Home > พิษโควิด (Page 3)

COVID-19 ถล่มค้าปลีกไทย วอนร้องรัฐเร่งช่วยเหลือด่วน

พิษจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกระเทือนไปทุกแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม โดยล่าสุดสมาคมค้าปลีกไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกได้รับจากผลของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมที่ชะงักตัวลง ความสำคัญและเป็นไปของธุรกิจค้าปลีกไทย ซึ่งถือเป็นกลไกและฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นกลไกที่ครอบคลุมและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตการค้าทั้งระบบตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมในระบบมากกว่า 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงมากกว่า 6.2 ล้านราย และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบ และทำให้ดัชนีค้าปลีกของสมาคมค้าปลีกไทยปี 2563 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับติดลบที่ร้อยละ -12 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีติดลบด้วยตัวเลข 2 หลัก ความชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลของมาตรการควบคุมโรคของรัฐยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การคาดการณ์ตัวเลขในไตรมาสที่ 1/2564 หลังจากที่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหนักหน่วงและรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรกและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน โดยคาดว่าดัชนีค้าปลีกไทยในไตรมาส 1/2564 จะยังหดตัวติดลบที่ระดับร้อยละ 7-8 ผลจากภาวะชะลอตัวดังกล่าวนี้ได้ส่งให้เกิดผลเสียหายในวงกว้างอย่างมาก โดยนอกจากจะเกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากทยอยปิดตัวลง

Read More

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาฯ ปี 2564 ติดลบ 3% ถึงเติบโต 10%

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 มีแนวโน้มติดลบ 3% ถึงเติบโตประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) รอบใหม่ นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom: LWS), บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวถึงทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 ว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ส่งผลต่อเนื่องต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 LPN Wisdom ได้มีการปรับการคาดการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์อสังหาฯ ในปี 2564 จะมีแนวโน้มทรงตัวหรือเติบโตได้ประมาณ 3-5% และการเปิดตัวโครงการใหม่มีแนวโน้มที่จะเปิดตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% เมื่อเทียบกับปี 2563

Read More

โควิดระบาดยืดเยื้อ ทุนยักษ์แห่เจาะธุรกิจเฮลท์แคร์

ธุรกิจทางการแพทย์และธุรกิจสุขภาพกลับมาร้อนแรง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยืดเยื้อและมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งฝ่ายโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) เคยคาดการณ์จำนวนประชากรราว 1 ใน 10 จากทั่วโลก หรือประมาณ 760 ล้านคน จะติดเชื้อไวรัสอันตรายตัวนี้ ส่วนในประเทศไทย ล่าสุดยอดผู้ป่วยยืนยันทะลุหลักหมื่นคน และกระจายไปมากกว่า 50 จังหวัดแล้ว ขณะเดียวกัน ทีมระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เคยประเมินการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยไว้ 3 ฉากทัศน์ ฉากทัศน์ที่ 1 หากไม่มีการควบคุมหรือมาตรการใดๆ จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละ 1,000-2,000 ราย จนถึงวันที่ 14 มกราคม 2564 และจะพบเพิ่มขึ้น 18,000 รายต่อวัน ฉากทัศน์ที่ 2 ใช้มาตรการปานกลาง จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 4,000 รายต่อวัน และฉากทัศน์ที่ 3 ใช้มาตรการเข้มข้น เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ จะพบผู้ป่วยน้อยกว่า 1,000 รายต่อวัน นั่นทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสการเติบโตสวนทางธุรกิจอื่นๆ

Read More

ผวาโควิดหนีตลาดสด เซ็นทรัล-ซีพี ยอดขายพุ่ง

พิษการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต้นตอใหญ่มาจากตลาดค้ากุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลดาวกระจายเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่เดินทางมารับอาหารทะเลสดไปขายปลีกในหลายจังหวัด จนเกิดกระแสหวาดผวาอย่างหนัก ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกเดินตลาดสดแห่เข้าซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตอกย้ำมาตรฐานความปลอดภัย ไร้เชื้อ แถมมีโปรโมชั่นแรงๆ แข่งขันกันมากขึ้น ล่าสุด เครือข่ายสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งเปิดเผยสถานการณ์กุ้งของไทย ระบุว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2563 โดยรวมอยู่ที่ 270,000 ตัน ลดลง 7% เมื่อเทียบกับปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 290,000 ตัน เป็นผลจากปัญหาเรื่องโรคระบาดและความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อตลาดและราคาตกต่ำ ขณะเดียวกัน การส่งออกกุ้งช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 มีปริมาณ 123,297 ตัน มูลค่า 35,872 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ส่งออกปริมาณ 135,249 ตัน มูลค่า 40,185 ล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ที่ร้อยละ 9 และร้อยละ 11 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป รวมทูน่ากระป๋องและแปรรูป แต่ไม่รวมกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป

Read More

รีวิวบันทึกเหตุการณ์ 2563 ปีโควิด-19 เขย่าโลก สยามพิวรรธน์สร้างปรากฏการณ์ นำโลกรีเทลสู่โมเดลใหม่รับ Now Normal

