Home > ศรีลังกา (Page 3)

ยุทธศาสตร์ศูนย์กลาง

 Column: AYUBOWAN ความเปลี่ยนแปลงในศรีลังกาช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากจะอุดมด้วยสีสันหลากหลาย และจังหวะก้าวที่ดำเนินไปด้วยอัตราเร่งแล้ว ต้องยอมรับว่ากลไกส่วนหน้าที่ครอบครองอำนาจในช่วงที่ผ่านมา สามารถกำหนดและวางกรอบโครงสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของที่นี่ได้ในระดับที่น่าสนใจติดตาม เพราะพลันที่ Mahinda Rajapaksa สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 เขาก็ประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า “Mahinda Chintana: Vision for the Future” พร้อมกับปูทางเดินหน้าสู่การเลือกตั้งเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2010  ภายใต้วิสัยทัศน์แห่งอนาคต หรือ “จินตภาพแห่งมหินทะ” ดังกล่าวนี้ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน และศูนย์กลางทางพาณิชยกรรม (Maritime, Aviation, Knowledge, Energy and Commerce) กลายเป็นต้นทางของกรอบโครงแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์ศูนย์กลาง “5 Hub Concept” ของศรีลังกา ไม่ได้เป็นเพียงกรอบโครงที่ว่างเปล่าเลื่อนลอย หากแต่มีรายละเอียดและแผนปฏิบัติการค่อนข้างชัดเจนในแต่ละหมวด เฉพาะในมิติของการเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร

Read More

อนาคตที่เก่าแก่ และประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง

 Column: AYUBOWAN หลังผ่านการเฉลิมฉลองเถลิงศกใหม่แบบไทยๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สังคมไทยยังมีโอกาสได้ย้อนรำลึกความหลัง ในงาน “ใต้ร่มพระบารมี 233 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ให้ได้ชื่นชมชื่นใจในยามที่หลายฝ่ายต่างเห็นพ้องกันว่าสภาพเศรษฐกิจ สังคมกำลังเดินทางมาถึงจุดที่ได้แต่ก้มหน้าฝืนทนและหวังจะให้ผ่านพ้นไปเสียที ประวัติศาสตร์ความเป็นไปของบ้านเมืองและผู้คน ในด้านหนึ่งจะเป็นเพียงเรื่องราวที่มีไว้บอกกล่าว ปลอบประโลม หรือแม้กระทั่งปลุกกระแสสำนึก ให้ได้ร่วมเรียนรู้บทเรียนครั้งเก่า คงต้องขึ้นอยู่กับเป้าประสงค์ในการนำเสนอและบุคลิกว่าด้วยทัศนะวิพากษ์ที่แต่ละสังคมพึงจะมี สำหรับโคลัมโบ ซึ่งกำลังจะมีการฉลองวาระครบรอบ 150 ปี ของการจัดตั้งสภาเทศบาลแห่งกรุงโคลัมโบ หรือ Colombo Municipal Council ซึ่งได้รับการจัดตั้งตามธรรมนูญเมื่อปี 1865 ในช่วงที่ศรีลังกาตกอยู่ในอาณัติการปกครองของอังกฤษอาจให้ภาพที่แปลกแตกต่างออกไป เพราะในความเป็นจริงความเป็นไปของโคลัมโบมีประวัติศาสตร์สืบเนื่องยาวนานและเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทาง ที่สัญจรผ่านร้อนหนาวข้ามแผ่นผืนทวีปและห้วงมหาสมุทรมาอย่างยาวนาน และเป็นที่รู้จักคุ้นเคยอยู่ในบันทึกของเหล่าพ่อค้าวานิชมามากกว่า 2,000 ปี ชื่อของ Colombo อย่างที่คุ้นเคยและเรียกขานในปัจจุบันนี้ เป็นชื่อเรียกขานที่ได้รับเป็นมรดกมาจากชาวโปรตุเกสซึ่งถือเป็นกลุ่มชนกลุ่มแรกๆ ที่นำพาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ให้เกิดขึ้นในดินแดนแห่งนี้ แต่นั่นก็เมื่อประมาณ ค.ศ. 1500 หรือ 500 กว่าปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้น Colombo ได้รับการบันทึกถึงด้วยภาษาท้องถิ่นสิงหลในชื่อ Kolon thota ซึ่งสามารถถอดความได้ว่า เมืองท่าที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำ Kelani ควบคู่กับชื่อ Kola-amba-thota

