Home > สกสว (Page 3)

สกสว.ชูวิจัยและนวัตกรรมสู่ผู้นำของภูมิภาค ลดต้นทุนโลจิสติกส์เหลือร้อยละ 11 ต่อ GDP

สกสว. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “มองภาพอนาคต ด้านโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศ” หวังเป็นผู้นำของภูมิภาค ชูวิจัยและนวัตกรรมเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนและลดต้นทุนระบบขนส่งเหลือร้อยละ 11 ต่อ GDP สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการ “การจัดการความรู้และบูรณาการประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศ” หัวข้อ “การมองภาพอนาคต (Foresight) ในภาพของ ววน. ด้านโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศในอนาคต” ผ่านแอพพลิเคชั่นซูม โดยมีผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ นักวิชาการ ร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง โอกาสนี้ ดร.เอก จินดาพล ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านความสามารถในการแข่งขัน สกสว. กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าการจัดประชุมครั้งนี้เป็นการระดมความเห็นที่สามารถสะท้อนภาพอนาคตด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย และกระบวนการสำคัญในการจัดทำแผนด้าน ววน. ปี 2566-70 ที่ สกสว.ได้ดำเนินการ และอยู่ระหว่างการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

Read More

นักวิจัยแนะระบบการจัดการน้ำท่วมของรัฐ ควบคู่กับการวิจัยตามหลักวิศวกรรมศาสตร์

รศ. ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนักวิจัยสังกัดหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์ฝนในปีนี้ของประเทศไทยว่ามีฝนตกเร็วในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม แต่หลังจากนั้นสภาพฝนลดลงและฝนมาตกมากอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกันยายน เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำภายใต้ดีเปรสชั่นโกเชิน ตามด้วยดีเปรสชั่นเตี้ยนหมูในช่วงปลายเดือนกันยายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างรวดเร็วเฉพาะพื้นที่ เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ อ่างทอง สระบุรี อยุธยา และขึ้นเหนือด้วยอิทธิพลลมตะวันตกเฉียงใต้ไปยังพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ทำให้เกิดฝนตกหนักและภาวะน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่เชิงเขา พื้นที่ต่ำ ริมน้ำและนอกคัน โดยภาวะน้ำท่วมยังดำรงอยู่อีกระยะหนึ่ง จากน้ำท่าที่ตกด้านเหนือน้ำที่จะไหลลงมาสมทบอีก สำหรับแนวทางการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ตามโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำปรกติ ประกอบด้วย โครงสร้าง กฎกติกาการจัดการ รวมถึงการเตือนภัย การเผชิญภัยเพื่อลดความสูญเสียชีวิตและลดความเสียหาย และการพัฒนาความสามารถในการรับมือ ซึ่งที่ผ่านมามักเน้นพัฒนาโครงสร้างเพื่อบรรเทาภาวะน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลายาวนานกว่าโครงการก่อสร้างจะสามารดำเนินการสร้างได้เสร็จ ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำของไทยในช่วงที่ผ่านมามีการปรับปรุงขึ้นมาก โดยก่อนมหาอุทกภัย 2554 มีการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่และเฉพาะหน้าจากประสบการณ์ที่มีอยู่

