Home > ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Page 7)

สัญญาณเตือนธุรกิจอสังหาฯ ระวัง!! ฟองสบู่แตก

การผุดขึ้นของที่อยู่อาศัยโครงการใหม่ๆ ในยุคปัจจุบันที่นับวันจะทวีจำนวนมากขึ้น ราวกับดอกเห็ดที่มักจะออกดอกในช่วงฤดูฝน การปักหมุดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์กับโครงการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้งอย่างคอนโดมิเนียม ที่เรามักจะได้เห็นจนชินตาเสมือนทิวทัศน์ที่ประกอบส่วนไปตลอดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทุกสาย ชนิดที่เรียกได้ว่า มีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นขนาบสองข้างของถนน เกิดคำถามที่ตามมาเพื่อให้บรรดานักวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ได้ขบคิดกันต่อว่า ดีมานด์กับซัปพลายของที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีความสมดุลกันจริงหรือไม่ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจไทยบนรากฐานความเป็นจริงที่ว่า ยังอยู่ในช่วงของความไม่คงเส้นคงวานัก แต่หลายฝ่ายกำลังโหมกระพือบทวิเคราะห์และการคาดการณ์ในอนาคตว่า สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังดีขึ้นนั้นก็เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี โดยหวังจะสร้างแรงกระตุ้นในกลุ่มนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงของการพิจารณาตัดสินใจที่จะตบเท้าเข้ามาลงทุนธุรกิจในประเทศไทย กระนั้นตัวเลขที่น่าจะสร้างเสริมให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในห้วงเวลาแห่งความอึมครึมนี้ กลับเป็นตัวเลขของการส่งออกที่ดูท่าว่าตัวเลขนี้จะทำให้ผู้ประกอบการพอจะยิ้มออกได้บ้าง เมื่อสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยตัวเลขสถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ล่าสุดว่า มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมองสถานการณ์ตลาดโดยรวมถือได้ว่าเติบโตร้อยละ 10-15 ทั้งนี้หลายหน่วยงานที่รับหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์ตลาด แสดงการคาดการณ์ไม่แตกต่างกันมากนักว่า ในครึ่งปีหลังภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ น่าจะยังมีช่องทางการเติบโตได้อยู่ ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าทุกสถานการณ์ไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งปัจจัยด้านลบ ปัจจัยด้านบวก ที่จะเป็นตัวบอกหรือกำหนดทิศทางความเป็นไปได้ กระนั้นทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องดำเนินธุรกิจและตัดสินใจซื้อหรือลงทุนในอสังหาฯ ด้วยความไม่ประมาท โดยปัจจัยที่น่าจะหนุนนำส่งเสริมให้แวดวงของอสังหาฯ ไทย มีทิศทางที่น่าจะมองหาความสดใสเจอนั้น น่าจะมาจากโครงการลงทุนด้านคมนาคมของรัฐบาลในปี 2560 ที่มีมากถึง 43 โครงการ ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.77 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการในแผนการลงทุนเดิมปี 2560 จำนวน 36 โครงการ

Read More

“เฟรเซอร์ส” ลุยแผนสร้างเมือง จาก “เซ็นทรัลปาร์ค” สู่ “วัน แบงค็อก”

หลังยุทธการยึดครองบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” และเดินหน้าแผนรุกธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร เจาะตลาดอาเซียนและลุยโรดแม็พสยายปีกสู่ทุกตลาดทั่วโลกกว่า 5 ปี ในช่วงจังหวะเดียวกัน เจริญ สิริวัฒนภักดี เร่งปูพรมสร้างอาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ “ทีซีซี” อย่างเข้มข้น โดยใช้เครือข่ายของ “เอฟแอนด์เอ็น” ที่มีอสังหาริมทรัพย์อยู่ในพอร์ตมูลค่ามหาศาล และความแข็งแกร่งทุกด้าน ทั้งด้านเงินทุน ความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร และโนว์ฮาว ในฐานะผู้ประกอบกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศแบบครบวงจร ปัจจุบันกิจการอสังหาริมทรัพย์ของเอฟแอนด์เอ็นภายใต้บริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด (Frasers Centrepoint Limited หรือ FCL) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ครอบครองสินทรัพย์ มูลค่ามากกว่า 17,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 605,000 ล้านบาท มีธุรกิจหลักในการพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรม ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม ธุรกิจหลักของ FCL อยู่ในประเทศสิงคโปร์

Read More

ทีซีซีระเบิดศึกแลนด์มาร์ค เขย่า “ซีพี-เซ็นทรัล”

“วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างสรรค์สถานที่ที่ผู้คนจะตกหลุมรักและอยากมาใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่ที่ทำให้ทุกคนในกรุงเทพฯ รู้สึกว่าที่นี่คือส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของกรุงเทพฯ และเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะกลายเป็นแลนด์มาร์คระดับโลกที่ยกระดับภาพลักษณ์ที่ดีงามของกรุงเทพฯ และประเทศไทยให้โดดเด่นเป็นสง่าบนเวทีโลก” เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท ทีซีซี และบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด (FCL) ประกาศเป้าหมายการทุ่มทุนกว่าแสนล้านบาท ผุดโครงการ ‘One Bangkok’ (วัน แบงค็อก) บนที่ดินกว่า 104 ไร่ โดยเฉพาะการสร้าง “เมือง” เป็นประตูเชื่อมโลกกับเอเชีย ที่สำคัญ เจริญจัดวางแผนทั้งหมด เพื่อปลุกย่านถนนพระราม 4 เป็นทำเลทองเกรด A ไม่ต่างจากเส้นสุขุมวิทอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่เปิด “เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI CENTER)” บริเวณหัวมุมถนนพระราม 4-รัชดาภิเษก เนื้อที่ 9 ไร่ แบ่งเป็นอาคารสำนักงานเช่าสูง 12 ชั้น 2 อาคาร และโรงแรมโมเดน่า บาย

Read More

ปณต สิริวัฒนภักดี ได้เวลาลุยโปรเจ็กต์แสนล้าน

“ประเมินอย่างเดียว คือ คุณเจริญมีความเชื่อมั่นผมหรือเปล่า!!” ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ย้ำกับสื่อที่รุมยิงคำถามความมั่นอกมั่นใจในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “One Bangkok (วัน แบงค็อก)” ซึ่งทำลายสถิติเงินลงทุนสูงสุดมากกว่า 1.2 แสนล้านบาท โดยประกาศเป้าหมายสร้างแลนด์มาร์คระดับโลกแห่งใหม่ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ที่สำคัญ วัน แบงค็อก เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยโปรเจ็กต์แรกที่เครือทีซีซีกรุ๊ปผนึกกำลังกับกลุ่มเฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ในเครือเอฟแอนด์เอ็น หลังเจริญ สิริวัฒนภักดี ทุ่มเม็ดเงินกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3 แสนล้านบาท ซื้อกิจการ “เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ” หรือ เอฟแอนด์เอ็น

Read More

เปิดหวูดรถไฟฟ้า ระเบิดศึกชิงทำเลทอง

  สงครามชิงทำเลทองระลอกใหม่ระเบิดขึ้นทันทีที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ เฟสแรก ภายใต้งบประมาณมากกว่า 5 แสนล้านบาท โดยจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2559-2565 เริ่มจากการเปิดเดินรถไฟสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 และในปี 2560 จะเปิดเดินรถอีก1สถานีที่เชื่อมสถานีเตาปูน-สถานีบางซื่อ ปี 2561 สายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ลักษณะทยอยวิ่ง สถานีไหนสร้างเสร็จจะเปิดเดินรถก่อน  ปี 2562 สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต รวมทั้งสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ    ปี 2563 สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-หัวหมาก, สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู และช่วงคูคต-ลำลูกกา ปี 2564 สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ก่อนวางแผนปิดจ๊อบโครงการเฟสแรกในปี 2565 เปิดเดินรถสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และสายสีส้มตะวันตก

Read More

บิ๊กเนมผนึกลุยอสังหาฯ “แสนสิริ-BTS” ฮุบตลาด

  วันที่ 12 มกราคมนี้  เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีนัดเปิดแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2560 โดยเฉพาะรายละเอียดโครงการใหม่ภายใต้การร่วมทุนกับ “บีทีเอสกรุ๊ป” และการดึงพันธมิตรทางการเข้ามาร่วมเสริมความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งเศรษฐาแอบเปรยๆ ทิ้งประเด็นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2559 ว่าจะเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่สร้างความตื่นเต้นมากที่สุด แม้เนื้อหาไม่ใช่ดีลใหญ่เหมือนการผนึกกำลัง “บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์” เมื่อ 2 ปีก่อน แต่ถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ที่ดูเหมือนว่า บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่กำลังเร่งปรับตัวในทิศทางเดียวกัน เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างการเติบโตแบบดับเบิ้ล หากนับช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เกิดดีลการร่วมทุนของกลุ่มทุนอสังหาฯ โดยเฉพาะพันธมิตรต่างชาติ ทั้งญี่ปุ่นและจีน ไม่ว่าจะเป็นกรณีบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมทุนกับบริษัทในกลุ่มมิตซุย ฟูโดซัน จากญี่ปุ่น, บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ร่วมทุนกับมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป จากญี่ปุ่น, บริษัท