Read More

เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง

 Column: AYUBOWAN บรรยากาศที่แปรปรวนเหนือท้องนภาแห่งเมืองฟ้าอมรก่อนการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย คงทำให้ใครต่อใครได้ซาบซึ้งและร่วมพรรณนาถึงประสิทธิภาพในการบริหารของผู้มีหน้าที่ในการจัดการของสังคมไทยอยู่ไม่น้อยเลยนะคะ เทศกาลสงกรานต์ของไทยเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองที่อยู่ร่วมหรือแชร์พื้นฐานความเป็นไปกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงอีกฝั่งฟากของของมหาสมุทรในดินแดนเอเชียใต้อีกด้วยนะคะ  ด้วยเหตุที่ประเทศเหล่านี้ต่างมีพื้นฐานและคติความเชื่อที่ยึดโยงกับดวงดาวและกาลเวลา โดยถือว่าปีใหม่เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ และถือเป็นการสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวที่ติดตามมาด้วยการเฉลิมฉลองแห่งการได้มาซึ่งผลผลิตประจำปี แต่การเฉลิมฉลองสงกรานต์ในแต่ละประเทศคงไม่มีที่ใดสนุกครื้นเครงและระห่ำเดือดได้อย่างสุดขีดเท่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหรอกนะคะ เพราะดูเหมือนว่าแม้ผู้คนในสังคมไทยจะมีความกังวลเรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะบีบรัดและเขม็งเกลียวหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับ แต่คุณสมบัติหลักของคนไทยว่าด้วยความรักสนุก ทำให้แม้จะเผชิญปัญหานานาเราก็ยังเฮฮาได้ไม่ขาด แต่สำหรับอีกฟากฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ในดินแดนที่เรียกว่าศรีลังกา ผู้คนที่นี่ก็กำลังเฉลิมฉลอง Aluth Avurudda หรือ Avurudu ด้วยความสงบ พร้อมกับการจับจ่ายซื้อสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคเพื่อการเดินทางกลับภูมิลำเนาและใช้ชีวิตในช่วงวันหยุดนี้อยู่กับครอบครัว กิจกรรมหนึ่งในช่วงเทศกาล Avurudu ที่ร้านรวงต่างๆ นำเสนอต่อผู้บริโภคจึงเป็นกิจกรรมลดราคาสินค้าชนิดที่เรียกว่าลดกระหน่ำ summer sale ไม่ต่างกระแสลมในช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งฤดูกาล และเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อของผู้คนทุกระดับสถานะในสังคมไปในคราวเดียวกัน ตามประกาศของทางราชการศรีลังกา Avurudu ซึ่งอยู่ในช่วง 13-14 เมษายน ถือเป็นวันหยุดสำคัญประจำปี แต่สำหรับภาคเอกชนทั่วไปวันหยุด Avurudu อาจทอดยาวตลอดสัปดาห์ ซึ่งหมายรวมถึงร้านค้า ร้านอาหารและภัตตาคารด้วยนะคะ เพราะ Avurudu ถือเป็นเทศกาลของครอบครัว และ “home do” ที่ทุกคนในครอบครัวต่างมาร่วมด้วยช่วยกันมากกว่าการออกไปมะเทิ่งตามท้องถนน ภายใต้รูปแบบของสังคมเกษตรกรรม Avurudu ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำหน้าที่เป็นประหนึ่งการสำรวจมาตรฐานและชื่นชมผลผลิตประจำปี เพราะผลผลิตโดยเฉพาะข้าวจากแปลงนาที่ได้หว่านกรำมาตลอดฤดูเพาะปลูกจะได้รับการปรุงเป็นอาหารมื้อแรกแห่งปีใหม่ เมนูอาหารประจำ Avurudu นอกจากจะมีข้าวสารหุงสุกจนเป็นข้าวสวยแล้ว ยังได้รับการปรุงแต่งเป็นผงแป้งเพื่อประกอบเป็นอาหารคาวหวานหลากหลายร่วมสำรับพิเศษในเทศกาลนี้ ในสังคมศรีลังกา ซึ่งก็คงไม่แตกต่างไปจากสังคมอื่นๆ ที่บางครั้งและบางห้วงอารมณ์ก็ตกอยู่ในภาวะที่โหยหาช่วงวันคืนในยุคสมัยบ้านเมืองดี ความเป็นไปของ

