Home > ค้าปลีก (Page 2)

“ซีเจ” รุกคืบชนยักษ์สะดวกซื้อ เร่งรายได้แต่งตัวเข้าตลาดหุ้น

ซีเจ เอ็กซ์เพรส ได้ฤกษ์รุกฐานกรุงเทพฯ มากขึ้น หลังจากใช้เวลาหลายปีเปิดยุทธการป่าล้อมเมืองผุดสาขาในจังหวัดหลักๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบิ๊กบอสคาราบาวกรุ๊ป เสถียร เศรษฐสิทธิ์ หุ้นส่วนใหญ่ ประกาศยังเดินหน้าแผนจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้ต้องเลื่อนจากปี 2563 เพราะพิษโควิด-19 เป็นปี 2565 เพื่อระดมทุนก้อนใหญ่เพิ่มขุมกำลังเปิดศึกชนยักษ์สะดวกซื้อแบบจัดเต็ม ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ 18 มีนาคม 2564 ซีเจ เอ็กซ์เพรส มีสาขาทั่วประเทศรวม 593 แห่ง ซึ่งดูเหมือนยังห่างไกลจากเจ้าตลาด ทั้งเซเว่นอีเลฟเว่นของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) และแฟมิลี่มาร์ท ของกลุ่มเซ็นทรัล แต่ประเมินจากกลยุทธ์และเครือข่ายเชื่อมโยงกับบริษัท คาราบาว กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ย่อมถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ที่สำคัญ แบรนด์ร้านสะดวกซื้อ “CJ” อยู่ในวงการค้าปลีกยาวนานกว่า 16 ปี ตั้งแต่ยุคบริษัท พี เอส ดี

Read More

รีเทลคึกสู้โควิด เพลินนารี่อัพจุดขาย แจส กรีนวิลเลจ ลุยเฟสแรก

ธุรกิจค้าปลีกยุคโควิดอยู่ในช่วงแข่งขันสร้างแรงดึงดูดกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์ ทุกค่ายรีบเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในจังหวะที่ผู้คนส่วนใหญ่ลดพฤติกรรมจากการเดินศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หันมาใช้บริการห้างขนาดกลางขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่และคลัสเตอร์ใหม่ๆ ตลอดเวลา แน่นอนว่า ความเป็นคอมมูนิตี้มอลล์เปิดโล่ง ลักษณะ Open Air และจำนวนผู้ใช้บริการไม่มาก กลายเป็นจุดขายใหม่ในยุค New Normal บางโครงการประกาศปรับเพิ่มพื้นที่ Free Space และพื้นที่สีเขียวรับมาตรการ Social Distancing มากขึ้น ขณะที่บางโครงการปรับภาพลักษณ์ พลิกจุดขายขยายฐานลูกค้ากว้างขึ้นด้วย อย่างล่าสุด กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อัลไล (ALLY Leasehold Real Estate Investment Trust) ของบริษัท เค.อี. รีท แมเนจเมนท์ จำกัด ในเครือ เค.อี. กรุ๊ป ตัดสินใจปรับ Positioning โครงการ เพลินนารี่ มอลล์ วัชรพล ช้อปปิ้งมอลล์ จากเดิมเน้นภาพลักษณ์ช้อปปิ้งมอลล์สไตล์สวนสนุก คอนเซ็ปต์ Amusement Experience Shopping

Read More

COVID-19 ถล่มค้าปลีกไทย วอนร้องรัฐเร่งช่วยเหลือด่วน

พิษจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกระเทือนไปทุกแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม โดยล่าสุดสมาคมค้าปลีกไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกได้รับจากผลของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมที่ชะงักตัวลง ความสำคัญและเป็นไปของธุรกิจค้าปลีกไทย ซึ่งถือเป็นกลไกและฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นกลไกที่ครอบคลุมและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตการค้าทั้งระบบตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมในระบบมากกว่า 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงมากกว่า 6.2 ล้านราย และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบ และทำให้ดัชนีค้าปลีกของสมาคมค้าปลีกไทยปี 2563 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับติดลบที่ร้อยละ -12 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีติดลบด้วยตัวเลข 2 หลัก ความชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลของมาตรการควบคุมโรคของรัฐยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การคาดการณ์ตัวเลขในไตรมาสที่ 1/2564 หลังจากที่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหนักหน่วงและรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรกและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน โดยคาดว่าดัชนีค้าปลีกไทยในไตรมาส 1/2564 จะยังหดตัวติดลบที่ระดับร้อยละ 7-8 ผลจากภาวะชะลอตัวดังกล่าวนี้ได้ส่งให้เกิดผลเสียหายในวงกว้างอย่างมาก โดยนอกจากจะเกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากทยอยปิดตัวลง

