Home > ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Page 6)

LPN-JLL ชูกลยุทธ์ขยายธุรกิจ ปักหมุดวิภาวดี-จตุจักร ชิงตลาดอาคารสำนักงาน

LPN-JLL เผยกลยุทธ์ขยายธุรกิจ มั่นใจดึง JLL นำทัพชิงตลาดอาคารสำนักงาน ส่งให้เป็นตัวแทนจัดหาผู้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานในโครงการลุมพินี ทาวเวอร์ วิภาวดี จตุจักร (อาคาร A) รองรับความต้องการตลาดอาคารสำนักงานที่เพิ่มขึ้น ต่อยอดธุรกิจอาคารชุดพักอาศัยที่ LPN ครองตลาดมากว่า 29 ปี พุ่งเป้าการเติบโตไปด้วยกัน เจาะกลุ่มลูกค้านักลงทุนปล่อยเช่า ให้ผลตอบแทนระยะยาว และลูกค้าที่ต้องการเช่าพื้นที่ทำออฟฟิศ นายสุรวุฒิ สุขเจริญสิน เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวในระหว่างพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจแต่งตั้งให้ JLL เป็นตัวแทนจัดหาผู้เช่าสำหรับอาคาร A ของโครงการ ว่า โครงการลุมพินี ทาวเวอร์ วิภาวดี จตุจักร เป็นการต่อยอดการลงทุนด้วยกลยุทธ์ขยายธุรกิจ ซึ่งความตั้งใจกลับมาพัฒนาอาคารสำนักงานอีกครั้ง หลังจากเมื่อปี 2532 ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีกับการพัฒนาโครงการลุมพินี ทาวเวอร์ (ถนนพระราม 4) และแอล.พี.เอ็น.ทาวเวอร์ เนื่องจากศักยภาพทำเลตอบโจทย์คนทำงานในเมือง ทั้งยังใกล้แหล่งสาธารณูปโภค

Read More

“กลุ่มทองสิมา” เร่งเครื่อง ขยายบิ๊กโปรเจกต์พระราม 2

ช่วงเวลาไม่ถึง 2 เดือน “กลุ่มตระกูลทองสิมา” ออกมาเปิดตัวทั้งบิ๊กโปรเจกต์ ผุดโรงเรียนนานาชาติเบซิส กรุงเทพฯ และบิ๊กแคมเปญ โครงการนครธน แฟมิลี่ คลับ ยกระดับโรงพยาบาลนครธนจาก “General Hospital” หรือโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไป เป็น “โรงพยาบาลเฉพาะทาง” เพื่อลุยสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด และมากไปกว่านั้น คือ แผนการสานต่อโครงการสร้างเมืองย่านพระราม 2 เนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ ของเจ้าพ่อที่ดินฝั่งธนบุรี “ญาณเดช ทองสิมา” หลังจากเก็บเนื้อเก็บตัวทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโรงพยาบาลนครธนอย่างเงียบๆ มานานกว่า 10 ปี แน่นอนว่า ในแวดวงการเมืองระดับท้องถิ่น ชื่อ “ญาณเดช ทองสิมา” คลุกอยู่ในสนามการเมืองกรุงเทพมหานครนานกว่า 10 ปี เคยร่วมงานในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชุดผู้ว่าฯ พิจิตต รัตตกุล และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในวงการธุรกิจแล้ว ญาณเดชถือเป็นนักอสังหาริมทรัพย์ตัวยง อดีตนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรคนแรกของเมืองไทยเมื่อปี 2523 มีที่ดินและเก็บสะสมแลนด์แบงก์มากที่สุดในย่านฝั่งธนฯ โดยเฉพาะย่านบางขุนเทียน เนื่องจากกลุ่มตระกูลทองสิมายึดหลักปักฐานอาศัยในย่านดังกล่าวมานานกว่า

