Home > ท่องเที่ยว (Page 2)

“เดอะ ซิกมันด์ โปรเจค” แพลตฟอร์มดิจิทัล ตัวช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลก ฟื้นจากวิกฤติ

ด้วยแนวคิดอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวจำเป็นต้องปรับตัวไปสู่อนาคตโดยความร่วมมือกันเพื่อขยายตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นจึงทำให้เกิด “เดอะ ซิกมันด์ โปรเจค” (The Sigmund Project) โครงการไม่แสวงหาผลกำไร ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่นวัตกรรมและการแบ่งปันความรู้จากกูรูระดับโลก หวังเป็นแพลตฟอร์มของวงการท่องเที่ยวที่จะช่วยให้ผ่านพ้นจากสถานการณ์วิกฤติทั่วโลกได้ มร. อลัน อีเลียต เมอร์เช่น ผู้คร่ำวอดในวงการการท่องเที่ยวและเป็นผู้ที่พัฒนา “เดอะซิกมันด์ โปรเจค” แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ถูกสร้างขึ้นแก่คนในแวดวงการท่องเที่ยวที่มีความสนใจร่วมกัน ให้สามารถเชื่อมถึงกันได้และเกิดความร่วมมือระหว่างกันได้ง่ายขึ้น และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีไอเดียน่าสนใจสามารถเข้ามาช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคนในแวดวงอุตสาหกรรมตั้งแต่ผู้ประกอบการรายย่อย ไปจนถึงบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ รวมทั้งเรื่องการจัดหาที่พักเพื่อการท่องเที่ยวไปจนถึงเรื่องการเดินทางและคมนาคมเพื่อการท่องเที่ยวตลอดจนสำหรับผู้สนใจตั้งแต่ในระดับมหาวิทยาลัยไปจนถึงกลุ่มระดับสตาร์ทอัพ “มีคนในแวดวงอุตสาหกรรมฯจำนวนมากที่สนใจจะร่วมกันและตัวผมเองก็พยายามมาโดยตลอดที่จะหาจุดเชื่อมระหว่างผู้คนในแวดวงกับบริษัทต่างๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีศักยภาพ ซึ่งโครงการ ซิกมันด์ กำลังทำแนวคิดนี้ให้เกิดขึ้นจริง เราเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงผลกำไร แต่จะได้รับการสนับสนุนเต็มรูปแบบจากองค์กรสนับสนุน ทำให้พวกเราอยู่ในจุดที่โดดเด่นที่จะสามารถนำเสนอแพลตฟอร์มที่ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายไปสู่การแสวงหาแต่ความร่วมมือระหว่างกันเป็นหลักเท่านั้น” “ซิกมันด์” เป็นแหล่งรวมข้อมูลและความคิดเห็นรวมไปถึงนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือระหว่างกันในระดับสากลนำไปสู่การระดมทุนที่มีศักยภาพ แต่จุดมุ่งหมายหลักยังคงเป็นเรื่องเป้าหมายการเชื่อมกันระหว่างผู้ที่มีไอเดีย (Innovators) กับผู้ที่เข้ามาร่วมมือสนับสนุน (Collaborators) ที่จะสามารถเสนอข้อแนะนำ เครื่องมือ พันธมิตรต่างๆ ตลอดจนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ ซิกมันด์ ทำงานอย่างไร? - เสนอไอเดียและความร่วมมือกับผู้อื่น ผ่านช่องทาง The OPEN - SOURCE Platform - ค้นหาแรงบันดาลใจ และแหล่งทรัพยากรต่างๆ ได้ที่ช่องทาง

