Home > 2014 > กุมภาพันธ์ (Page 2)

“24th July” กิจการเพื่อสังคมจากความรัก สู่โอกาสใหม่ของผู้ต้องขังหญิง

 ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในสังคมที่ดูเหมือนจะหาจุดลงตัวและบทสรุปแห่งปัญหาได้อย่างยากลำบาก ในอีกมุมหนึ่งของสังคมไทยยังปรากฏกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากความรักและกำลังส่งมอบโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ต้องขังหญิงให้สามารถกลับมามีชีวิตใหม่อย่างปกติสุขได้อีกครั้ง “นับเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งต่อผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน รวมไปถึงทางเรือนจำต่างๆ และผู้ต้องขังหญิงทุกท่านที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันเปิดร้านนี้ขึ้น เป็นโอกาสที่จะได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยผู้ต้องขังหญิง เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนผู้ต้องขังหญิง เป็นทุนต่อการคืนสู่สังคมเมื่อถึงวันปล่อยตัว การที่เราได้สนับสนุนร้านนี้นอกเหนือจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้ผู้ต้องขัง ยังเป็นการสนับสนุนกิจกรรมของเรือนจำซึ่งทำภารกิจในการปรับพฤติกรรมคนซึ่งเคยกระทำผิดให้คืนสู่สังคมอย่างเป็นคนดีแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีการให้อภัย ให้กำลังใจซึ่งกันและกันและให้โอกาส มอบความรักให้แก่ทุกท่าน” ข้อความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของโอวาทที่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงประทานให้กับผู้ร่วมงานเปิดร้าน  “24th JULY” ณ The Scenery Vintage Farm อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งย่อมสะท้อนแนวพระดำริและความคิดที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมนี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่ากรณียกิจของพระบรมวงศานุวงศ์แห่งสถาบันกษัตริย์ไทย จะดำเนินไปเพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับปวงประชาราษฎร์อยู่เนืองๆ และเนิ่นนาน แต่สำหรับกิจการเพื่อสังคม ในนาม  “24th JULY” ภายใต้มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กำลังเป็นประหนึ่งการเปิดมิติใหม่ให้กับกิจการเพื่อสังคม (social enterprise) ด้วยการผสมผสานแนวความคิดและการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจให้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น เพราะแม้ว่าผลิตภัณฑ์ภายในร้าน “24th JULY” จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือการผลิตของผู้ต้องขังหญิง ภายในเรือนจำทั่วประเทศ ที่ทางมูลนิธิได้ส่งเจ้าหน้าที่หรือวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเข้าไปฝึกอบรม และให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังหญิงในการทำงานฝีมือต่างๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญและสามารถรังสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างสวยงามขึ้นมาจำหน่ายได้ แต่จุดแตกต่างกลับอยู่ที่มิติของการออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสินค้าส่วนใหญ่ของ “24th JULY” จะเน้นไปที่การสร้างผลิตภัณฑ์แบบออร์แกนิกจากธรรมชาติ

Read More

พลังงานแสงอาทิตย์ โอกาสใหม่ของ “ชาร์ป”

