Home > ผลกระทบโควิด (Page 2)

Pet Shop โตหมื่นล้าน เติมเต็ม “มนุด” ยุคโควิด

Pet Shop หนึ่งในธุรกิจที่เติบโตฝ่ามรสุมโควิด สามารถสร้างเม็ดเงินในตลาดมากกว่าหมื่นล้านบาท ล่าสุดกำลังเปิดสงครามแข่งขันแย่งชิงกลุ่มลูกค้า เหล่า “มนุดทาส” ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในยุค New Normal ที่ผู้คนต้องหยุดกิจกรรมบันเทิง หยุดเชื้ออยู่บ้าน หยุดการเดินทาง และ Work from Home ทำให้เจ้าสัตว์เลี้ยงกลายเป็นสิ่งเติมเต็มความสุขที่ขาดหายไป ขณะเดียวกัน เทรนด์การเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนจากพฤติกรรมแบบ Pet Lover รักสัตว์แบบเดิมๆ เป็น Pet Parent รักและผูกพันเหมือนสมาชิกในครอบครัว เหมือนลูกหลาน ต้องการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ บริการอาบน้ำ ที่พักโรงแรม คลินิกสัตวแพทย์ ยิ่งต่อยอดให้ธุรกิจสัตว์เลี้ยงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง กระแสความสำคัญของสัตว์เลี้ยงทำให้นึกถึงกรณีสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2 (ปปส. ภาค 2) ตัดสินใจเปิดประมูลแมวของกลางเครือข่าย “กุ๊ก ระยอง” ณ ศาลาประชาคมอำเภอแกลง จ.ระยอง ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังกลุ่มคนรักแมวต่างเรียกร้องขอรับเลี้ยงของกลางทั้ง 6 ตัว การประมูลครั้งนั้นประกอบด้วย

Read More

ธุรกิจโรงแรม ทรุดหนัก ไร้สภาพคล่อง-ปรับตัวหนีตาย

การแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะทำให้สังคมไทยเผชิญกับความยากลำบากและธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบรุนแรงแล้ว ธุรกิจโรงแรมของไทยดูจะเป็นอีกกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ว่าด้วยการสูญเสียธุรกิจและต้องล้มหายไปจากภูมิทัศน์ทางธุรกิจนี้ไปโดยปริยาย อุบัติการณ์ของการแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกหดตัวเป็นประวัติการณ์ โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกลดลงถึงร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลดลงถึงร้อยละ 82 ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันยังคงอยู่ในภาวะคับขัน ขณะที่ประเทศไทยเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดรุนแรงและมีแนวโน้มยาวนาน ทำให้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำว่าการสร้างให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity จำเป็นต้องมีการฉีดให้ครอบคลุมมากถึงร้อยละ 65-70 ของจำนวนประชากร ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณมหาศาล ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจะไม่ฟื้นตัวเร็วเหมือนวิกฤตในอดีต เพราะความกังวลของประชาชนที่มีต่อโรคระบาดจะยังดำรงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน นอกจากนี้ รายได้และกำลังซื้อที่ลดลงรุนแรงทำให้ความต้องการเดินทางซึ่งถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ภาคท่องเที่ยวของไทยทรุดหนัก นับตั้งแต่ประกาศใช้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 และติดตามมาด้วยมาตรการห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราวระหว่างวันที่ 3 เมษายน 2563 - 30

Read More

“สยามพิวรรธน์” ผนึก “ธนาคารกรุงไทย” เดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการ SME และพันธมิตรทางธุรกิจทุกกลุ่ม

“สยามพิวรรธน์” จับมือ “ธนาคารกรุงไทย” ออกมาตรการเพิ่มเติมสำหรับคู่ค้าของสยามพิวรรธน์ สนับสนุนผู้ประกอบการ SME และพันธมิตรทางธุรกิจทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนสำหรับคู่ค้า รวมถึง เพื่อให้มีสภาพคล่องสำหรับดำเนินธุรกิจ ผ่อนปรนภาระทางการเงิน ประคับประคองธุรกิจให้สามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้ นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ “ไอคอนสยาม” และสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า “จากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภาคส่วน รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ที่สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญสูงสุด ตลอด 14 เดือนที่ผ่านมาเราจึงจัดมาตรการให้ความช่วยเหลือหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การเพิ่มช่องทางการขายให้ร้านค้าผ่านบริการ Call & Shop, Siam Paragon Luxury Chat & Shop, Click & Shop และ Ultimate Chat

