Home > เครือเจริญโภคภัณฑ์ (Page 2)

ผวาโควิดหนีตลาดสด เซ็นทรัล-ซีพี ยอดขายพุ่ง

พิษการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต้นตอใหญ่มาจากตลาดค้ากุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลดาวกระจายเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่เดินทางมารับอาหารทะเลสดไปขายปลีกในหลายจังหวัด จนเกิดกระแสหวาดผวาอย่างหนัก ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกเดินตลาดสดแห่เข้าซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตอกย้ำมาตรฐานความปลอดภัย ไร้เชื้อ แถมมีโปรโมชั่นแรงๆ แข่งขันกันมากขึ้น ล่าสุด เครือข่ายสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งเปิดเผยสถานการณ์กุ้งของไทย ระบุว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2563 โดยรวมอยู่ที่ 270,000 ตัน ลดลง 7% เมื่อเทียบกับปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 290,000 ตัน เป็นผลจากปัญหาเรื่องโรคระบาดและความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อตลาดและราคาตกต่ำ ขณะเดียวกัน การส่งออกกุ้งช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 มีปริมาณ 123,297 ตัน มูลค่า 35,872 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ส่งออกปริมาณ 135,249 ตัน มูลค่า 40,185 ล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ที่ร้อยละ 9 และร้อยละ 11 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป รวมทูน่ากระป๋องและแปรรูป แต่ไม่รวมกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป

Read More

เปิดแล้ว “CP Fresh” ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งใหม่ใจกลางเมืองปากช่อง

CP Freshmart เปิดตัว “CP Fresh” ซูเปอร์มาร์เก็ต โมเดลใหม่ สาขาปากช่อง แหล่งรวมความสดรูปแบบใหม่ “สดทุกวัน…คุ้มทุกวัน” เอาใจผู้บริโภคยุคนิวนอร์มอล พร้อมหนุนผู้ประกอบการร้านอาหารในท้องถิ่นเติบโตด้วยกัน ภายในงาน ได้รับเกียรติจากนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมเป็นประธานเปิดร้าน “CP Fresh”รวมทั้งมี ดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานอาวุโส เครือซีพี, นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือซีพี, นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ และ นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ซีพีเอฟ มาร่วมเปิดร้านด้วย นายสุจริต มัยลาภ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร และผู้บริหารธุรกิจ ซีพีเฟรชมาร์ท เปิดเผยว่า

Read More

CP กับบทบาทแบงกิ้งเอเยนต์ พลิกภูมิทัศน์ใหม่การเงินไทย??

ข่าวการอนุญาตให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 สามารถขยายการให้บริการธุรกรรมทางการเงินในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ครั้งใหม่ถึงการขยายแนวรุกเข้าครอบครองธุรกิจ และแผ่อิทธิพลครอบงำวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยยิ่งขึ้นแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง ได้สะท้อนปรากฏการณ์ของการปรับตัวของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ก่อนหน้านี้พยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่ายด้วยการทยอยปิดสาขาลง และหลายแห่งกำหนดแผนที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหาร การบริการมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ความคลาดเคลื่อนของการอนุญาตให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 สามารถให้บริการธุรกรรมทางการเงิน แม้จะไม่ใช่การให้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์หากแต่เป็นเพียงการเพิ่มสถานะการเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์หรือ banking agent เพื่อทำหน้าที่แทนธนาคารพาณิชย์ได้ในบางธุรกรรม เช่น รับฝากเงิน รับชำระเงิน จ่ายค่าบริการ ก็ดูจะเป็นอีกก้าวที่เพียงพอให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 มีความได้เปรียบคู่แข่งขันไปอีกไกลพอสมควร และเป็นจังหวะก้าวที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจมีผลต่อการขยับขยายธุรกิจของ 7-11 ในอนาคต รูปแบบธุรกิจที่ก้าวจากการเป็นร้านสะดวกซื้อ ขยายไปสู่ธุรกิจธนาคารในนาม Seven Bank ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ร่มธงของ Seven & I Holdings ซึ่งนับเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก ถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบกับจังหวะก้าวของ 7-11 ในประเทศไทย จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมายืนยันว่ายังไม่มีนโยบายในการออกใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนธนาคารพาณิชย์ (banking agent) มาตั้งแต่ปี 2553