 ความตื่นตัวว่าด้วยพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต่างเร่งระดมสรรพกำลังในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงาน และดูเหมือนว่าผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่จากปรากฏการณ์นี้ การปรากฏตัวขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา แม้จะดำเนินไปท่ามกลางข้อถกเถียงถึงความคุ้มค่าการลงทุนและความเหมาะสมของการเป็นพลังงานทางเลือก ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังสำหรับอนาคตในระดับมหภาค แต่สำหรับมิติมุมมองในทางธุรกิจแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังเป็นโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับการลงทุนที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ความเคลื่อนไหวเช่นว่านี้ประเมินได้จากการลงนามข้อตกลงสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย ระหว่างชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท เสริมสร้างพลังงาน จำกัดเพื่อร่วมก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ ในจังหวัดลพบุรี โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ มีกำลังการผลิต 52 เมกะวัตต์ โดยเริ่มก่อสร้างในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อให้แล้วเสร็จและดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2557 ซึ่งจะส่งผลให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดของชาร์ปในประเทศไทยมีปริมาณมากกว่า 150 เมกะวัตต์ สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ บริษัท เสริมสร้างพลังงาน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการได้มอบหมายให้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทผู้รับเหมา ก่อสร้างรายใหญ่ของประเทศไทย และบริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จํากัด ดูแลเรื่องงานก่อสร้างและการวางระบบไฟฟ้า  ขณะที่บริษัท ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น จะทำหน้าที่จัดหาแผงเซลล์แสงอาทิตย์และควบคุมทุกขั้นตอนการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และการให้บริการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ในฐานะที่เป็นเจ้าของและผู้พัฒนาเทคโนโลยี ชาร์ปเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางหรือ Thin-film solar module ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกแล้ว

Read More

Neuschwanstein Castle…Part II

คราวที่แล้วได้พาผู้อ่านนั่งรถไฟจากเมืองมิวนิกมุ่งหน้าลงใต้ เดินทางไปจนถึงเมือง Fussen เมืองเล็กๆ ของแคว้นบาวาเรีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนีกันแล้ว ตอนนี้เราจะไปยลโฉมปราสาทแสนสวยที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นแบบของปราสาทเทพนิยายของวอลท์ ดิสนีย์ และเป็นจุดหมายหลักของเราในครั้งนี้...ตามไปชมความงามของ “ปราสาทนอยชวานชไตน์” พร้อมกันเลยค่ะ จากที่พักในเมือง Fussen เราเดินย้อนกลับไปที่สถานีรถไฟของเมือง Fussen กันอีกครั้ง เพื่อขึ้นรถบัสไปชมปราสาทนอยชวานชไตน์ โดยไปรอขึ้นรถที่ป้ายหมายเลข 2 (Standplatz 2) และใช้บริการรถบัสสาย 73 หรือสาย 78 มาลงที่สถานี Hohenschwangau ใช้เวลาแค่ 15-20 นาทีเท่านั้น จากจุดที่ลงรถเดินต่อไปอีกประมาณ 100 เมตร จะพบกับสำนักงานจำหน่ายบัตรเข้าชมปราสาท เดินเข้าไปซื้อบัตรเข้าชมกันเลยค่ะ เพราะข้างบนปราสาทไม่มีจำหน่าย เราต้องซื้อให้เสร็จสรรพที่จุดจำหน่ายก่อนขึ้นไปชมปราสาท การเข้าชมปราสาทนอยชวานชไตน์จะมีไกด์นำชมเป็นรอบๆ มีทั้งรอบที่เป็นภาษาเยอรมันและภาษาอังกฤษ สามารถดูรอบเวลาการเข้าชมพร้อมภาษาที่ต้องการได้ที่บอร์ดในสำนักงานขาย ส่วนภาษาอื่นเขามี Audio Guide ไว้บริการแทน แต่ก่อนจะซื้อตั๋วควรเผื่อเวลาในการเดินทางเพื่อขึ้นไปชมปราสาทนอยชวานชไตน์ไว้สักหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพหรือละเลียดความงามของธรรมชาติ เพราะระหว่างทางที่จะขึ้นไปยังตัวปราสาทนั้นสวยงามดึงดูดให้เราแวะชื่นชมธรรมชาติสักนิด กดชัตเตอร์สักหน่อย จนอาจทำให้เลยเวลาที่จะเข้าชมปราสาทได้ง่ายๆ จัดการเรื่องบัตรเข้าชมปราสาทเรียบร้อยแล้ว เดินทางสู่ตัวปราสาทกันเลยค่ะ จากจุดจำหน่ายบัตรเราสามารถเดินทางขึ้นสู่ตัวปราสาทนอยชวานชไตน์ได้ 3