Read More

รัตนปุระ-เมืองอัญมณี

 นอกเหนือจากการมีภูมิศาสตร์ว่าด้วยทำเลที่ตั้งซึ่งมีนัยความหมายทางยุทธศาสตร์มาเนิ่นนานในฐานะจุดกึ่งกลางของการสัญจรจากตะวันตกสู่ตะวันออกข้ามมหาสมุทรอินเดียที่กว้างใหญ่แล้ว ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติของศรีลังกา ก็ยิ่งทำให้ประเทศเกาะขนาดไม่ใหญ่ไม่โตกลางมหาสมุทรแห่งนี้ เป็นชุมทางของกิจการค้ามากมาย การค้าอัญมณีบนแผ่นดินศรีลังกาก็ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีประวัติการณ์ ความเป็นมายาวนานและอุดมด้วยสีสันเจิดจรัสขึ้นหน้าขึ้นตา ถึงขนาดที่ผู้ค้าอัญมณีทั้งจากตะวันออกกลางและจากดินแดนแห่งอื่นๆ พากันเรียกขานศรีลังกาในกาลก่อนในฐานะที่เป็นรัตนทวีป (Ratna-Dweepa) กันเลยนะคะ นักเดินทางอย่าง มาร์โค โปโล ระบุในเอกสารบันทึกการเดินทางว่า ศรีลังกามีแซฟไฟร์ บุษราคัม และอัญมณีมีค่าหลากหลายที่ล้วนแต่มีคุณภาพดีกว่าที่เคยพบในพื้นที่แห่งอื่น ขณะที่นักเดินเรือที่สัญจรผ่านน่านน้ำแห่งนี้ต่างนำอัญมณีแห่ง Serendib ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมที่ชาวเปอร์เซียเรียกขานดินแดนแห่งนี้กลับสู่มาตุภูมิด้วยเสมอ ความมั่งคั่งใต้พื้นพิภพของศรีลังกาเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าดินแดนแห่งนี้มีอายุทางธรณีวิทยาเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นแหล่งรวมผลึกแก้วที่รอการขุดขึ้นมาสร้างสีสันความงดงามและมูลค่าในตลาดอัญมณี ความเก่าแก่ของดินแดนแห่งนี้ ได้รับการกล่าวถึงอยู่ในบันทึกของนักปราชญ์และนักดาราศาสตร์ชื่อก้องโลกอย่าง Claudius Ptolemy ซึ่งระบุไว้ว่าดินแดนศรีลังกาอุดมไปด้วยผลึกอัญมณี แม้ในสมัยนั้นเทคโนโลยีการสำรวจทางธรณีวิทยาจะไม่ได้ก้าวหน้าดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันก็ตาม และที่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้นก็คือการระบุว่าศรีลังกาคือแผ่นดินที่อุดมด้วยผลึกอัญมณีสีฟ้า ที่เรียกว่า Sapphire ซึ่งถือเป็นอัญมณีเลื่องชื่อของศรีลังกาในปัจจุบัน แม้ Sapphire จะเป็นแร่รัตนชาติ หรือ คอรันดัม (Corundum) ประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ที่มีลักษณะผลึกเป็นทรง 6 หน้า (hexagonal prism) ซึ่งต่างจากเพชรที่ประกอบขึ้นจากคาร์บอนบริสุทธิ์ ที่มีผลึกรูปทรงแปดหน้า (octahedron) และมีคุณสมบัติค่าความแข็งตาม Moh’s scale สูงกว่า  แต่เพราะมลทิน (inpurity) ที่อยู่ภายใน ทั้งเหล็ก ไทเทเนียม โครเมียม

