Home > 2021 > มีนาคม (Page 6)

Food Delivery ขยายตัว แข่งขันสูง กำเนิดผู้เล่นหน้าใหม่

“อาหารไม่ว่าอย่างไรก็ยังขาย” คำกล่าวนี้ไม่เกินไปเลยสักนิด เมื่ออาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงmชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะส่งผลให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปเพียงใดก็ตาม จึงไม่น่าแปลกใจที่ธุรกิจอาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะมีโอกาสขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ในยามที่โลกเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี มูลค่าธุรกิจร้านอาหารของไทยในแต่ละปีสูงถึงหลักแสนล้านบาท นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูงมาก และจะมีนักลงทุนหน้าใหม่กระโจนเข้าใส่ตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง เมื่อส่วนแบ่งการตลาดสูงจนน่าเสี่ยง ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคบริการและเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยมูลค่าหมุนเวียนที่ไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.7 ของภาคบริการทั้งหมดของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แน่นอนว่า ไวรัสโคโรนา 2019 สร้างผลกระทบอย่างมหาศาล ผู้ประกอบการร้านอาหารบางรายที่มีอัตราการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ทยอยปิดตัวลงในอัตราที่ไม่ต่างกันตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนในจำนวนที่สูงมาก ในขณะที่รายรับกลับเดินสวนทาง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยคาดการณ์ไว้ว่า ธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 จะมีมูลค่าเพียง 3.85-3.89 แสนล้านบาท หรือหดตัวประมาณ 9.7-10.6 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่ผ่านมาและถือเป็นการพลิกกลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 8 ปี ผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวนมากปรับตัวไปตามสถานการณ์ พร้อมทั้งคว้าโอกาสในการขยายฐานลูกค้าด้วยการเปิดบริการสั่งอาหารทางออนไลน์ ซึ่งการเปิดหน้าสู้ในศึกครั้งนี้ของธุรกิจร้านอาหาร ส่งผลให้ธุรกิจ Food Delivery เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินจากยูโรมอนิเตอร์ว่า มูลค่าตลาดรวมของ Food Delivery ในประเทศไทยพบว่า ในปี 2563 มูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 68,000 ล้านบาท นอกจากนี้

Read More

บ้านปู เพาเวอร์เผยผลประกอบการปี 2563 ย้ำความสำเร็จด้วยกำลังผลิตเพิ่ม 427 เมกะวัตต์

บ้านปู เพาเวอร์เผยผลประกอบการปี 2563 ย้ำความสำเร็จด้วยกำลังผลิตเพิ่ม 427 เมกะวัตต์ มุ่งขยายพอร์ตอย่างสมดุลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน ด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Thermal Power Business) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รายงานผลการดำเนินงานในปี 2563 ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการดำเนินงานอย่างมีเสถียรภาพของโรงไฟฟ้าเอชพีซีและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Heat and Power: CHP) ในจีน และผลจากการดำเนินมาตรการลดต้นทุนในทุกส่วนของการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทฯ พร้อมขยายกำลังผลิตจาก 2,856 เมกะวัตต์เทียบเท่าในปัจจุปัน สู่เป้าหมาย 5,300 เมกะวัตต์เทียบเท่าภายในปี 2568 ด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลักและแผนธุรกิจ 5 ปี ในปี 2563 บ้านปู เพาเวอร์ประสบความสำเร็จในการขยายกำลังผลิตเพิ่มอีก

