Home > หัวเว่ย (Page 2)

จาก Go Global สู่ Go Fully Digital เปิดทางฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างยากที่จะปฏิเสธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและเป็นตัวเร่งบทบาทของดิจิทัลให้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งการทำงาน การเรียน การสื่อสาร การซื้ออาหารและสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนมาตรการเยียวยาต่างๆ จากภาครัฐ ที่ล้วนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลแทบทั้งสิ้น ไม่เพียงมีบทบาทในชีวิตประจำวัน แต่เทคโนโลยีดิจิทัลยังมีความสำคัญต่อระบบอุตสาหกรรมและเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ซึ่งหลายๆ ฝ่ายมองว่านี่คือการเปลี่ยนผ่านสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง และเมื่อประเทศกำลังเข้าสู่การฟื้นฟูหลังเผชิญกับวิกฤตโควิดที่หนักหน่วงครั้งนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจึงน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่เข้ามาช่วยพลิกฟื้นประเทศให้กลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงแนวทางในการฟื้นฟูประเทศหลังโควิดไว้ว่า “ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โลกจะปรับตัวเข้าสู่ New Normal และจะมีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและภาคการผลิตของไทย โดยระบบการผลิตแบบเดิมที่เน้นการผลิตปริมาณมากๆ จะลดบทบาทลง ในขณะที่การผลิตแบบ Small Lot ที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ทั้ง 5G และ AI จะถูกเร่งให้มีการนำมาใช้เร็วขึ้น และจะเป็นตัวช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต เพื่อช่วยให้ประเทศไทยพร้อมรับกับอุตสาหกรรม 4.0” ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนที่จะยกระดับศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม ทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นควบคู่กับการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนในชื่อ “แผน 6S”

Read More

หัวเว่ยคลาวด์เผยกลยุทธ์เบื้องหลังความสำเร็จระดับโลกใน APAC Partner Summit 2021

หัวเว่ยคลาวด์ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีไอซีทีชั้นนำของโลก เผยสูตรความสำเร็จระดับโลกให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมภายในงาน APAC Partner Summit 2021 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยในงานดังกล่าวยังมีการประกาศรางวัลพาร์ทเนอร์ของหัวเว่ยคลาวด์ที่มีผลงานโดดเด่นอีกด้วย คุณเจิง ซิงอวิ๋น (Zeng Xingyun) ประธานฝ่ายอีโคซิสเต็มเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ยคลาวด์ ระบุว่าสองเทคโนโลยีหลักของหัวเว่ยและกลยุทธ์การให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก ทำให้แบรนด์หัวเว่ยติด 1 ใน 5 อันดับสูงสุดของโลก ด้านการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) ของบริการคลาวด์ และ 1 ใน 4 อันดับแรกของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คุณเจิงกล่าวว่า “เราลงทุนไปมากกว่า 720,000 ล้านหยวนสำหรับการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนา ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้ ทั้งนี้ ด้วยสำนักงานของเราและบริษัทตัวแทนทั้ง 20 แห่งในเอเชียแปซิฟิก พนักงานกว่า 9,000 ชีวิต วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านบริการคลาวด์ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องกว่า 10,000 ราย เป็นสิ่งที่ยืนยันในความสำเร็จของลูกค้า รวมถึงความสำเร็จของเราในฐานะผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำของโลก” การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมในเอเชียแปซิฟิกด้วยการเป็นพาร์ทเนอร์กับหัวเว่ยคลาวด์ หัวเว่ยคลาวด์ได้ส่งเสริมและผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมด้วยแพลตฟอร์มและอีโคซิสเต็มของหัวเว่ย โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับองค์กรภาครัฐ ภาคบริการทางการเงิน (FSI) ธุรกิจโลจิสติกส์และพลังงาน รวมถึงองค์กรสื่อมวลชน “เราใช้เทคโนโลยีของเราเพิ่มศักยภาพให้กับพาร์ทเนอร์ และช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายต่างๆ

Read More

หัวเว่ย เผยสิบเทรนด์อุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย ชี้แนวโน้มอุตสาหกรรมใน “เส้นทางของมือถือแห่งปี 2030”

