Home > 2017 > ธันวาคม (Page 2)

ความสุขอยู่ที่ไหน

Column: well-being เราทุกคนล้วนเคยผ่านประสบการณ์มองหาความสุข ณ ช่วงหนึ่งของชีวิตกันมาแล้ว และค้นพบจนได้ แต่ก็เพียงเพื่อรู้สึกว่าความสุขนั้นได้หลุดลอยไปอีกครั้ง นักเศรษฐศาสตร์ ริชาร์ด อีสเตอร์ลิน ได้พูดถึงวงจรของยุคใหม่ และค้นพบคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ในการศึกษาที่เขาเป็นผู้รับผิดชอบ นิตยสาร GoodHealth รายงานว่า อีสเตอร์ลินถามชาวอเมริกันถึงทรัพย์สินที่พวกเขาเคยครอบครอง และทรัพย์สินที่พวกเขารู้สึกว่ายังขาดอยู่ และอยากได้เพื่อให้สมความปรารถนาในการมีชีวิตที่ดีตามอุดมคติ เช่น บ้าน รถยนต์ เครื่องรับโทรทัศน์ การท่องเที่ยวต่างประเทศ การมีสระว่ายน้ำ การมีบ้านพักตากอากาศ เป็นต้น อีก 16 ปีต่อมา เขาถามคำถามเดียวกันนี้อีกครั้ง และพบคำตอบที่น่าสนใจ จากการที่คนหนุ่มสาวที่เขาสัมภาษณ์มีรายการทรัพย์สินในครอบครองโดยเฉลี่ย 1.7 รายการ และรู้สึกว่า หากได้ครอบครองทรัพย์สินเพิ่มอีก 4.4 รายการก็จะทำให้พวกเขามีความสุข แต่ในการสัมภาษณ์ครั้งที่ 2 พวกเขามีทรัพย์สินในครอบครองเพิ่มเป็น 3.1 รายการ และพวกเขาต้องการครอบครองเพิ่มอีก 5.6 รายการ จึงจะมีความสุข ซึ่งผลต่างของสิ่งที่อยากได้ยังมากกว่าทรัพย์สินที่พวกเขาครอบครองในปัจจุบันอยู่อีก 2 รายการอยู่ดี แดเนียล กิลเบิร์ต นักจิตวิทยาสังคมอธิบายว่า “ปัจจุบันความพยายามในการมีความเป็นอยู่ที่ดีของเราถูกครอบงำด้วยการขยายขอบเขตออกไปตามหลักตรรกะ

Read More

ปัจฉิมกาลของนิตยสาร กับบทบาทใหม่ของหอสมุด

พัฒนาการอันก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในยุคนี้ส่งผลให้เกิดกระแสเชี่ยวกรากของสื่อออนไลน์ ที่พัดพาเอาหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาให้เราได้เรียนรู้ ทำความรู้จัก เข้าใจ ขณะเดียวกันกระแสดังกล่าวทำให้บางสิ่งถูกพัดหายไปจากสังคม ภาพสะท้อนความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เห็นชัดคือ พฤติกรรมของผู้อ่านหน้าเดิมเปลี่ยนไป จากที่เคยเข้าร้านหนังสือเพื่อซื้อสิ่งพิมพ์ที่อุดมไปด้วยข่าวสาร หรือสาระอันเป็นประโยชน์ สู่การใช้ปลายนิ้วสัมผัสหน้าจออุปกรณ์สื่อสารเพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสารตามหน้าฟีดจากแอปพลิเคชันต่างๆ แทน สิ่งที่ตามมาคือ สื่อสิ่งพิมพ์หลายหัวถูกลดทอนความสำคัญลง กระทั่งหลายฉบับถูกกลืนหายไปในสังคมดิจิทัล ข่าวคราวของการเดินทางครั้งสุดท้ายของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิตยสาร ที่ข่าวการประกาศปิดตัวมีให้เห็นบ่อยครั้งจนเกือบกลายเป็นเรื่องชินตาไปแล้ว และปล่อยนิตยสารปัจฉิมฉบับไว้อำลาแผงหนังสืออย่างน่าเสียดาย การปิดตัวของบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร น่าจะมาจากปัญหาที่หลายบริษัทประสบพบเจอในห้วงยามนี้ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องของการขาดดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย ทั้งนี้นับตั้งแต่สื่อออนไลน์เริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย งบประมาณและเม็ดเงินโฆษณาของหลายบริษัทถูกจัดสรรใหม่ และให้ค่ากับสื่อออนไลน์มากขึ้น โดย ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI) เปิดเผยข้อมูลการวิเคราะห์ตัวเลขจากการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาตลอดปี 2017 โดยตัวเลขการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาในปี 2017 สามารถแบ่งตามประเภทสื่อต่างๆ ได้ดังนี้ 1. สื่อโทรทัศน์ 44,941 ล้านบาท 2. สื่อวิทยุ (เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ) 3,459 ล้านบาท 3. สื่อสิ่งพิมพ์ 7,738 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด 4. สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์

