Home > เครือสหพัฒน์ (Page 2)

เครือสหพัฒน์ เตรียมจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 27 ในธีมศึกเจ้านักช้อป

“สหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 27” จัดทัพสินค้ามาเปิดสังเวียนให้ช้อปในธีม “ศึกเจ้านักช้อป” สร้างมิติใหม่ด้วยการดึงอินฟลูเอนเซอร์ไทยและเทศมาไลฟ์ พร้อมไฮไลต์จัดเต็ม 29 มิ.ย.- 2 ก.ค. 66 ที่ไบเทค บางนา เครือสหพัฒน์ เตรียมจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 27 ในธีมศึกเจ้านักช้อป ยกทัพสินค้ารวมกว่า 1,000 บูธ จาก 100 บริษัท มาให้ช้อปในราคาลดค่าครองชีพ ครั้งแรกกับการระดมอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังทั้งไทยและต่างชาติมาไลฟ์รีวิวสินค้า พร้อมด้วยการนำเสนอไฮไลต์แบบจัดเต็ม ทั้งสินค้านวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ภายใต้คอนเซ็ปต์ ESG การเซ็นสัญญาร่วมทุน การสัมมนา การประกวด และแฟชั่นโชว์ นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ กล่าวว่า ปีนี้เป็นอีกหนึ่งปีที่ค่าครองชีพของคนไทยสูงขึ้นมาก จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทุกคนจะได้มาซื้อของกินของใช้ราคาเบา ๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยงานปีนี้จะจัดขึ้นที่ฮอลล์ 98-100 ไบเทค

Read More

เครือสหพัฒน์ มอบเงินบริจาค 50 ล้านบาท ให้กับ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เครือสหพัฒน์ มอบเงินบริจาค 50 ล้านบาท ให้กับ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมปรับปรุงอาคารเทียม-สายพิณ โชควัฒนา เครือสหพัฒน์ ร่วมสร้างสังคมที่ดี ด้วยการส่งเสริมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ล่าสุดร่วมปรับปรุงรูปลักษณ์อาคารภายนอก มอบเงินบริจาค 50 ล้านบาท ให้กับ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อนำไปซ่อมแซมปรับปรุงอาคารเทียม-สายพิณ โชควัฒนา เพื่อเป็นประโยชน์และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการจากทางโรงพยาบาลต่อไป นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ในนามเครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า เครือสหพัฒน์ ยังคงมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนไปควบคู่กับการดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์เพื่อเป็นการตอบแทนสังคม โดยล่าสุดได้มอบเงินจำนวน 50 ล้านบาท ให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นผู้รับมอบ ซึ่งการมอบเงินในครั้งนี้ จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงและซ่อมแซมอาคารเทียม-สายพิณ โชควัฒนา ซึ่งทั้งสองท่านได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการสร้างตึกนี้ “เครือสหพัฒน์ ยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการตอบสนองความต้องการและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ภายใต้นโยบายร่วมใจพัฒนา สร้างนวัตกรรมใหม่ ขยายช่องทางสู่สากล เป็นองค์กรคนดีควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม

Read More

สหพัฒน์ดึง ช้อป โกลบอล ร่วมกับ มาเนโกะ ชูแพลตฟอร์มสุดล้ำ ผนึกกำลังพุ่งทะยานตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซ

ผนึกกำลังพุ่งทะยานตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซ สหพัฒน์ดึง ช้อป โกลบอล ร่วมกับ มาเนโกะ ชูแพลตฟอร์มสุดล้ำ เจาะ Insight ลูกค้า Data-Driven จากไลฟ์สด โพสต์ขายผ่านโซเชียลมีเดียทั่วประเทศ จากการเติบโตของตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซที่เริ่มมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เหล่าธุรกิจยักษ์ใหญ่ต่างเล็งเห็นโอกาส ในการสร้างรายได้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิตอล ล่าสุด บริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือสหพัฒน์ ร่วมกับ มาเนโกะ แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซครบวงจรในเครือบริษัท จันวาณิชย์ จำกัด จัดมหกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านระบบ ไลฟ์สด และโพสต์ขาย ด้วยฟีเจอร์ Marketing Technology ฉลาดล้ำ ของมาเนโกะ ผ่านช่องทางออนไลน์ของ ช้อป โกลบอล และแบรนด์ในเครือของสหพัฒน์ฯ ควบคู่กับ Onsite ในงาน สหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 26 วันที่ 30 มิ.ย.- 3 ก.ค.

