Home > 2019 > เมษายน (Page 2)

“เซ็นทรัล-สยามพิวรรธน์” นับถอยหลังศึกลักชัวรีเอาต์เล็ต

“เซ็นทรัล-สยามพิวรรธน์” กลายเป็นคู่แข่งทุกเวที นอกจากกระโดดร่วมประมูลชิงสัมปทานร้านดิวตี้ฟรีในสนามบินแล้ว ทั้ง 2 ยักษ์ใหญ่เตรียมระเบิดศึกลักชัวรีเอาต์เล็ต โดยเจ้าแรกได้ฤกษ์เปิดให้บริการโครงการ “เซ็นทรัลวิลเลจ” ในเดือนสิงหาคมนี้ ขณะที่ค่ายหลังดีเดย์ “ลักชัวรีพรีเมียม เอาต์เล็ต ซิตี้” ในเดือนตุลาคม ทิ้งห่างกันไม่ถึง 2 เดือน บนสมรภูมิเดียวกัน ฟากกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ล่าสุด ทีมผู้บริหารของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอ็น” ออกมาประกาศความพร้อม เพื่อสร้าง New Shopping Platform หรือลักชัวรีเอาต์เล็ตระดับโลกแห่งแรกและแห่งเดียวของไทย ติดสนามบินสุวรรณภูมิ (The First International Luxury Outlet in Thailand) ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Bangkok Outlet Experience’ ไฮไลต์สำคัญ คือ บูทีคสโตร์จากแบรนด์ระดับโลกรวมกว่า 235 ร้านค้า ได้แก่

Read More

เปิดสมรภูมิดิวตี้ฟรี บิ๊กเนมรุมสกัด “คิงเพาเวอร์”

สมรภูมิชิงสัมปทานร้านดิวตี้ฟรีร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ประกาศขายซองคัดเลือกผู้ประกอบการ โครงการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร และโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ (ดิวตี้ฟรี) ทั้ง 2 สัญญา คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 สัญญา และท่าอากาศยานภูมิภาค ได้แก่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ รวมอีก 1 สัญญา โดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีพื้นที่เชิงพาณิชย์หลายหมื่นตารางเมตรและเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารติดทอปเท็น ทั้งในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแผนขยายศักยภาพโครงการ เพื่อเพิ่มการรองรับผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง รวม 5 เฟส จนถึงปี 2573 ตามแผนของ ทอท. ตั้งเป้าปี 2563 สนามบินสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี ปี 2564 เพิ่มเป็น 90 ล้านคนต่อปี จนถึงเฟสที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโครงการในปี 2568-2573

Read More

เกมจัดฉากประมูลดิวตี้ฟรี ปรับเงื่อนไขลดกระแสต้าน

แม้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ยอมปรับเงื่อนไขการเปิดประมูลดิวตี้ฟรี หลังเจอกระแสต่อต้านรูปแบบสัญญาผูกขาดสัมปทานยาวนานนับสิบปี ถูกตั้งคำถามถึงการเอื้อประโยชน์และเปิดช่องโหว่ให้ยักษ์เอกชนบางรายกอบโกยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ดูเหมือนว่า การจับตาจากทั้งกลุ่มองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน กลุ่มนักวิชาการสถาบันทีดีอาร์ไอ และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยังไม่จบ เพราะมีประเด็นน่าสงสัยต้องติดตามอีกหลายข้อ ที่สำคัญระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลมากมาย ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงธุรกิจเปรียบเทียบกับสนามบินชั้นนำในต่างประเทศถูกสะท้อนสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง แต่ ทอท. ยืนกรานจะเลือกใช้โมเดลเปิดประมูลแบบสัญญาเดียว และรวบสัญญาดิวตี้ฟรีท่าอากาศยานทั้ง 4 แห่ง คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ เป็นสัญญาเดียว กระทั่งวันที่ 15 มีนาคม 2562 จะด้วยเหตุผลจากสถานการณ์การเมืองใกล้เลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องออกมาสั่งการให้คณะกรรมการ ทอท. และผู้บริหาร ทอท. พิจารณาทบทวนแนวทางการประมูล โดยคำนึงถึงข้อท้วงติงของสังคมและประโยชน์ที่ ทอท. และประเทศชาติจะได้รับอย่างรอบด้าน ต่อมา วันที่ 28 มีนาคม 2562