Read More

LPN เปิดตัวแคมเปญ #เช่าเท่าไหร่ ผ่อนเท่านั้น หนุนคนไทยมีบ้านเป็นของตัวเอง

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) ส่งเสริมคนไทยมีบ้านเป็นของตัวเอง เปลี่ยนจากค่าเช่าบ้านเป็นค่าผ่อนบ้านแทน สร้างโอกาสให้คนไทยมีบ้านได้ง่ายขึ้นในราคาที่จับต้องได้ (Affordable Price) ด้วยแคมเปญใหม่ “#เช่าเท่าไหร่ ผ่อนเท่านั้น” โดย LPN จะช่วยลูกค้าผ่อนค่างวดกับสถาบันการเงินเป็นเวลา 30 เดือน เริ่มตั้งแต่ 3,200-13,000 บาท ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของคอนโดมิเนียมทั้ง 11 โครงการ ที่เข้าร่วมแคมเปญ ทั้งนี้ ลูกค้าจะได้รับส่วนลดพิเศษตั้งแต่ 20-40% ฟรีค่าใช้จ่ายวันโอนฯ ฟรีค่าใช้จ่ายส่วนกลาง 30 เดือน ฟรีเฟอร์นิเจอร์และเครื่องปรับอากาศ ระยะเวลาแคมเปญตั้งแต่วันนี้ -31 มีนาคม 2564 อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 มีนาคมนี้ ทาง LPN จะมีการจัดกิจกรรมเปิดตัวแคมเปญอย่างเป็นทางการพร้อมกันทั้ง 11 โครงการ โดยมีสถาบันการเงินที่เป็นพันธมิตรเข้ามาร่วมให้บริการที่โครงการพร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และสามารถทราบผลเบื้องต้นในการยื่นขอกู้ได้เลย โดยภายในงานลูกค้ายังมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกด้วย สำหรับโครงการ 11 แห่ง ได้แก่ 1.

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

ใครบ้าง ติดโควิด-19 เสี่ยงถึงตาย

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่ ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของคนไทย นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ จากข้อมูลของหนังสือ “ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Read More

TCP จุดพลุเปิดตัว “แมนซั่ม วิตามิน วอเตอร์” ลุยสมรภูมิเครื่องดื่มผสมวิตามิน ชูจุดเด่นที่ส่วนผสมชั้นยอด

กลุ่มธุรกิจ TCP จุดพลุเปิดตัว “แมนซั่ม วิตามิน วอเตอร์” ลุยสมรภูมิเครื่องดื่มผสมวิตามิน ชูจุดเด่นที่ส่วนผสมชั้นยอด เบต้า-กลูแคนจากสหรัฐอเมริกาและอัดแน่นวิตามินสูตรเฉพาะเต็มขวด กลุ่มธุรกิจ TCP ตอกย้ำความเป็นผู้นำเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลของแบรนด์แมนซั่ม ส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด “แมนซั่ม วิตามิน วอเตอร์” ลุยตลาดน้ำดื่มผสมวิตามิน ขยายฐานผู้บริโภคครอบคลุมทุกเพศทุกวัย พร้อมเป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพสำหรับทุกคน อัดแน่นเต็มขวดด้วยวิตามินและแร่ธาตุจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ปราศจากน้ำตาลและแคลอรี นำเสนอ 2 สูตร แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร พร้อมดึง “ไมค์ – พิรัชต์ นิธิไพศาลกุล” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์คนแรก ถ่ายทอดภาพลักษณ์คนรุ่นใหม่ สมาร์ท ใส่ใจสุขภาพ พร้อมดูแลตนเองและคนในครอบครัวให้ดูดีอยู่เสมอ เจาะกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการตัวช่วยดูแลสุขภาพและเติมความสดชื่นในทุกๆ วัน สอดคล้องกับสโลแกน "สดชื่นเต็มที่ สิ่งดีๆ เต็มขวด” นางประไพภักตร์ ไวเกิล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดโกลเบิล (F&B) กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “ปัจจุบัน เทรนด์รักสุขภาพเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคมองหาตัวช่วยในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

Read More

ขบถ : สิทธัตถะ โคตมะ (563–483 BCE )