นายเดวิด หวัง กรรมการบริหารและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันทางด้าน ไอซีทีของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “เส้นทางของมือถือแห่งปี 2030: 10 เทรนด์ของอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย” (Roads to Mobile 2030: 10 Wireless Industry Trends) ภายในงานประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) ครั้งที่ 12 โดยชี้ว่า “หัวเว่ยได้ระบุเทรนด์สิบข้อสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย ซึ่งจะช่วยกำหนดทิศทางของเครือข่ายสัญญาณไร้สายแห่งอนาคต และเตรียมความพร้อมให้กับอุตสาหกรรมสู่ Intelligent World 2030 หรือโลกแห่งความอัจฉริยะปี พ.ศ. 2573” นายเดวิด หวัง อธิบายว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 โลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจะผสานกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประสบการณ์ที่เสมือนจริงยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนมาให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการตัดสินใจแทนที่ประสิทธิภาพของตัวอุปกรณ์ แต่ความก้าวหน้าเหล่านี้จำเป็นจะต้องอาศัยความปลอดภัยภายในเครือข่ายอย่างยิ่งยวด รวมถึงยังต้องพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย นายเดวิด หวัง ได้กล่าวสรุปถึงเทรนด์ทั้ง 10

Read More

หัวเว่ย ประกาศรายชื่อสตาร์ทอัพผู้ชนะจากงาน “Spark Ignite 2021 – Thailand Start up Competition” การแข่งขันสตาร์ทอัพระดับประเทศ พร้อมโอกาสก้าวสู่ตลาดโลก

หัวเว่ย ประกาศรายชื่อสตาร์ทอัพผู้ชนะจากงาน “Spark Ignite 2021 - Thailand Start up Competition” ธุรกิจโฆษณา จัดอีเวนท์ ชำระเงินครบวงจร คว้าชัยในการแข่งขันสตาร์ทอัพระดับประเทศ พร้อมโอกาสก้าวสู่ตลาดโลก บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกาศผลการตัดสินผู้ชนะเลิศโครงการแข่งขันสำหรับสตาร์ทอัพเทคโนโลยี “Spark Ignite 2021 - Thailand Start up Competition” โดยหัวเว่ยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ มาร่วมให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่สตาร์ทอัพ มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตในระดับภูมิภาค และเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของสตาร์ทอัพไทย พร้อมทั้งช่วยยกระดับทักษะด้านดิจิทัลในประเทศ ตามพันธกิจของหัวเว่ยที่จะส่งเสริมประเทศไทยสู่การขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียน ซึ่งสามทีมที่คว้าชัยชนะจากทั้ง 132 ทีมทั่วประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่ ReverseAds ผู้ให้บริการด้านแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง Zipevent ผู้ให้บริการด้านการจัดงานอีเวนท์ระบบออนไลน์ และ ChillPay แพลตฟอร์มการชำระเงินแบบครบวงจร คว้ารางวัลอันดับที่ 2 และ 3

Read More

หัวเว่ยชี้โครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบเป็นปัจจัยหลักช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ภายในงานประชุม 2021 Asia-Pacific Target Network Conference เมื่อเร็วๆ นี้ นายริชาร์ด จิน ประธานสายผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสงของหัวเว่ย กล่าวว่า การส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบที่มีความอัจฉริยะ เปี่ยมประสิทธิภาพ และมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการใช้งานเครือข่ายที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์โครงข่ายที่สูงขึ้น การติดตั้งโครงข่าย 5G ในวงกว้างส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายสัญญาณแบบไร้สายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2568 อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อเดือนโดยเฉลี่ยต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะอยู่ที่ 28 GB ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากนี้ทำให้ต้องมีโครงข่ายใยแก้วนำแสงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อส่งมอบแบนด์วิดท์ที่สูงยิ่งขึ้นด้วย ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดนี้ ผู้คนเลือกที่จะเรียนออนไลน์หรือทำงานทางไกลมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ทั่วโลกจึงมีการเร่งขยายการเดินสายใยแก้วนำแสงตรงไปยังที่พักอาศัย หรือ FTTH (Fiber to the Home) เพื่อมอบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับกิกะบิต และตอบสนองความต้องการแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจองค์กร 85% ของบริการในภาคธุรกิจดังกล่าวจะปรับย้ายไปอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์แทน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อเชื่อมระหว่างบริการนั้น ๆ กับเทคโนโลยีคลาวด์ ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีในการรวมระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานเป็นหนึ่งเดียว (Fixed–mobile convergence

Read More

หัวเว่ย ทุ่มงบกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสริมแกร่งอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในเอเชีย-แปซิฟิก

