Home > ตลาดนัดจตุจักร

“มิกซ์จตุจักร” ทุ่มสุดตัว ศึกช่วงชิงกำลังซื้อยุควิกฤต

พื้นที่ย่านจตุจักรคึกคักขึ้นอีกเมื่อกลุ่มทุน “สยาม พิริยา ดีเวลลอปเมนท์” ทุ่มเม็ดเงินกว่า 900 ล้านบาท ผุดศูนย์การค้ามิกซ์ จตุจักร (Mixt Chatuchak) โดยคาดหวังแผนต่อยอดช่วงชิงเม็ดเงินกำลังซื้อ หลังบิ๊กโปรเจกต์ “สถานีกลางบางซื่อ” ศูนย์กลางระบบรางแห่งอนาคตและโครงการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าปลุกปั้นสร้างย่านธุรกิจขนาดใหญ่และพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็นศูนย์กลางมหานครแห่งใหม่ระดับอาเซียนเปิดตัวระหว่างปี 2563-2564 ทว่าโจทย์ข้อใหญ่ไม่ง่าย โดยเฉพาะทำเลปราบเซียนย่านตลาดนัดสวนจตุจักร ที่เหมือนมีศักยภาพ แต่การแข่งขันสูง และรูปแบบการจับจ่ายสไตล์ตลาดนัดสุดสัปดาห์ ซึ่งหลายโครงการพยายามสร้างจุดขาย เพื่อดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้บริการในช่วงวันธรรมดา แต่สุดท้ายสอบตกและ “เจ๊ง” มีพร ไชยูปถัมภ์ กรรมการบริหาร บริษัท สยาม พิริยา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด อดีตนักวางแผนการบริหารโครงการ (Project Management) ให้กับธุรกิจ 3M และผู้ปลุกปั้นสตาร์ทอัป แอปพลิเคชันด้านอีคอมเมิร์ซ ที่ได้รับเงินทุนและร่วมลงทุนจากกองทุนต่างๆ เช่น 500 TukTuks, Solera Investment, NextTech และนายโรเบิร์ต ลอมนิทซ์ จาก

Read More

บิ๊กโปรเจกต์พลิกโฉม “จตุจักร” แผนโกยรายได้แสนล้าน

ตลาดนัดจตุจักรกลับมาคึกคักสุดขีดอีกครั้ง และขยายทำเลทองกว้างขวางออกไปรอบด้าน เมื่อรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” เปิดทางให้ทุกหน่วยงานลุยแผนลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ เพื่อกอบโกยรายได้จำนวนมหาศาลไม่ว่าจะเป็นการสร้างโครงข่ายคมนาคมรองรับรถไฟหลากสีเพื่อสร้างศูนย์กลางหรือ “ฮับ” การขนส่งขนาดใหญ่  โครงการพัฒนาที่ดิน “หมอชิตเก่า” ของกรมธนารักษ์ 63 ไร่ เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ และยาวไปถึงแผนเนรมิตเมืองใหม่มูลค่ามากกว่า 1.3 แสนล้านบาท เนื้อที่ 357 ไร่ หลังตึกเอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซุ่มศึกษามานาน และลุ้นรัฐบาลหลายชุดอนุมัติหลายรอบ    ตามแผนหลักของทั้ง 3 หน่วยงานนั้น กระทรวงคมนาคมตั้งเป้าขยายโครงการรถไฟชานเมืองเข้าสู่สถานีบางซื่อ ทั้งสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ บวกกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้คนเดินเข้าออกพื้นที่มากกว่าหลายล้านคนต่อวัน    ขณะที่โครงการคอมเพล็กซ์ของกรมธนารักษ์ ซึ่งคณะกรรมการผังเมืองเพิ่งมีมติปรับพื้นที่บริเวณหมอชิตเก่า เปลี่ยนจากพื้นที่สีน้ำเงิน หรือที่ดินประเภทสถาบันราชการ  เป็นพื้นที่สีแดง พ.4 หรือที่ดินประ เภทพาณิชยกรรมในระดับที่สามารถพัฒนาได้ 8 เท่าของแปลงที่ดิน คือ 63

Read More