Read More

คืนวันพระจันทร์เต็มดวง

 เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สังคมไทยคงได้รำลึกถึงพระพุทธคุณเนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นวันพระใหญ่ โอกาสแรกของปี 2558 นี้ ท่ามกลางกระแสข่าวความเป็นไปในแวดวงพระศาสนา และวงการสงฆ์ ที่อาจทำให้ศาสนิกชนอย่างพวกเรารู้สึกกระอักกระอ่วนในใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ลองหันไปพิจารณาสังคมที่ถือศีลถือธรรมตามหลักพุทธศาสนาแห่งอื่นๆ บ้างดีไหมคะว่าพวกเขามีวัตรปฏิบัติในการทำนุบำรุงศาสนาที่พวกเขาเชื่อถือ ศรัทธากันอย่างไร โดยเฉพาะความเป็นไปของพุทธศาสนิกชนในศรีลังกา ซึ่งได้ชื่อว่ามีความเคร่งครัดในเรื่องเหล่านี้เป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ วันสำคัญทางศาสนาของชาวพุทธศรีลังกา นอกจากจะกำหนดขึ้นคล้ายคลึงกับบ้านเรา ทั้งวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ตามแบบประเพณีนิยมแล้ว ยังมีวันพระ วันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถ ไม่แตกต่างกัน แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คงเป็นเรื่องของการให้ความสำคัญกับคืนวันที่พระจันทร์เต็มดวงในแต่ละเดือน ซึ่งชาวพุทธที่นี่เรียกว่า Poya และนับเป็นวันหยุดราชการทั่วทั้งประเทศศรีลังกาด้วย ความเป็นมาของ Poya ในด้านหนึ่งมีรากฐานต้นทางมาจากคำในบาลี-สันสกฤตที่เกี่ยวเนื่องด้วยคำว่า อุโบสถ (Uposatha) ซึ่งมีความหมายตามคำได้ว่า การเข้าถึง (อุปะ) ยาแก้โรค (โอสถ) ที่ขยายความไปสู่การเข้าถึงธรรมซึ่งเป็นยาแก้โรคจากกิเลสนั่นเอง ด้วยเหตุดังนี้ Poya จึงเป็นวันที่ดำเนินไปสู่การลด การละ ซึ่งนอกจากหน่วยราชการและห้างร้านจำนวนมากจะหยุด ไม่ทำการแล้ว ร้านค้าเนื้อสัตว์และเครื่องมึนเมาทั้งหลายก็จะหยุดทำการค้าเป็นการชั่วคราวในวันสำคัญนี้เช่นกัน กิจกรรมของชาวพุทธศรีลังกาในวัน Poya นับเป็นสีสันและเรื่องราวให้ชวนศึกษาติดตามไม่น้อย เพราะในศรีลังกาไม่มีธรรมเนียมให้สงฆ์มาเดินบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามท้องถนนเหมือนกับที่พบเห็นเจนตาในบ้านเรานะคะ แต่ชาวพุทธที่นี่จะเข้าวัดไปฟังเทศน์ ฟังธรรม ด้วยเครื่องแต่งกายสีขาวกันตั้งแต่เช้า และด้วยเหตุที่