Read More

2014 ปีแห่งการรุกรบสมรภูมิค้าปลีกไทย

 นอกเหนือจากการห้ำหั่นกันในสมรภูมิการเมืองไทย เพื่อช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์ที่เห็นประจักษ์อยู่บนท้องถนนนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2013 จวบจนกระทั่งในห้วงเวลาปัจจุบันแล้ว ความเคลื่อนไหวทางธุรกิจที่น่าจับตามองมากเป็นพิเศษ และมีความเคลื่อนไหว ปรับแต่ง เพื่อสร้างเสริมสรรพกำลังกันอย่างต่อเนื่อง คงไม่มีธุรกิจใดมีความน่าตื่นตาตื่นใจมากไปกว่าธุรกิจค้าปลีกไทย ที่กำลังประลองและพร้อมจะรบพุ่งเข้าใส่กันในปีม้าทอง 2014 นี้อย่างแน่นอน ตลอดปี 2013 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ ของธนินท์ เจียรวนนท์ ได้วางเข็มมุ่งที่จะปักหมุดและครอบครองพื้นที่สำหรับการขยายอาณาจักรค้าปลีกของกลุ่ม CP ไว้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรุกของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นแม็คโครจากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และบริษัทในเครือเมื่อช่วงต้นปี  ซึ่งกรณีดังกล่าวถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวสำคัญของธนินท์ เจียรวนนท์ ในการขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” อย่างครบวงจรโดยเฉพาะการปรับกระบวนทัพยึดทุกช่องทางค้าปลีก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจำนวนมหาศาล แม้วงการค้าปลีกมองดีลครั้งนี้เป็นการลงทุนที่แพงมาก แต่สำหรับซีพีถือเป็นการลงทุนที่สามารถต่อยอดหลายชั้น เนื่องจากเป็นทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบครอบคลุมตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การแปรรูปเนื้อสัตว์ เนื้อดิบๆ กึ่งปรุงสุก ปรุงสุก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป

Read More

“ครัวไทยสู่โลก” เข็มมุ่งของผู้ประกอบการไทย

 การประกาศรุกตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการด้านอาหารของไทย ดูจะกลายเป็นยุทธศาสตร์และแนวโน้มที่ไม่อาจเลี่ยงได้ในอนาคต หลังจากที่ประเทศไทยวางยุทธศาสตร์ประเทศไว้ที่การเป็นครัวของโลกมานาน เกือบทศวรรษที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์รุกเข้าไปลงทุนและวางโครงข่ายการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง และนับเป็นทุนไทย หรือผู้ประกอบการไทย ที่มีลำดับขั้นการพัฒนาทางธุรกิจสอดรับกับยุทธศาสตร์ของชาติมากที่สุดหลายหนึ่ง ก่อนหน้านี้ CPF เคยรุกตลาดญี่ปุ่นด้วยการร่วมลงทุนกับ Yonekyu Corp. บรรษัทผู้ประกอบการผลิตและแปรรูปเนื้อสัตว์ขนาดกลางจากญี่ปุ่น ด้วยการจัดตั้งบริษัท CP-Yonekyu เมื่อช่วงปลายปี 2004 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของ CPF ภายใต้ความมุ่งหวังว่าระดับการพัฒนาและเทคโนโลยีทางการผลิตของ Yonekyu อาจช่วยลดทอนระยะเวลาและเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นในอนาคต หลังจากที่ CPF ต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก ในช่วงก่อนหน้านั้นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในแต่ละปีญี่ปุ่นนำเข้าไก่สดแช่เย็น-แช่แข็ง และไก่แปรรูปจากประเทศไทยมีมูลค่าเฉลี่ยกว่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 47-52 ของมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่ของไทย การสูญเสียตลาดส่งออกไก่ดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมารองรับกับรายได้ที่หดหายไปด้วยแต่การปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ย่อมมิได้เกิดขึ้นโดยลำพัง ท่ามกลางสุญญากาศที่ปราศจากคู่แข่งขันในการช่วงชิงช่องทางธุรกิจนี้ เพราะผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรทั้งจากยุโรปและอเมริกา ต่างติดตามสถานการณ์และความเชื่อที่ว่า “วิกฤตของไก่คือโอกาสของหมู”CPF พยายามขยายบริบททางธุรกิจให้กว้างขวางออกไปจากปริมณฑลของไก่ โดยได้ขยายบริบททางธุรกิจเข้าสู่ Aquaculture และการขยายฐานรายได้ในหมวด Hams & Sausages รวมถึงธุรกิจแปรรูปอาหาร (processed foods) อีกหลากหลายที่กำลังมีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ

Read More

คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ต่อยอดแนวคิด ธนินท์ ครบวงจร

  “ประเทศไทยเต็มไปด้วยโอกาสในการก้าวสู่การเป็นผู้นำเกษตรโลก ภาคเกษตรของไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้า วันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการเกษตร เพราะทุกอย่างได้เอื้ออำนวยและผลักดันให้เกษตรกรไทยมีฐานะร่ำรวยขึ้น”     คำกล่าวของ “ธนินท์  เจียรวนนท์” ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มาพร้อมความเชื่อที่ว่า โลกกำลังก้าวสู่ยุคของ “น้ำมันบนดิน” หรือ “พืชเกษตร” ซึ่งเป็นน้ำมันเลี้ยงมนุษย์ เป็นพลังงานของมนุษย์ และเป็นพลังงานของเครื่องจักร      ส่วน “ก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มองว่า ประเทศไทยอาจก้าวไปไม่ถึงจุดที่ธนินท์พูด เนื่องจากขาดคนที่จะขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย และประชากรรุ่นใหม่ในภาคเกษตรลดลงจนน่าเป็นห่วง       วันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา “ซีพี” ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร จึงได้ลงนามกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อจัดตั้ง “คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร” ขึ้นที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ”นักจัดการเกษตร”

Read More

พืช…มงคล เพาะหว่านพืช…ต้องหวังผล

เมล็ดพันธุ์ที่ดีเป็น “แหล่งกำเนิดอาหารคุณภาพของโลก”ทุกวันพืชมงคล คนไทยจะได้เห็นภาพการถ่ายทอดสดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญผ่านทางทีวีสาธารณะ พร้อมกับลุ้นว่าปีนั้นพระโคจะเสี่ยงทายอะไร ภาพพระราชพิธีเป็นเครื่องย้ำเตือนว่า ประเทศไทย (เคย) เป็นประเทศเกษตรกรรม แม้ว่าสังคมเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันจะพึ่งพารายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมานานแล้วภาพสุดท้ายของพระราชพิธีในทุกๆ ปีคือ ภาพประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรกรูกันเข้าไปแย่งชิงเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานที่ใช้ในพระราชพิธี คนกลุ่มหนึ่งตั้งใจนำไปบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนเกษตรกรหลายคนตั้งใจนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไปเป็นปลูกไว้ทำพันธุ์ในแปลงข้าว เพราะเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะเป็นหัวใจของผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูงคงไม่มีเกษตรกรคนใดที่หว่านเมล็ดพันธุ์แล้วไม่หวังผลที่ดีที่สุดจากการลงทุนและลงแรงในแต่ละครั้ง แต่กว่าที่ผลลัพธ์จะประจักษ์ว่าขาดทุนหรือได้กำไร ก็ต้องใช้เวลารอคอยด้วยความคาดหวัง“ถ้าเมล็ดพันธุ์ไม่ดี ลงทุนไปแล้ว 2-3 เดือน ไถดิน ของออกมาไม่ดี แย่เลย การลงทุนเสียหายหมด เพราะฉะนั้นเราเน้นมากเรื่องความเชื่อถือได้ สินค้ามีคุณภาพ และด้านบริการหลังการขาย” คำกล่าวของมนัส เจียรวนนท์ ในฐานะประธานคณะผู้ปฏิบัติการ บริษัท เจียไต๋ จำกัด“เจียไต๋” เป็นบริษัทที่บุกเบิกธุรกิจค้าเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพมาตั้งแต่ปี 2464 จุดเริ่มต้นจากแผงลอยเล็กๆ ย่านทรงวาด โดยนำเข้าเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพจากประเทศจีนมาขาย ภายใต้วิสัยทัศน์ของ “เจี่ย เอ็กชอ” และ “ชนม์เจริญ เจียรวนนท์” พ่อและอาของเจ้าสัวซีพี เจียไต๋จึงถือเป็นธุรกิจแรกและเป็นรากเหง้า (original) ของเครือซีพี มนัสเป็นลูกชายคนเล็กของชนม์เจริญ เข้ามาดูแลธุรกิจนี้ตั้งแต่ปี 2527