Read More

Media Revolutionist ธงนำ “RS” บนดิจิตอลทีวี

 ปี 2557 นับเป็นปีประวัติศาสตร์แห่งการปฏิวัติวงการโทรทัศน์ครั้งใหญ่ของเมืองไทย โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล ทำให้เกิดสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอลซึ่งเป็นฟรีทีวีช่องใหม่ เพิ่มขึ้นมาถึง 24 ช่อง แต่จะว่าไปแล้ว สมรภูมิดิจิตอลทีวีดูเหมือนจะเพิ่งเริ่มบรรเลงบทโหมโรงกันเมื่อต้นปีนี้เอง ขณะที่การเปิดฉากจริงของจอดิจิตอลทีวีทั้ง 24 ช่องจะ (ต้อง) เริ่มขึ้นภายในเดือนเมษายนนี้ แต่แค่เพียงเดือนแรก ก็มีผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมโทรทัศน์หลายรายที่มองว่า สมรภูมิดิจิตอลทีวีแห่งนี้อาจมีผู้รอดหลงเหลืออยู่เพียง 1 ใน 3 จากจำนวนเริ่มต้น  สำหรับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อายุ 32 ปีอย่าง “อาร์เอส” ไม่เพียงแค่ตั้งเป้าให้เข้าไปอยู่ในกลุ่ม “ผู้รอด” แต่บริษัทยังตั้งเป้าจะก้าวขึ้นไปเป็น “เบอร์ 3” ของวงการดิจิตอลทีวีภายใน 3 ปี โดยชูกลยุทธ “Media Revolutionist” หรือ “ผู้ปฏิวัติวงการสื่อ” เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่คือการเป็น “บริษัทมีเดีย”   ในงานแถลงทิศทางธุรกิจปี 2557 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า ปี 2557 สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อาร์เอส

Read More

“สยามฟิวเจอร์” รีโนเวตใหญ่ งัดมาสเตอร์แพลนสกัดคู่แข่ง

 “นพพร วิฑูรชาติ” สวมบทเสือซุ่มอยู่นาน 2 ปี ปล่อยให้คู่แข่ง ทั้งยักษ์ใหญ่ค้าปลีก บริษัทอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของที่ดินมือใหม่ เปิดเกมขยายแนวรบธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์อย่างดุเดือด ล่าสุด เจ้าพ่อไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ประกาศลั่นกลองรบรีโนเวตสาขาในเครือข่ายครั้งใหญ่ ปรับมาสเตอร์แพลนการดำเนินธุรกิจ เน้นการวางกลยุทธ์การตลาดที่เข้มข้นขึ้น เสริมแม็กเน็ตตัวเด็ดๆ และขยายสาขาใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพ โดยประเดิมปรับโฉมศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก ภายใต้แนวคิด The Best Art & Entertainment Complex 2014  แน่นอนว่า เหตุผลข้อสำคัญของการเลือก “เอสพลานาด” เป็นจุดยุทธศาสตร์แรกในสงครามคอมมูนิตี้มอลล์ ไม่ใช่เพียงแค่การเปิดให้บริการครบ 7 ปี  แต่ทำเลรัชดาภิเษกกลายเป็น “ไข่แดง” และเขตธุรกิจทำเลทองแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์รวมย่านธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทยักษ์ใหญ่ โครงการคอนโดมิเนียม คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ โรงแรมระดับ 5 ดาว สถานบันเทิง มีเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน และที่สำคัญการเปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 9 ที่ถือเป็นคู่แข่งหลักช่วงชิงลูกค้าตั้งแต่ต้นทางหัวมุมถนนรัชดาภิเษก ขณะที่ “เอสพลานาด” เจอผลพวงปัญหาธุรกิจฟิตเนส “แคลิฟอร์เนีย ว้าว”