Read More

อัตลักษณ์แห่งชา

 ความเป็นไปของชาจากศรีลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของเงินตราต่างประเทศ และหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจศรีลังกาด้วยสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อีกทั้งผูกพันเชื่อมโยงผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากธุรกิจนี้มากกว่า 1 ล้านคน ยังมีมิติที่น่าสนใจและควรบันทึกไว้เป็นข้อมูลอีกนะคะ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า Ceylon Tea มีคุณภาพหรือคุณลักษณะอย่างไรหรือ ถึงทำให้แปลกแตกต่างจากชาจากแหล่งอื่นๆ และสามารถสร้างเสริมอัตลักษณ์ของชา Ceylon ขึ้นมาได้ หากจะกล่าวอย่างรวบรัด ด้วยเพียงระบุว่า ปัจจัยด้านความชื้น สภาพอากาศที่เย็นสบาย ปริมาณน้ำฝนที่พอเพียง ส่งผลให้ชาซีลอนมีคุณภาพดี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่เราต้องอธิบายกันให้มากความ แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญมากไปกว่านั้น และอาจเป็นข้อต่อสำคัญที่ทำให้สามารถนำเงื่อนไขทางธรรมชาติมาปรับใช้ได้อย่างลงตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ เมื่อชาเดินทางมาถึงและเริ่มจะปักหลักฐานในศรีลังกานั้น ชาได้แพร่หลายและแตกยอดผลิใบอยู่ทั้งในจีน และอินเดีย โดยเฉพาะการเพาะปลูกเชิงพาณิชยกรรมใน Assam และ Darjeering มาก่อนหน้าแล้ว การเป็นผู้มาทีหลังในอุตสาหกรรมชาของศรีลังกา จึงดำเนินไปท่ามกลางข้อจำกัดทั้งในมิติของขนาดพื้นที่เพาะปลูกและการเบียดแทรกเข้าสู่การรับรู้ของตลาดในฐานะผู้ประกอบรายเล็กเจ้าใหม่ ยังไม่นับรวมถึงการช่วงชิงพื้นที่เพาะปลูกกับพืชเศรษฐกิจดาวรุ่งและกระแสวัฒนธรรมของกาแฟ ที่กำลังถั่งโถมเข้าสู่ยุโรปอีกด้วย ประเด็นและมิติที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งต้องยกประโยชน์ให้กับอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าอาณานิคม ที่ทำให้วัฒนธรรมแห่งชาแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ผู้มาใหม่อย่างศรีลังกาได้มีโอกาส “ผ่านเกิด” บนสังเวียนชาที่เข้มข้นระดับนานาชาติในเวลาต่อมา เพราะในขณะที่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ กำลังรื่นรมย์อยู่กับรสชาติของชาจากแหล่งผลิตใน Assam Darjeering และแหล่งอื่นๆ อย่างเอิกเกริก พร้อมๆ

Read More

กว่าจะมาเป็น CEYLON TEA

 ในบรรดาของฝากของดีจากศรีลังกา เชื่อว่า Ceylon Tea คงเป็นตัวเลือกลำดับแรกๆ ที่ทุกคนคงนึกถึง เนื่องเพราะชาซีลอนได้สร้างชื่อและรุกทำตลาดในระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพน่าสนใจ และยังสามารถยืนหยัดเป็นผู้ส่งออกชาอันดับหนึ่งของโลก แม้ว่าหากพิจารณาในมิติของปริมาณที่ผลิตได้จะตามหลังทั้งจีนและอินเดียก็ตาม แต่กว่าที่ศรีลังกาจะกลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและมีตราประทับรับรองคุณภาพชาชั้นดี ในนาม Ceylon Tea เช่นทุกวันนี้ ต้องเรียนว่า ผืนแผ่นดินศรีลังกาถูกพลิกและแผ้วถาง เพื่อนำรากเหง้าแห่งพืชพันธุ์นานามีที่มาถึงก่อน เพื่อเปิดทางให้ชาจากต่างแดนเข้ามางอกเงยในดินแดนแห่งนี้ ประวัติการณ์แห่งความเป็นไปของชา ได้รับการระบุถึงต้นทางแหล่งที่มาว่า ถือกำเนิดในแผ่นดินจีน ในฐานะพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางยามาเนิ่นนานนับย้อนไปได้หลายพันปีก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว และส่งผ่านรากฐานทางวัฒนธรรมแห่งชาให้ขยายออกไปสู่การรับรู้ของอารยธรรมอื่นๆ ในซีกโลกตะวันออกให้ได้เก็บรับ  แม้ว่าในระยะเริ่มแรกจะจำกัดวงอยู่เฉพาะกลุ่มชนชั้นนำ พระสงฆ์ และอภิสิทธิ์ชนทั้งหลายก็ตาม แต่นั่นก็ทำให้ชามีสถานะทางสังคมที่ผนวกแน่นอยู่กับแบบแผนและรากฐานความคิดความเชื่อแบบตะวันออกอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ชาเริ่มเข้าสู่การรับรู้ของผู้คนจากซีกโลกตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผ่านทางนักบวชและพ่อค้าชาวโปรตุเกส ที่มาตั้งสถานีการค้าอยู่ในมาเก๊า เพื่อบุกเบิกการค้ากับตะวันออกไกล แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงการส่งชากลับไปยังยุโรป กระทั่ง Dutch East India เริ่มนำใบชาเขียวจากจีนขึ้นสู่ฝั่งยุโรปที่อัมสเตอร์ดัม และทำให้ผู้คนในยุโรปได้ลิ้มลองรสชาติแห่งชามากยิ่งขึ้น แต่ดูเหมือนว่าอังกฤษจะกลายเป็นตัวแปรและกลไกสำคัญที่ส่งให้ชามีสถานะเป็นสินค้าและเครื่องดื่มที่แทรกตัวเข้าสู่วัฒนธรรมตะวันตกอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ความพยายามของอังกฤษที่จะแข่งขันและขจัดการผูกขาดการค้าชาจากจีน ทำให้อังกฤษนำเมล็ดพันธุ์ รวมถึงเทคนิคการปลูกและเก็บเกี่ยวชาจากจีน มาทำการส่งเสริมการปลูกชาบนดินแดนอาณานิคมอินเดีย ในรัฐอัสสัม และ Darjeering ในเบงกอลตะวันตก พร้อมกับให้สิทธิประโยชน์ในที่ดินทำกินให้กับชาวยุโรปรายใดก็ตามที่จะอพยพเข้ามา ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องปลูกชาเพื่อการส่งออกด้วย ในความเป็นจริง ชนพื้นเมืองในแคว้นอัสสัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชาว Singpho ก็ทำการเพาะปลูกชามาตั้งแต่ศตวรรษที่