Read More

อิมเพรสชั่นนิสต์ที่ลอนดอน

Column: From Paris Paris Plages เป็นกิจกรรมฤดูร้อนที่เทศบาลกรุงปารีสจัดระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคมถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เป็นการแปลงริมแม่น้ำแซน (Seine) ช่วงหนึ่งให้เป็นชายหาด สำหรับคนที่ไม่มีโอกาสไปพักร้อน และเป็นสีสันสำหรับนักท่องเที่ยว แต่เดิมจะนำทรายมาเท ตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด บางหาดก็ปูหญ้าเทียม มีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ สระว่ายน้ำ หน้าศาลากลางกรุงปารีส (Hôtel de ville) เททราย ขึงเน็ตสำหรับกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด ทว่านั่นกลายเป็นอดีตไปแล้ว เพราะนายกเทศมนตรีกรุงปารีสคนปัจจุบันลดกิจกรรมหมดทุกอย่าง ยกเว้นการตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด มีกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก ผลก็คือ ผู้คนบางตา ไปเดินริมแม่น้ำแซนบ่อยๆ วันหนึ่งเห็นบอร์ดติดรีโปรดักชั่นภาพเขียนของจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ (impressionniste) หลายภาพด้วยกัน จึงได้ทราบว่ากำลังมีนิทรรศการอิมเพรสชั่นนิสต์ที่เปอติต์ ปาเลส์ (Petit Palais) Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอกซ์โปนานาชาติปี 1900 ต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ ขึ้นอยู่กับเทศบาลกรุงปารีส Musée des beaux-arts de la Ville de Paris มีงานศิลป์มากมาย

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน ภัยร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของไทยที่กำลังไต่ระดับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) กำลังสะท้อนความเปราะบางทางเศรษฐกิจโดยรวมของชาติอย่างยากจะปฏิเสธ และเป็นเหตุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลต่อสัญญาณลบที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ข้อมูลตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากแนวโน้มหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ปรับตัวขึ้นจากร้อยละ 77.7 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2561 มาสู่ที่ระดับร้อยละ 77.8 เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 โดยอัตราหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 78.6 เมื่อสิ้นปี 2561 และมียอดคงค้าง 12.8 ล้านล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ในปี 2562 คาดว่าหนี้ครัวเรือนมีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นไปสู่ระดับร้อยละ 79.5 อีกด้วย ภาระหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภาระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิตและการขยายธุรกิจ ซึ่งในระยะนับจากนี้หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เมื่อพิจารณาจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากกรณีที่ภาครัฐส่งเสริมให้การกู้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกรณีที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต้องมีการศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่สร้างมูลค่า มีสินทรัพย์ หรือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ประเด็นที่น่าสนใจของการเปลี่ยนหนี้จากนอกระบบเข้ามาในระบบอยู่ที่แม้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นผลมาจากการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อรับบริการทางการเงินและสินเชื่อซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากสามารถลดภาระดอกเบี้ยจากสินเชื่อนอกระบบที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในระบบมาก โดยในปัจจุบันสินเชื่อในระบบคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับร้อยละ 28 ต่อปีสำหรับการบริการสินเชื่อบุคคล และร้อยละ 36 ต่อปีสำหรับนาโนไฟแนนซ์ ขณะเดียวกันการเข้าถึงสินเชื่อในระบบที่สามารถทำได้สะดวกขึ้น จากการใช้ข้อมูลต่างๆ เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ให้สินเชื่อ นอกเหนือจากการใช้เพียงรายการเดินบัญชีของธนาคารเท่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ผู้ขับจักรยานยนต์รับจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำมาเป็นเวลานาน ได้กลายเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการก่อหนี้ที่สูงขึ้น เพราะต้นทุนการกู้ต่ำ ขณะที่การออมก็ได้รับผลตอบแทนต่ำจึงไม่จูงใจให้เกิดการออม