Read More

เอเชียทีคทอดสมอขยายพอร์ต ปรับแผนธุรกิจริมน้ำเจ้าพระยา

  “แลนด์มาร์ค” ดูจะเป็นคำจำกัดความที่อาจมีความหมายถึงเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ทางธุรกิจของบรรดานักธุรกิจ รวมไปถึงนักลงทุนแถวหน้าของไทยในห้วงเวลานี้ และแน่นอนว่าแลนด์มาร์คดูจะไม่ได้ถูกจำกัดวงอยู่แต่เฉพาะธุรกิจภาคเอกชนเท่านั้น หากแต่ยังถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประดุจเรือธงที่สะท้อนถึงเป้าประสงค์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยของภาครัฐอีกด้วย สัปดาห์ที่ผ่านมา อีก 1 โครงการที่สำคัญและนับเป็นโครงการใหญ่ระดับชาติของภาครัฐกับอภิมหาโปรเจ็กต์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อุดมไปด้วยความหวังว่าจะเป็นโครงการที่สะท้อนให้เห็นถึงการเดินหน้าและพัฒนาด้วยความหวังที่จะทัดเทียมประเทศที่พัฒนาไปไกลแล้วของประเทศในทวีปเอเชีย และแม้ว่าโครงการที่ถูกวาดฝันให้เป็นแลนด์มาร์คบนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าวจะอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบหลังจากผ่านการอนุมัติจากรัฐบาล และแม้ว่าการทำประชาพิจารณ์จะยังมีข้อกังขาอยู่บ้างก็ตาม หากแต่โครงการดังกล่าวยังเต็มไปด้วยกระแสเสียงทั้งฝั่งที่เห็นด้วยพร้อมเหตุผลที่ว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สำหรับการพักผ่อนและกิจกรรมสันทนาการต่างๆ และเสียงที่ไม่เห็นด้วย ทั้งจากเหตุผลในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะถูกลดทอนลง สภาพความเป็นไปของผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับความสะดวกของผู้อยู่อาศัยริมแม่น้ำ รวมไปถึงข้อผิดพลาดในเรื่องการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่ยังถูกวิจารณ์ดังอย่างต่อเนื่องและไม่ได้จำกัดวงการพูดคุยอยู่เพียงแต่ในสภากาแฟยามเช้าเท่านั้น  ท่ามกลางกระแสวิจารณ์ที่หนักหน่วงขึ้น กระนั้นโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ประหนึ่งว่าหากล้มเลิกโครงการนี้จะส่งผลเสียต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ทั้งนี้ตัวเลขรายได้จากบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำประหนึ่งเส้นเลือดใหญ่ของไทยอย่างแม่น้ำเจ้าพระยาที่ทำให้ประเทศมีรายได้ต่อปี 3 แสนล้านบาท ทั้งจากธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร เรือท่องเที่ยว เรือด่วน เรือลากจูง  เมื่อพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวแล้วจึงไม่น่าแปลกใจนักหากที่ดินริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกหมายปอง เพราะหากเทียบกับรายได้ที่เข้าประเทศที่มากถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี นั่นอาจสะท้อนให้เห็นตัวเลขรายได้ต่อธุรกิจต่างๆ ที่สูงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ความเป็นไปของกระแสน้ำที่กำลังดำเนินไปตามครรลองแห่งธรรมชาติ กำลังจะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามครรลองของกระแสเงินตราและผลกำไรของนักลงทุนหรือไม่ เมื่อการกระจุกตัวของห้างร้าน ศูนย์การค้าในเมืองนั้นเริ่มเผยให้เห็นถึงความแน่นขนัด จนแทบจะมองไม่เห็นพื้นที่ว่างที่จะสามารถสร้างประโยชน์ใดๆ ได้อีก  การขยับขยายออกมายังพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ จึงเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพฯ ฝั่งใต้ ทั้งนี้จากปีที่ผ่านมา (2558) มีการลงทุนทำธุรกิจของภาคเอกชนไทยมีมูลค่าสูงถึง 150,000 ล้านบาท โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมโยงธุรกิจสู่การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้  ทิศทางของกระแสธุรกิจริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังเชี่ยวกรากไหลแรงยิ่งกว่ากระแสน้ำ ดังนั้นในช่วงเวลาย้อนหลังไป 2-3 ปีจนปัจจุบัน