Read More

ศึก 1 แถม 1 สู้ “คนละครึ่ง” ยักษ์ค้าปลีกอัดโปรถี่ยิบ

สงครามค้าปลีก “คนละครึ่ง” เปิดฉากดุเดือดอีกครั้งและแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบรรดายักษ์ค้าปลีกและเครือข่ายร้านอาหารแบรนด์ดังต่างอัดโปรโมชั่น “1 แถม 1” ถี่ยิบ เพื่อช่วงชิงกำลังซื้อแข่งขันกับกลุ่มร้านโชวห่วยและสตรีทฟู้ดที่เข้าโครงการ "คนละครึ่ง" เฟส 2 ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จนส่งผลกระทบซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของคนไทย แน่นอนว่า โครงการคนละครึ่งของรัฐบาล ซึ่งให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนในการซื้อสินค้า โดยภาครัฐช่วยจ่าย 50% ในวงเงิน 3,000 บาทต่อคนในเฟสแรก และเพิ่มเป็น 3,500 บาทต่อคนในเฟส 2 วันละไม่เกิน 150 บาทต่อคน กลายเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สามารถลดค่าใช้จ่ายแบบเห็นชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการที่ผ่านมา จนกลายเป็นกลยุทธ์ชนะใจชาวบ้านในทุกโพลล์ของทุกสำนัก อย่างโพลล์ RIDC ของศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผลงานของรัฐบาลประจำปี 2563 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง การถดถอยของเศรษฐกิจและเหตุการณ์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

Read More

รีวิวบันทึกเหตุการณ์ 2563 ปีโควิด-19 เขย่าโลก สยามพิวรรธน์สร้างปรากฏการณ์ นำโลกรีเทลสู่โมเดลใหม่รับ Now Normal

วิกฤติการณ์ Covid-19 ที่สร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ไปทั่วโลกและส่งผลกับทุกมิติในทุกสาขาอาชีพ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนเดืมอีกต่อไปสำหรับในธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าในประเทศไทย ผู้ที่อยู่รอดคือผู้ที่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วพร้อมรับชีวิตวิถีใหม่ของลูก้าที่เปลี่ยนไป บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหาร OneSiam โกลบอลเดสติเนชั่นซึ่งผนึกกำลังของศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของโครงการไอคอนสยาม อภิมหาโครงการเมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นองค์กรแรกๆ ที่สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์โควิด -19 ได้เป็นอย่างดี และยังได้สร้างปรากฏการณ์ให้วงการค้าปลีกด้วยการนำเสนอธุรกิจรีลเทลโมเดลใหม่ล่าสุดที่ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ก่อนใคร จากวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลกในทุกวงการ สยามพิวรรธน์ นำโลกธุรกิจรีเทลสู่โมเดลใหม่ ตอกย้ำวิสัยทัศน์การเป็น ‘ผู้นำความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำสมัย’ เปิดวิสัยทัศน์มิติใหม่ของศูนย์การค้าแห่งอนาคตที่จะสร้างความสุขและรอยยิ้มให้แก่ผู้คน ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้บริโภคในแบบ Now Normal Innovative Lifestyle ด้วยการสร้าง Retail Ecosystem ชูกลยุทธ์ Collaboration to Win โดยการร่วมกันรังสรรค์ Co-creation และ Creating Shared Values ซึ่งถอดรหัสได้เป็นมิติต่างๆ ดังนี้ มาตรการสุขอนามัยและความปลอดภัยด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Innovative Health & Safety) ศูนย์การค้าคือสถานที่มอบความสุขให้แก่ผู้คน ศูนย์การค้ายุคใหม่ต้องสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแลเอาใจใส่ตลอดการใช้เวลาภายในศูนย์ฯ