Read More

เมื่อความหวังเดินทางมาถึง และโอกาสของการท่องเที่ยวไทย

ทันทีที่ล้อของเครื่องบินแอร์บัส A350-900 เที่ยวบินที่ TG 675 ที่เดินทางออกจากปักกิ่งแตะพื้นรันเวย์กรุงเทพ นั่นหมายความว่า “ความหวังเดินทางมาถึง” และการรอคอยด้วยใจจดจ่อสิ้นสุดลงเมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อวัคซีนล็อตแรกจำนวน 200,000 โดสจากทั้งหมด 2 ล้านโดส ส่งตรงจากบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค จำกัด จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ถูกส่งถึงจุดหมายปลายทาง นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนจากแอสตราเซเนกา จำนวน 117,000 โดส ที่เดินทางมาถึงไทยเช่นกัน โดยวัคซีนล็อตแรกนี้จะถูกฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน บุคคลที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 โรคเบาหวาน โรคอ้วน กลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนคือกุญแจสำคัญในการปลดล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะนอกจากหน้าที่หลักของวัคซีนคือการลดความรุนแรงและโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิดให้แก่ประชาชนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ แม้เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกจะอยู่ในภาวะชะลอตัวก่อนที่โลกจะได้รู้จักกับความร้ายกาจของโควิด-19 แต่เชื้อไวรัสโควิดกลับสร้างรอยช้ำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงหนักกว่าเดิม โดยในปี 2563 ภาพรวมจีดีพีไทยหดตัวลงถึง 6.1 เปอร์เซ็นต์ หลายอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหยุดชะงัก

Read More

ธุรกิจโรงแรมปรับตัว ก่อนการฟื้นตัวของท่องเที่ยวไทย

นับเป็นฝันร้ายครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดที่กระทบต่อการเติบโตและรายได้การท่องเที่ยวในระดับล้านล้านบาท ตั้งแต่เชื้อไวรัสโควิด-19 อุบัติขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562 และส่งผลกระทบถึงไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม ช่วงกลางปีที่ผ่านมาสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในไทยเริ่มลดลงจนกระทั่งเป็นศูนย์ ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว รวมไปถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เริ่มหารือถึงมาตรการและความเป็นไปได้ที่ไทยจะเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา โดยใช้นโยบาย Travel Bubble ทว่า ก่อนจะได้คำตอบหรือการอนุมัติจากภาครัฐ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ระลอกสอง และหลายประเทศสถานการณ์เลวร้ายลงกว่าการระบาดในครั้งแรก การยึดโยงอยู่กับตลาดต่างชาติจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี การพึ่งพาตนเองจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุดในห้วงยามนี้ รัฐบาลไทยเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหลายรูปแบบ เพื่อให้เม็ดเงินกระจายลึกลงไปถึงเศรษฐกิจระดับฐานราก ซึ่งครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ภายใต้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 พบว่า มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 6.59 ล้านคน โดยมีผู้ใช้สิทธิ์โรงแรม 3,508,008 สิทธิ์ คิดเป็นมูลค่าห้องพักที่จองทั้งสิ้น 9,543.4 ล้านบาท ขณะที่มีผู้ที่ได้รับคูปองอาหาร 782,568 ราย ยอดใช้จ่ายทั้งหมด 3,002.6 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดใช้จ่ายประชาชน 1,849.4 ล้านบาท รัฐสนับสนุน 1,153.2 ล้านบาท หลังจากการประกาศใช้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” และมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยพอจะมองเห็นทิศทางที่ดีขึ้นแม้จะเพียงเล็กน้อย แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการระบาดรุนแรงระลอกสองในไทยว่า