หัวเว่ยประกาศแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในงาน Spark Founders Summit ซึ่งจัดขึ้นพร้อม ๆ กันทั้งในสิงคโปร์และฮ่องกง โดยระบุว่าเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวจะถูกนำไปใช้กับโครงการ Spark ของบริษัทฯ ที่มุ่งสร้างอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้มีความยั่งยืน โดยเป็นงบการลงทุนสำหรับระยะเวลาสามปี หัวเว่ยได้มีส่วนช่วยสนับสนุนสิงคโปร์ในการสร้างศูนย์กลางด้านสตาร์ทอัพแห่งแรกของเอเชีย-แปซิฟิกมาตั้งแต่ปี 2563 และได้ขยายโครงการไปยังฮ่องกง ไทย มาเลเซีย ตลอดปีที่ผ่านมา โดยภายในงาน Spark Founders Summit หัวเว่ยยังประกาศอีกว่าโครงการดังกล่าวจะเน้นความสำคัญไปที่การพัฒนาศูนย์กลางด้านสตาร์ทอัพเพิ่มเติมอีกสี่แห่งในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเวียดนาม มีเป้าหมายในการรวบรวมสตาร์ทอัพกว่า 1,000 ราย โดยสตาร์ทอัพ 100 รายจากในจำนวนนี้จะได้รับการต่อยอดสู่โครงการ Spark Accelerator หัวเว่ย ประเทศไทย โดยความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และพันธมิตรที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย ได้เปิดตัวการแข่งขัน “Spark Ignite 2021 – Thailand Startup Competition”

Read More

ก้าวใหม่การศึกษาไทย มหาวิทยาลัยปรับใช้โซลูชันอัจฉริยะ รับ New Normal

ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยต่างจำเป็นต้องรีบปรับกระบวนการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ยุค “นิวนอร์มัล” ที่เน้นให้บุคลากรสามารถประสานงานกันได้ผ่านเทคโนโลยีติดต่อสื่อสารทางไกล ลดความจำเป็นของการพบปะโดยตรง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการศึกษาไทยก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เปลี่ยนมาใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในปัจจุบันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนหนังสือผ่านกล้องอาจมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่สำหรับการสอนในวิชาชีพเชิงปฏิบัติ เมื่อเทียบเท่าการเรียนการสอนแบบปกติ จึงเป็นสาเหตุให้สถานศึกษาบางแห่งเริ่มหันมาประยุกต์ใช้โซลูชันอัจฉริยะประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนทางไกลให้สมบูรณ์แบบ ดังเช่นที่ทางมหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด นำโซลูชันกระดานอัจฉริยะ Huawei IdeaHub มาเสริมศักยภาพให้แก่หลักสูตรการเรียนทางไกล เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ มหาวิทยาลัยเกริก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โดย ดร. เกริก มังคละพฤกษ์ และถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะสนับสนุนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเตรียมให้นักศึกษามีความพร้อมเมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน คณะและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเกริกจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นคณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง รวมไปถึงวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมสากลจีน ด้วยเป้าหมายที่จะเสริมทักษะเพื่อให้รับมือกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ได้ มหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างเครือข่ายแบ่งปันองค์ความรู้ที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและภาคสังคม ทางมหาวิทยาลัยมีพันธกิจระยะยาวในการที่จะนำหน้าความต้องการของตลาดอยู่เสมอ ด้วยการนำเสนอหลักสูตรที่ออกแบบมาอย่างดีและสามารถนำไปใช้ในโลกที่กำลังก้าวไปข้างหน้าได้จริง ลดช่องว่างทางการศึกษาด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ทางไกลแบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเกริกตั้งเป้าที่จะออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่ยังคงรักษามาตรฐานคุณภาพเอาไว้ ผ่านโครงการ Smart Campus โดยมีการนำเสนอหลักสูตรออนไลน์ที่หลากหลายทั้งสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ผ่านแพลตฟอร์ม

Read More

“สามารถเทลคอม” จับมือ “หัวเว่ย” ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ

“สามารถเทลคอม” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทยจับมือหัวเว่ย ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ พร้อมฉลอง 35 ปีแห่งความมุ่งมั่นเพื่อความเป็นเลิศด้านดิจิทัล บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 เป็นบริษัทในเครือสามารถคอร์ปอเรชั่น ผู้นำด้านโซลูชัน ICT และผู้ให้บริการรวมทั้งผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยี มุ่งเน้นการให้บริการระบบโครงข่ายที่ทันสมัยอย่างครอบคลุมและรอบด้านให้กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ในการประยุกต์ใช้โซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อเสริมศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจและขยายบริการในยุคดิจิทัล ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกด้าน ICT ของประเทศไทย สามารถเทลคอมได้ช่วยเสริมศักยภาพการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานของรัฐหลากหลายแห่ง ผ่านผลิตภัณฑ์ด้านโทรคมนาคมที่มีนวัตกรรมและเชื่อถือได้จากผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก เพื่อมุ่งหวังตอบโจทย์ความคาดหวังที่สูงของลูกค้าและสร้างความร่วมมือแบบต่างได้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชาชนไทยทั้งประเทศ โดยมองว่าความสำเร็จในการประมูลโครงการใหญ่ นั้น ไม่เคยเป็นเพราะโชคช่วย แต่มาจากความทุ่มเท การทำงานหนัก และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างยาวนานเกือบสี่ทศวรรษ สามารถเทลคอมยังคงมุ่งพัฒนาและแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่อย่างกว้างขวางและครอบคลุมตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างประเทศไทย นอกจากนี้ สามารถเทลคอมยังมุ่งสานต่อการเติบโตของบริษัทในอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการมีพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นในด้านการพัฒนาและให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศไปในทิศทางเดียวกัน ความร่วมมือที่ใช่ก่อให้เกิดโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ความร่วมมือระหว่างสามารถเทลคอม และหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2561 โดยขณะนั้น สามารถเทลคอมกำลังมองหาหุ้นส่วนกลยุทธ์ระยะยาวที่ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมตำแหน่งความเป็นผู้นำของบริษัท แต่ยังช่วยให้เกิดการขยายธุรกิจได้อีกด้วย โดยสามารถเทลคอมมองว่าหัวเว่ยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

Read More

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมกำลังภาคสาธารณสุขประเทศไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น พร้อมเพิ่มความปลอดภัยในแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานด่านหน้า ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ประกอบด้วย นวัตกรรมการสื่อสารทางไกล 5G เพื่อการแพทย์ (5G Telemedicine) ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยอัจฉริยะ (Inpatient area Intelligent Management) และระบบโครงข่ายวิทยุสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ eLTE (eLTE broadband trunking) โดยใช้ Idea Hub เป็นศูนย์กลางการดำเนินการโซลูชันทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท โดยนวัตกรรมเหล่านี้จะเพิ่มศักยภาพในการจัดการโครงข่ายการสื่อสารของบุคลากรในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ยกระดับประสิทธิภาพในการรับมือกับโรคระบาดอย่างเต็มที่ ตอกย้ำหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยในการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ที่ยังคงมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานกันอย่างเต็มที่ รวมไปถึงระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ต้องถูกนำมาใช้งานเพื่อรักษาผู้ป่วยในขณะนี้จนใกล้ถึงขีดจำกัด ทางภาครัฐและภาคสาธารณสุขจึงร่วมมือกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศไทย รวมถึงโรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน

Read More

หัวเว่ยแต่งตั้งผู้บริหารไทยนั่งกรรมการผู้จัดการ ร่วมเดินหน้าเสริมแกร่งตลาดไทย

หัวเว่ยแต่งตั้งผู้บริหารไทยนั่งกรรมการผู้จัดการ ร่วมเดินหน้าเสริมแกร่งตลาดไทย ผลักดันดิจิทัลไทยแลนด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมแกร่งธุรกิจในประเทศไทยที่มีอย่างยาวนาน พร้อมสนับสนุนทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2021 ด้วยการเปิดตัว ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้บริหารชาวไทยมากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่และเป็นคนไทยคนแรก ภายใต้การนำธุรกิจของอาเบล อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “หัวเว่ยมีเป้าหมายที่จะเสริมการเติบโตทางธุรกิจของเราในปี 2021 นี้ด้วยการเสริมทัพทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมการแต่งตั้ง ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ซึ่งมีภาวะผู้นำและมีภูมิหลังในอุตสาหกรรมไอซีทีทั้งในระดับโลกและระดับประเทศอย่างมากมาย ซึ่งผมเชื่อมั่นว่า ดร.ชวพล จะสามารถใช้ประสบการณ์ที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรม มาเสริมศักยภาพเพื่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ของหัวเว่ย ประเทศไทย” ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยถึงบทบาทใหม่ในครั้งนี้ว่า “หัวเว่ย ประเทศไทย ถือเป็นบริษัทด้านไอซีทีชั้นนำระดับโลกที่มีความแข็งแกร่งในด้านเทคโนโลยีและบริการที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ตำแหน่งใหม่ที่

Read More