Read More

เยรูซาเลม: สันติภาพบนระเบิดเวลาลูกใหม่

การประกาศยอมรับและรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล โดย Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมื่อไม่นานมานี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเนื่องในวงการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางแล้ว กรณีดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นระเบิดเวลาครั้งใหม่ที่พร้อมรอการจุดชนวนและส่งผลสะเทือนในวงกว้างอย่างที่ไม่มีผู้ใดคาดการณ์ถึงผลที่จะติดตามมาได้ ท่วงทำนองของโดนัลด์ ทรัมป์ ในครั้งนี้ นับเป็นการปรับเปลี่ยนจุดยืนและแนวทางแห่งนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ในกรณีว่าด้วยสันติภาพในตะวันออกกลาง ที่ดูจะมีจุดศูนย์กลางแห่งความขัดแย้งอยู่ที่กรณีพิพาท อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ไปอย่างสิ้นเชิง หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง การประกาศรับรองสถานะของนครเยรูซาเลม เป็นการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ตามที่เคยประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงว่าจะย้ายสถานทูตสหรัฐฯ จากกรุงเทล อาวีฟ ไปยังนครเยรูซาเลม ซึ่งเป็นสิ่งที่อิสราเอลปรารถนามาเป็นเวลานาน ภายใต้เหตุผลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ระบุว่าเขากำลังจะนำพาให้เกิด “ข้อตกลงสุดท้าย” ของสันติภาพขึ้น แต่ดูเหมือนว่าท่าทีและการตอบสนองจากทั่วทุกสารทิศกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม และเต็มไปด้วยความรู้สึกกังวลไม่เห็นด้วยกับท่าทีล่าสุดของทรัมป์ในครั้งนี้ โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ถึงกับระบุว่าการที่ทรัมป์ยอมรับให้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล เป็นการทำลายกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีบริบทและปัจจัยทางการเมืองละเอียดอ่อนมากอยู่แล้ว ให้อยู่ในภาวะแหลมคมและสุ่มเสี่ยงยิ่งขึ้นไปอีก พร้อมกับระบุว่าสถานะของเยรูซาเลม ควรเป็นไปตาม “ฉันทามติ” ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ภายใต้กระบวนการเจรจาบนพื้นฐานของมติสหประชาชาติ มากกว่าการประกาศยอมรับฝ่ายเดียวดังที่สหรัฐอเมริกาดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ ปูตินยังเน้นย้ำด้วยว่าอิสราเอลและปาเลสไตน์ควรกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาโดยเร็วที่สุด เพื่อปรับความเข้าใจและคลี่คลายความขัดแย้งในทุกประเด็น ซึ่งรวมถึงสถานะของเยรูซาเลมด้วย มูลเหตุที่ทำให้การประกาศรับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล กลายเป็นประเด็นร้อนในทางการเมืองระหว่างประเทศ และกำลังส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลกในวงกว้าง ในด้านหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ที่นครศักดิ์สิทธิ์ในนาม เยรูซาเลม แห่งนี้ถือเป็นหัวใจแห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ดำเนินยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนาน ไม่เพียงเพราะเยรูซาเลมมีความสำคัญเกี่ยวข้องทางศาสนาและมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งสำหรับชาวยิว