Read More

COVID-19 ระบาดใหม่ ฉุดท่องเที่ยวไทยดิ่งลงเหว

การอุบัติขึ้นของ COVID-19 ที่ไม่ว่าจะถูกกำหนดนิยามว่าเป็นการระบาดรอบสองหรือการระบาดครั้งใหม่กำลังส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการเดินทาง ที่คาดหมายว่าจะกลับมามีสีสันและบรรยากาศคึกคักในช่วงปลายปีนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่าการระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นจะได้รับการประเมินว่าไม่รุนแรง จากผลของระบบติดตามไต่สวนโรคที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่ามีประสิทธิภาพและจำกัดการแพร่ระบาดได้ดี แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อรายได้จากภาคธุรกิจและกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยว ที่ชะลอตัวกว่าที่เคยคาดหวังไว้เดิม โดยคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวและกิจกรรมจับจ่ายใช้สอยที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่สูญเสียไปไม่ต่ำกว่า 1.4-1.7 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายปีนี้ ความกังวลใจต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดรอบใหม่ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการเดินทางและกิจกรรม “ไทยเที่ยวไทย” ที่เป็นความหวังหลักในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2563 และลุกลามไปถึงกิจกรรมช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ 2564 ซึ่งทำให้โรงแรมและรีสอร์ตทั่วประเทศได้รับผลกระทบเรื่องยอดจองห้องพักล่วงหน้า รวมถึงโอกาสการสร้างรายได้ในช่วงปีใหม่ที่ลดน้อยลง ตัวเลขที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562-2563 ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ประมาณ 28,200 ล้านบาท ขณะที่สำนักวิจัยหลายแห่งมีผลสำรวจตรงกันว่า ชาวไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพลดงบประมาณใช้จ่ายช่วงปีใหม่ลงมาอย่างชัดเจน เฉพาะในกรุงเทพฯ จะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ประมาณ 30,000 ล้านบาทต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะเฉพาะรายเมืองท่องเที่ยว พบว่าเมืองรองอย่างนครศรีธรรมราช น่าน และสุโขทัยที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมเดินทางไปเยือน รวมถึงโรงแรมในย่านนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี อาจได้รับผลกระทบในช่วงปีใหม่น้อยกว่าเมืองท่องเที่ยวหลักอื่นๆ ส่วนโรงแรมในบุรีรัมย์ซึ่งเป็นเมืองที่พึ่งพิงรายได้ท่องเที่ยวจากการจัดงานอีเวนต์เป็นหลัก คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบมากพอสมควร สำหรับเมืองท่องเที่ยวหลักอย่างกรุงเทพฯ และหาดใหญ่ สงขลา ซึ่งพึ่งพิงฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเพราะยังไม่มีการเปิดประเทศ ซึ่งโรงแรมในกรุงเทพฯ ยังจำกัดความคึกคักอยู่เฉพาะเป็นบางโรงแรมเท่านั้น โดยยังมีโรงแรมอีกจำนวนมากที่ยังไม่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโรงแรมมาตั้งแต่ต้นปี

Read More

อาบป่า เยียวยาใจถึงกาย ท่องเที่ยวแนวใหม่ให้ธรรมชาติบำบัด

การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบตั้งแต่รุ่งอรุณ ภายใต้ความกดดันมากมายที่ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาในชีวิตอย่างช้าๆ และเงียบงัน ภาวะความเครียดที่สะสมอยู่ภายใน อัดแน่นในห้วงอารมณ์ความรู้สึก จนบางคนไม่สามารถรู้ตัวได้เลยว่า ความเครียดได้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อมีเหตุที่เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้ายมาจุดชนวนระเบิดและปลดเปลื้องความขึ้งเครียดนั้นออกมา ซึ่งแน่นอนว่าผลร้ายที่เกิดตามมาไม่ได้จำกัดวงแห่งหายนะที่ทำลายความรู้สึกในจิตใจแค่เฉพาะตัวเองเท่านั้น ผู้คนรอบข้างที่มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน ย่อมได้รับผลกระทบนั้นด้วย ชีวิตที่ต้องแบกรับความรับผิดชอบมากมาย การกดดันตัวเองจากบทบาทหน้าที่ การงาน จนก่อให้เกิดความเครียดที่ฝังรากลึกอยู่นั้น เป็นส่วนสำคัญให้จิตใต้สำนึกเรียกร้องโหยหาแหล่งพลังงานใหม่ สถานที่ที่จะได้ปล่อยกาย พักใจ เดินออกจากภวังค์แห่งความวิตก ให้หัวใจ ร่างกาย และสมองได้ทำความรู้จักกับความสุขอีกครั้ง ปัจจุบันมีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากการตั้งแคมป์ หรือการเดินป่าอย่างที่หลายคนยังให้ความนิยม แต่การท่องเที่ยวรูปแบบนี้เป็นการใช้ประโยชน์จากป่ามาเป็นตัวช่วยในการบำบัดและเยียวยาจิตใจ ที่รู้จักกันในชื่อ “อาบป่า” Forest Bathing หรือ Forest Therapy การอาบป่า มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นในยุค 80 คนญี่ปุ่นเรียกว่า “Shinrin-yoku” (ชินริน-โยกุ) มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนแนวคิดการอาบป่า ว่าเป็นศาสตร์ที่ช่วยบำบัดร่างกายและเยียวยาจิตใจได้จริง กระทั่งเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป เช่น เยอรมนี ฟินแลนด์ การอาบป่า ไม่ใช่การเข้าไปอาบน้ำในป่าเขาลำเนาไพร แต่เป็นการนำพาร่างกายอันอ่อนล้าจากภาวะความเครียดจากเรื่องต่างๆ ที่ต้องเผชิญ ไปเข้าใกล้ธรรมชาติพร้อมกับจิตใจที่ยินดีจะเปิดรับการบำบัด และการอาบป่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการเดินป่าขั้นสูงแต่อย่างใด เพราะศาสตร์แห่งการอาบป่าไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในป่าลึก หากแสงแดดยามเช้าในเมืองหลวงคือสัญญาณแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความเร่งรีบ แสงแดดจากพระอาทิตย์ดวงเดียวกันที่ฉายฉานอยู่ในป่าใหญ่คงเป็นสัญญาณแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง เมื่อความอบอุ่นจากแสงยามเช้าที่อาบไล้ผิวกายช่วยบำบัดอารมณ์และจิตใจให้สงบได้อย่างไม่น่าเชื่อ ป่าและธรรมชาติ ยินดีต้อนรับเราเสมอ เมื่อเราพร้อมที่จะเปิดใจรับการบำบัด