วิกฤติการณ์ Covid-19 ที่สร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ไปทั่วโลกและส่งผลกับทุกมิติในทุกสาขาอาชีพ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนเดืมอีกต่อไปสำหรับในธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าในประเทศไทย ผู้ที่อยู่รอดคือผู้ที่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วพร้อมรับชีวิตวิถีใหม่ของลูก้าที่เปลี่ยนไป บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหาร OneSiam โกลบอลเดสติเนชั่นซึ่งผนึกกำลังของศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของโครงการไอคอนสยาม อภิมหาโครงการเมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นองค์กรแรกๆ ที่สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์โควิด -19 ได้เป็นอย่างดี และยังได้สร้างปรากฏการณ์ให้วงการค้าปลีกด้วยการนำเสนอธุรกิจรีลเทลโมเดลใหม่ล่าสุดที่ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ก่อนใคร จากวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลกในทุกวงการ สยามพิวรรธน์ นำโลกธุรกิจรีเทลสู่โมเดลใหม่ ตอกย้ำวิสัยทัศน์การเป็น ‘ผู้นำความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำสมัย’ เปิดวิสัยทัศน์มิติใหม่ของศูนย์การค้าแห่งอนาคตที่จะสร้างความสุขและรอยยิ้มให้แก่ผู้คน ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้บริโภคในแบบ Now Normal Innovative Lifestyle ด้วยการสร้าง Retail Ecosystem ชูกลยุทธ์ Collaboration to Win โดยการร่วมกันรังสรรค์ Co-creation และ Creating Shared Values ซึ่งถอดรหัสได้เป็นมิติต่างๆ ดังนี้ มาตรการสุขอนามัยและความปลอดภัยด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Innovative Health & Safety) ศูนย์การค้าคือสถานที่มอบความสุขให้แก่ผู้คน ศูนย์การค้ายุคใหม่ต้องสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแลเอาใจใส่ตลอดการใช้เวลาภายในศูนย์ฯ

Read More

ท่องเที่ยวไทยไร้ทางรอด เอกชนหวังเร่งเปิดประเทศ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยซึ่งถือเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันด้วยเหตุที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างอิสระ รวมถึงการปิดประเทศ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งร้างไร้ผู้คน จนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างขาดรายได้ไปโดยปริยาย ภาพถนนข้าวสารที่เคยคึกคักและคลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก จนทำให้เป็นประหนึ่งถนนที่ไม่มีวันหลับ หากแต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยการปิดเมืองในช่วงปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ถนนที่เป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยต้องร้างไร้ไม่มีนักท่องเที่ยว และเป็นเหตุให้ร้านค้า ร้านอาหาร บริษัทให้บริการท่องเที่ยว และโรงแรมต่างปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยมีการประเมินว่ารายได้ในส่วนนี้หดหายไปมากกว่าร้อยละ 70-80 อีกด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกที่เกี่ยวข้องพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบ “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงภาคการท่องเที่ยวที่เคยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP และมีการจ้างงานรวมมากกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2562 ได้ มูลเหตุสำคัญที่ทำให้มาตรการ “ไทยเที่ยวไทย” ไม่สามารถพยุงภาคการท่องเที่ยวโดยรวมได้มากนักเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่ารายได้ในลักษณะของ “ไทยเที่ยวไทย” โดยปกติมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของรายได้ภาคท่องเที่ยวทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังกระจุกตัวในบางจังหวัดและบางช่วงเวลา ยังไม่นับรวมประเด็นว่าด้วยผลของมาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทยยังเป็นไปอย่างจำกัด ข้อเรียกร้องสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาว่าด้วยการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทยจึงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นมาตรการจำเป็นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพยุงธุรกิจท่องเที่ยวให้รอดพ้นจากความล่มสลายจากผลของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างเชื่อว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในห้วงเวลาจากนี้ ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่คุ้มกับความเสี่ยง

Read More

ศึกชิงเม็ดเงิน “ช้อปดีมีคืน” ยักษ์เอาท์เล็ตแข่งถล่มแคมเปญ

กระแสโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ซึ่งกระทรวงการคลังตั้งเป้ากระตุ้นกำลังซื้อช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ มากกว่า 2 แสนล้านบาท และดึงเม็ดเงินจากผู้มีรายได้สูงมากกว่า 3.7 ล้านคน กำลังจุดชนวนสมรภูมิค้าปลีกช่วง 2 เดือนสุดท้าย โดยเฉพาะกลุ่มเอาท์เล็ตแบรนด์หรู ทั้งสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ตและเซ็นทรัลวิลเลจ ต่างระดมอัดแคมเปญถล่มกันอย่างหนักหน่วง ขณะเดียวกัน ในจังหวะนี้กลุ่มเอาท์เล็ตที่เคยเจาะนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างปรับแผนรุกขยายฐานลูกค้าคนไทยกำลังซื้อสูง เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวยังต้องรอการฟื้นตัวและเพิ่งประเดิมเปิดประเทศรับทัวร์ต่างชาติประเภทพิเศษ หรือ Special Tourist Visa หรือ STV กลุ่มแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มแรกเดินทางมาจากเมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 41 คน ตามนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ 2 จากกวางโจว ประเทศจีน เดินทางเข้ามาอีก 100 คน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม แม้ล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอแผนการตลาดดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป โดยเจาะกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียเป็นหลัก เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์