Read More

รังไข่ … อวัยวะจิ๋วสุดเจ๋งของคุณผู้หญิง

Column: Well – Being นิตยสาร Prevention เสนอบทความว่าด้วยรังไข่ อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่มีขนาดเล็กแต่ทรงพลังมหาศาลต่อร่างกายทั้งระบบของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ รังไข่เป็นต่อมไร้ท่อรูปทรงลูกมะเดื่อ ตั้งอยู่ที่อุ้งเชิงกราน 2 ข้างของมดลูก นอกจากจะมีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง รังไข่ยังมีบทบาทสำคัญอื่นๆ ในร่างกายเช่นกัน รังไข่ทำอะไร หน้าที่ของรังไข่ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ผลิตไข่ของผู้หญิง ซึ่งมีขนาดเล็กจิ๋วมาก และเต็มไปด้วย DNA (ครึ่งหนึ่งเป็น DNA ของฝ่ายหญิง และถ้าไข่ใบนั้นได้ผสมกับสเปิร์มที่นำ DNA ของผู้ชายอีกครึ่งหนึ่ง ก็สามารถสร้างตัวอ่อนขึ้นมาได้) ในแต่ละเดือนรังไข่สร้างไข่ราวกว่าสิบใบ แต่มีไข่เพียงหนึ่งหรือสองใบ (ในกรณีลูกแฝด) ออกจากรังไข่ แล้วเดินทางผ่านท่อนำไข่ไปยังมดลูก ที่ที่ไข่อาจหรืออาจไม่ได้ผสมกับสเปิร์มก็เป็นได้ รังไข่ยังทำหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่นอกเหนือจากการเป็นที่เก็บไข่ในระยะยาว นั่นคือ ผลิตฮอร์โมน ส่วนใหญ่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ควบคู่กับการควบคุมอนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง รังไข่ยังผลิตฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนบางส่วนด้วยเช่นกัน ฮอร์โมนทั้งหมดนี้ออกจากรังไข่และไหลเวียนไปทั่วร่างกายของคุณผ่านทางกระแสเลือดนั่นเอง ฮอร์โมนไม่เพียงคอยรักษาให้ระบบสืบพันธุ์แข็งแรง แต่ยังส่งผลต่อการพัฒนากระดูก กล้ามเนื้อ และสมองด้วย ในรังไข่มีไข่มากน้อยแค่ไหน คุณเกิดมาพร้อมรังไข่ที่มีไข่ราว 1–2 ล้านใบ เมื่อย่างเข้าสู่วัยแตกเนื้อสาว ไข่จะค่อยๆ ลดจำนวนลงเหลือ 300,000 ใบ