Read More

ท่องเที่ยวไทยไร้ทางรอด เอกชนหวังเร่งเปิดประเทศ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยซึ่งถือเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันด้วยเหตุที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างอิสระ รวมถึงการปิดประเทศ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งร้างไร้ผู้คน จนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างขาดรายได้ไปโดยปริยาย ภาพถนนข้าวสารที่เคยคึกคักและคลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก จนทำให้เป็นประหนึ่งถนนที่ไม่มีวันหลับ หากแต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยการปิดเมืองในช่วงปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ถนนที่เป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยต้องร้างไร้ไม่มีนักท่องเที่ยว และเป็นเหตุให้ร้านค้า ร้านอาหาร บริษัทให้บริการท่องเที่ยว และโรงแรมต่างปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยมีการประเมินว่ารายได้ในส่วนนี้หดหายไปมากกว่าร้อยละ 70-80 อีกด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกที่เกี่ยวข้องพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบ “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงภาคการท่องเที่ยวที่เคยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP และมีการจ้างงานรวมมากกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2562 ได้ มูลเหตุสำคัญที่ทำให้มาตรการ “ไทยเที่ยวไทย” ไม่สามารถพยุงภาคการท่องเที่ยวโดยรวมได้มากนักเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่ารายได้ในลักษณะของ “ไทยเที่ยวไทย” โดยปกติมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของรายได้ภาคท่องเที่ยวทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังกระจุกตัวในบางจังหวัดและบางช่วงเวลา ยังไม่นับรวมประเด็นว่าด้วยผลของมาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทยยังเป็นไปอย่างจำกัด ข้อเรียกร้องสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาว่าด้วยการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทยจึงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นมาตรการจำเป็นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพยุงธุรกิจท่องเที่ยวให้รอดพ้นจากความล่มสลายจากผลของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างเชื่อว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในห้วงเวลาจากนี้ ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่คุ้มกับความเสี่ยง

Read More

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความหวังสุดท้ายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ที่เห็นชอบมาตรการเปิดประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) แบบ “จำกัดจำนวน” ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยจะเป็นการเปิดประเทศแบบจำกัด ด้วยการจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวประเภท “พิเศษ” ที่จะมาพำนักอยู่ในประเทศไทยระยะยาวไม่ต่ำกว่า 90-270 วัน ในด้านหนึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยให้ดำเนินต่อไปได้ หลังจากที่ต้องหยุดชะงักมานานเพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง มติดังกล่าวดูจะตั้งอยู่ท่ามกลางการเล็งผลเลิศที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์โดยรอบ เพราะหลังจากที่มีการเปิดเผยว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจากมณฑลกว่างโจวเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ซึ่งนับเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการประกาศเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคมแทน ความสับสนในการออกมาตรการที่ดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติหากต้องการจะเดินทางมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว หรือลองสเตย์ ภายในประเทศไทย การยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน รวมถึงการมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย โดยเฉพาะหลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พักภายในประเทศไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สอดรับกับความพร้อมของทั้งผู้ประกอบการและความกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพราะประชาชนในจังหวัดท่องเที่ยว อาจไม่ได้เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ความกังวลใจของพวกเขายังผูกพันอยู่กับมายาภาพที่ ศบค. ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลา 6-7

