Home > เซเว่นอีเลฟเว่น (Page 2)

เซเว่น 4.0 เร่งปักหมุดแลนด์มาร์ก

เป้าหมายของยักษ์ใหญ่ “7-11” ไม่ใช่แค่การปูพรมสาขายึดพื้นที่ทุกจุดทั่วประเทศ ล่าสุดเดินหน้าสงครามรอบใหม่ผุดสาขาเต็มรูปแบบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เซเว่น 4.0” แห่งที่ 2 เจาะตลาดท่องเที่ยวเมืองพัทยา โดยประกาศเป็นแลนด์มาร์กจุดนัดพบของกลุ่มเป้าหมายชนิดที่คู่แข่งอย่าง “แฟมิลี่มาร์ท-ลอว์สัน” ต้องเร่งปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ขณะเดียวกัน หากวัดจำนวนสาขาของผู้เล่น 5 อันดับแรก อันดับ 1 7-11 ล่าสุดมีสาขามากกว่า 10,300 แห่ง และตั้งเป้าหมายภายในปี 2563 จะเพิ่มสาขาให้ได้ถึง 13,000 สาขา รองลงมาเป็นโลตัส เอ็กซ์เพรส ประมาณ 1,500 สาขา แฟมิลี่มาร์ท กว่า 1,100 สาขา มินิบิ๊กซี 800 สาขา และลอว์สัน 120 สาขา แน่นอนว่า บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ “7-11” ในประเทศไทย

Read More

เกมขายหุ้น “เงินติดล้อ” ลุ้นแผนรุกร้านสะดวกซื้อ

การประกาศขายหุ้นบริษัท เงินติดล้อ จำกัด 50% ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยหรือ “ไมโครไฟแนนซ์” ที่มีเม็ดเงินหลักแสนล้านบาท เมื่อผู้ถือหุ้นรายใหม่เป็นกลุ่มนักลงทุนนำโดยกองทุน CVC Capital Partners Asia Fund IV (CVC) และบริษัท Equity Partners Limited (EPL) ที่มีคนตระกูล “เจียรวนนท์” เป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่ ท่ามกลางสงครามการแข่งขันธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่เร่งขยายแนวรบ “แบงกิ้งเอเย่นต์”อย่างเต็มรูปแบบ ไอเดีย “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน” ที่ ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตนายแบงก์ เคยจุดประกายเมื่อ 4 ปีก่อน ผุดขึ้นทันควัน วันนั้น 20 กุมภาพันธ์ 2557 ทนงเปิดตัวในฐานะผู้ร่วมถือหุ้นและประธานกรรมการบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) ในงานแถลงข่าวการเสนอขายหุ้น IPO และเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยย้ำกลยุทธ์การสร้างเครือข่าย “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน” เปิดช่องทางให้ลูกค้าระดับชาวบ้านทั่วไปเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น แน่นอนว่า

Read More

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

ศึกกาแฟ 3 ยักษ์สะดวกซื้อ แฟมิลี่มาร์ทปั้น Arigato

การเผยโฉม “ลอว์สันคาเฟ่” แห่งแรกในร้านลอว์สัน 108 สาขาตลาดนัดเมืองไทยภัทร โดยตั้งใจให้เป็นแฟลกชิปสโตร์ เน้นภาพลักษณ์หรูหรารับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่แค่การปลุกแนวรบคอนวีเนียนสโตร์ให้ร้อนเดือด แต่ยังเป็นการประชันจุดขายใหม่ “คอฟฟี่คาเฟ่” ของ 3 ค่ายยักษ์คอนวีเนียนสโตร์ที่ซุ่มปลุกปั้นแบรนด์ร้านกาแฟ เพื่อสร้างแม็กเน็ตแย่งชิงกลุ่มลูกค้าในสถานการณ์ที่ร้านสะดวกซื้อต่างค่ายต่างแบรนด์ต่างเปิดสาขาแทบจะชนกันในทุกพื้นที่ หากวัดจำนวนสาขาล่าสุดของแต่ละฝ่าย เซเว่นอีเลฟเว่นนำโด่งปูพรมสาขาครบแล้ว 10,000 แห่ง และบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ยังวางแผนผุดเพิ่มอย่างน้อยอีก 700 สาขาในปี 2561 เพื่อสกัดคู่แข่งชนิด 360 องศา ขณะที่เบอร์ 2 แฟมิลี่มาร์ท มีจำนวนสาขารวม 1,139 แห่ง และตั้งเป้าหมายเปิดครบ 3,000 สาขาภายใน 3 ปีข้างหน้า ส่วนลอว์สัน108 หลังเปิดสาขาตลาดนัดเมืองไทยภัทร ร้านแห่งที่ 100 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บริษัทสหลอว์สัน เตรียมขยายเพิ่ม 20 สาขา ทั้งร้านแบรนด์ LAWSON 108 และ

Read More

ตรวจแนวรบคอนวีเนียนสโตร์ สมรภูมิชนช้างชิงพื้นที่

ล่าสุด เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ออกมาย้ำอีกครั้งถึงความร่วมมือกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการขยายร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ต่อไปตามสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟพาร์ตเนอร์อีก 6 ปี โดยยังคงใช้รูปแบบการเติบโตไปด้วยกันและตั้งเป้าจะขยายครบ 1,700 แห่ง จากปัจจุบันมีทั้งสิ้นประมาณ 1,100 แห่ง แต่เรื่องอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงได้ และช่วงปลายปี 2560 บอร์ด ปตท. จะพิจารณาแผนการลงทุนธุรกิจทั้งหมด ซึ่งรวมถึงธุรกิจนอนออยล์ พร้อมๆ กับการเร่งแยกธุรกิจค้าปลีกเป็นบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (PTTOR) โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เร่งโอนทรัพย์สินให้ PTTOR ก่อนวันที่ 1 ธ.ค. 2560 เพื่อนำ PTTOR เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