Read More

อิปซอสส์ (Ipsos) เผยผลสำรวจผลกระทบในช่วงโควิด

คนไทย 1 ใน 3 ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐฯ ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะยืดเยื้อมากว่า 10 เดือนแล้ว ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงมีความกังวลต่อการติดเชื้อไม่เสื่อมคลาย จากผลสำรวจพบว่าประเทศที่ประชาชนมีความกังวลต่อการติดเชื้อน้อยที่สุดคือสิงคโปร์ ตามมาด้วย ประเทศไทย ซึ่งในไทยนั่นมีประชาชนเพียง 30 % ที่ยังมีความกังวลต่อการติดเชื้อในระดับสูง ในขณะที่ 61 % ของประชากรมาเลเซีย และ 73% ของฟิลิปปินส์ หรือเกินครึ่งของประชากรทั้ง 2 ประเทศนั่นยังมีความกังวลและระแวดระวังต่อการติดเชื้อที่ยังอยู่ในระดับสูง การปรับตัวและมุมมองต่อสถานการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือราว 81% เชื่อว่าต้องรอจนถึงปี 2021 ก่อนที่วัคซีนจะสามารถผลิตและถูกแจกจ่ายถึงคนในวงกว้าง ระยะเวลาอันยาวนานนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องปรับตัว โดยมีประชากรถึง 37% ในภูมิภาคที่ได้ปรับตัวและมีความคุ้นชินต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แล้ว อย่างไรก็ตามประชากรกึ่งหนึ่งหรือราว 16% เริ่มเห็นสัญญาณว่ามาตรการล็อกดาวน์และรักษาความปลอดภัยต่างๆ จะค่อยๆ ถูกทยอยผ่อนคลายหรือยกเลิกในเร็ววัน หากดูภาพรวมของทั้งภูมิภาคแล้ว 1 ใน 2 ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกค่อนข้างปลอดภัยที่จะไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารนอกบ้าน ไปเยี่ยมบ้านเพื่อน หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งระดับความเชื่อมั่นนี้แตกต่างไปในแต่ละประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น

Read More

แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ ส่งอสังหาฯ ทรุดหนัก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่ความกังวลใจต่อการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้สถาบันการเงินจัดวางมาตรการที่เข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นและกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างหนัก การหดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่หดตัวลดลง ควบคู่กับการหายไปของกลุ่มลูกค้าต่างชาติ และการสะสมของปริมาณสินค้าในตลาดจำนวนมาก ขณะที่ปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยของสถาบันการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานาน และยิ่งทวีความเข้มงวดมากขึ้นในช่วงหลังๆ นับตั้งแต่การออกมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะเดียวกันผลพวงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในประเทศหรือธุรกิจส่งออก ซึ่งทำให้ธุรกิจหลากหลายต้องปิดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นพนักงานในธุรกิจเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการถูกลดเงินเดือนลงหรือขาดรายได้จากการตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาสินเชื่อเมื่อผู้บริโภคยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยราคา 2-3 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัย 5-7 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 30-40 ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 10-15 ซึ่งถือว่าสูงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เป็นต้นมา ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการปฏิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูงขึ้นดังกล่าวเกิดจากผลของการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และภาระการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วง

Read More

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความหวังสุดท้ายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ที่เห็นชอบมาตรการเปิดประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) แบบ “จำกัดจำนวน” ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยจะเป็นการเปิดประเทศแบบจำกัด ด้วยการจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวประเภท “พิเศษ” ที่จะมาพำนักอยู่ในประเทศไทยระยะยาวไม่ต่ำกว่า 90-270 วัน ในด้านหนึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยให้ดำเนินต่อไปได้ หลังจากที่ต้องหยุดชะงักมานานเพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง มติดังกล่าวดูจะตั้งอยู่ท่ามกลางการเล็งผลเลิศที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์โดยรอบ เพราะหลังจากที่มีการเปิดเผยว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจากมณฑลกว่างโจวเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ซึ่งนับเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการประกาศเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคมแทน ความสับสนในการออกมาตรการที่ดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติหากต้องการจะเดินทางมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว หรือลองสเตย์ ภายในประเทศไทย การยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน รวมถึงการมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย โดยเฉพาะหลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พักภายในประเทศไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สอดรับกับความพร้อมของทั้งผู้ประกอบการและความกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพราะประชาชนในจังหวัดท่องเที่ยว อาจไม่ได้เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ความกังวลใจของพวกเขายังผูกพันอยู่กับมายาภาพที่ ศบค. ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลา 6-7

Read More