Read More

เสี่ยง “ติดเชื้อ” หรือ “อดตาย” ทางแพร่งของชาวชุมชนคลองเตย

การระบาดระลอกที่สามของ COVID-19 กำลังคุกคามความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชนคนไทยอย่างหนักหน่วง แม้ว่าจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดครั้งใหม่นี้จะเกิดขึ้นจากสถานบันเทิงย่านสุขุมวิท ซึ่งถือเป็นแหล่งสันทนาการของบรรดาเหล่าผู้มีรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจ หากแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับทำให้พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก กลายเป็นชุมชนแออัดซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ครั้งล่าสุดนี้ มีปัจจัยที่แตกต่างจากการแพร่ระบาดครั้งที่ผ่านมา โดยการระบาดระลอกแรกเกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากสนามมวยซึ่งมีคนเฉพาะกลุ่มไม่กี่คน หรือในครั้งต่อมาที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง แต่การระบาดครั้งนี้เริ่มจากสถานบันเทิง ซึ่งผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบข้างทั้งชุมชนคลองเตย ชุมชนบ่อนไก่ และชุมชน 70 ไร่ จำนวนไม่น้อยทำงานอยู่ในสถานบันเทิงย่านสุขุมวิท ซึ่งนั่นเป็นเหตุให้การลุกลามของโรคดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก ชุมชนแออัดในเขตคลองเตยมีประชากรรวมกันนับแสนคน โดยสมาชิกของแต่ละครอบครัวอยู่รวมกันในพื้นที่จำกัด ซึ่งภายใต้สภาพพื้นที่ในชุมชนมีความแออัดสูง ทำให้การติดเชื้อโรค COVID-19 เกิดขึ้นอย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพราะการที่จะคัดแยกและขอให้คนที่ติดเชื้อแยกกักตัวที่บ้านแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะบ้านหลังหนึ่งมีคนอยู่กันหลายคนในพื้นที่เล็กๆ ขณะที่การส่งตัวผู้ติดเชื้อไปรักษาที่โรงพยาบาลสนามก็ดำเนินไปอย่างยากลำบากเพราะต้องรอรถรับ-ส่งอย่างเนิ่นนาน ซึ่งเมื่อผู้ป่วยต้องรออยู่ในบ้านทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อกันหมด โดยในบางกรณีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อกันทั้งบ้าน ผลกระทบจากการระบาดครั้งนี้ยังขยายวงกว้าง เพราะไม่เพียงแต่ผู้ติดเชื้อเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ หากแต่คนในชุมชนที่ไม่ติดเชื้อก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความกังวลจากผู้คนภายนอกที่ทำให้คนในชุมชนถูกตีตราและกีดกันจากการทำงานเพียงเพราะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด ซึ่งทำให้หลายคนต้องตกงาน ไม่มีรายได้ และไม่รู้ว่าจะได้กลับไปทำงานเมื่อไหร่ หรือจะยังมีงานทำอยู่หรือไม่ การถูกกีดกันจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับผู้คนในชุมชนคลองเตย ดำเนินไปทั้งในรูปแบบของการไม่รับเข้าทำงานเลยเพราะพวกเขาถูกประเมินว่าเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยง หรือแม้กระทั่งการถูกสั่งพักงานที่ทำอยู่ จากผลของอคติที่มีต่อชาวชุมชนแออัด แม้ว่าพวกเขาจะมีผลตรวจที่ยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อก็ตาม ซึ่งกำลังลุกลามไปสู่การส่งผ่านข้อมูลในลักษณะที่ว่าให้งดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันส่งอาหารต่างๆ เพราะมีคนจากชุมชนแออัดทำงานเป็นคนส่งจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้สถานประกอบการหลายแห่งกังวลมาก และก่อให้เกิดอคติว่าคนในกลุ่มนี้ต้องเอาเชื้อมาแพร่แน่ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงอาจไม่ใช่เช่นนั้น การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ชุมชนแออัด ที่ได้รับการเรียกขานในเวลาต่อมาว่า “คลัสเตอร์คลองเตย” นี้