Read More

ซีพี แตกแบรนด์พรึ่บ เจาะแฟรนไชส์แสนล้าน

คาดการณ์กันว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยล่าสุดมีเครือข่ายมากกว่า 90,000-100,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 850-900 บริษัท และปี 2560 มีมูลค่าเม็ดเงินสูงถึง 200,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ธุรกิจอาหารถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ยอดนิยมสูงสุด ซึ่งดูเหมือนว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ “ซีพี” ถือเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ที่มีเครือข่ายร้านอาหารมากที่สุด ไม่นับรวมเครือข่ายแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” อีกหลายพันแห่ง ทั้งนี้ หากเจาะเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเครือซีพีกำลังเร่งรุกขยายช่องทางอย่างหนัก เพื่อต่อยอดธุรกิจปลายน้ำนำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปสู่มือผู้บริโภคครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดยมี 2 แบรนด์หลัก คือ กลุ่มห้าดาวและเชสเตอร์ ในกลุ่มห้าดาวนั้น ซีพีเอฟประกาศนโยบายและแผนลุยตลาดแฟรนไชส์อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2560 เพราะถือเป็นธุรกิจแรกที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจผ่านโครงการ “เถ้าแก่เล็กธุรกิจห้าดาว” ตั้งแต่ปี 2543 ในรูปแบบแฟรนไชส์แบบ 100% ด้วยการร่วมทุนกับบริษัทในธุรกิจไมโครแฟรนไชส์ หรือธุรกิจเล็กที่เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่สูงมากนัก ประมาณ 15,000

Read More

ซีพีฟู้ดเวิลด์ บุกแหลก เปิดศึกบุฟเฟ่ต์ครบวงจร

“ซีพีเอฟ” ใช้เวลากว่า 4 ปี ปลุกปั้นธุรกิจศูนย์อาหาร “ซีพีฟู้ดเวิลด์” เพื่อเปิดช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสู่มือผู้บริโภค พร้อมๆ กับแตกไลน์เจาะ “ธุรกิจจัดเลี้ยง (Catering)” ทั้งรูปแบบการจัดเลี้ยงสไตล์บุฟเฟ่ต์ อาหารกล่อง มีลบ็อกซ์ สแน็กบ็อกซ์ และบริการอาหารเฉพาะกลุ่ม ซึ่งภาพรวมตลาดมีมูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 62,000 ล้านบาท และกำลังเติบโตต่อเนื่องชนิดก้าวกระโดดด้วย ที่สำคัญ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตั้งเป้าหมายสูงสุด ต้องการเป็น Food Organizer และ Food Service Provider ให้บริการด้านอาหารทุกรูปแบบ เจาะทุกตลาด และรองรับทุกความต้องการของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่การผลิตสินค้าและเปิดหน้าร้านค้าปลีก อมร อำไพรุ่งเรือง รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ซึ่งดูแลธุรกิจการให้บริการด้านอาหาร “ซีพี ฟู้ดเวิลด์” เปิดเผย “ผู้จัดการ 360” ว่า บริษัทต้องการชูความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจอาหารครบวงจร

Read More

ไฮเนเก้น ปักธงเซ็นทรัลเวิลด์ ทุ่ม Star Experience ขยายฐาน

“ไฮเนเก้น” ในฐานะผู้ผูกขาดกลุ่มเบียร์พรีเมียมเหมือนจะเจอศึกใหญ่อีกครั้ง แม้สงครามเบียร์มูลค่าเกือบ 170,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเซกเมนต์ตลาดพรีเมียมเพียง 5% ทิ้งห่างจากตลาดสแตนดาร์ดที่มีสัดส่วนสูงถึง 94% แต่กลุ่มเบียร์พรีเมียมมีอัตราเติบโตมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ขยับเพิ่มแค่ 5% และ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ “สิงห์-ช้าง” ต่างต้องทุ่มงบเปิดศึกห้ำหั่นแย่งชิงยอดขายอย่างรุนแรงทำให้มาร์จินหดตัวตามต้นทุนการแข่งขันที่พุ่งสูง จนหันมาเร่งปรับพอร์ตขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวเบียร์ “สโนวี่ ไวเซ่น บาย เอส สามสาม” และนำเข้าเบียร์พรีเมียมจากฝรั่งเศส “โครเนนเบิร์ก” ของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ หรือความพยายามปรับโฉมเบียร์ช้าง ทั้งบรรจุภัณฑ์สีเขียวและรสชาติอ่อนนุ่มของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ แน่นอนว่า ไฮเนเก้น ซึ่งกินส่วนแบ่งมากกว่า 80% มาอย่างยาวนานในตลาดเบียร์พรีเมียม จำเป็นต้องเร่งเปิดเกมรุกมากขึ้นในทุกรูปแบบ เพื่อรักษาเม็ดเงินและเร่งสร้างฐานลูกค้า โดยใช้ความได้เปรียบในแง่ความแข็งแกร่งของแบรนด์ ความแข็งแกร่งของฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและไลฟ์สไตล์เป็นเอกลักษณ์แตกต่างอย่างชัดเจน ภัททภาณี เอกะหิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้น ในกลุ่มบริษัททีเอพี ยอมรับว่า ตลาดเบียร์พรีเมียมมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนของผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแบรนด์ไฮเนเก้นพุ่งเป้าสร้างความโดดเด่นและแตกต่างเหนือคู่แข่ง โดยเฉพาะช่วงปลายปีนี้ ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่นและเทศกาลเฉลิมฉลอง บริษัทดึงเอากลยุทธ์ Seasonal Marketing หรือ

Read More

อนาคตของสื่อไทย หมดเวลาของนักวิชาชีพ??