Read More

อบเชย: Cinnamon

 ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับเครื่องยาสมุนไพรที่ชื่อ อบเชย หรือ cinnamon กันอยู่บ้างใช่ไหมคะ เพราะนอกจากจะมีสรรพคุณทางยาโดดเด่น เป็นส่วนประกอบในสูตรตำราอาหารคาวหวานหลากหลาย บรรดาคอกาแฟก็คงได้ลิ้มชิมรส cinnamon ผ่านกาแฟ cappuccino  ถ้วยโปรดกันมาไม่น้อยเช่นกัน แต่ความเป็นมาและเป็นไป รวมถึงความสำคัญของอบเชย: Cinnamon นี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องราวข้างต้นนี้เท่านั้นนะคะ หากยังมีมิติทางประวัติศาสตร์ที่มีผลเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของศรีลังกาด้วย cinnamon เป็นสมุนไพรที่มนุษย์รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน ซึ่งสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงในอารยธรรมโบราณ หรือแม้กระทั่งมีการบันทึกการใช้ประโยชน์ของ cinnamon ไว้ในมหาคัมภีร์ของชาวฮีบรู กันเลยทีเดียว ขณะที่ในอารยธรรมกรีกและอารยธรรมอียิปต์ หรือกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ก็กล่าวถึงการใช้ประโยชน์ของ cinnamon โดยในครั้งนั้น cinnamon ถูกขับเน้นในมิติของเครื่องหอมสำหรับบูชาเทพเจ้า และมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องบรรณาการสำหรับเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งทำให้อบเชยกลายเป็นสินค้าสำหรับชนชั้นสูงไปโดยปริยาย แม้ว่า cinnamon จะเป็นที่รู้จักแพร่หลายและมีมูลค่าราคาแพง แต่แหล่งที่มาของสินค้านำเข้าสู่อารยธรรมโบราณชนิดนี้กลับถูกปกปิดเป็นความลับจากเหล่าพ่อค้าคนกลางจากดินแดนอาระเบีย ที่สัญจรและทำการค้าอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อผลในการผูกขาดการค้าเครื่องเทศนี้ต่อไป ความลึกลับในแหล่งกำเนิดของ cinnamon ในครั้งนั้นติดตามมาด้วยเรื่องราวความยากลำบากกว่าจะได้สินค้าชนิดนี้มา ถึงขนาดที่มีการผูกโยงเป็นเรื่องราวมหัศจรรย์ว่าด้วยการใช้ cinnamon สร้างรังของเจ้านกยักษ์ ซึ่งทำให้กว่าจะได้ cinnamon มาจำหน่ายเป็นสินค้าต้องผจญและเสี่ยงภัยจากสิ่งมีชีวิตในจินตนาการนี้ ซึ่งผลักให้ cinnamon มีสนนราคาแพงตามไปด้วย ความพยายามที่จะเสาะหาแหล่งที่มาของ