Read More

โควิดระลอกสามทุบตลาดอีเวนต์ รายได้หายกว่าหมื่นล้านบาท

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ถูกพิษโควิด-19 เล่นงานอย่างหนัก คือ ธุรกิจอีเวนต์ นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในช่วงต้นปี 2563 และรัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปในวงกว้าง ในแต่ละปีตลาดธุรกิจอีเวนต์มีมูลค่าสูงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท แม้สภาพของเศรษฐกิจไทยในช่วง 5-10 ปีหลังจะอยู่ในภาวะลุ่มๆ ดอนๆ ก็ตาม แต่ในช่วงปลายปี 2560 ธุรกิจอีเวนต์เริ่มส่งสัญญาณกลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งนั่นส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจอีเวนต์ในปี 2561 ฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ปี 2562 มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจอีเวนต์อยู่ที่ประมาณ 12,000 ล้านบาท ในปีนั้นแม้จะมีปัจจัยลบหลายด้านมากระทบ แต่ยังมีแนวโน้มที่สดใสต่อเนื่อง ขณะที่ปี 2563 เป็นปีที่แทบทุกอุตสาหกรรมหยุดชะงัก ในด้านของธุรกิจอีเวนต์ บริษัทออแกไนเซอร์ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่สามารถจัดงานส่งเสริมการขาย หรืองานแสดงสินค้าใดๆ ได้ ตามคำสั่งของ ศบค. ส่งผลให้รายได้หลักของผู้ประกอบการเหล่านี้หายไปกว่าครึ่ง ธุรกิจอีเวนต์เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากรองจากธุรกิจท่องเที่ยว สถานการณ์โควิด-19 ในไทยช่วงกลางปี 2563 เริ่มผ่อนคลายลง มาตรการหลายอย่างถูกยกเลิกเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ บรรยากาศการจัดอีเวนต์เริ่มกลับมามีให้เห็นอีกครั้ง จนผู้ประกอบการหลายรายคาดหวังว่าบรรยากาศการจัดงานอีเวนต์จะมีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2564 ทว่า จุดพลิกผันที่ส่งผลให้ยอดจองสถานที่จัดงานและกิจกรรม รวมไปถึงการจ้างงานของบริษัทออแกไนซ์ต้องถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด คือการระบาดระลอกสาม ที่ดูจะสร้างบาดแผลสาหัสกว่าสองครั้งที่ผ่านมา แน่นอนว่า

Read More

ความเชื่อและความเป็นจริง วิ่งสวนทางในเศรษฐกิจไทย?

ความพยายามของกลไกรัฐไทยที่จะกระตุ้นเร้าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยให้กลับมาฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนทางกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เพราะแม้รัฐไทยจะพยายามสื่อสารว่าได้ตั้งเป้าหมายและต้องการที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564 กลับมาเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 โดยจะเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกมิติ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รวมถึงการเร่งการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว หากแต่จากการประเมินเศรษฐกิจไทยโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กลับระบุว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 โดยไอเอ็มเอฟได้ชี้แนะให้รัฐไทยใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจง ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ด้วยการแก้ พ.ร.ก. ซอฟต์โลน ซึ่งจะขยายไปถึงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าเอสเอ็มอี เช่น ภาคโรงแรม ที่จะเป็นการให้สินเชื่อใหม่ เชื่อมโยงไปกับโครงการโกดังเก็บหนี้ ซึ่งจะให้ธุรกิจที่เดินต่อไปไม่ได้ให้โอนธุรกิจไว้ที่โกดังก่อน และเมื่อมีความสามารถก็ให้กลับมาซื้อคืนในราคายุติธรรม ต้องยอมรับว่าการตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 4 เป็นโจทย์ที่ท้าทายและหวังผลสัมฤทธิ์ได้ยากในภาวะเช่นนี้ หากแต่กลไกรัฐไทยยังคงผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ จะมาจากการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวรับอานิสงส์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อประเทศไทยจะเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงปลายปี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก ซึ่งถือเป็นความคาดหวังที่อยู่บนสมมุติฐานของความเชื่อ มากกว่าที่จะอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งการดูแลเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้นไป ฐานความคิดที่ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจในกลไกรัฐไทย ในด้านหนึ่งให้น้ำหนักอยู่กับการมาถึงและผลจากการฉีดวัคซีนต้าน