Read More

ซีพี เชื่อ แม็คโคร จะเป็นใบเบิกทางสู่เวทีโลก

 การที่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ “แม็คโคร” ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเองในประเทศไทยด้วยมูลค่าประมาณ 188,880 ล้านบาท เป็นประโยชน์ทั้งต่อการดำเนินธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์และประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบาย 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คือ การลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการศึกษาธุรกิจค้าปลีกอย่างละเอียด ธุรกิจค้าปลีกนั้นสามารถแยกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1. Mall หรือ Department store 2. Hyper market 3. Convenience store 4. Wholesale หรือ ค้าส่ง ซึ่งรวมแล้วเรียกว่าค้าปลีก ธุรกิจค้าปลีกในไทยมีแนวโน้มที่ดี เพราะอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทยมีแต่บวกกับบวก ความเสี่ยงในการซื้อกิจการแม็คโครนั้น ขณะนี้ยังมองไม่เห็น ที่สำคัญ แม็คโครมีสิทธิที่จะขยายการลงทุนไปได้ทั่วโลก โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายไปที่กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีสมาชิก 10 ประเทศ

Read More

“ซีพี” เฉือนคู่แข่ง ฮุบ “แม็คโคร” กินรวบ

การทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นแม็คโครของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และบริษัทในเครือ  ถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวสำคัญล่าสุดของธนินท์ เจียรวนนท์ ในการขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” อย่างครบวงจร โดยเฉพาะการปรับกระบวนทัพยึดทุกช่องทางค้าปลีก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจำนวนมหาศาล แม้วงการค้าปลีกมองดีลครั้งนี้เป็นการลงทุนที่แพงมาก  แต่สำหรับซีพีถือเป็นการลงทุนที่สามารถต่อยอดหลายชั้น เนื่องจากเป็นทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบครอบคลุมตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การแปรรูปเนื้อสัตว์ เนื้อดิบๆ กึ่งปรุงสุก ปรุงสุก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และการเปิดหน้าร้าน ทั้งร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ขณะที่แม็คโครเป็นผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์ค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตัวเอง (Cash & Carry) มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ร้านค้าปลีก ร้านโชวห่วย โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจจัดเลี้ยง (โฮเรก้า) สถาบันการศึกษา และสำนักงานต่างๆ ในรูปแบบสมาชิกจำนวนมากกว่า

Read More

ประชุม Boao Forum for Asia ประจำปี 2013

18 เมษายน 2556 เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ (แถว 1 ที่ 6 จากขวา) ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะนายกสมาคมนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วย นายสุภกิต เจียรวนนท์ (แถว 3 ที่ 5 จากขวา) รองประธานกรรมการอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ และนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลจากสมาคมนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าพบ นายสี จิ้นผิง (แถว 1 ที่ 5 จากซ้าย) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการประชุม Boao

Read More