Home > 2012 > มิถุนายน (Page 2)

“โออิชิ” ยึดตู้แช่ ข้ามสายพันธุ์ ข้ามตลาด

ประมาณกันว่าคนไทยทั้งประเทศ 60 ล้านคน เป็นลูกค้า "โออิชิ" มากกว่า 30 ล้านคน เป็นลูกค้าในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และเจาะเข้าถึงครอบครัว ประมาณกันว่าตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-Alcohol) มูลค่า 160,000 ล้านบาท ถ้าไม่นับตลาดหลักๆ อย่างน้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลังและโซดาแบ่งเป็นตลาดเครื่องดื่ม อัดลม 35,000 ล้านบาท เครื่องดื่มน้ำผลไม้เกือบ 10,000 ล้านบาท และเครื่องดื่มชาเขียวอีก 8,000 กว่าล้านบาท ทั้งสามกลุ่มคือเป้าหมายที่โออิชิกำลังเร่งส่งเครื่องดื่มข้ามสายพันธุ์จากฐานหลัก “ชาเขียว” เข้าสู่ตลาดที่มีเม็ดเงินเกือบ 60,000 ล้านบาท รออยู่และยังต้องการขยายสู่สินค้าไลน์ใหม่ๆ ที่วางจำหน่ายอยู่บนชั้นตู้แช่ทั้งหมด เป็นเป้าหมายของ “ไทยเบฟ” ตั้งแต่วันแรกที่ซื้อกิจการโออิชิกรุ๊ปเมื่อปี 2551 เพื่อรุกเข้าไปในตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ที่เปรียบเสมือนบลูโอเชี่ยนตัวใหม่ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” นอกจากการมีบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย การลดความเสี่ยงจากการปรับภาษีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ในฐานะผู้ผลิต เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่แค่เหล้าเบียร์

Read More

Umbrella campaign น้ำ = เบียร์

“Umbrella campaign” ยุทธศาสตร์ใหม่ของเครื่องดื่มแบรนด์ “ช้าง” มีเบียร์เป็นกลุ่มสินค้าหลักในตลาดรวมที่มีเงินสะพัดมากถึง 1 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดน้ำดื่มมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท และตลาดโซดาอีกกว่า 5,000 ล้านบาท ยุทธศาสตร์การทำตลาด 360 ํ ที่พลิกสถานการณ์ตามเงื่อนไขกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะการคุมเข้มกิจกรรมผ่านการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาและดนตรี ซึ่งกลายเป็นกลยุทธ์หลักทางการตลาดของสินค้าเหล่านี้ไปเสียแล้ว การทุ่มเงินถึง 500 ล้านบาท เซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ (Official Partnership) กับ 2 สโมสรฟุตบอลระดับโลก บาร์เซโลนาและเรอัล มาดริดระยะเวลา 3 ปี และงบทำการตลาด อีก 500 ล้านบาท ซึ่งไทยเบฟมีสิทธิ์นำทีม และโลโกของทั้งสองสโมสรมาใช้ในเชิงพาณิชย์กับผลิตภัณฑ์ของช้าง ต่อยอดจากทีมเอฟ เวอร์ตัน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีสัญญาผ่านมาแล้ว 7 ปีและต่อสัญญาอีก 2 ปี จึงเป็นความพยายามใช้สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งดึงดูดกลุ่มลูกค้าแบบอยู่หมัด ภายใต้

Read More

จากนักปรุงสูตรลับสู่ “Mixologist”

อาณาจักรธุรกิจอันใหญ่โตของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” มีจุดเริ่มจาก “สุราแม่โขง” เจริญเปลี่ยนจากคนขายของโชห่วยกลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจเหล้าขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เส้นทางเริ่มต้นตั้งแต่การจัดส่งสินค้าให้โรงงานสุราบางยี่ขัน ซึ่งทำให้ได้รู้จักกับจุล กาญจนลักษณ์ ผู้คิดค้นสูตรสุราแม่โขง และเถลิง เหล่าจินดา แห่งกลุ่มสุราทิพย์ จนสามารถยึดครองกลุ่มสุรามหาราษฎรของกลุ่มเตชะไพบูลย์ ชื่อบริษัท “ที.ซี.ซี.กรุ๊ป” แท้จริงมาจากชื่อภาษาอังกฤษของทั้งสามคน คือ เถลิง จุลและเจริญ ว่ากันว่า เจริญสามารถกวาดเหล้าคู่แข่งทุกยี่ห้อ ไม่ว่าแม่โขง หงส์ทอง กวางทอง และแสงโสม เข้ามาอยู่ในกำมือ แต่สูตรการปรุง “แม่โขง” ยังเป็นสูตรลับที่ไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ นอกจากจุล จนมาถึง “เดชพงศ์ กาญจนลักษณ์” ทายาทคนเดียวที่จบปริญญาโทวิศวกรรมจากสหรัฐอเมริกาและมารับช่วงต่อในการปรุงสูตรสุราให้ไทยเบฟเวอเรจ ความจริงแล้ว ประเสริฐ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้คิดค้นสูตรสุราแม่โขง ขณะที่จุลเป็นเพียงเภสัชกรที่ถูกขอยืมตัวมาจากกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อมาเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านผลิตสุราในตอนนั้น ปี 2489 ประเสริฐออกจากโรงงานสุราบางยี่ขันพร้อมทั้งสูตรแม่โขงด้วย จนกลายเป็นเหตุพิพาทกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งประเสริฐอ้างว่า สูตรแม่โขงเป็นของตัวเอง