Read More

“คนละครึ่ง” อัดฉีดเม็ดเงิน ฟื้นโชวห่วยแข่งยักษ์สะดวกซื้อ

ชัดเจนแล้วว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศขยายโครงการคนละครึ่ง เฟส 2 เป็นของขวัญปีใหม่ 1 มกราคม 2564 หลังกระแสตอบรับดีเยี่ยม ไม่ใช่แค่เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ กระตุ้นจีดีพี แต่ที่สำคัญกลายเป็นมาตรการพลิกฟื้นธุรกิจร้านโชวห่วยให้กลับมาคึกคัก มียอดขายพุ่งพรวดเท่าตัว เบื้องต้น รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุเงื่อนไขเบื้องต้นว่า หากใครที่ลงทะเบียนคนละครึ่งในเฟส 1 สำเร็จ เมื่อมีการเปิดเฟส 2 จะมีปุ่มให้กดยืนยันจะเข้าร่วมในเฟส 2 หรือไม่ แต่มีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องใช้วงเงิน 3,000 บาทหมดภายในเดือนธันวาคมนี้ นั่นย่อมหมายถึงกระตุ้นการจับจ่ายช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2563 จากจำนวนประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์เฟสแรก 10 ล้านคน และรัฐบาลตั้งเป้าหมายขยายเฟส 2 ทั้งในแง่จำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ วงเงินการใช้จ่ายเพิ่มจาก 3,000 บาท รวมถึงระยะเวลาการใช้จ่าย ซึ่งช่วงต้นปีมีเทศกาลสำคัญๆ ทั้งเทศกาลปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน และอาจยาวไปถึงเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ หากดูตัวเลขเฉพาะโครงการคนละครึ่งเฟส 1 ที่เปิดให้ผู้ได้รับสิทธิ์ใช้วงเงินจับจ่ายตั้งแต่วันที่

Read More

ศึกชิงเม็ดเงิน “ช้อปดีมีคืน” ยักษ์เอาท์เล็ตแข่งถล่มแคมเปญ

กระแสโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ซึ่งกระทรวงการคลังตั้งเป้ากระตุ้นกำลังซื้อช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ มากกว่า 2 แสนล้านบาท และดึงเม็ดเงินจากผู้มีรายได้สูงมากกว่า 3.7 ล้านคน กำลังจุดชนวนสมรภูมิค้าปลีกช่วง 2 เดือนสุดท้าย โดยเฉพาะกลุ่มเอาท์เล็ตแบรนด์หรู ทั้งสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ตและเซ็นทรัลวิลเลจ ต่างระดมอัดแคมเปญถล่มกันอย่างหนักหน่วง ขณะเดียวกัน ในจังหวะนี้กลุ่มเอาท์เล็ตที่เคยเจาะนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างปรับแผนรุกขยายฐานลูกค้าคนไทยกำลังซื้อสูง เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวยังต้องรอการฟื้นตัวและเพิ่งประเดิมเปิดประเทศรับทัวร์ต่างชาติประเภทพิเศษ หรือ Special Tourist Visa หรือ STV กลุ่มแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มแรกเดินทางมาจากเมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 41 คน ตามนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ 2 จากกวางโจว ประเทศจีน เดินทางเข้ามาอีก 100 คน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม แม้ล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอแผนการตลาดดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป โดยเจาะกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียเป็นหลัก เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์