Read More

Staycation หย่อนใจ ใกล้บ้าน

การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมในการพักผ่อนหย่อนใจที่เป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้การเดินทางมีข้อจำกัด อีกทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้เราต้องหันมารัดเข็มขัดและคุมเข้มกับการจับจ่ายใช้จ่ายกันมากขึ้น รูปแบบการท่องเที่ยวจึงต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เที่ยวใกล้บ้าน เดินทางง่าย สบายกระเป๋า ตามสไตล์ “Staycation” จึงกลายมาเป็นตัวเลือกที่กำลังมาแรงในหมู่คนชอบเที่ยวอยู่ในขณะนี้ Stay + Vacation = Staycation “Staycation” มาจากคำว่า “Stay” บวกกับ “Vacation” คำ 2 คำที่มีความหมายที่ดูขัดกัน แต่เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันกลับกลายเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวและพักผ่อนที่มีเสน่ห์ในตัวเอง Staycation เป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนในละแวกท้องถิ่นที่เราอยู่ เดิมทีหมายถึงการพักร้อนอยู่กับบ้าน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน ทำกิจกรรมใหม่ๆ แต่ในระยะหลังยังหมายรวมถึงการท่องเที่ยวในเมืองและในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เราได้หันมาทำความรู้จักกับพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ด้วยมุมมองใหม่ เหมือนเราเป็นนักท่องเที่ยวในบ้านของตัวเอง ไลฟ์สไตล์แบบ Staycation เริ่มเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันชนในช่วงเกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hamburger Crisis ซึ่งเกิดในช่วงปี 2007-2010 วิกฤตครั้งนั้นทำให้คนอเมริกันต้องระมัดระวังเรื่องการใช้เงิน เลยหันมาเที่ยวในเมืองที่อาศัยอยู่แทนเพราะค่าใช้จ่ายไม่สูง เช่นเดียวกับทางฟากเกาะอังกฤษ ซึ่งความนิยมในการพักผ่อนแบบนี้เกิดขึ้นในราวๆ ปี 2009 เป็นช่วงที่เงินปอนด์อ่อนค่าลง ทำให้ชาวอังกฤษเลือกที่จะ Staycation แทนการเดินทางไป Vacation ในที่ไกลๆ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

Read More

เคทีซีพัฒนาแพลตฟอร์มท่องเที่ยวรองรับบริการ 24/7 ผนึกพันธมิตรเดินหน้าหวังครองใจสมาชิกนักเดินทาง

เคทีซีพลิกวิกฤติช่วงโควิด-19 ให้เป็นโอกาส ลุยปรับกลยุทธ์ธุรกิจท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ประเดิมด้วยการปรับโฉม “KTC World Travel Service” ศูนย์บริการการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ด้วย 3 แกนหลัก “ซ่อม” “สร้าง” และ “สนับสนุน” ให้สมาชิกฯ อุ่นใจกับการเดินทางท่องเที่ยวและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยบริการ 24 ชั่วโมง รองรับความต้องการของสมาชิก ผ่านช่องทางโทรศัพท์ 02 123 5050 เว็บไซต์ www.ktc.co.th/ktcworld ไลน์ @ KTCWorld และ KTC World Facebook Fanpage พร้อมจับมือพันธมิตรธุรกิจท่องเที่ยวออกแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้อำนวยการ การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

Read More

เอสเอ็มอีท่องเที่ยวไทย เผชิญวิกฤตที่ยังไร้ทางออก

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมหลักๆ ของไทยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก และเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้สร้างผลกระทบเชิงลบในทุกระนาบ โดยที่ไม่อาจรู้ได้เลยว่า เมื่อใดสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 คือ ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน แม้ว่าในห้วงเวลาปัจจุบันไวรัสจะยังคงอยู่บนโลกนี้อย่างไม่มีวี่แววว่าจะจางหายไป แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยยังพอมีแรงที่จะขับเคลื่อนไปได้บ้าง เมื่อไทยยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าต้องการ ขณะที่ภาคการลงทุนที่เหล่านักลงทุนยังต้องมองสถานการณ์ในหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองที่เริ่มส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลื่อนการลงทุนในไทยออกไป เมื่อยังมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ยากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายฝ่ายยอมรับว่าครั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตของจริง เมื่อรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 70-80% โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2562 ประมาณ 39.7 ล้านคน และสร้างรายได้มากถึง 1.93 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับไวรัสร้ายนี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนเพียง 6.69 ล้านคน และสร้างรายได้รวม 3.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปประมาณ 4.89 แสนล้านบาท การสูญเสียรายได้หลักของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจดทะเบียนขอเลิกประกอบกิจการประมาณ 90 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 39 ราย เชียงใหม่ 9 ราย ภูเก็ต

Read More