ข่าวการปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์หลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการรุกคืบเข้ามาของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อถือครองหุ้นและลงทุนในธุรกิจสื่อได้ก่อให้เกิดคำถามถึงทิศทางของสื่อสารมวลชนไม่จำกัดเฉพาะในมิติของสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น หากแต่หมายรวมครอบคลุมไปสู่สื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างรอบด้านด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์หลายแห่งจำเป็นต้องยุติการพิมพ์ในด้านหลักมักดำเนินไปภายใต้คำอธิบายที่ยึดโยงกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่รายได้จากค่าโฆษณาที่ทยอยปรับตัวลงตามแนวโน้มดังกล่าว ขณะที่ต้นทุนการผลิตไม่ได้ปรับตัวลดลง มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น ความไม่สมดุลที่ว่านี้ได้กลายเป็นกับดักให้ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนไม่น้อยเริ่มขาดทุนสะสมและกลายเป็นภาระหนี้ ที่นำไปสู่การล่มสลายและปิดตัวลงไปในที่สุด กระนั้นก็ดี ประเด็นที่มีความแหลมคมยิ่งไปกว่านั้นก็คือการปรับเปลี่ยนประพฤติกรรมของผู้บริโภค และการมาถึงของสื่อดิจิทัล ออนไลน์ ที่ดูจะตอบสนองและสอดรับกับวิถีชีวิตของผู้คนร่วมสมัย ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบการหลายรายจะพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วยการปรับเนื้อหา รวมถึงช่องทางในการเข้าถึงไปสู่การนำเสนอในรูปแบบของ e-magazine e-contents อย่างขะมักเขม้น หากแต่พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เลื่อนไหลอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งมิติของเงินทุนและกรอบเวลาใหม่ของการนำเสนอ ขณะที่กลไกการแสวงหารายได้จากสื่อที่ว่านี้วิ่งตามไปไม่ทันและบ่อยครั้งดำเนินไปด้วยความเฉื่อยจากความคุ้นชินของทีมงานฝ่ายขายที่ยังจ่อมจมอยู่กับภาพความรุ่งเรืองในอดีตของธุรกิจสิ่งพิมพ์ ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่า มูลค่าเงินโฆษณาที่กระจายเข้าสู่สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะในกลุ่มนิตยสารมีอยู่ในระดับประมาณ 6 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งการปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่าหากสามารถรักษาตัวรอดต่อไปได้ก็ยังมีโอกาสในทางธุรกิจอยู่บ้างจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนหัวหนังสือที่จะมาแย่งชิงส่วนแบ่งเงินค่าโฆษณานี้มีลดลง แม้ว่าในอีกด้านหนึ่งเม็ดเงินโฆษณาในตลาดอาจลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงความพยายามของผู้ประกอบการสื่อหลายแห่ง ที่พยายามต่อยอดและมีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการพัฒนาของโทรทัศน์ดิจิทัล ด้วยหวังว่าเนื้อหาสาระและคลังข้อมูลที่มีอยู่จะสามารถนำไปปรับใช้ และเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อชนิดใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อรักษาสถานภาพของการเป็นสื่อควบคู่กับการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ กรณีดังกล่าวได้กลายเป็นทั้งความพยายามและความเสี่ยงที่ทำให้สภาพและสถานการณ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละแห่งดำเนินไปอย่างไร้ทางออกยิ่งขึ้นอีก ปรากฏการณ์แห่งการล่มสลายของผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของสังคมไทยแต่โดยลำพังหากแต่เป็นกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ Time Inc. บริษัทสื่อที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี และเป็นเจ้าของนิตยสาร Time และสื่อแบรนด์ดังในเครือทั้ง Sport Illustrated, People, Moneyและ Fortune ที่ประกาศปิดดีลขายกิจการให้กับ Meredith Corporation ยักษ์ใหญ่วงการสื่อของสหรัฐอเมริกาด้วยมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Read More