“จงอย่าเชื่อสิ่งใดง่ายๆ แม้แต่คำพูดของเรา จนกว่าจะได้พิสูจน์ด้วยปัญญาและเหตุผลแล้ว” สิทธัตถะ น่าจะถูกเรียกได้ว่าเป็นนักปฏิวัติเปลี่ยนแปลงหัวก้าวหน้าคนแรกๆ ของโลก เพราะไม่เพียงตั้งคำถามกับบรรทัดฐานความเชื่อเดิมของสังคม ระบบวรรณะที่แบ่งคนตามลำดับชั้นพร้อมกับสิทธิติดตัวแต่กำเนิด ความสมเหตุสมผลของการบูชายัญเทพเจ้า ความศักดิ์สิทธิ์ของสถานภาพบุคคลบางจำพวกเท่านั้น แต่สิทธัตถะลงมือเปลี่ยนแปลงสร้างสังคมใหม่ตามความเชื่อของตัวเอง เรียกว่า สังคมสังฆะ เน้นภราดรภาพ ความเท่าเทียมกันของทุกคน ไม่ให้ความสำคัญกับชาติกำเนิด แต่ประเมินคุณค่าของบุคคลจากการกระทำ สิทธัตถะย้ำในหลายโอกาสว่า แนวคิดของเขาเน้นการปฏิบัติ ศึกษาทดลองด้วยตนเอง จนเป็นความรู้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง) เพราะแต่ละคนมีเหตุปัจจัยในชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ย่อมไม่มีความรู้ชุดมาตรฐานเดียวสำหรับทุกคน (One size fits all) หากกล่าวในมิติของสถานภาพ ตำแหน่ง เจ้าชาย (Prince) ของสิทธัตถะ ได้เปรียบบรรดานักคิดนักปรัชญาร่วมสมัย เพราะได้ร่ำเรียนวิชาวิทยาการครบทุกด้าน มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น อยู่อย่างสุขสบาย แต่นั่นกลับทำให้เขาตั้งคำถามกับชีวิตมากยิ่งขึ้น ชีวิตคืออะไร ชีวิตที่ดีเป็นอย่างไร ทำไมหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างมีความทุกข์ตั้งแต่เกิดจนตาย เราจะหลุดพ้นจากวงจรเหล่านี้ได้อย่างไร สิทธัตถะปฏิวัติตัวเองครั้งแรกด้วยการทิ้งทรัพย์สมบัติ สถานภาพไว้เบื้องหลัง ออกเดินทางค้นหาความหมายของชีวิต ฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับอาจารย์มีชื่อ จนสำเร็จวิชาสูงสุด เพียงเพื่อจะพบว่า มันยังไม่สามารถตอบคำถามในใจ เขาจึงต้องออกเดินทางค้นหาสิ่งที่อาจเรียกว่า สัจธรรม หรือความจริงแท้อีกครั้งโดยลำพัง เคี่ยวเข็ญเข้มงวดกับร่างกายและจิตใจ

Read More

หวังพึ่งปาฏิหาริย์วัคซีน ปลุกอสังหาริมทรัพย์ฟื้น

การมาถึงของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดูกำลังจะเป็นประหนึ่งยาวิเศษและแก้วสารพัดนึกที่ปลุกให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายกลับมามีความหวังหลังจากที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีการนำเข้าวัคซีนเชิงพาณิชย์จากจีน หลังจากที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้รับวัคซีนด้วยวิธีอื่นๆ ไปก่อนหน้าแล้วก็ตาม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มี Multiplier Effect สูงมาก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อทาวน์เฮาส์เท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสี ปูนซีเมนต์ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องครัว ซึ่งการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจและน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปกว้างขวางยิ่งขึ้น หากแต่ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ 197 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มราคาและอุปทาน มีทิศทางลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก โดยกำลังซื้อจากผู้บริโภคต่างชาติที่หายไปนาน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวช้าลงจากที่คาดไว้ช่วงครึ่งหลังปีนี้ โดยล่าสุด พบว่า COVID-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ด้านดัชนีอุปทานก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาเร่งระบายสต็อกคงค้างและชะลอการเปิดโครงการใหม่ ขณะที่ความต้องการซื้อก็ถูกดูดซับไปจำนวนมากจากสงครามราคาที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสงครามราคาอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัว หากแต่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างตรงจุดและความชัดเจนของการฉีดวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งการฟื้นตัว ส่วนมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Read More