Read More

กวิน ว่องกุศลกิจ อองเทอเพรอนัวส์ยุค 4.0

กวิน ว่องกุศลกิจ ใช้เวลาเกือบ 10 ปีบุกเบิกธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซในยุคที่หลายคนในวงการยังไม่รู้จัก จนล่าสุดลงทุนกว่า 600 ล้านบาท ผุด “โกลว์ฟิช ออฟฟิศ” รูปแบบใหม่ “ไลฟ์สไตล์เวิร์กสเปซ” สาขาล่าสุดย่านสาทร ที่รวมทั้งบริการเซอร์วิสออฟฟิศและธุรกิจไลฟ์สไตล์รีเทลเข้าด้วยกันเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ที่สำคัญ โมเดลของโกลว์ฟิชเป็นไอเดียการทำธุรกิจที่กวินย้ำว่า ต่างจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ และสะท้อนแพสชั่นการทำธุรกิจของเขาตั้งแต่เริ่มต้นครั้งแรก เป้าหมายไม่ใช่การหารายได้กำไรเพียงอย่างเดียว แต่สามารถยืนอยู่ได้และต้องการเติบโตไปด้วยกันในกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ตั้งแต่กลุ่มฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัพ และอองเทอเพรอนัวส์ที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัว “ผมอยากสร้างโกลว์ฟิชให้เป็นธุรกิจฮีโร่ตัวหนึ่งของเมืองไทย...” กวินกล่าวกับ “ผู้จัดการ360องศา” กวินเล่าว่า เขาพยายามสร้างโกลว์ฟิชให้มีความแตกต่างจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ เน้นการสร้างระบบนิเวศการทำงาน หรือ Ecosystem ให้เป็นพื้นที่ทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนที่มี 3 องค์ประกอบ คือ Work, Play and Grow Work คือ การทำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้การทำงานมีผลผลิตมากขึ้น Play คือ การออกแบบสถานที่ทำงานให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงาน ซึ่งไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นกิมมิกเท่านั้น ส่วน Grow เป็นการสร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมการเติบโตในธุรกิจของพันธมิตรผู้เข้ามาใช้บริการ ทั้งหมดจะช่วยให้ธุรกิจเพิ่มโอกาสการเติบโตและพัฒนาไปอย่างเข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจเติบโตแบบออร์แกนิก

Read More

โกลว์ฟิชดันไลฟ์สไตล์เวิร์กสเปซ ฉีกคู่แข่ง อสังหาฯ-รีเทล

โคเวิร์กกิ้งสเปซหรือออฟฟิศสเปซในไทยกลายเป็นตลาด “Red Ocean” ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับคู่แข่งขันยักษ์ใหญ่ที่มีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะการแห่เข้ามาบุกตลาดของบรรดาบริษัทข้ามชาติ แย่งชิงพื้นที่ทำเลทองใจกลางธุรกิจ เพื่อเจาะความต้องการของกลุ่มสตาร์ทอัพและคนทำงานฟรีแลนซ์รุ่นใหม่ กำลังซื้อสูง ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ “เจแอลแอล” ระบุว่า ผู้ประกอบการโคเวิร์กกิ้งสเปซหลายราย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกกำลังเร่งหาโอกาสเข้ามาเปิดธุรกิจในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มีแผนเข้ามาลงทุนเต็มรูปแบบ โดยต้องการพื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ระหว่าง 1,000-3,000 ตารางเมตรในอาคารสำนักงานเกรดเอตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน เฉพาะช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เจเอลแอลได้เป็นตัวแทนผู้ประกอบการรายใหญ่ในการเช่าพื้นที่สำนักงาน เพื่อเตรียมเปิดโคเวิร์กกิ้งสเปซ พื้นที่ 5,000 ตร.ม. และอยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ เจรจาสัญญาเช่าให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ คิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 15,000 ตร.ม. ส่วนใหญ่ต้องการเช่าพื้นที่ขนาดประมาณ 3,000 ตร.ม. ต่อแห่ง ขณะที่บริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) สำรวจข้อมูลพบว่า เจ้าของโครงการอาคารสำนักงานหลายรายที่มีแนวคิดก้าวหน้าเริ่มวางนโยบายบริหารพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นให้แก่ผู้เช่า ทั้งการมีโคเวิร์กกิ้งสเปซของตนเองและการมีผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซเป็นผู้เช่าในอาคาร เพื่อเติมเต็มความต้องการและไลฟ์สไตล์คนทำงานฟรีแลนซ์ โดยคาดการณ์ปี 2561 จะมีผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซจากต่างชาติเข้ามาเปิดให้บริการพื้นที่มากถึง 18,000 ตร.ม. ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ มีบริษัทต่างชาติที่ออกมาประกาศแผนรุกตลาดชัดเจน เช่น บริษัท สเปซเซส

Read More

‘One Bangkok’ โครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มดำเนินการก่อสร้าง

บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด และเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ได้ทำพิธียกเสาเอกโครงการ ‘One Bangkok’ (วัน แบงค็อก) ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการเริ่มดำเนินการก่อสร้าง โครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 120,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการได้ผ่านการอนุมัติการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท ทีซีซี และ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ และ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ และพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “วันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นในทุกมิติ เพราะนอกจากจะเป็นการเริ่มเดินหน้าการก่อสร้างโครงการ ‘One Bangkok’ (วัน แบงค็อก) แล้ว

Read More

ชาลี โสภณพนิช แผน “ซิตี้แคมปัส” รุกโปรเจกต์มิกซ์ยูส

การทุ่มเม็ดเงิน 2,600 ล้านบาท ขยายโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพ แคมปัสแห่งใหม่ เนื้อที่ 15 ไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนพระราม 9 ของนักลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่าง “ชาลี โสภณพนิช” เป้าหมายไม่ใช่แค่การสานอุดมการณ์การสร้างโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจสร้างโปรเจกต์มิกซ์ยูสในเนื้อที่อีกหลายสิบไร่ หลังประสบความสำเร็จกับการบุกเบิกโรงเรียนโชรส์เบอรี ริเวอร์ไซด์ แห่งแรกเมื่อ 15 ปีก่อน จนกลายเป็น “จิ๊กซอว์” สำคัญของโครงการต่างๆ ในย่านเจริญกรุง ชาลี ในฐานะผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซิตี้เรียลตี้ จำกัด ยืนยันว่า เขาไม่ได้คาดหวังรายได้และกำไรจากตัวโรงเรียน โดยประเมินจะถึงจุดคุ้มทุนภายใน 5-10 ปี จากจำนวนนักเรียนประมาณ 640 คน อัตราค่าเล่าเรียนเริ่มต้น 640,000 บาทต่อปี แต่โชรส์เบอรีจะเป็นหมุดสำคัญที่ดึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้ามาหมุนเวียนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ภายใต้แผนก่อสร้างโครงการ “มิกซ์ยูส” เนื้อที่อีก 30 ไร่ ตามแผนเบื้องต้น บริษัทเตรียมเงินลงทุนอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท

Read More

“ศุภาลัย” โดดชิงแลนด์มาร์ก ตัดหน้า “วัน แบงค็อก”

ในที่สุด บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) สามารถเอาชนะศึกประมูลซื้อที่ดินสถานทูตออสเตรเลีย เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา บนถนนสาทร ติดถนนสวนพลู มูลค่าที่ดิน 4,600 กว่าล้านบาท หรือคิดเป็น ตร.ว. ละ 1.45 ล้านบาท ฝ่าด่านคู่แข่งที่มีทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และสถาบันการเงินนับสิบราย เบื้องต้น นายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) วางแผนพลิกโฉมที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ และหมายมั่นปั้นเป็นแลนด์มาร์กใหม่ในย่านถนนสาทร-สีลม ซึ่งจะประกอบด้วยอาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมระดับเกรดเอ อาคารสำนักงานให้เช่า ซึ่งรวมถึงรูปแบบโครงการมิกซ์ยูส มูลค่าโครงการรวม 17,000-20,000 ล้านบาท หากวิเคราะห์เฉพาะจุดที่ตั้งของที่ดินสถานทูตออสเตรเลีย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 70 เมตร และลึกประมาณ 160 เมตร ติดถนนสาทรใต้ ซึ่งถือเป็นถนนสายสำคัญ และทำเลทองในย่านธุรกิจที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาสูง ด้านหลังมีถนนที่สามารถออกซอยสวนพลูได้

Read More

จุฬาฯ เดินหน้าโรดแมป Smart Intellectual City

การปรับมาสเตอร์แพลนแผนใช้ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตั้งเป้าหมายเปิดพื้นที่เมืองใหม่รอบมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “LIVE LIFE-LEARNING” สร้างการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ถูกต้องกับไลฟ์สไตล์ และเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ “Smart Intellectual City” กำลังเป็นโมเดลที่เพิ่มมูลค่าที่ดินพุ่งพรวด โดยเฉพาะ 2 โครงการที่เตรียมเปิดตัวล่าสุด “สามย่านมิตรทาวน์” และ “สเตเดี้ยม วัน” สร้างความตื่นเต้นทั้งในแง่การพลิกโฉมพื้นที่และเพิ่มจิ๊กซอว์เติมเต็มความน่าสนใจ แน่นอนว่า อาณาจักรที่ดินของจุฬาฯ ในเขตปทุมวันถือเป็นขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาล จำนวนทั้งสิ้น 1,153 ไร่ ถูกจำแนกการใช้ประโยชน์หลัก 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่ และพื้นที่ส่วนราชการ (ยืมและเช่าใช้) 184 ไร่ โดยข้อมูลสำรวจของบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า ราคาที่ดินบริเวณถนนพระราม 1 ในปัจจุบันพุ่งกระฉูดสูงกว่า 2 ล้านบาทต่อตารางวา