Read More

สนามกอล์ฟ…ชุมชน

 ขออนุญาตย้อนหลังกลับมาพูดเรื่อง “กอล์ฟ” อีกสักครั้ง เพราะเวลาที่พูดถึงกีฬา “กอล์ฟ” ในสังคมไทย อาจทำให้หลายคนนึกถึงหรือติดภาพลักษณ์ว่ากีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาของผู้มีอันจะกิน มีปัจจัยของความมีราคาแพง และการพยายามยกสถานะทางสังคมประกอบอยู่ในการเล่นกีฬาชนิดนี้อยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ การสร้างสนามกอล์ฟส่วนใหญ่ในเมืองไทย ยังมีประเด็นเกี่ยวเนื่องถึงเรื่องความเป็นธรรม ในการกระจายทรัพยากร และข้อถกเถียงเกี่ยวกับทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยเช่นกัน  แม้ว่าในปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่หันมาเล่นกีฬากอล์ฟจะขยายตัว และกระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ภาพลักษณ์ของ “กอล์ฟ” กับการเป็นกีฬาที่จับต้องได้ หรือการเป็นวิถีของประชาชนทั่วไปในสังคมไทย นับว่ายังอยู่ค่อนข้างห่างไกลจากจุดดังกล่าว แต่สำหรับในญี่ปุ่นแล้ว กีฬากอล์ฟ ไม่ได้ให้ภาพที่พิเศษหรือสถานะทางสังคมที่แตกต่างจากกีฬาชนิดอื่นๆ ในญี่ปุ่นเลยนะคะ              ขณะที่การสร้างสนามกอล์ฟในหลายกรณี กลับยิ่งต้องเน้นความสำคัญของการออกแบบให้มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดอีกด้วย วิธีการจัดการแบบญี่ปุ่นนี่เอง ที่ถือเป็นกุญแจสำคัญ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่นำมากล่าวถึงไว้ในที่แห่งนี้ พื้นที่รอบอ่าวโตเกียว เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีที่ว่านี้ เพราะนอกจากพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์จากการถมขยะเพื่อขยายพื้นที่ให้กับเขตอุตสาหกรรมแล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งยังถูกกันไว้เป็นสวนสาธารณะ และสนามกอล์ฟอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องรับลมและคลื่นจากทะเล จากพื้นที่เสี่ยงภัยจึงแปลงสภาพมาเป็นแหล่งสันทนาการไปโดยปริยาย ซึ่งรวมถึงสนามกอล์ฟ ที่มีสถานะเป็นสนามกอล์ฟชุมชนไปด้วย ที่ผู้เขียนใช้คำว่าสนามกอล์ฟชุมชน ก็เพราะว่าสนามกอล์ฟในพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ บริหารจัดการโดยองค์กรบริหารระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจบริหารเองในรูปแบบสวัสดิการชุมชน หรือให้สัมปทานผู้ประกอบการในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ แต่เน้นว่าผลประโยชน์จะต้องกลับมาสู่ชุมชนเป็นหลัก สนามกอล์ฟชุมชนที่ว่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ตามแนวเส้นทางของคลองหรือทางน้ำสายย่อยๆ ซึ่งมีทำนบกั้นอย่างดี แต่ในบางช่วงของปีอาจมีน้ำหลากท่วมท้นพื้นที่ขึ้นมา

Read More

กันยงปรับกลยุทธ์ เพิ่มฐานผลิตในไทย มุ่งสู่ตลาด AEC

 ชายหนุ่มเชื้อสายจีน ชื่อ นายเฮี๊ยบ กิมเหลียง จากเกาะฟอร์โมซา (ไต้หวัน) เดินทางหนีความแร้นแค้นเข้ามาต่อสู้ในเมืองไทย ยุคเสื่อผืนหมอนใบ เริ่มนับหนึ่งจากการเป็นลูกจ้างในร้านซ่อมจักรยานเล็กๆ ใช้ทักษะในอาชีพ บวกกับความขยัน มัธยัสถ์ อดออม สะสมเงินทุนมาเปิดร้านขายยางรถยนต์ ยี่ห้อโยโกฮาม่า ซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น รู้จักกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก และชักนำเข้าสู่วงการธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า  เมื่อปี พ.ศ. 2507 สิทธิผล โพธิวรคุณ (เฮี๊ยบ กิมเหลียง) และเพื่อนๆ ได้ร่วมกับบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอร์เปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งบริษัท กันยงอีเลคทริก แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ขึ้น (ชื่อในขณะนั้น) ผลิตพัดลมไฟฟ้ายี่ห้อ “มิตซูบิชิ อีเล็คทริค” โดยมีโรงงานตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ บนพื้นที่เพียง 6 ไร่ ด้วยจำนวนพนักงานเพียง 50 คน ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งแรกในต่างประเทศ ที่บริษัท