Read More

สหพัฒน์ผนึกกำลัง ช่วยเหลือบุคลากรด่านหน้าและชุมชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

โครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ และกลุ่ม SAHAGROUP Health Care & Wellness ผนึกกำลัง ช่วยเหลือบุคลากรด่านหน้าและชุมชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19 รวมกว่า 25 ล้านบาท บริษัทจากโครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ และกลุ่ม SAHAGROUP Health Care & Wellness ภายใต้เครือสหพัฒน์ ยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม “คนดี สินค้าดี สังคมดี” ตามแนวทางหลักของเครือสหพัฒน์เป็นสำคัญ ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 นี้ จึงได้ร่วมกันระดมความช่วยเหลือไปยังบุคลากรด่านหน้าผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาล สำนักการแพทย์ หน่วยงาน มูลนิธิ รวมทั้งคนในชุมชน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมเป็นเงินช่วยเหลือกว่า 25 ล้านบาท สำหรับการกระจายความช่วยเหลือในช่วงวิกฤตโควิด-19 จากบริษัทในโครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ และกลุ่ม SAHAGROUP Health Care & Wellness มีดังนี้ ๏ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด

Read More

“TPCORP” รีแบรนด์ครั้งใหญ่ เปลี่ยนชื่อเป็น “TPCS” มาพร้อมกับวิสัยทัศน์ใหม่และโมเดลธุรกิจที่ล้ำกว่าเดิม

บริษัท เท็กซ์ไทล์ เพรสทีจ จำกัด (มหาชน) (TPCORP) ในเครือสหพัฒน์ ผู้ผลิต จัดจำหน่าย และส่งออกสินค้าสิ่งทอชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมทั่วไป ประกาศรีแบรนด์ครั้งใหญ่ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท ทีพีซีเอส จำกัด (มหาชน) (TPCS) พร้อมปรับพอร์ตเพิ่มการลงทุนธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคในหมวดเพื่อสุขภาพ เข้าถึงผู้บริโภคปลายน้ำมากขึ้น มุ่งเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์และคัดสรรนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในทุกยุคทุกสมัย นายสุชัย ณรงคนานุกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซีเอส จำกัด (มหาชน) (TPCS) กล่าวว่า TPCORP ก่อตั้งขึ้นในปี 2519 เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตผ้าลูกไม้ให้กับแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก ต่อมาได้เพิ่มพอร์ตการลงทุนในอุตสาหกรรมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง ทั้งสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่ว่าจะเป็น วัสดุบุหลังคารถยนต์ พรมรถยนต์ ฉนวนกันเสียง ฉนวนในห้องเครื่องเพื่อป้องกันความร้อน หรืออุตสาหกรรมสินค้าเพื่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตให้กับแบรนด์ระดับโลกหลากหลายแบรนด์ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ Welcare เพื่อจำหน่ายสินค้าสุขภาพคุณภาพสูงในราคาที่จับต้องได้ให้กับคนไทย “บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในตลาด B2B และสามารถอยู่รอดจากทุกวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะมีความเชื่อว่าการลงทุนในอุตสาหกรรมหมวดใดหมวดเดียวนั้นนับเป็นความเสี่ยงต่อความยั่งยืนขององค์กร การยึดติดใน Culture Trap

Read More

รพ.รามาธิบดี รับมอบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากเครือสหพัฒน์ เพื่อนำไปใช้ในกิจการงานทางการแพทย์

รพ.รามาธิบดี รับมอบสามผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากบริษัทในเครือสหพัฒน์ฯ เพื่อนำไปใช้ในกิจการงานทางการแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี นายแพทย์ สุกิจ แย้มวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อร่าม โรจนสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด บริษัทภายใต้การกำกับดูแลของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลงานด้านระบบสิ่งสนับสนุนโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นประธานรับมอบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ได้แก่ 1.เสื้อกาวน์แพทย์แอนตี้แบคทีเรีย (Gowns uniform with ERAWAN NANO ZINC) จำนวน 45 ตัว 2.หน้ากากอนามัยแอนตี้แบคทีเรีย ERAWAN ORGANIC MASK 7 LAYERS จำนวน 500 ชิ้น และ 3.ถุงคลุมอุปกรณ์ทางการแพทย์แอนตี้แบคทีเรีย จำนวน 100 ชิ้น รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท เพื่อนำไปใช้ในกิจการงานทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลรามาธิบดี จาก