Read More

บีแลนด์ เร่งจิ๊กซอว์ตัวใหม่ ดันโครงการยักษ์ “มิกซ์ยูส”

อนันต์ กาญจนพาสน์ หรือ “เสี่ยช้าง” ลูกชายคนโตของมงคล กาญจนพาสน์ กลับจากการทำธุรกิจในฮ่องกงมาลุยธุรกิจในประเทศไทย ในฐานะประธานกรรมการบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน โดยวางแผนตั้งแต่วันแรกจะก่อสร้างอภิมหาโครงการขนาดยักษ์ “เมืองทองธานี” บนถนนแจ้งวัฒนะ เนื้อที่กว่า 4,500 ไร่ วาดฝันให้เป็น “กรุงเทพฯ แห่งอนาคต” โครงการเมืองใหม่สมบูรณ์แบบรองรับประชาชนทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน แต่ใครจะเชื่อว่า บางกอกแลนด์ที่มาพร้อมเม็ดเงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาทและพกพาความมั่นอกมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยยุคนั้น ประกาศผุดโครงการคอนโดมิเนียมแบบติดจรวดกว่า 30,000 ยูนิต กลับกลายเป็น “เมืองร้าง” ไปทันทีหลังเจอวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มส่อเค้าตั้งแต่ปี 2536 จนบาดเจ็บสาหัสจากพิษ “ต้มยำกุ้ง” แต่ใครจะเชื่ออีกเช่นกันว่า อนันต์สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ งัดทุกกลยุทธ์เปลี่ยนจาก “เมืองคอนโดมิเนียม” สู่ “ศูนย์กีฬายักษ์ใหญ่” เมื่อได้รับคัดเลือกให้เป็นสนามแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ก่อนผันจุดขายหลักขึ้นชั้นศูนย์แสดงสินค้าและจัดประชุมขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” ปี 2555 อนันต์ประกาศอิสรภาพล้างหนี้หลายหมื่นล้านทั้งหมดและเปิดฉากรุกขยาย

Read More

กุลวดี จินตวร 27 ปี สร้าง “เมืองทองธานี”

“เมืองทองธานีมาไกลมาก ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาเมืองทองธานี ไม่มีอะไรเลย เป็นคนแรกๆ ที่มีโอกาสสร้างเมืองทองธานี ทำงานร่วมกับคุณอนันต์ (กาญจพาสน์) ยากลำบากมาก การสร้างเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย เราเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความเจริญอย่างรวดเร็ว แม้มีสะดุดช่วงหนึ่งถูกหาว่าเป็นเมืองร้างและใช้เวลารีเทิร์นกลับมา มาวันนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามมาสเตอร์แพลน 100%” กุลวดี จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” และผู้อำนวยการบริหาร บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ360 ํ” ถึงอภิมหาโครงการ “เมืองทองธานี” บนที่ดินมากกว่า 4,500 ไร่ ที่ใช้เวลายาวนานถึง 27 ปี โดยเริ่มต้นทำงานกับอนันต์ตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูจนเจอวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ซึ่งถือเป็นช่วงพีเรียดหนักหนาสาหัสที่สุด กุลวดี หรือ “คุณตุ้ม” รู้จักอนันต์ กาญจนพาสน์ เมื่อครั้งทำงานอยู่ที่บริษัทสถาปนิกแห่งหนึ่งในฮ่องกง ขณะนั้นอนันต์กำลังมองหามืออาชีพด้านสถาปนิกเพื่อมาช่วยทำงานในโครงการเมืองทองธานี เวลานั้นกุลวดีมีทั้งประสบการณ์และความรู้ หลังจบปริญญาตรีสาขาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ตัดสินใจไปเรียนโรงเรียนสถาปัตยกรรมที่ฝรั่งเศส

Read More