Read More

โอกาสไทยที่เสียไป กับรัฐบาลใหม่ที่มาช้า

ความเปราะบางทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ดูจะเพิ่มระดับความน่ากังวลและเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจนแน่นอน โดยตลอด 2 สัปดาห์แห่งความคลุมเครือว่าด้วยผลการเลือกตั้งและวิธีการคิดคำนวณสัดส่วนสมาชิกแบบปาร์ตี้ลิสต์ที่แต่ละพรรคพึงมี ได้ฉุดให้ความพยายามในการจับขั้วทางการเมืองเพื่อเริ่มกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นไปได้อย่างยากลำบากยิ่งขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความเลื่อนไหลคลุมเครือ นอกจากจะนำพาให้เกิดความกังวลใจในหมู่ประชาชนคนไทยที่ได้ออกไปใช้สิทธิออกเสียงตามกระบวนการประชาธิปไตยที่ห่างหายไปนานกว่า 8 ปีแล้ว ในอีกด้านหนึ่งกำลังสร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่มุ่งหมายที่จะเห็นประเทศไทยกลับเข้าสู่หนทางการเมืองแบบประชาธิปไตยพร้อมกับรัฐบาลชุดใหม่ที่มีเสถียรภาพและได้รับการยอมรับจากทั้งประชาชนในประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติอีกครั้ง แต่ความคาดหวังเช่นที่ว่านี้ นอกจากจะยังไม่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาแล้ว สถานการณ์ในห้วงเวลานี้ ดูจะยิ่งผลักให้อยู่ไกลออกไปจากการจับต้องและรับรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งดูเหมือนว่าภายใต้กรอบเวลาที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ความชัดเจนว่าด้วยรัฐบาลชุดใหม่จากผลของการเลือกตั้งจะเกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลใหม่จะเกิดมีขึ้นได้เมื่อผ่านไตรมาสที่ 2 หรือเมื่อผ่านครึ่งปีไปแล้วเท่านั้น ความคลุมเครือในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น หากแต่ยังดำเนินไปท่ามกลางข้อเท็จจริงที่ว่าพรรคการเมืองที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในแต่ละขั้วการเมืองมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจส่งผลกับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และอาจนำไปสู่ปัญหาว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลในช่วงเวลาจากนี้ได้ไม่ยาก ประเด็นว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ได้รับการประเมินว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาออกกฎหมาย และผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม นอกจากจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คนแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มาตรการของรัฐบาลใหม่ที่อาจเป็นการสลับร่างจากผู้กุมอำนาจชุดเดิมจะดำเนินไปภายใต้มาตรการเฉพาะหน้าที่ได้เคยสัญญาไว้ในรูปของการแจกแถม แต่ไม่ได้เน้นเรื่องการปรับแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งในมิติของการลดความเหลื่อมล้ำ ลดการผูกขาด หรือแม้แต่การปฏิรูปภาษี ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวภายใต้กรอบที่ไม่ต่างจากเดิมที่ผ่านมา โดยที่สังคมด้านล่างได้รับอานิสงส์อย่างเบาบางเช่นเดิม ระยะเวลาที่ทอดยาวเนิ่นนานออกไปดังกล่าว ทำให้ความเป็นไปทางเศรษฐกิจของไทยดูจะต้องยอมรับสภาพชะงักงันไปตลอดทั้งปี 2562 โดยปริยาย และทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมใจกันปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ลงมา โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีในปีหมูจะมีอัตราการเติบโตเหลือเพียงร้อยละ 3.8 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในช่วงก่อนหน้านี้ การปรับลดประมาณการดังกล่าว เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้สถานการณ์ทางการเมืองจะยังมีความคลุมเครือในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล

Read More

แฟมิลี่มาร์ท จัดเต็มแคมเปญ “Summer Splash” สนุกรับสงกรานต์

แฟมิลี่มาร์ท จัดเต็มแคมเปญ “Summer Splash” ชวนแวะเติมความสุข สนุกรับสงกรานต์ ท้าแดดแรง พร้อมลิ้มรสเมนูดอกไม้ คลายร้อน สุดเอ็กซ์คลูชีฟ เย็นฉ่ำรับหน้าร้อน แฟมิลี่มาร์ท จัดซัมเมอร์แคมเปญ วันหยุดสุดสนุกยกขบวนแก๊งค์เพื่อนเติมพลังความสดชื่น ลิ้มรสสุดเอ็กซ์คลูซีฟของหลากหลายเมนู เสน่ห์อาหารจากดอกไม้ร่วมสร้างสีสันบรรยากาศช่วงเทศกาลให้คึกคัก ตอกย้ำอุณหภูมิความฮอตด้วยโปรฯ แรงท้าแดดร้อน พร้อมมอบประสบการณ์คุ้มค่าทุกช่วงเวลาตลอดซัมเมอร์นี้ วันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คาดว่าบรรยากาศการเล่นน้ำในหลายพื้นที่ยังคงคึกคัก และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่นิยมเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเดินทางไปพักผ่อนต่างจังหวัด เพื่อสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ตามไลฟ์สไตล์ตนเอง อีกทั้งการจัดกิจกรรมอีเว้นท์ ซัมเมอร์แคมเปญ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยสร้างบรรยากาศและกระตุ้นให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลนี้ นางสาวฤดี เอื้อจงประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด กล่าวว่า “เพื่อสร้างสีสันให้เทศกาลสงกรานต์ครึกครื้น ปีนี้เราจึงจัดแคมเปญสุดฮอต “Summer Splash” สาดสุขสนุกรับสงกรานต์ โดยเราเตรียมพร้อมทั้งกลุ่มสินค้าอาหารพร้อมทาน เครื่องดื่มเอ็กซ์คลูชีฟรสชาติใหม่ อีกทั้งความพร้อมของพนักงานสาขาที่คอยอำนวยความสะดวกตลอด 24 ชม. โดยเชื่อว่าสงกรานต์ปีนี้แฟมิลี่มาร์ทจะเป็นสถานีที่จะมอบมอบความสุข เติมพลังความสดชื่นให้กับลูกค้าก่อนเดินทางสู่จุดหมาย และสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของลูกค้าตลอดช่วงหน้าร้อนได้” นอกจากนี้ยังรวบรวมหลากหลายเมนูใหม่สุดเอ็กซ์คลูซีฟที่พร้อมสร้างความสนุกและความแปลกใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยอาหารจานเด็ดจากดอกไม้นานาชนิดที่รังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ทั้งเมนูคาว

