Home > สิ่งแวดล้อม (Page 3)

น้ำแร่ออรา เปิดตัวแคมเปญใหม่ “ออรารักษ์โลกเพื่อคนรักษ์ป่า” แปลงขวดพลาสติกเป็นผ้าห่มแสนอบอุ่น

น้ำแร่ออรา ชวน “บริจาคขวดพลาสติก” แปลงร่างเป็น “ผ้าห่มแสนอบอุ่น” เปิดตัวแคมเปญใหม่ “ออรารักษ์โลกเพื่อคนรักษ์ป่า” เอกพล พงศ์สถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิปโก้ เอฟ แอนด์ บี จำกัด เปิดตัวกิจกรรม เดินหน้าตอกย้ำพันธกิจออราในการลดปัญหาขยะพลาสติก พร้อมกระตุ้นจิตสำนึกที่ดีให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในแคมเปญ “Upcycling Plastic Waste by Aura” ที่จะแปรรูปขวดพลาสติกให้กลายเป็นสิ่งมีค่า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียกคืนขวดน้ำพลาสติกจากชุมชน ด้วยการเปิดรับขวดพลาสติกทุกแบรนด์จากลูกค้า เพื่อเปลี่ยนของที่ไม่ใช้แล้วให้มีมูลค่า แปลงร่างสู่ผ้าห่มผืนใหญ่ นำไปส่งมอบให้กับคนรักษ์ป่าทั้ง 5 ภาค เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และสนับสนุนการทำงานของคนดูแลป่า สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาขยะ และสนับสนุนการทำงานของรักษ์ป่าทั้ง 5 ภาคไปพร้อมกับน้ำแร่ออรา ผ้าห่ม 1 ผืนจะต้องใช้ขวดพลาสติกมากถึง 50 ขวด ผู้ที่สนใจสามารถส่งขวดพลาสติก­­­­­­เปล่าได้ที่ ทิปโก้ ดีซี ประชาชื่น แผนก CS 1015/1 ถ.ประชาชื่น

Read More

รองเท้า KHYA คืนชีวิตรองเท้าแตะถูกทิ้ง ลดขยะทางทะเล

“รองเท้าแตะช้างดาว” จากนันยาง และ “ทะเลจร”  ร่วมมือปลุกจิตสำนึกสังคมไทยลดขยะทางทะเล คืนชีวิตรองเท้าแตะถูกทิ้งริมหาด ให้กลายเป็น “รองเท้า KHYA (ขยะ)” นายจักรพล จันทวิมล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยถึงที่มาของแนวคิดในการพัฒนารองเท้า KHYA (ขยะ) และเป้าหมายของโครงการในครั้งนี้ว่า เนื่องจากปัญหาขยะทะเลเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งพบว่านอกจากพลาสติกแล้ว รองเท้าโดยเฉพาะรองเท้าแตะ มักถูกพบเป็นขยะทะเลจำนวนมาก “นันยาง” ในฐานะผู้ผลิตรองเท้าได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาโปรเจคใหม่ “รองเท้า KHYA (ขยะ)” ที่เกิดจากการ Upcycled ขยะทะเลที่เป็นรองเท้าแตะให้กลายเป็นรองเท้าแตะคู่ใหม่ขึ้นในครั้งนี้ “โปรเจค “รองเท้า KHYA (ขยะ)” ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างและแทนสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารกับผู้คนในสังคมพร้อมเชิญชวนให้ตระหนักถึงปัญหาขยะทะเล การมองเห็นคุณค่าของขยะ การนำขยะมาเพิ่มมูลค่า และเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการของตนเองได้ตามความถนัด โดยในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือกันระหว่าง “รองเท้าแตะช้างดาว” จากนันยาง และ “ทะเลจร” แบรนด์ Upcycling วัสดุจากทะเลซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรโดย ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย

Read More

เทสโก้ โลตัส เดินหน้ายกระดับนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อม ประกาศเลิกใช้บรรจุภัณฑ์โฟมทุกชนิดในทุกสาขา