Read More

ทาคาชิมายะ บูมบิ๊กไฮไลท์ ครบ 2 ปี ฝ่ามรสุมค้าปลีกไทย

สยาม ทาคาชิมายะ กลายเป็นห้างสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่ถูกจับจ้องความเคลื่อนไหวก้าวต่อไป หลังเปิดดำเนินการเมื่อปี 2561 พร้อมๆ กับอภิมหาโครงการไอคอนสยาม และจะดีเดย์ครบรอบ 2 ปี ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ ขณะเดียวกัน ชื่อชั้น “ทาคาชิมายะ” ถือเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ดำเนินธุรกิจยาวนานมากกว่า 190 ปี ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1829 ที่เมืองเกียวโต โดยนายอีดะ ชินกิชิ ระยะแรกเน้นจำหน่ายสินค้าปลีกประเภทเสื้อผ้า ผ้าฝ้าย จนขยายอาณาจักรธุรกิจและผุดสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 20 แห่ง ส่วนสาขาในต่างประเทศเริ่มบุกประเทศสิงคโปร์ โดยเป็นผู้เช่าหลักในศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดใจกลางถนนสายหลักออร์ชาร์ด และขยายต่อเนื่อง ได้แก่ สาขาเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน สาขาโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม จนล่าสุด คือ สยามทาคาชิมายะ ไอคอนสยาม ประเทศไทย เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัทลูก ทาคาชิมายะ สิงคโปร์ สัดส่วน 51% กับกลุ่มไอคอนสยาม 49% หากย้อนไปวันแรกของการเผยโฉมในประเทศไทยนั้น

Read More

ซีอาร์ซีเขย่ายกแผง จัดทัพ “ท็อปส์-แฟมิลี่มาร์ท” เร่งสปีด

กลุ่มเซ็นทรัลกำลังเร่งเคลื่อนทัพ Food Retail หวังปลุกรายได้โค้งสุดท้ายก่อนปิดปี 2563 และปูทางลุยสงครามค้าปลีกในปี 2564 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังต้องลุ้นฝ่าปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งประเด็นการเมือง ม็อบนักเรียนนักศึกษาขยายวง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และน้ำท่วมใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างหนักหน่วง ขณะเดียวกัน ภายใต้โครงสร้างธุรกิจหลักของบริษัทเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีอาร์ซี” ทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแฟชั่นรีเทล จำหน่ายสินค้าเครื่่องแต่งกายและเครื่่องประดับ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซูเปอร์สปอร์ต เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง และห้างสรรพสินค้ารีนาเชนเต ในประเทศอิตาลี กลุ่มฮาร์ดไลน์รีเทล จำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าตกแต่งและปรับปรุุงบ้าน ได้แก่ ไทวัสดุุ บ้านแอนด์บียอนด์ เพาเวอร์บาย และเหงียนคิม เครือข่ายร้านจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดกลาง-ใหญ่ ในประเทศเวียดนาม สุดท้าย คือ กลุ่มฟู้ดรีเทล จำหน่ายสินค้าอุุปโภคบริโภคและสินค้าทั่วไป ได้แก่ เซ็นทรัลฟู้ดฮอลล์ ท็อปส์ แฟมิลี่มาร์ท บิ๊กซีเวียดนาม และลานชีมาร์ท เครือข่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กถึงกลางในพื้นที่ชานเมืองและชนบทของประเทศเวียดนาม ต้องถือว่า

Read More

ซีพีลุย “มินิซูเปอร์มาร์เก็ต” จัดทัพผนึกเทสโก้ โลตัส

ยักษ์ใหญ่ “ซีพี” เร่งจัดทัพค้าปลีก หลังทุ่มเม็ดเงินมากกว่า 3 แสนล้านบาท ปิดดีลประวัติศาสตร์ซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยและมาเลเซีย รับแผนขยายอาณาจักรอย่างแข็งแกร่ง ยึดกุมตั้งแต่ธุรกิจค้าส่งแบรนด์ “แม็คโคร” ไฮเปอร์มาร์เก็ตแบรนด์ “เทสโก้ โลตัส” มีเครือข่ายร้านสะดวกซื้อ “เซเว่น-อีเลฟเว่น” และล่าสุดผุดโมเดลใหม่ “ซีพี เฟรช (CP Fresh) มินิซูเปอร์มาร์เก็ต” เน้นคอนเซ็ปต์ “100% Fresh” เป็นจิ๊กซอว์อีกชิ้น เพื่อยึดตลาดทุกเซกเมนต์ชนิดเพอร์เฟกต์ที่สุด หากไล่ดูสาขาในประเทศไทยของแต่ละแบรนด์ เริ่มจากศูนย์ค้าส่งแม็คโคร มีสาขารวม 134 แห่ง สำหรับเทสโก้ โลตัส มีร้านค้าในรูปแบบต่างๆ คือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต 214 สาขา ตลาดโลตัส 179 สาขา เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส 1,574 สาขา รวมแล้วเกือบ 2,000 สาขา และให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าอีก 191

Read More