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

คนอาเซียนยังกังวล เศรษฐกิจฉุดกำลังซื้ออสังหาฯ หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” เป็นอัศวินขี่ม้าขาว ช่วยกระตุ้นความมั่นใจซื้อบ้าน

แม้ภาครัฐในหลายประเทศแถบอาเซียนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศของตนให้กลับมา แต่แน่นอนว่าอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ ในตอนนี้ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในการใช้จ่ายมากพอ ข้อมูลจากรายงาน “Global Economic Prospects” ฉบับล่าสุดของธนาคารโลก เผยแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในระยะสั้นยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าการฟื้นตัวจะไม่สม่ำเสมอและเปราะบาง ในขณะที่ความเสี่ยงด้านลบที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ในอาเซียนยังคงได้รับผลกระทบ เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและเป็นภาระทางการเงินระยะยาว เมื่อผู้บริโภคต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงต้องวางแผนการเงินอย่างเข้มงวดและชะลอแผนการซื้ออสังหาฯ ออกไป ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในไทย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด และผลสำรวจจากเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) ในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชี้ให้เห็นว่าแม้กำลังซื้อผู้บริโภคในอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคตแน่นอน เห็นได้จากแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials (มิลเลนเนียล) หรือ Gen Y มากกว่าครึ่งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยที่ยังคงให้ความสำคัญไปที่การออมเงินเพื่อซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า

Read More

จาก “เราชนะ” ถึง “เรารักกัน” เดิมพัน 3 แสนล้าน ปลุกเศรษฐกิจ

ขณะนี้เริ่มเปิดฉากการลงทะเบียนโครงการ “ม33 เรารักกัน” มาตรการอัดฉีดกำลังซื้อชุดล่าสุดของรัฐบาล หลังลุยสารพัดกลยุทธ์ตั้งแต่โควิดรอบแรกจนถึงระลอกสอง โดยดึงเม็ดเงินจาก พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้าน ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. พลังงาน ระบุในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎรว่า มีการอนุมัติโครงการไปแล้ว 256 โครงการ วงเงินมากถึง 7.5 แสนล้านบาท เหลือเงินก้อนสุดท้ายอีก 2.5 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่า รัฐบาลพยายามกระจายความช่วยเหลือไปถึงกลุ่มคนทั่วประเทศ ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อาจเป็นกลุ่มสุดท้าย หลังจากมีเสียงเรียกร้องในฐานะผู้จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุกเดือน ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบโครงการ ม33 เรารักกัน โดยจะจ่ายเยียวยาผู้ได้รับสิทธิ์คนละ 4,000 บาท ภายใต้คุณสมบัติต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สัญชาติไทย ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้รับสิทธิ์โครงการ “เราชนะ” ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินรวมกันเกิน 500,000

Read More

ผลกระทบจาก COVID-19 ที่จะเปลี่ยนชีวิตผู้หญิงจากทั่วทุกมุมโลก

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มมีผู้ติดเชื้อคนแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม 2563 รัฐบาลจีนประกาศปิดนครอู่ฮั่น ให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้านงดเดินทางเข้าออกจากเมืองทั้งหมด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นการล็อกดาวน์บางพื้นที่ที่หลายประเทศนำไปใช้ในเวลาต่อมา ตั้งแต่วันแรกที่พบบุคคลที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 จนถึงวันนี้นับเป็นเวลากว่าปีแล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น แม้ว่าวัคซีนจากหลายบริษัทจะได้รับการรับรอง และนำมาฉีดให้กับประชาชนในหลายประเทศแล้วก็ตาม แต่จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ก็ยังคงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อกว่าร้อยล้านคน และมีผู้เสียชีวิตกว่าสองล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่ง 3 ประเทศแรกที่จำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 115 จาก 221 ประเทศ ซึ่งอันดับของประเทศไทยนั้นมีการปรับขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ในช่วงเวลาหนึ่ง ปีที่ผ่านมา หลายประเทศเริ่มควบคุมการแพร่ระบาดของ

Read More