เทสโก้ โลตัส ประกาศเลิกใช้บรรจุภัณฑ์โฟมทั้งหมด ทุกชนิดในทุกสาขา เดินหน้ายกระดับนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อม เปิดตัวหลายโครงการลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ เทสโก้ โลตัส ประกาศยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป พร้อมเพิ่มความเข้มข้นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมด้วยโครงการแบบครบวงจรและมุ่งสู่การสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed loop packaging system) ใช้โอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน เปิดตัวหลายโครงการเพื่อลดขยะบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียว (single-use packaging) และขยะพลาสติก พร้อมจับมือเอสซีจีขยายผล นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า “ในฐานะผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีร้านค้ากว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ เทสโก้ โลตัส ตระหนักดีถึงบทบาทของเราในการช่วยบรรเทาปัญหาขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทสโก้ โลตัส จะยกเลิกการใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ทำจากโฟมทุกชนิดในทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป โดยเราได้เริ่มทยอยเปลี่ยนจากโฟมมาใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และจะยกเลิกบรรจุภัณฑ์โฟมทุกรูปแบบได้ 100% ภายในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้

Read More

สกว.หนุนวางแผนเมืองนิเวศกทม.-ปริมณฑล ส่งเสริมพลวัตของภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม

ปัจจุบันเมืองต่างๆ ของไทยมีความเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การส่งเสริมให้เมืองมีความปลอดภัยและมีความพลวัตต่อการเปลี่ยนแปลงให้ได้มากที่สุดนั้น จำเป็นที่หน่วยงานระดับท้องถิ่นและระดับประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายเหล่านี้ รวมถึงการวางแผนเพื่อส่งเสริมเมืองพลวัตให้เป็นไปอย่างมีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศที่มีความเสี่ยงและประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อยหรือปานกลาง อีกทั้งมีความไม่เท่าเทียมอยู่ การวางแผนเมืองอย่างมีส่วนร่วมยังถือว่าเป็นเรื่องท้าทายมาก หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะยังขาดเครื่องมือและขีดความสามารถในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนทุกคน ความท้าทายสำคัญคือ การสื่อสารข้อมูลถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งสามารถเตรียมการวางแผนเพื่อปรับตัวไว้ล่วงหน้า แทนที่จะเป็นการรับมืออย่างเดียว คณะวิจัยจากหน่วยวิจัยอนาคตเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้พัฒนาชุดเครื่องมือ “กินดี..อยู่ดี” เพื่อใช้ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและมีเป้าหมายในการช่วยให้เกิดความตระหนักรู้ถึงสินทรัพย์ที่มีในชุมชนว่าจะช่วยสร้างความพลวัตรองรับภาวะวิกฤติในอนาคตทั้งระดับส่วนตัวและระดับส่วนรวมได้หรือไม่ โดยจำลองภาวะวิกฤติทางภูมิอากาศและวิกฤติเศรษฐกิจ ล่าสุดหน่วยวิจัยอนาคตเมืองฯ ได้ร่วมกับ Internation Institute for Environment and Development (IIED) สหราชอาณาจักร ภายใต้การสนับสนุนของโครงการพัฒนาเครือข่ายวิจัยนานาชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการ “การวางแผนเพื่อเมืองนิเวศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความพลวัตของภุมิอากาศ: การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” เพื่อนำเสนอองค์ความรู้จากงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้นำหรือตัวแทนชุมชนเครือข่าย โดยใช้เครื่องมือกินดีอยู่ดีในการส่งเสริมการวางแผนเมืองอย่างมีส่วนร่วม “ทีมวิจัยเราสนใจการพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วมจึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายจำนวนมากเพื่อที่จะตอบโจทย์ท้องถิ่นและเขตที่ดูแลได้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนและหน่วยงานภาครัฐและอยากให้เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ฝนตกหนักนอกฤดูและถี่ขึ้น จะจัดการแบบเดิมๆ หรือร่วมกันวางแผนหากเกิดบ่อยขึ้นในอนาคต เพราะจะกระทบต่อน้ำท่วม น้ำแล้ง การกัดเซาะของน้ำทะเล ฯลฯ โดยการออกแบบที่อยู่อาศัย สินทรัพย์ การออมทรัพย์