Read More

นักวิจัยห่วงสารก่อมะเร็งฟุ้งหลังโรงงานระเบิดที่กิ่งแก้ว ชี้ต้องมีแผนกู้คืน

นักวิจัยห่วงสารก่อมะเร็งฟุ้งหลังโรงงานระเบิดที่กิ่งแก้ว ชี้ต้องมีแผนกู้คืน-มาตรการจริงจังป้องกันสารเคมีไวไฟ นักวิจัยห่วงสารก่อมะเร็งฟุ้งหลังโรงงานระเบิดรุนแรงที่กิ่งแก้ว ชี้หน้ากากป้องกันโควิดก็เอาไม่อยู่ ระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการป้องกันสารเคมีไวไฟที่เป็นอันตรายจำนวนมาก รวมทั้งแผนการบริหารจัดการกู้คืนสถานการณ์ในระยะยาว รศ. ดร.กิติกร จามรดุสิต ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการวิจัย การศึกษา และวิเคราะห์เชิงระบบของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีผลต่อการหนุนเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยถึงการระเบิดรุนแรงภายในบริษัท หมิงตี้เคมิคอล จำกัด ย่านกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้นของประเทศจีนที่เข้ามาก่อตั้งในประเทศไทยนานกว่า 30 ปี เมื่อกลางดึกวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดเพลิงลุกไหม้อย่างรวดเร็วขยายวงกว้าง ทำให้ต้องมีการอพยพประชาชนผู้ที่อยู่อาศัยในรัศมี 5 กิโลเมตรออกจากพื้นที่ เพราะเกรงว่าจะได้รับอันตรายจากสารเคมี ว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจมากและจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันสารเคมีอันตรายและมาตรการฉุกเฉินในระยะยาว ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ตามข้อมูลพื้นฐานสามารถสรุปสถานการณ์เพื่อป้องกันเบื้องต้นได้ว่าสถานที่เกิดเหตุเป็นโรงงานผลิตโฟมพลาสติกประเภทสไตรีน โดยสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิต คือ สไตรีนมอนอเมอร์ มอนอเมอร์เป็นชื่อเรียกของสารตั้งต้นโมเลกุลเล็กที่นำมาใช้สังเคราะห์ต่อเนื่องให้เป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นจนได้เป็นพอลิเมอร์หรือพลาสติก สารสไตรีนมีโครงสร้างหลักของโมเลกุลเป็นตัวเบนซีน ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนประเภทวงแหวน 6 เหลี่ยม จัดเป็นสารก่อมะเร็งและสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ซึ่งตามข้อกำหนดแล้วต้องมีเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศได้ไม่เกิน 1.7 ไมโครกรัมต่อปริมาตรอากาศ

Read More

สกสว. จับมือ 7 พีเอ็มยู หน่วยงาน ววน. ชูผลงานเด่น รมว.อว. ชูนโยบายไทยพ้นกับดักความยากจนได้ด้วยวิจัย

รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ที่ผ่านมา สกสว.สนับสนุนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยทำหน้าที่ในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ตลอดจนจัดสรรทุนงบประมาณการวิจัยกระจายไปสู่หน่วยบริหารและจัดการทุน (พีเอ็มยู) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสังคมไทย ในวันนี้ สกสว. จึงจัดงาน “แถลงผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” เพื่อแถลงผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุน (พีเอ็มยู) ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุน ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยคัดเลือกโครงการที่มีผลกระทบต่อประเทศมาหน่วยงานละ 1 ผลงาน รวม 7 ผลงาน ภายใต้แนวคิด “การขจัดปัญหาความยากจน บีซีจีโมเดล และโควิด 19” โดยซึ่งในปี 2563 - 2564 กองทุน ววน.

Read More

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นสร้างนวัตกรรมสีเขียว วิเคราะห์ทางเคมีจากภูมิปัญญาบรรพชนฝาง

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ม.เชียงใหม่ พัฒนาภูมิปัญญามากกว่า 100 ปีของบรรพชนชาวฝางสู่ “นวัตกรรมสีเขียว” ในการวิเคราะห์ทางเคมี สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เกิดตัวอย่างการใช้จริง รวมถึงใช้ในการศึกษาแนวใหม่-ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมีที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ ศ.ดร. เกตุ กรุดพันธ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตนได้ริเริ่มพัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีโดยใช้รีเอเจนต์จากธรรมชาติ ซึ่งบุกเบิกการสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากว่า 15 ปี อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำเนินโครงการ “นวัตกรรมสีเขียวในการวิเคราะห์ทางเคมีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดยมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย “Local issues- Global impact- Sustainable world” มุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดสมัยใหม่ รวมถึงการสร้างและขยายเครือข่ายเพื่อการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายมิติ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า 100 ปี ของบรรพชนชาวฝาง นำมาสู่การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ และคลัสเตอร์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมี ดร.กนกวรรณ คิวฝอ เข้าร่วมพัฒนาต้นแบบรีเอเจนต์ธรรมชาติแบบพร้อมใช้ และขยายเครือข่ายการใช้งานเริ่มต้นไปยังมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ

Read More

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตแผ่นดินไหว-สึนามิในนิวซีแลนด์