Read More

ลิเบอราชี

 ช่อง 4 บางขุนพรหมเป็นโทรทัศน์ช่องแรกที่รู้จัก ต่อมาย้ายมาอยู่บางลำพู เปลี่ยนชื่อเป็นช่อง 9 แล้วจึงมาถึงยุค อสมท. เป็นยุคที่ได้ชมรายการดีๆ จากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการบันเทิงและเพลง จึงได้ชมรายการโชว์ของแพ็ตตี เพจ (Patti Page) ดอริส เดย์ (Doris Day) เอ็ดมุนโด รอส (Edmundo Ros) เจมส์ ลาสต์ (James Last) แอนดี้ วิลเลียมส์ (Andy Williams) ทอม โจนส์ (Tom Jones) เองเกลเบิร์ต ฮัมเพอร์ดิงค์ (Engelbert Humperdinck) ฯลฯ และรายการหนึ่งที่ชอบมากคือโชว์ของลิเบอราชี (Liberace) ชื่อลิเบอราชีให้ความรู้สึกว่าน่าจะมีเชื้อสายอิตาเลียน แล้วก็เป็นจริงตามนั้น ด้วยว่าพ่อของเขาเป็นชาวอิตาเลียนที่อพยพมายังสหรัฐอเมริกา ส่วนแม่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายโปแลนด์ แม่ชื่นชอบดารารูปหล่ออย่างรูดอลฟ์ วาเลนติโน (Rudolph Valentino) จึงตั้งชื่อกลางให้ลูกชายว่า

Read More

BGH ปรับกลยุทธ์สู้ศึกรอบด้าน ดัน “เทเลแคร์คลินิก” ฮุบรากหญ้า

เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ หรือกลุ่ม BGH ต้องปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ เพื่อสู้ศึกรอบด้าน ทั้ง “ศึกใน “จากการชุมนุมทางการเมืองของมวลมหาประชาชนภายใต้การนำของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ที่ยืดเยื้อยาวนานหลายเดือน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจ จำนวนลูกค้าทั้งคนไทย ต่างชาติ และ “ศึกนอก” ที่มีเครือข่ายโรงพยาบาลต่างชาติประกาศปักธงรุกขยายตลาดเข้าสู่อาเซียน รวมถึงแถบเอเชียแปซิฟิก  แม้ด้านหนึ่ง กลุ่ม BGH ต้องถอยหลายก้าว เลื่อนเป้าหมายการขยายเครือข่ายโรงพยาบาลครบ 50 แห่งทั่วประเทศไทยและอาเซียนภายในปี 2558 ออกไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งประกาศนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบมากขึ้นและเน้นการบริหารต้นทุน เพื่อรักษาอัตราผลกำไรให้สวยงาม  แต่อีกด้านหนึ่ง มรสุมและปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้ากลับสอดรับกับแนวทางใหม่ของกลุ่ม BGH  การพุ่งเป้าเจาะตลาดรากหญ้า โดยใช้โมเดลธุรกิจใหม่ สร้างและขยาย “คลินิกชุมชน” เป็นกลไกเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ทั้ง 5 แบรนด์  คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท และกลุ่มโรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลในเครือข่ายที่กลุ่ม BGH ซื้อกิจการและลงทุนสร้างให้เป็นโรงพยาบาลระดับกลางเจาะชุมชนใหม่ หรือหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด

Read More