Home > 2019 > พฤษภาคม (Page 3)

ค่าใช้จ่ายเปิดเทอมใหม่ ภาระหนักครัวเรือนไทย?

ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไร้ข้อสรุปว่าด้วยการเกิดมีขึ้นของรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงขณะปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ได้วางกรอบงบประมาณจัดการเลือกตั้งไว้สูงถึง 5,800 ล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้ และกลายเป็นประหนึ่งกับดักหลุมพรางที่ทำให้องคาพยพของสังคมด้านอื่นต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันของหล่มปลักไปด้วยโดยปริยาย ก่อนหน้านี้นักธุรกิจและบรรดาผู้สันทัดกรณีทางเศรษฐกิจต่างโหมประโคมความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้งซึ่งควรจะติดตามมาด้วยความชัดเจนของการจับขั้วทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภายหลังยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เศรษฐกิจไทยน่าจะกระเตื้องขึ้นได้พร้อมกับความมั่นใจของผู้ประกอบการลงทุนต่างชาติ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปัจจุบันคือ เศรษฐกิจไทยกำลังถอยหลังอย่างที่ไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดที่ใด ทัศนะเช่นว่านี้ย่อมไม่ใช่คำกล่าวหาที่เลื่อนลอย หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ควบคุมกลไกอำนาจรัฐในห้วงปัจจุบันตระหนักและพยายามประคับประคองสถานการณ์ด้วยหวังว่าหากมีโอกาสกลับมามีบทบาทอีกครั้งจะสามารถเอ่ยอ้างต่อยอดผลงานที่เป็นประหนึ่งฟองครีมที่อยู่บนผืนหน้าเค้กที่ประดับประดาด้วยสิ่งเล็กน้อยที่ทำให้ความขมขื่นของสังคมกลายเป็นความหอมหวานที่เคลือบแฝงด้วยภัยร้ายในระยะยาว ความพยายามที่จะนำเสนอมาตรการพยุงเศรษฐกิจรอบใหม่ในช่วงรอยต่อของรัฐบาล คสช. กับรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังมองไม่เห็นว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ที่ดำเนินผ่านมาตรการภาษีว่าด้วยการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัย เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการควมคุมราคาสินค้า หรือแม้กระทั่งการแจกคูปองการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจให้ไม่ชะลอตัวลงมากไปกว่าที่เป็นอยู่ มาตรการที่ฝ่ายควบคุมกลไกอำนาจอยู่ในปัจจุบันเชื่อว่าจะรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ได้ในระดับที่เรียกว่า “ไฮอิมแพ็กต์” แต่ไม่ถึงกับต้องใช้ยาแรงนี้ เน้นไปที่มาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริโภค การกระตุ้นการท่องเที่ยว การลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการใช้จ่ายของประชาชนที่ยากจน เกิดขึ้นควบคู่กับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่งปรับลดประมาณการขยายตัว มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งทำให้ต้องออกมาตรการมาพยุงในช่วงรอยต่อในครั้งนี้ ในขณะเดียวกันก็เร่งผลักดันกฎหมายสรรพากรที่จะช่วยให้จัดเก็บภาษีค้าขายออนไลน์ให้ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสแรกกับไตรมาส 2 ปีนี้จะเติบโตเพียงร้อยละ 3 ซึ่งทำให้รัฐจำเป็นต้องพยุงการเติบโตไว้ หากปล่อยให้ชะลอลงมาก เวลาจะดึงขึ้นต้องใช้ทรัพยากรมาก และนำมาสู่มาตรการเบื้องต้น ทั้งมาตรการด้านการบริโภค เงินอุดหนุนให้ท่องเที่ยวเมืองรอง และการให้หักลดหย่อนภาษีกรณีค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ขณะที่มาตรการด้านการใช้จ่ายของประชาชน จะมีมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายสำหรับซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้