Read More

เซ็นทรัลเร่งเครื่องมิกซ์ยูส เปิดศึกชิงตลาดคอนโด

   บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เริ่มเดินเครื่องเต็มสูบขยายโครงการ “มิกซ์ยูส” ตามยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อสร้างอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ และไม่ใช่แค่ Retail Developer แต่สยายปีกสู่ตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมผ่านบริษัทลูกที่เพิ่งจัดตั้งใหม่ “ซีพีเอ็น เรซซิเด้นซ์” ภายใต้สูตรธุรกิจ “บ้าน+ห้าง คือ ซีพีเอ็น”  ต้องยอมรับว่า ช่วงเวลากว่า 36 ปี ซีพีเอ็นเริ่มต้นธุรกิจจากแนวคิดของ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ที่จะทำศูนย์การค้าแบบครบวงจร รวมศูนย์อาหาร สถาบันความงาม ศูนย์สุขภาพ โรงภาพยนตร์ และห้างสรรพสินค้า  โดยเปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สาขาลาดพร้าว เป็นแห่งแรก และใช้เวลาบุกโครงการในทำเลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง  ปัจจุบัน ซีพีเอ็นบริหารศูนย์การค้าภายใต้แบรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา และเซ็นทรัลเฟสติวัล ทั้งสิ้น 30 โครงการ อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 13 โครงการ ต่างจังหวัด 17

Read More

แสนสิริ ลุยแผนสร้าง HUB ปั่นทำเลทอง ราคาพุ่งพรวด

   การเปิดตัวอาณาจักร ที77  สุขุมวิท 77 ทั้งโครงการเต็มเนื้อที่ 50 ไร่ของยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ “แสนสิริ” นอกจากประกาศรุกธุรกิจรีเทลมอลล์ “ฮาบิโตะ” สาขาแรกแล้ว ยังแจ้งเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ที่รอต่อยอดสู่ทำเลอื่นๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้าง “HUB” พลิกที่ดินแหล่งชุมชน กลายเป็นทำเลทองระดับพรีเมียม หลังจากนำร่องเปิดขายโครงการแรกเมื่อ 8 ปีก่อน  ณ วันนี้ สำรวจราคาขายคอนโดมิเนียมใน ที77 พุ่งพรวดมากกว่า 25% แตะ ตร.ม. ละ 100,000-110,000 บาท และขายเกลี้ยงหมดทุกโครงการ โดยล่าสุดเปิดขายโครงการสุดท้าย คอนโดมิเนียม “โมริ เฮาส์” จำนวน 262 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,800 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ราคาเริ่มต้นยูนิตละ 4 ล้านบาท สามารถทำยอดขายเกินเป้าหมายและมียอดขายจากลูกค้าในญี่ปุ่น ฮ่องกง รวมถึงสิงคโปร์เข้ามาแล้วกว่า 700

Read More

“ฮาบิโตะ” รุกเซกเมนต์ใหม่ สตาร์ทอัพคอมมูนิตี้มอลล์

  หลังจากใช้เวลาเกือบ 10 ปี ยึดที่ดินย่านถนนสุขุมวิท 77 ก่อร่างสร้างอาณาจักร T77 ล่าสุด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ฤกษ์ต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ  “ฮาบิโตะ รีเทลมอลล์” เติมเต็มเมืองแห่งใหม่ และมากกว่านั้น ยังหมายถึงการทดสอบโมเดลธุรกิจ เพื่อกระจายความเสี่ยงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังต้องรอการเลือกตั้งและรัฐบาลในอนาคต   ขณะเดียวกัน การประกาศตัวรุกเข้าสู่สมรภูมิค้าปลีก เจาะเซกเมนต์ตลาดคอมมูนิตี้มอลล์ถือเป็นเกมธุรกิจต่างจากเดิม แม้รีเทลมอลล์ขนาดกลางมีความง่ายในแง่พื้นที่และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ที่ผ่านมามีบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายรายแห่เข้ามาลงทุนผุดโครงการ แต่สุดท้ายเจอปัญหาขาดทุนอย่างหนัก  อุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนา โครงการคอนโดมิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คอมมูนิตี้มอลล์หลายแห่งไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุสำคัญเกิดจากการไม่มีชุมชนของตัวเอง หรือไม่มีกลุ่มลูกค้าหลัก ซึ่งหากพิจารณาองค์ประกอบการสร้างคอมมูนิตี้มอลล์ โดยเฉพาะกรณีฮาบิโตะ คือมีพื้นที่และทำเลที่เหมาะสม ใจกลางเมือง มีจำนวนประชากร ในพื้นที่ประมาณ 5,000 ครอบครัว หรือเป็นที่ดินติดถนนใหญ่ เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า

Read More