Read More

EEC เนื้อหอม ญี่ปุ่น-จีน แห่ลงทุน

ในห้วงยามที่ไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการรอคอยรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งประชาชนที่คาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ภาคเอกชนที่หวังให้การขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปด้วยอัตราเร่งเดิมหรือดีกว่าปัจจุบัน และแน่นอนว่า ความคาดหวังกับรัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่เฉพาะคนไทยเท่านั้น เมื่อนักลงทุนและหอการค้าต่างชาติ ส่งสัญญาณให้ภาครัฐของไทยรับรู้ว่า ต้องการเห็นความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และที่สุดคือนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ที่สร้างให้เกิดความต่อเนื่องในการลงทุน ปัจจุบันไทยถูกจับตามองจากนักลงทุนในฐานะที่เป็นประเทศน่าลงทุน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เมื่อรัฐบาลปัจจุบันพยายามเร่งเครื่องเดินหน้าปลุกปั้นพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยให้เป็นหมุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แม้ว่าขณะนี้โครงการ EEC จะยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ทว่าการโรดโชว์ของภาครัฐ ที่ออกไปนำเสนอพื้นที่ EEC ให้ต่างชาติได้รับทราบข้อมูลความคืบหน้าและความเป็นไปของโครงการ โดยคาดหวังว่าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอีกหนึ่งแรงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทะยานไปข้างหน้าหลังจากที่หยุดนิ่งอยู่กับที่และเหมือนจะถอยหลังอยู่ในที และดูเหมือนว่าความพยายามในการผลักดันและโปรโมตโครงการ EEC จะสัมฤทธิผล เมื่อกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2561 ตัวเลขการลงทุนอันดับ 1 คือนักลงทุนจากญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 100,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 46 ของการลงทุนในพื้นที่ EEC ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจำนวน 334 โครงการ หรือร้อยละ 32 ของโครงการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุนในไทยได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม หรือไฮบริด เครื่องปรับอากาศ

Read More

โซลาร์เซลล์ครัวเรือน แสงสะท้อนความตื่นตัวของภาครัฐ

ในที่สุดนโยบายพลังงานทดแทนของรัฐบาลชุดปัจจุบันมีความชัดเจนขึ้น เมื่อกระทรวงพลังงานจัดทำกรอบนโยบายโครงการโซลาร์ภาคประชาชนเสร็จสิ้นเมื่อปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังออกข้อกำหนดกฎระเบียบเพื่อออกเป็นประกาศสำหรับการซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นภาคครัวเรือนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” นำร่อง 100 เมกะวัตต์แรกที่เจ้าของบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งเข้าร่วมโครงการ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะรับซื้อในส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบในราคาไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย ซึ่งมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจลงทะเบียนและรับข้อเสนอในเดือนพฤษภาคม 2562 การเปิดตัวโครงการของกระทรวงพลังงานน่าจะทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักและเห็นคุณค่าของพลังงานทางเลือกและดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาบ้านของตัวเองยิ้มออก เมื่อโครงการดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาครัฐต่อนโยบายพลังงานทดแทน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ท่าทีของกระทรวงพลังงานสร้างความไม่พอใจให้แก่นักลงทุนไม่น้อย เมื่อภาครัฐกลับลำให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วงเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2562-2565) โดยมีเหตุผลว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ซึ่งดูจะสวนทางกับความพยายามที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ความไม่พอใจของนักลงทุนที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากก่อนหน้านี้มีการออกนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ที่ภาครัฐเคยประกาศใช้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล นั่นทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาลงทุนกับโครงการพลังงานทางเลือก ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ แต่ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวและใช้คำว่า “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” เพื่อปลอบใจตัวเอง ทั้งนี้ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการโซลาร์ภาคประชาชนว่า

Read More