างงานไทยเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.95 ซึ่งนับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 11 ปี และรายได้ของแรงงานที่ยังมีงานทำ ก็มีแนวโน้มหดตัวลงมาก จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลงร้อยละ 11.5 จากช่วงปกติ และงานโอทีที่หายไป ขณะที่มีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นสูงถึง 2.5 ล้านคน สะท้อนความอ่อนแอของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นบาดแผลที่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา หากการปิดกิจการและการว่างงานเพิ่มขึ้นและยืดเยื้อ ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ การบริโภคและการลงทุน ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ แรงงานภาคบริการ ซึ่งสูญเสียตำแหน่งงาน หลังจากที่สถานประกอบการต้องปิดตัวลงหรือเลิกจ้างจากผลของการปิดเมือง และการจำกัดการเดินทาง ทำให้แรงงานกลุ่มนี้กลับไปสู่ภาคเกษตรสูงถึง 700,000 คน ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าเดิม และยังมีความเสี่ยงภัยแล้ง ขณะที่ข้อเรียกร้องที่จะให้รัฐเข้าไปดูแล ด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ ดูจะเป็นกรณีที่ยากจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มาตรการผ่อนคลายหลังการปิดเมือง รวมถึงมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยกำลังส่งสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 (Bottomed out) หากแต่เมื่อกำลังจะสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 กลับมีข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลง

Read More

ธุรกิจไทยยังทรุดหนัก ทุกสำนักปรับลด GDP ติดลบ

สถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยยังคงทรุดตัวหนักและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นคืนกลับมาได้โดยง่ายและในเร็ววัน และทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจก็หดหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาทอีกด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมความหวังและเป็นจักรกลหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาในช่วงก่อนหน้านี้กลายเป็นฝันสลายเมื่อแนวความคิดว่าด้วย Travel Bubble ที่เป็นการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศคู่เจรจาถูกพับฐานลงไปเมื่อจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศยังคงพุ่งทะยานขึ้นสูงและทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวต้องรอคอยให้ COVID-19 คลี่คลายไปมากกว่านี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามักได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก หากแต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสภาพเศรษฐกิจไทยที่ปรากฏขึ้นอยู่นี้เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการของรัฐที่ขาดความรอบคอบและการวางแผนเพื่อรับมือผลกระทบที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีดังกล่าวอยู่ที่ผลของมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและธุรกิจบันเทิงที่มีผลกระทบรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบมากถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่ดำเนินอยู่ก่อนหน้าโดยปราศจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท กรณีเช่นว่านี้ทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ให้อยู่ในระดับติดลบร้อยละ -8.4 ถึงลบร้อยละ -11.4 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางการส่งออกที่ติดลบร้อยละ 10.2 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบร้อยละ -8.8 ถึงร้อยละ -12.0 การลงทุนรวมติดลบร้อยละ -8 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ -5.4 ถึงร้อยละ -7.4 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปถึงร้อยละ 82.3 จากเดิมที่คาดว่าจะหายไปร้อยละ 74.3-78.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบร้อยละ

Read More