Read More

ตื่น “แพนิกชอปปิ้ง” บิ๊กคอนซูเมอร์โกย

แม้กระทรวงพาณิชย์เรียกถกกลุ่มภาคเอกชนยืนยันสินค้าอุปโภคบริโภคหลักๆ ไม่มีปัญหาขาดแคลน แต่ไม่สามารถหยุดยั้งกระแส “Panic Shopping” ที่ก่อตัวรุนแรงตั้งแต่การสั่งปิดสถานที่เสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกรุงเทพฯ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศฉีดยาแรงใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ระยะเวลา 1 เดือนแรกก่อนประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ทั้งการแห่ซื้อกักตุนสินค้า ผู้ค้าโก่งราคาแพงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะที่เห็นเป็นปัญหาชัดเจน คือ “ไข่ไก่” ล่าสุดขาดตลาด ต้องต่อคิวยาวเหยียดรอซื้อ ทั้งตลาดค้าส่งและค้าปลีก ที่สำคัญ ราคาแพงขึ้นมากกว่า 30 บาทต่อแผง ตกแผงละ 120 บาท และมีแนวโน้มพุ่งขึ้นรายวัน จากปกติเฉลี่ยแผงละ 85-95 บาท นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุว่า ไทยผลิตไข่ไก่ได้ปีละกว่า 15,000 ล้านฟอง หรือวันละ 41 ล้านฟอง ทั้งหมดใช้บริโภคภายในประเทศวันละ 39 ล้านฟอง เหลือส่งออกวันละ 1-2

Read More

สหพัฒน์ดัน “โคเมเฮียว” จับตาฟองสบู่เศรษฐกิจ

เครือสหพัฒน์เดินหน้าตามเป้าหมาย ผุดแฟลกชิปสโตร์แบรนด์เนมมือสอง “โคเมเฮียว (Komehyo)” แห่งแรกในประเทศไทย หลังจากใช้เวลากว่า 5 ปี ศึกษาตลาดแบรนด์เนมมือสองและเจรจาจับมือยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น เพื่อขยายพอร์ตโฟลิโอสู่ธุรกิจรีเทลลักชัวรีที่สามารถปลุกปั้นอัตรากำไรแซงหน้าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าเดิมได้อีกหลายเท่า ขณะเดียวกัน “โคเมเฮียว” ยังเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ตามยุทธศาสตร์สำคัญในปี 2563 ที่กลุ่มตระกูลโชควัฒนาต้องการเร่งลงทุนและสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจอาคารสำนักงาน โคเวิร์กกิ้งสเปซ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ และธุรกิจสเปเชียลตี้ สโตร์ คอนเซ็ปต์ใหม่ เพื่อขยายฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น ที่สำคัญ เส้นทางธุรกิจแบรนด์เนมมือสองและการเติบโตของโคเมเฮียวในประเทศญี่ปุ่นดูเหมือนกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย แถมมีปัจจัยหนุนเรื่องการความนิยมในกลุ่มนักช้อปไทยและแบรนด์เนมยังถือเป็นช่องทางการลงทุนที่สามารถสร้างรายได้อย่างสวยงามด้วย ทั้งนี้ โคเมเฮียวมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านขายกิโมโนมือสองในเมืองนาโกยาของครอบครัวอิชิฮาระ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1947 เริ่มต้นจากห้องเสื้อผ้าเก่าเล็กๆ ขนาดเพียง 5 เสื่อ หรือประมาณ 16.5 ตารางเมตร ในช่วงนั้นความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นดีขึ้น จึงมีกำลังซื้อและต้องการหาซื้อสิ่งของ เพื่อยกระดับความพึงพอใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ร้านโคเมเฮียวจึงจัดหาเพิ่มสินค้าหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะพวกเครื่องประดับ นาฬิกา กล้องถ่ายรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 1990 ลูกค้าประจำของร้านโคเมเฮียวจำเป็นต้องขายสินค้าแบรนด์เนมที่มีอยู่ เพื่อช่วยบรรเทาสภาพทางเศรษฐกิจในครัวเรือน ครอบครัวอิชิฮาระจึงตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองตั้งแต่นั้นมา เพื่อช่วยเหลือลูกค้าจนกลายเป็นปรัชญาการดำเนินธุรกิจในฐานะตัวกลางส่งผ่านสินค้าตามแนวคิด “Relay Use” ส่งต่อสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปให้กับบุคคลอื่นที่ยังต้องการ เพื่อนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้สิ่งของมีประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างตลาดใหม่และรายได้เติบโตจนกลายเป็นผู้นำธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนม ปี