Read More

วันแห่งการปลดปล่อย

 ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของดินแดนที่เต็มไปด้วยร่องรอยแห่งความจำเริญทางอารยธรรมและการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกมาอย่างต่อเนื่องเช่นศรีลังกานี้ ย่อมไม่ได้ดำเนินไปท่ามกลางความหอมหวานและราบรื่น หากแต่เต็มไปด้วยประวัติการณ์แห่งการต่อสู้ช่วงชิง ทั้งในมิติของอำนาจ ดินแดนและทรัพยากร การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้รอดพ้นจากการครอบงำของมหาอำนาจจากภายนอกที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาช่วงชิงโรมรันพันตูของศรีลังกา ในด้านหนึ่งกลายเป็นเรื่องราวเล่าขานในความห้าวหาญและกล้าแกร่งที่มีไว้เพื่อเชิดชูวีรชนที่ต่อสู้อย่างไม่ลดละด้วยหวังให้ดินแดนแห่งนี้ยังสามารถคงความเป็นเอกราช แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพของความเลวร้าย ตกต่ำ และทุรยุค ที่เกิดจากการปกครองของเหล่ากษัตริยาทั้งหลายที่กลายเป็นทรราช บนบัลลังก์ที่กรุ่นไปด้วยคาวเลือดของการไขว่คว้าราชศักดิ์ ท่ามกลางความเดือดร้อนวุ่นวายซึ่งเกิดขึ้นในทุกหย่อมย่านในห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน ความเป็นไปของศรีลังกาในยุคสมัยใหม่ ที่อาจนับเนื่องได้ตั้งแต่เมื่อครั้งที่กองทัพโปรตุเกส ซึ่งนำโดยผู้บัญชาการและนักสำรวจนาม Lourenco de Almeida ขึ้นฝั่งศรีลังกาเมื่อปี ค.ศ. 1505 พร้อมกับครอบครองพื้นที่ชายฝั่งทะเลก่อนประกาศให้ดินแดนเหล่านี้เป็นของจักรวรรดิโปรตุเกส ราชอาณาจักรที่สืบเนื่องและผ่านยุคสมัยที่ยาวนานมากว่า 2,000 ปี ท่ามกลางความเป็นไปของราชสำนักหลากหลายบนแผ่นดินศรีลังกาก็เริ่มเข้าสู่ปฐมบทของการเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ เป็นการเสื่อมถอยที่มีเฮือกของการสะอึกสำลักลมปราณให้ได้เห็นเป็นจังหวะประหนึ่งว่ากำลังมีอาการดีขึ้น ก่อนจะปลดเปลื้องลมหายใจรวยรินให้สิ้นไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ไม่ต่างจากอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ถูกฤทธ์ยากดทับและกล่อมอาการ จนหลงเข้าใจผิดในฤทธานุภาพที่กลายเป็นมายาภาพให้ยึดกุม การเกิดขึ้นและดำเนินไปของราชอาณาจักรในนาม Kingdom of Kandy ดูจะเป็นประจักษ์พยานในข้อเท็จจริงที่ว่านี้ได้อย่างแจ่มชัดและเป็นตัวอย่างของความเสื่อมที่ไม่ได้เกิดจากภัยคุกคามภายนอกโดยลำพังเท่านั้น หากแต่สนิมย่อมเกิดแต่เนื้อในตนด้วย ความพยายามที่จะรักษาอำนาจของเจ้าผู้ครองแว่นแคว้นต่างๆ ให้รอดพ้นจากผู้รุกรานนำไปสู่การถอยร่นขึ้นสู่เขตป่าดงดอยและเทือกเขาสูงที่อยู่ลึกห่างเข้าไปจากชายฝั่งทะเล ด้วยหวังจะอาศัยสภาพภูมิประเทศทุรกันดารเหล่านี้เป็นประหนึ่งปราการและเกราะคุ้มกันภัย ราชอาณาจักร Kandy สามารถสถาปนาและยืนหยัดตั้งตัวเป็นอิสระจากการครอบงำจากต่างประเทศ ได้อย่างยาวนานถึงกว่า 300 ปี (1521-1815) และกลายเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์สุดท้ายในความรุ่งเรืองของยุคราชอาณาจักรบนแผ่นดินศรีลังกา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจในความเป็นไปของ Kandy ในช่วง 200 ปีแรกของอาณาจักรก็คือแม้อิสรภาพของ Kandy แลกมาด้วยความขมขื่น ท่ามกลางการแข่งขันประลองอำนาจระหว่างโปรตุเกสและดัตช์ ที่ต่างหวังจะครอบครองและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรเหนือดินแดนแห่งนี้ แต่การมาถึงของกองกำลังจากอังกฤษเพื่อเข้าแทนที่อิทธิพลของดัตช์ในปี 1739 ต่างหากที่สร้างรอยบาดแผลร้าวลึกและผลักให้อิสรภาพที่ยาวนานกว่า

