Home > พลังงาน (Page 2)

บ้านปูฯ เปิดตัว BANPU NEXT ชูพอร์ตพลังงานสะอาด ปรับกระบวนทัพทางธุรกิจ เพื่อก้าวสู่ทศวรรษใหม่

บ้านปูฯ เปิดตัว BANPU NEXT ชูพอร์ตพลังงานสะอาด เสริมทัพด้วยเทคโนโลยี ปรับกระบวนทัพทางธุรกิจ เพื่อก้าวสู่ทศวรรษใหม่ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เตรียมก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 ของการดำเนินธุรกิจ ประกาศจัดตั้ง บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด (BANPU NEXT) มุ่งลงทุนและพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงาน เดินหน้าสร้างการเติบโตทางธุรกิจที่ตอบรับกับเทรนด์พลังงานแห่งโลกอนาคต ซึ่งมุ่งเน้นความยั่งยืนตามหลัก ESG (Environment, Social and Governace) ที่สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด เสริมความแข็งแกร่งของกลยุทธ์ Greener & Smarter ผลักดันให้บ้านปูฯ เป็นผู้ให้บริการสมาร์ทโซลูชั่นด้านพลังงานอย่างครบวงจร นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การจะขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนนั้น บริษัทฯ ต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ด้านพลังงาน 3Ds ซึ่งประกอบด้วย

Read More

บ้านปูฯ เน้นกลยุทธ์บริหารกระแสเงินสด ตอบโจทย์การเติบโตในช่วงเศรษฐกิจโลกผันผวน

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เปิดเผยว่า บริษัทฯ มุ่งสร้างความแข็งแกร่งของกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารกระแสเงินสดจากทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน และกระแสเงินสดจากการบริหารจัดการทางการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทฯ มีเสถียรภาพทางการเงินอยู่ในระดับที่มั่นคง สนับสนุนการเติบโตขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นว่าการบริหารกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง จะทำให้บริษัทฯ สามารถรับมือกับสภาวะความไม่แน่นอนของตลาดโลกได้ สำหรับกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เนื่องด้วยสภาวะความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์พลังงาน บริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เน้นการบริหารแผนงานระยะสั้นมากขึ้น ด้วยการลดต้นทุนการผลิตในธุรกิจถ่านหิน เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไร ตลอดจนเลือกพื้นที่การผลิตที่มีต้นทุนต่ำ และการใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการพัฒนาพื้นที่เหมืองใต้ดิน เพื่อนำไปสู่การผลิตที่ราบรื่น ขณะที่ธุรกิจก๊าซธรรมชาติได้ใช้ความได้เปรียบจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ในการสร้างกำไรในช่วงที่ราคาก๊าซธรรมชาติยังอ่อนตัวอยู่ และใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เพื่อลงทุนเจาะหลุมก๊าซเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เตรียมความพร้อมรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ทางด้านกระแสเงินสดจากการลงทุน บริษัทย่อยในอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และจีน รวมถึงบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่บริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีและมีการบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำส่งเงินปันผลให้บริษัทฯ ได้อย่างสม่ำเสมอ โดยโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี โรงไฟฟ้าหงสา

Read More

นโยบายพลังงาน เฟืองตัวใหม่ปลุกเศรษฐกิจไทย?

ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจไทยที่ดัชนีชี้วัดหลากหลายสะท้อนภาพความตกต่ำไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออกที่ติดลบ การชะลอตัวลงของกำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่สถานการณ์ราคาพืชผลทางการเกษตรก็ยังไม่มีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้น หรือแม้กระทั่งการท่องเที่ยวที่ซบเซาจากผลของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จนนำไปสู่ข้อกังขาว่ารัฐบาลประยุทธ์ 2 จะนำพารัฐนาวาฝ่าคลื่นลมของปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้า ไม่ให้เกิดเป็นวิกฤตได้อย่างไร ความเคลื่อนไหวของกลไกรัฐภายหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นประหนึ่งการเริ่มต้นบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นทางการของรัฐบาลประยุทธ์ 2 จึงได้รับการจับตามองเป็นพิเศษว่าจะนำเสนอมาตรการหรือขับเคลื่อนองคาพยพของสังคมเศรษฐกิจไทยไปในแนวทางที่ได้แถลงนโยบายไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถก่อให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรูปธรรมให้จับต้องได้มากน้อยเพียงใด ประการสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือจะสามารถพยุงหรือฉุดสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซานี้ให้ตื่นฟื้นขึ้นมาได้หรือไม่ การประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยการระบุว่ากำลังจะปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2561-2580 (Power Development Plan: PDP2018) ทั้งที่แผนดังกล่าวเพิ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 และผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 จึงเป็นจังหวะก้าวที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับการปรับกระบวนทัศน์ของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ที่อาจมีผลเกี่ยวเนื่องกับความเป็นไปของทั้งพลังงานและเศรษฐกิจไทยในอนาคต ก่อนหน้านี้ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้แสดงบทบาทนำในการใช้กลไกของนโยบายด้านพลังงานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยการขยายระยะเวลาในการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน (กลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร) และตรึงราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) สำหรับรถโดยสารสาธารณะต่อไปอีก 2 เดือน (สิงหาคม-กันยายน

Read More

เขื่อนแตกใน สปป.ลาว กับความมั่นคงพลังงานไทย?

ประเด็นว่าด้วยความมั่นคงด้านพลังงานของไทย หรือ energy security ดูจะเป็นกรณีที่ถูกท้าทายและตั้งคำถามอีกครั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์ เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตประชาชนและทรัพย์สินจำนวนมาก แต่อาจเทียบไม่ได้ต่อความเชื่อมั่นในการเปิดให้กลุ่มทุนพลังงานจากนานาประเทศเข้าแสวงประโยชน์บนแผ่นดินของ สปป.ลาว ในอนาคต ภายใต้ความมุ่งหมายที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว ว่าด้วยการเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ทำให้ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มทุนจากไทย โดยความร่วมมือกับกลุ่มหลากหลายสัญชาติ ต่างเข้าลงทุนในโครงการสร้างเขื่อนตามแนวลำน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเอิกเกริก ควบคู่กับโรงผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะถ่านหินด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ตามแผนการพัฒนา สปป.ลาว ไปสู่การเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” สปป.ลาว มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว 42 แห่งและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 53 แห่ง ซึ่งหากการดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ ภายในปี 2563 สปป.ลาว จะมีจำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมากถึง 90 แห่งและมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 26,000 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ประชากรจำนวน 7 ล้านคนของ สปป.ลาว มีความต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณ 1,579 เมกะวัตต์เท่านั้น เป้าหมายของโรงผลิตไฟฟ้าใน

Read More

พลังงานไทยบน Solar Roof แสงสะท้อนที่หักเหของนโยบายรัฐ

จากประเด็นข่าวเรื่อง “กฟผ. เสนอเรื่องให้ กกพ. จัดเก็บค่าระบบสำรองไฟฟ้า ที่ 100-200 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองจาก Solar Roof Top ที่ถูกโพสต์ และแชร์ไปบนโลกออนไลน์ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา สร้างความแปลกใจ รวมไปถึงความไม่พอใจจากประชาชนไม่น้อย ความคิดเห็นส่วนใหญ่แสดงออกมาในเชิงลบ และต่อว่าต่อขานผู้บริหาร กฟผ. ถึงนโยบายนี้ ว่าไม่ยุติธรรมต่อผู้ที่หันมาใช้พลังงานทางเลือก ทั้งที่ภาครัฐควรจะสนับสนุนส่งเสริม ให้ประชาชนใช้พลังงานสะอาด ทั้งเพื่อเป็นการลดภาวะโลกร้อน และประหยัดพลังงานหลัก หลังจากกระแสธารของข่าวนี้ที่ถูกส่งต่อและแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว วันถัดมา ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. ออกมาแก้ไขความดังกล่าวว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน “กฟผ. ไม่ได้เสนอการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำรองต่อ กกพ. แต่อย่างใด กรณีการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำรองนั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างกรณีที่ต่างประเทศใช้ดำเนินการเท่านั้น” สหรัฐ บุญโพธิภักดี โฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อธิบาย แม้ว่าจะมีการแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องแล้ว กระนั้นก็ไม่อาจลดทอนความเคลือบแคลงใจที่ประชาชนมีไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จากกรณีดังกล่าวทำให้เราต้องย้อนกลับมาดูว่า ภาครัฐมีนโยบายในเรื่องพลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดอย่างไร “ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของทุกประเทศในอาเซียน โดยหน่วยงานด้านพลังงานระหว่างประเทศคาดว่า ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี

Read More

เปิดประมูลโรงไฟฟ้า ภาพสะท้อนพลังงานไทย

การเปิดประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ตามประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP hybrid firm หรือการผสมผสานเชื้อเพลิงตั้งแต่ 1 ประเภทขึ้นไป รวม 300 เมกะวัตต์ (MW) ของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งกำลังเป็นภาพสะท้อนทิศทางธุรกิจพลังงานของไทยที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะภายหลังการเปิดให้ผู้สนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 16-20 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่านอกจากจะมีผู้สนใจเป็นจำนวนมากแล้ว ยังถือเป็นสนามประลองกำลังของผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่พร้อมจะนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาให้ต่ำกว่าราคาประกาศของ กกพ. ที่กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Feed in Tarif (FiT) ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย จากผลของจุดแข็งด้านวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าของผู้ประกอบการแต่ละราย และทำให้ยอดพลังงานไฟฟ้าที่ยื่นประมูลเสนอขายมียอดรวมกว่า 2,000-4,000 เมกะวัตต์ ทะลุเกินยอด 300 เมกะวัตต์ (MW) ที่ กกพ. ประกาศรับซื้อไปไกลมาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ที่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลที่มีมากกว่า 150 ราย สามารถจำแนกออกได้เป็น 9 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

พระบิดาแห่งพลังงานไทย พลิก “วิกฤตน้ำมัน”

  แม้ราคาน้ำมันหลายเดือนที่ผ่านมาอยู่ในช่วงขาลง แต่ยอดการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณการใช้รถยนต์ของคนไทย ต้องสูญเสียเม็ดเงินนำเข้า ทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปหลายแสนล้านบาท เนื่องจากประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบในสัดส่วนมากกว่า 80% ของการจัดหาน้ำมัน หรือผลิตได้ในประเทศเพียง 17% ยิ่งตลาดน้ำมันโลกผันผวน เกิดวิกฤตราคาพุ่งพรวด นั่นหมายถึงการสูญเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาล  ทั้งหมดล้วนอยู่ในพระวิสัยทัศน์ด้านพลังงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งในหนังสือ “72 ปี แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง” เล่าว่า พระองค์ทรงรับสั่งมาตั้งแต่ พ.ศ.2504 แล้วว่าค่ารถจะแพง แปลว่าน้ำมันจะแพง และรับสั่งให้ทดลองผลิตแอลกอฮอล์ทำน้ำมันเชื้อเพลิง ทำเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ดีโซฮอล์ ในสวนจิตรลดา “ตอนนั้นทรงมีพระราชปรารภว่าเมืองไทยกำลังเห่อปลูกต้นยูคาลิปตัส ที่ไหนๆ ก็ปลูกหมด ยูคาลิปตัส 3 ปี จึงจะตัดได้ ท่านรับสั่งว่า ระหว่าง 3 ปีเขาจะเอาอะไรกิน แต่ถ้าเผื่อปลูกอ้อย ปลูกทุกปีขายได้ทุกปี เอาอ้อยมาทำแอลกอฮอล์ เอาแอลกอฮอล์มาผสมเบนซิน เราก็ทดลองผสมตั้งแต่ 10% ทั้งเบนซิน ทั้งน้ำมันดีเซล ใช้ได้ รถยนต์ของโครงการส่วนพระองค์ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์และดีโซลฮอล์” การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา จึงเริ่มต้นจริงจังในปี 2528

Read More