Read More

ลอว์สันเฉือนเซเว่นฯ ฮุบทำเลรถไฟฟ้าชิงส่วนแบ่ง

“สหพัฒน์” เดินหน้าเปิดเกมรุกต่อยอดธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “ลอว์สัน 108” ประกาศจับมือกับบริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ในเครือบีทีเอสกรุ๊ป ตั้งบริษัทร่วมทุน “เอส แอล วี รีเทล” เหมาทำเลพื้นที่บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส แถมเดินหน้ากลยุทธ์เชื่อมกลุ่มลูกค้าด้วยระบบ “Offline-to-Online (O2O) Ecosystem” โดยมีแรบบิทเป็นช่องทางการชำระเงิน ทั้งบัตรแรบบิท และ Rabbit Line Pay หลังจากช่วงปีที่ผ่านมา บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ และคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจผนึกกำลังเชื่อม Big Data ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบ E-Payment รองรับระบบซื้อขายในร้านค้าปลีกของกลุ่มสหพัฒน์ที่มีทั้งร้านซูรูฮะ ร้านไดโซะ ศูนย์บริการ His&Her และร้านสะดวกซื้อลอว์สัน 108

Read More

สหพัฒน์เร่งเจาะธุรกิจใหม่ หืดจับ หลุดเป้า 3 แสนล้าน

เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ผิดหวังอย่างรุนแรง ทั้งที่เคยประกาศลั่นในงานเปิดตัว “สหกรุ๊ปแฟร์” เมื่อปีก่อน ตั้งเป้าหมายผลักดันบริษัทในเครือมากกว่า 200 บริษัท ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้ามากกว่าพันรายการ และร้านค้าปลีก ลุยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ดันรายได้ฉลุยแตะ 3 แสนล้านบาท เพราะสุดท้ายต้องหดเป้าทั้งหมดและกุมขมับยอมรับว่า ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลถือเป็นช่วงเลวร้ายที่สุด เหตุผลสำคัญ คือ กำลังซื้อในระดับรากหญ้าและภาคการเกษตรหายไปค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งของกำลังซื้อที่หดหายมาจากพิษเงินบาทที่แข็งค่ามาที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และยังทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ขณะที่ความสามารถในการส่งออกลดน้อยลง โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้วัตถุดิบและแรงงานในไทยแบบต้นน้ำจนถึงปลายน้ำแบบ 100% นั่นทำให้ยักษ์ใหญ่อย่างสหพัฒน์ต้องปรับกระบวนทัพต่างๆ เมื่อแนวโน้มกลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าและแฟชั่นเติบโตลดลง บริษัทเริ่มมองหากลุ่มธุรกิจใหม่ๆ โดยขยายไปยังกลุ่มธุรกิจอาหาร ซึ่งยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี และหันไปลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น ธุรกิจกลุ่มสินค้าบริการและการศึกษา ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ ในย่านสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับสินค้าในเครือของบริษัทที่ต้องการส่งแบบรวดเร็วและสดใหม่ และธุรกิจพลังงานทดแทน ขณะเดียวกัน ในกลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าและแฟชั่น ซึ่งยังเป็นแหล่งรายได้หลักนั้น เสี่ยบุณยสิทธิ์พลิกกลยุทธ์ลดขนาดธุรกิจ (Scale Down) และปรับแผนงานสู่ธุรกิจเสื้อผ้าเจาะตลาดลูกค้าองค์กร (B2B) เช่น เจาะตลาดชุดยูนิฟอร์มพนักงาน ทั้งนี้ ช่วงการจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์

Read More