Read More

เซเว่นฯ พลิกกลยุทธ์สู้ “ศึกนอก-ศึกใน” รุมถล่ม

  แม้ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตัดสินใจพลิกกลยุทธ์ส่งสารแจงที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) พร้อมประกาศจัดตั้งบอร์ดบรรษัทภิบาล ยกระดับมาตรฐานเพื่อเรียกความเชื่อมั่น หลังเกิดเหตุสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งปรับ 4 ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารติดรวมอยู่ด้วย ข้อหาใช้ข้อมูลภายใน (อินไซเดอร์) ซื้อขายหุ้น “แม็คโคร” แต่ปัญหายังไม่จบ ล่าสุดสถาบันไทยพัฒน์ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นไทยที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศผลการจัดอันดับบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 100 อันดับ ประจำปี 2559 หรือ “อีเอสจี 100 (ESG 100)” ซึ่งปรากฏว่าซีพีออลล์หลุดเกณฑ์อีเอสจี 100  ขณะเดียวกันการที่บอร์ดซีพีออลล์ไม่มีคำสั่งให้ผู้บริหารพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมองว่ากระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นบางคน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) และนักลงทุนสถาบันเรียกร้องให้ผู้บริหารออกจากตำแหน่ง พร้อมโต้กลับด้วยการลดน้ำหนักการลงทุนและทยอยขายหุ้นซีพีออลล์ ต้องถือว่าช่วงปี 2558 คาบเกี่ยวถึงปี 2559 ซีพีออลล์เจอศึกหนักหน่วงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งปัญหาภาพลักษณ์ขององค์กรและต้องฝ่าสมรภูมิค้าปลีกที่มีคู่แข่งยักษ์ใหญ่เข้ามาช่วงชิงตลาดรอบด้าน เพราะทุกค่ายต่างประกาศรุกสงคราม

Read More

โจทย์ใหญ่ ลอว์สัน เมื่อคนไทยติดสไตล์ “เซเว่นฯ”

 ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทยเปิดตัวเมื่อปี 2532 เริ่มต้นหมุดตัวแรกหัวมุมถนนพัฒนพงศ์ ก่อนขยายเข้าปั๊มน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ จนถึงล่าสุดเจาะเข้าสู่ทุกชุมชนมากกว่า 7,800 สาขา และตั้งเป้าขยายครบ 10,000 สาขาในปี 2561 กลายเป็นคอนวีเนียนสโตร์ที่ฝังรากลึกกับลูกค้าคนไทยนานกว่า 25 ปี  ที่สำคัญ สร้างพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งนั่นคือโจทย์ข้อใหญ่ที่คู่แข่ง ทั้ง “แฟมิลี่มาร์ท” และ “ลอว์สัน 108” ของเครือสหพัฒนฯ ยอมรับว่า “ยากที่สุด” อย่างที่ เวทิต โชควัฒนา กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่า คนไทยติดสไตล์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มากเกินไป  ก่อนหน้านี้ เครือสหพัฒนฯ พยายามปลุกปั้นร้านสะดวกซื้อ “108 ช็อป” โดยหวังให้เป็นมินิเอาท์เล็ตกระจายสินค้าในเครือและดึงชุมชน ผู้ประกอบการรายกลางรายย่อยหรือเอสเอ็มอี สร้างพลังต่อรองกับกลุ่มซูเปอร์สโตร์ต่างชาติที่สยายปีกทั่วทุกมุมเมือง แต่ไม่สามารถแข่งขันเจ้าตลาด ต้องปรับตัว

Read More

“ความสามารถ+พันธมิตร” ทางรอด SMEs ในยุค AEC ?

 ความเป็นไปของ AEC ดูจะแผ่ซ่านครอบคลุมไปในทุกบริบท ไล่เรียงตั้งแต่มิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม แต่ประเด็นที่กำลังสร้างความกังวลใจอย่างกว้างขวางน่าจะอยู่ที่อนาคตของ SMEs ไทยว่าจะดำเนินไปอย่างไรในกระแสธารแห่ง AEC ที่ว่านี้ แม้ว่าในความเป็นจริง SMEs ในหลายภาคอุตสาหกรรมจะถือเป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ สินค้าเกษตร อาหารแปรรูป พลังงานทดแทน รวมถึงกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ บริการ เพราะมีโอกาสทางการค้าอยู่มากมาย และSMEs ของไทยก็มีศักยภาพที่จะก้าวไปสู่ตลาดภายนอกได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิด AEC  แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาดธุรกิจที่อาจจะยังไม่แข็งแรงพอที่จะสร้างอำนาจต่อรองในการแข่งขัน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนไม่น้อยต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน ซึ่งทางออกของประเด็นนี้ในด้านหนึ่งอยู่ที่การส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจับมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนธุรกิจ ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ ทั้งในมิติของค่าขนส่ง ค่าวัตถุดิบ การแลกเปลี่ยนวิธีในการบริหารจัดการและเทคโนโลยี เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งที่กลุ่ม SMEs ต้องตระหนักและเร่งดำเนินการ อยู่ที่การเก็บข้อมูลเพื่อมาพัฒนา สินค้าและบริการ สร้างคุณค่าคุณภาพ ไปสู่มาตรฐาน ไปสู่ลูกค้ากลุ่มที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นลำดับขั้นของการพัฒนา SMEs จากธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ให้เติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และเป็นบริษัทระดับโลก ที่ทันสมัย ซึ่งมีประเด็นว่าด้วยการปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพของการผลิตและแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญ ทัศนะว่าด้วยการพัฒนา SMEs

Read More