Read More

ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

 จุดเริ่มต้นการค้นหาคุณค่าความหมายของนักเดินทางท่องเที่ยว เพื่อฝ่าผจญไปในโลกกว้างส่วนใหญ่ มักมีที่มาจากความสงสัยในชื่อบ้านนามเมือง เพราะสิ่งเหล่านี้คงสะท้อนความเป็นมาและเป็นไป อีกทั้งยังแฝงเคลือบด้วยเสน่ห์มายาแห่งทัศนคติที่อยู่รายล้อมให้ได้พินิจพิจารณากันอย่างไม่รู้จบและรู้เหนื่อยกันเลย กรณีดังกล่าวนี้ ดูจะสอดรับได้ดีกับวิถีความเป็นมาและเป็นไปของศรีลังกา ซึ่งสามารถสืบย้อนเรื่องราวไปได้ไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์นานกว่า 5 แสนปี หรืออย่างน้อยก็ยาวนานกว่า 1.25 แสนปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีหลักฐานปรากฏการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่ยุค Paleolithic และยุค Mesolithic ไล่เรียงสู่ยุคโลหะที่ยาวนานในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ความเก่าคร่ำของดินแดนแห่งนี้ ดำเนินไปพร้อมกับคำกล่าวขานเรียกนามที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และจากการจดบันทึกของผู้ผ่านทางที่มีมาอย่างหลากหลายชาติพันธุ์ และจากอารยธรรมที่มีจุดหมายและเริ่มต้นมาจากดินแดนที่ไกลออกไป ชื่อเสียงเรียงนามที่ดินแดนแห่งนี้ได้รับการจดจำมีอยู่มากมายหลากหลายชื่อ แต่ที่คุ้นเคยและมีรากฐาน นับถอยหลังกลับไปได้ไกลถึงกว่า 7,000 ปี ก็คงต้องเริ่มจาก “ลังกาหรือลงกา” ที่ปรากฏอยู่และเกี่ยวเนื่องอยู่ในมหากาพย์รามายะนะ ของอินเดีย หากพิจารณาโดยรากศัพท์จากที่มาของคำว่า Lanka ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำศัพท์จากกลุ่มภาษา Austro-Asiatic แล้ว ลังกา หมายถึงภูมิประเทศทั่วไปที่เป็นเกาะ ซึ่งดูเหมือนว่าคำว่า Lanka นี้ จะไม่ได้มีใช้เฉพาะในศรีลังกาเท่านั้น หากแต่ชนพื้นถิ่นในหมู่เกาะใหญ่น้อยในมหาสมุทรอินเดียและบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับอิทธิพลทางภาษามาใช้แป็นสร้อยคำเรียกขานดินแดนของพวกเขาอยู่ไม่น้อยเช่นกัน แต่สำหรับนักเดินทางสำรวจจากแดนไกล ดินแดนแห่งนี้ได้รับการเรียกขานด้วยชื่ออื่นๆ โดยนักภูมิศาสตร์ชาวกรีกระบุถึงดินแดนแห่งนี้ด้วยคำว่า Taprobane หรือ Taprobana เพื่อระบุถึงอาณาจักร Tambapanni หรือ Thambapanni ซึ่งเป็นราชอาณาจักรแรกๆ ที่ได้สถาปนาอำนาจการปกครองขึ้นในศรีลังกาในช่วง

Read More