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยในชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และ วช. เปิดเผยว่า จากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ขนาด 7.3-8.1 หลายครั้งอย่างต่อเนื่องทางตอนเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่คืนวันที่ 4 ถึงเช้าตรู่ของวันที่ 5 มีนาคม 2564 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิด้วยแต่มีขนาดไม่สูงมากจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนค่อนข้างน้อย ต่างจากแผ่นดินไหวสุมาตราในปี 2547 ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดไปสร้างความเสียหายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และเนื่องจากแผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่กลางมหาสมุทรห่างจากแผ่นดินพอสมควร จึงไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินหรือหมู่เกาะรอบ ๆ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวบริเวณแนวมุดตัวนี้มีแผ่นดินไหวขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่เกิดขึ้นมาโดยตลอด แผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่ตรงแนวชนกันและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่มีชื่อว่าแนวมุดตัวทองกา-เคอร์มาเด็ค แนวมุดตัวนี้มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร วางตัวมาจากด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเหนือของนิวซีแลนด์พาดยาวขึ้นมาทางทิศเหนือจนเกือบถึงประทศซามัว เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งนึ่งของโลก กลไกการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทั้ง 3 ตัวในครั้งนี้มีความสลับซับซ้อนพอสมควร โดยแผ่นดินไหวตัวใหญ่ตัวแรก มีขนาด 7.3 เกิดขึ้นใกล้กับเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ อีก 4 ชั่วโมงถัดมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ทางเหนือห่างออกไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร จึงไม่น่ากระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองได้ หลังจากนั้นอีกประมาณเกือบ 2

Read More

สกสว.ดันเครื่องสำอางจากข้าวทับทิมชุมแพ เตรียมขอเครื่องหมายฮาลาลขยายกลุ่มลูกค้า

สกสว.จับมือนักวิจัยม.สวนดุสิตหนุนผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าข้าว พัฒนาเครื่องสำอางจากข้าวทับทิมชุมแพที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ไร้แอลกอฮอล์ น้ำหอมและพาราเบน ใช้เทคโนโลยีการสกัดที่ไม่ใช้สารเคมีและกักเก็บสารที่ยาวนานจากแป้งข้าว เตรียมขอเครื่องหมายฮาลาลเพื่อขยายกลุ่มลูกค้า นายวีระวัฒน์ บุดดาบุญ ผู้บริหารบริษัท ออไรซ์ เนเชอรัล สกินแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงนวัตกรรมความงามล่าสุด Ruby Rice Essence Sleeping Mask ภายใต้การสนับสนุนของ Innovative house สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จากโครงการวิจัย “การประยุกตใช้สารสกัดรำข้าวทับทิมชุมแพในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว” ที่มี อ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหัวหน้าโครงการ ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดสำคัญจากข้าวทับทิมชุมแพ ซึ่งเป็นข้าวสีพันธุ์หนึ่งที่มีความโดดเด่น เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์กลายกับข้าวเจ้าสังข์หยดพัทลุงที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวทับทิมชุมแพผ่านการขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร และกรมการข้าว ประกาศเป็นพันธุ์รับรองชื่อ กข69 (ทับทิมชุมแพ) ในปี 2559 ข้าวพันธุ์นี้เมื่อหุงสุกจะมีสีแดงใสคล้ายทับทิม และมีลักษณะเด่น คือ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเป็นอันดับต้น