ครม. ใหม่ ส่งท้ายปีระกา บนความคาดหวังแห่งปีจอ

การปรับคณะรัฐมนตรีภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในนาม “ประยุทธ์ 5” แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรวมมากถึง 18 ตำแหน่ง หากแต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้สะท้อนภาพความแตกต่างในเชิงนโยบายหรือมาตรการในการนำพาประเทศไปสู่หนทางใหม่ และดูจะเป็นเพียงการปรับเพื่อผลัดเปลี่ยนบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเท่านั้น ขณะเดียวกันการปรับ ครม. ครั้งล่าสุดยังได้รับการประเมินว่าเป็นความพยายามของประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะกอบกู้ศรัทธาและความเชื่อมั่นของรัฐบาลที่กำลังทรุดตัวตกต่ำต่อเนื่อง รวมถึงความพยายามที่จะปูทางไปสู่การสานต่อเพื่อการดำรงอยู่ในอำนาจภายหลังการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2561 อีกด้วย คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่พยายามลดทอนจำนวนขุนทหารและเติมเต็มเข้ามาด้วยบุคลากรภาคพลเรือนและนักวิชาการ อาจช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดูดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า หากแต่ในความเป็นจริง กรณีดังกล่าวกลับสะท้อนภาพความล้มเหลวและปัญหาในการบริหารจัดการที่ดำเนินมากว่า 3 ปีของ คสช. ไปในคราวเดียวกัน กระนั้นก็ดี การฝากความหวังไว้กับทีมเศรษฐกิจที่มีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวเรือใหญ่ และยังดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามกรอบโครงนโยบายและความคิดเดิม ทำให้เกิดคำถามว่า ประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สังคมไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ ได้รับการประเมินบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างไร และจะดำเนินไปสู่หนไหน แม้ว่าการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดจะเป็นประจักษ์พยานว่าสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังคงมีบทบาทนำ และ คสช. สมัครใจที่จะเชื่อฝีมือของขุนพลทางเศรษฐกิจรายนี้อย่างมากก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล คสช. พยายามฉายภาพรวมตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกอบส่วนไปด้วยมูลค่าการส่งออกและรายได้จากการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นผลงานเชิดหน้าชูตารัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดกลับมีการปรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้พ้นจากตำแหน่ง คำถามที่ติดตามมาจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่ถูกปรับออกนี้ มีประเด็นว่าด้วยความฉ้อฉลไม่โปร่งใส หรือเป็นการยอมรับไปโดยปริยายของรัฐบาลว่า ตัวเลขและผลงานที่พยายามเอ่ยอ้างมาโดยตลอดนั้นเป็นเพียงการปรับขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวก็สดใสจากเทรนด์ของโลก ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสามารถในการบริหารจัดการของภาครัฐแต่อย่างใด ประเด็นที่น่าสนใจในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง อยู่ที่มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่รัฐบาลพยายามโหมประโคมและมอบสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

Read More

ปิดท้ายศักราช ตลาดยานยนต์กับจุดเปลี่ยนในอนาคต

บรรยากาศช่วงท้ายของปีที่เต็มไปด้วยงานเทศกาลแห่งความสุขสดชื่น อาจจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญถึงสถานการณ์โดยรวมของตลาดยานยนต์ ไตรมาสสุดท้ายเสมือนช่วงเวลาที่มากไปด้วยความคาดหวัง ทั้งในเรื่องของยอดจอง ยอดจำหน่าย เพราะตัวเลขดังกล่าวจะกลายเป็นเครื่องชี้วัดสภาพเศรษฐกิจไทยและความมั่นใจของผู้บริโภค โดยก่อนหน้านี้ที่ “นิด้าโพล” ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ออกมาเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนร้อยละ 1.76 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยดีขึ้นมาก ขณะที่ร้อยละ 24.96 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยค่อนข้างดีขึ้น ร้อยละ 19.36 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยดีขึ้น ร้อยละ 28.49 เห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้นเลย ร้อยละ 19.68 มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยแย่กว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.32 มีความเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเหมือนเดิมไม่แตกต่างจากปีที่แล้ว และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุ ตัวเลขที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้นเลยมีมากถึง 28.40 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขดังกล่าวน่าจะส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ด้วยเหตุนี้อาจจะทำให้ความคึกคักในช่วงสุดท้ายปลายปีของงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 อาจจะเงียบเหงากว่าที่ควรจะเป็น ด้านขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 ให้ความเห็นว่า “จากแนวโน้มเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวน่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมของยอดขายรถในช่วงไตรมาส

Read More