Read More

มลพิษฝุ่นเมือง: การพัฒนาพร่องการจัดการ

สถานการณ์ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 หรืออนุภาคในอากาศขนาดเล็กต่ำกว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) ซึ่งเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ถึง 36 เท่า ที่มีปริมาณเกินค่ามาตรฐานที่ปกคลุมในหลายเขตพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณทล รวมถึงหัวเมืองหลายจังหวัด กำลังเป็นภาพสะท้อนวิกฤตมลภาวะและการควบคุมมลพิษของสังคมไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในต้นทุนทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะถัดไปจากนี้ ความกังวลใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ ที่มีมากกว่าผลต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากฝุ่นเหล่านี้เล็กมากพอที่จะดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านปอดและนำไปสู่โรคหัวใจหรือโรคทางสมอง ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกต่อความอันตรายของฝุ่นพิษนี้ จนนำไปสู่ความตื่นตัวในสาธารณชนวงกว้างนำไปสู่การรณรงค์ให้สวมใส่ “หน้ากากอนามัย” ที่กรองอนุภาคขนาดใหญ่กว่า 3 ไมโครเมตร ไปจนถึงการสวมใส่หน้ากากที่สามารถกรองอนุภาคใหญ่กว่า 0.3 ไมโครเมตร หรือ “หน้ากาก N95” เป็นมาตรการระยะเร่งด่วน ภาพของผู้คนสัญจรเดินถนนที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัวเองจากฝุ่นพิษ PM2.5 จึงกลายเป็นปรากฏการณ์เจนตาในช่วงกว่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมปิดปากปิดจมูก นอกเหนือจากที่เป็นสังคมปิดหูปิดตามาในช่วงก่อนหน้าเพิ่มขึ้นไปอีก สาเหตุหลักของการเกิดฝุ่นพิษได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากฝุ่นที่เกิดจากยานพาหนะ ในกิจกรรมการคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ และนำไปสู่ปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น ก่อนที่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ จะรวมตัวกันในบรรยากาศและนำไปสู่ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 ในเวลาต่อมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ภาวะมลพิษจากฝุ่นพิษ PM2.5 มิได้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยแบบป้องกันไม่ได้ เพราะในความเป็นจริงก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเคยเผชิญกับปัญหาดังกล่าวมาแล้วตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560

Read More

PTTOR จับมือ IRPC ร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ “Green Concept” ในร้านคาเฟ่ อเมซอน

PTTOR จับมือ IRPC ร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ “Green Concept” ในร้านคาเฟ่ อเมซอน ด้วยเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในร้านต้นแบบ ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกที่มีส่วนผสมของธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานกรรมการบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR พร้อมด้วย นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTOR ร่วมกับ นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าร้านคาเฟ่ อเมซอน สาขา ปตท. สำนักงานใหญ่ โดยออกแบบตกแต่งร้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ และของใช้ในร้านที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกที่มีส่วนผสมของธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “Green Concept” ด้วยภารกิจสำคัญของ IRPC คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ Green ABS

Read More

“SPI” จับมือพันธมิตร “GC” เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขยะพลาสติก ลดปริมาณขยะในประเทศ ยกระดับสิ่งทอไทยทัดเทียมต่างชาติ

“SPI” ลงนามเอ็มโอยูกับ “GC” เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขยะพลาสติก โดยนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าหมายยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยให้ทัดเทียมผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ นายวิชัย กุลสมภพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPI เปิดเผยว่า SPI ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในกลุ่ม ปตท. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขยะพลาสติก เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยให้ทัดเทียมผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน รวมถึงเป็นการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อย่างมีระบบและครบวงจร ทั้งยังสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน “SPI ให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจสิ่งทอ และเล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ผลิตจากขยะพลาสติกเป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจ เพราะกระแสรักษ์โลกกำลังเป็นเรื่องที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญ ขณะที่ GC นับเป็นพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเคมี และมีการผลิตเม็ดพลาสติกด้วยการใช้นวัตกรรมผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความร่วมมือกันในครั้งนี้ทำให้มั่นใจว่าจะก่อให้เกิดธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต และร่วมกันผลักดันศักยภาพธุรกิจไทยให้มีความแข็งแกร่ง อีกทั้งยังสอดคล้องกับเทรนด์ของโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจสีเขียวมากขึ้น” นายวิชัย กล่าว นอกจากความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขยะพลาสติก เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคตแล้ว

Read More