Read More

ดร.สุเมธชี้ต้องหาทางออกอนาคตข้าวไทย สกสว.ดันท่องเที่ยววิถีชาวนาลาวเวียง

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาแนะทุกฝ่ายหาทางออกอนาคตข้าวไทยร่วมกันในยุค Disruption ด้าน สกสว.หนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนวิถีชาวนาพอเพียงในเวทีข้าวไทย 2563 ชูจุดเด่นวิถีชาติพันธุ์ลาวเวียงกลุ่มโคกนาศัย ริมแม่น้ำป่าสัก จ.สระบุรี และผลิตภัณฑ์ข้าวเสาไห้ “เจ๊กเชย” ที่หุงขึ้นหม้อไม่บูดง่าย ผศ. ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ ผู้อำนวยการภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำผลงาน “การท่องเที่ยววิถีชาวนา ชุมชนเสาไห้ สระบุรี” จากโครงการวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์วิถีชาวนากลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวเจ๊กเชย ข้าวห่อ ค็อกเทลลาวเวียง (น้ำขาวจากข้าว) ข้าวเปลือก ข้าวสาร และขนมท้องถิ่น มาร่วมจัดแสดงและให้ผู้มาร่วมงานทดลองชิม ในการประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2563 “อนาคตข้าว-อนาคตไทย” ซึ่งจัดโดยมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และภาคีองค์กรพันธมิตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อนำข้อคิดเห็นและประเด็นปัญหาของข้าวและชาวนาไทยจากเวทีสาธารณะมาประมวลและนำเสนอแก่ผู้กำหนดนโยบายได้รับทราบ โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขามูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิด ด้านนางวนิดา ดำรงค์ไชย

Read More

ทีมมจธ.ต่อยอดข้อมูลดิจิทัลทางวิศวกรรม ติดตามสภาพอุโบสถวัดราชประดิษฐฯ

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 พลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร “วันนิทรรศการวิชาการ รร.จปร. 2563” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดแวสดงผลงานทางวิชาการร่วมกับสถาบันภายนอก ในโอกาสนี้คณะวิจัยโครงการ “การพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม” ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ได้ร่วมถวายรายงานพลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราช โดยเฉพาะงานวิจัยเกี่ยวกับโบราณสถานสำคัญของประเทศไทย โครงการดังกล่าวเป็นงานวิจัยที่ขยายผลต่อยอดจากโครงการ “การใช้ฐานข้อมูลดิจิทัลสำหรับงานวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืนในการอนุรักษ์โบราณสถานหรืออาคารโบราณในชุมชน” ภายใต้ชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยคณะวิจัยมุ่งพัฒนากระบวนการประยุกต์ใช้ข้อมูลดิจิทัล 3 มิติทางวิศวกรรม เพื่อการตรวจสอบสภาพโครงสร้างพื้นฐาน สภาพภูมิประเทศ และการรักษามรดกทางวัฒนธรรม อาทิ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติสำหรับการประเมินโครงสร้างอาคารและโบราณสถาน วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้และกระบวนการใช้ข้อมูลดังกล่าวแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนผ่านกิจกรรมสื่อดิจิทัล นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติควบคู่กับองค์ความรู้ทางวิศวกรรมสำหรับการประเมินและรักษามรดกทางวัฒนธรรม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพภูมิประเทศเพื่อประเมินผลกระทบทางธรรมชาติและภัยพิบัติต่าง ๆ สำหรับโครงการวิจัยการสำรวจด้วยกล้องสแกนวัตถุสามมิติ

Read More

มช. มุ่งพัฒนาสปาล้านนาและผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่สากล

สกสว.หนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนาสปาล้านนาและผลิตภัณฑ์จากพืชหอมประจำถิ่น ว่านเสน่ห์จันทร์หอมและตะไคร้ภูเขา หวังยกระดับมาตรฐานสากล ตามแผนงานวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้อำนวยการแผนงานวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคตของโลกและของประเทศ มีมูลค่าการตลาดสูงเป็นอันดับ 4 รองจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 15.6 จากรายได้การท่องเที่ยวทั้งหมด คณะวิจัยจึงได้ศึกษาหาแนวทางการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวเชิงกีฬา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทำให้ได้ชุดความรู้ใหม่และข้อมูลการวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทย และร่างแนวทางการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่สามารถนำไปบริหารจัดการโครงการวิจัยให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมาย พร้อมกับผลักดันสู่กระบวนการกำหนดนโยบายที่มีความเหมาะสม เช่น การส่งเสริมด้านกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างความร่วมมือ การผลักดันระบบสาธารณะที่เกี่ยวข้อง นำมาซึ่งการสร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยวและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น หรือระดับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเข้าสู่กระบวนการวิจัยในชุมชนและพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ขยายผลต่อผู้ประกอบการกีฬาและสปาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืน ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น หัวหน้าโครงการการพัฒนาสปาล้านนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ระบุว่าการให้บริการสปาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวหนึ่งของไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More