Read More

AI กุญแจสำคัญของธุรกิจ? ยุคอุตสาหกรรม 4.0

การขอปรับค่าแรงงานให้เท่าเทียมกันทั่วประเทศเป็น 360 บาทต่อวัน จากปัจจุบันอัตราค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ที่ 303-330 บาทต่อวัน ยังไม่สามารถอนุมัติได้ทันวันแรงงาน 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ยังมีอีกหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณา ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน และบางจังหวัดไม่ขอปรับขึ้นค่าแรง ด้วยเหตุผลที่ว่า สถานการณ์การค้าและเศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร แม้จะมีบางจังหวัดที่ไม่ขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทว่ายังมีจังหวัดที่ต้องการให้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำด้วยอัตราเพิ่มขึ้น 2-10 บาทต่อวัน ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำว่า อาจไม่สามารถปรับได้ทันวันแรงงาน เหตุผลไม่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่ดำเนินไปตามความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่จรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ให้ความเห็นเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำว่า จะมีการนัดประชุมบอร์ดค่าจ้างอีกครั้งช่วงกลางเดือนนี้เพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง หลังจากที่ได้ข้อมูลจากอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจากทุกจังหวัดแล้ว เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในด้านหนึ่งย่อมส่งผลดีต่อแรงงานไทย ที่จะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการได้ปรับราคาไปก่อนหน้านี้แล้ว ทว่าด้านผู้ว่าจ้างหรือผู้ประกอบการ มองว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ต้องดูปัจจัยแวดล้อมจากสถานการณ์เศรษฐกิจในระดับมหภาคด้วย เพราะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหมายถึงต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับ ท่ามกลางการถดถอยทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เมื่อเวทีการค้าโลกยังไม่มีความแน่นอน ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ หรือประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหภาพยุโรป ไม่น่าแปลกใจ หากผู้ประกอบการยังไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องขอปรับค่าแรงขั้นต่ำในเวลานี้ นอกจากนี้ การจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในห้วงยามนี้ต้องพึงระลึกว่า ไทยกำลังเชิญชวนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ SEC หากมีการอนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุน เชื่อว่าเวลานี้ทั้งภาครัฐ

Read More

เศรษฐกิจไทยอ่วม ส่งออกติดลบ อสังหาฯ ชะลอตัว

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไปของไทยจะจบและสิ้นสุดไปราวเดือนเศษ ทว่าความชัดเจนที่หลายฝ่ายตั้งตารอคอย ว่าใครจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ดูเหมือนคำตอบยังถูกหมอกควันปกคลุม และยังเป็นปริศนาอยู่ในขณะนี้ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอยู่พอสมควร เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และแนวนโยบายของภาครัฐที่มีต่อเศรษฐกิจ การลงทุน แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งจะมีปัจจัยมาจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลโดยตรงต่อความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน นั่นคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เมื่อไทยยังต้องพึ่งพิงทิศทางของเศรษฐกิจโลก ที่มีจีนและสหรัฐฯ ที่เป็นเสมือนผู้กำหนดทิศทางกระแสลมทางเศรษฐกิจ ทั้งจากมาตรการทางภาษีการค้าที่ทั้งสองประเทศยังหาข้อสรุปไม่ได้ แม้ว่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการภาษีในบางช่วงหลังจากมีการประชุมเจรจาข้อตกลงกัน ทว่า การค้าโลกก็ดำเนินไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของประเทศคู่ค้าลดลงและถึงขั้นติดลบ โดยตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าอยู่ที่ 21,440.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.6 ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ได้คาดไว้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เมื่อตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (28 ประเทศ) และจีน ล้วนหดตัว ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ยังมีการขยายตัวได้ดีร้อยละ 7.4 ในเดือนมีนาคม 2562 จากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและไก่แปรรูปเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยอดขายคอมพิวเตอร์โลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 1/2562 มีส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในเดือนมีนาคม 2562 ติดลบมากถึงร้อยละ

Read More

แกร็บ รุกทริปแพลนเนอร์ “ซูเปอร์แอป” รับ “สมาร์ทซิตี้”

“แกร็บ (Grab)” ประกาศเร่งสปีดเดินหน้าแผน “ซูเปอร์แอป” รับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่จากยุคออฟไลน์สู่ “ออนไลน์” เต็มรูปแบบ เป้าหมายไม่ใช่แค่การเป็นแอปพลิเคชันที่เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน ทั้งบริการเดินทาง บริการรับส่งอาหาร บริการขนส่ง บริการชำระเงินผ่านบัตร และบริการทางการเงินเท่านั้น แต่ต้องการเป็น “เบอร์ 1” ในทุกบริการ และปี 2562 ต้องเติบโตอย่างน้อย 1 เท่าจากปีก่อน ตามข้อมูลของแกร็บคุยไว้ว่า ปี 2561 แกร็บมีปริมาณธุรกรรมด้านส่งคน 100,000 เที่ยวต่อวัน ส่งอาหารกว่า 3 ล้านออร์เดอร์ ยอดส่งสินค้าเติบโตขึ้น 2 เท่า และเพียงไม่กี่เดือนในปี 2562 มียอดผู้โดยสารกว่า 200,000 เที่ยวต่อวัน และมียอดการจัดส่งอาหารกว่า 4 ล้านออร์เดอร์ ล่าสุด หลังจาก แกร็บ ประเทศไทย จับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงพหุภาคีพันธมิตรเมืองอัจฉริยะ (Smart City Alliance)

Read More