Home > รัตนปุระ

รัตนปุระ-เมืองอัญมณี

 นอกเหนือจากการมีภูมิศาสตร์ว่าด้วยทำเลที่ตั้งซึ่งมีนัยความหมายทางยุทธศาสตร์มาเนิ่นนานในฐานะจุดกึ่งกลางของการสัญจรจากตะวันตกสู่ตะวันออกข้ามมหาสมุทรอินเดียที่กว้างใหญ่แล้ว ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติของศรีลังกา ก็ยิ่งทำให้ประเทศเกาะขนาดไม่ใหญ่ไม่โตกลางมหาสมุทรแห่งนี้ เป็นชุมทางของกิจการค้ามากมาย การค้าอัญมณีบนแผ่นดินศรีลังกาก็ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีประวัติการณ์ ความเป็นมายาวนานและอุดมด้วยสีสันเจิดจรัสขึ้นหน้าขึ้นตา ถึงขนาดที่ผู้ค้าอัญมณีทั้งจากตะวันออกกลางและจากดินแดนแห่งอื่นๆ พากันเรียกขานศรีลังกาในกาลก่อนในฐานะที่เป็นรัตนทวีป (Ratna-Dweepa) กันเลยนะคะ นักเดินทางอย่าง มาร์โค โปโล ระบุในเอกสารบันทึกการเดินทางว่า ศรีลังกามีแซฟไฟร์ บุษราคัม และอัญมณีมีค่าหลากหลายที่ล้วนแต่มีคุณภาพดีกว่าที่เคยพบในพื้นที่แห่งอื่น ขณะที่นักเดินเรือที่สัญจรผ่านน่านน้ำแห่งนี้ต่างนำอัญมณีแห่ง Serendib ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมที่ชาวเปอร์เซียเรียกขานดินแดนแห่งนี้กลับสู่มาตุภูมิด้วยเสมอ ความมั่งคั่งใต้พื้นพิภพของศรีลังกาเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าดินแดนแห่งนี้มีอายุทางธรณีวิทยาเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นแหล่งรวมผลึกแก้วที่รอการขุดขึ้นมาสร้างสีสันความงดงามและมูลค่าในตลาดอัญมณี ความเก่าแก่ของดินแดนแห่งนี้ ได้รับการกล่าวถึงอยู่ในบันทึกของนักปราชญ์และนักดาราศาสตร์ชื่อก้องโลกอย่าง Claudius Ptolemy ซึ่งระบุไว้ว่าดินแดนศรีลังกาอุดมไปด้วยผลึกอัญมณี แม้ในสมัยนั้นเทคโนโลยีการสำรวจทางธรณีวิทยาจะไม่ได้ก้าวหน้าดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันก็ตาม และที่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้นก็คือการระบุว่าศรีลังกาคือแผ่นดินที่อุดมด้วยผลึกอัญมณีสีฟ้า ที่เรียกว่า Sapphire ซึ่งถือเป็นอัญมณีเลื่องชื่อของศรีลังกาในปัจจุบัน แม้ Sapphire จะเป็นแร่รัตนชาติ หรือ คอรันดัม (Corundum) ประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ที่มีลักษณะผลึกเป็นทรง 6 หน้า (hexagonal prism) ซึ่งต่างจากเพชรที่ประกอบขึ้นจากคาร์บอนบริสุทธิ์ ที่มีผลึกรูปทรงแปดหน้า (octahedron) และมีคุณสมบัติค่าความแข็งตาม Moh’s scale สูงกว่า  แต่เพราะมลทิน (inpurity) ที่อยู่ภายใน ทั้งเหล็ก ไทเทเนียม โครเมียม

Read More