Read More

เลียบเลาะ “บางยี่ขัน 2” House of Mekhong

ประตูโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 เปิดต้อนรับ ผู้จัดการ 360 ํ เพื่อเก็บเกี่ยวประวัติศาสตร์การผลิตเหล้าไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 70 ปี แม้ที่นี่ไม่ใช่โรงเหล้าแห่งแรกแต่ถือเป็นมรดกที่ตกทอดจาก “บางยี่ขัน” และปัจจุบันยังคงเป็นโรงงานผลิต “แม่โขง” ออกสู่ตลาดโลก ขณะที่ “แม่โขง” ขวดแรกผลิตที่โรงงานสุราบางยี่ขัน ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเขตบางกอกน้อย ในเวลานั้นมีเป้าประสงค์เพื่อทดแทนการนำเข้าวิสกี้และบรั่นดีในช่วงกระแสชาตินิยม ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ โรงงานสุราบางยี่ขันแห่งแรกเดินเครื่องจักรผลิตเหล้าตั้งแต่ครั้งเริ่มสร้างกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นถือเป็นสมบัติของนายอากร ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ผูกขาดผลิตสุราขาวหรือ “เหล้าโรง” ออกจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร การผลิตดำเนินเรื่อยมาจนถึงยุคที่ประเทศไทยเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส เกิดกรณีพิพาทกัน หลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์เพลงปลุกใจคนไทยให้รักชาติและกล้าเข้าสู่สมรภูมิ ชื่อว่า “ข้ามโขงไปสู่แคว้นแดนไทย” และ “โขงสองฝั่งเหมือนฝั่งเดียวกัน” กรมสรรพสามิตจึงตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีที่ผลิตขึ้นใหม่ในปี 2484 ว่า “แม่โขง” นับตั้งแต่นั้นมา โรงงานบางยี่ขันเปลี่ยนผ่านสังกัดจากกระทรวงการคลังมาขึ้นอยู่กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเข้าสู่ยุคที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนประมูลเช่าโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเมื่อปี 2503 ผู้เช่ารายแรกคือ บริษัท สุรามหาคุณ จำกัด โดยจ่ายอัตราค่าเช่าปีละ

Read More

แม่โขงรีเทิร์น

การประกาศนำสุรา “แม่โขง” กลับเข้ามาทำตลาดในปี 2555 ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจในการรีแบรนด์สุราไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 70 ปี หลังจากเจอเหล้านอกไหลทะลักเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดสุราสี จนยอดขายลดวูบและหยุดจำหน่ายไปนานเกือบ 5 ปี ในปี 2548 ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด เคยเปิดเกม “Re-positioning” ครั้งแรกโดยใช้ “ค็อกเทล” เป็นตัวนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของแม่โขง ไม่ใช่เหล้าของผู้ชายวัย 40-50 ปี รสชาติบาดคอ ต้องผสม น้ำหรือโซดา แต่เปลี่ยนรูปแบบการดื่มเพื่อ หาลูกค้ากลุ่มใหม่ตามช่องทางผับ บาร์และโรงแรมระดับห้าดาว เป็นการปรับตำแหน่งทางการตลาดขึ้นเทียบชั้นเหล้านอกแบรนด์หรูอย่างเรดเลเบิ้ลในตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ปี 2550 แม่โขงสลัดภาพเก่า เปิดตัว “Mekhong” โฉมใหม่อย่างเป็นทางการ เพื่อลุยตลาดโลก เริ่มจากตลาดยุโรปที่ประเทศอังกฤษและสวีเดน ปีต่อมาแม่โขงขยายตลาดเข้าสู่โซน อเมริกา พร้อมกับเปิดตัวเบียร์ช้างในต่างประเทศอย่างเป็นทางการที่นิวยอร์กและลอสแองเจลิส โดยวางตำแหน่งเหล้าแบรนด์ พรีเมียมจากเมืองไทยและใช้กลยุทธ์การผสมเครื่องดื่ม “ค็อกเทล” เป็นตัวสื่อสารหลัก มีการว่าจ้างบริษัท

Read More

สุขใจในบ้านศตวรรษที่ 16

ฉันยังจำความรู้สึกขณะมองลอดเข้าไปตามบานหน้าต่างทั้งที่ยังไม่ได้เข้าไปในตัวบ้านด้วยซ้ำว่า “บ้านนี้แหละ... ใช่เลย” Kay Hill เล่าเหตุการณ์ย้อนหลังเมื่อ 12 ปีก่อน เมื่อเธอกับ David สามีคู่ชีวิตได้เห็นกระท่อม Kent หลังนี้เป็นครั้งแรก ตอนนั้นครอบครัวของทั้งคู่มีบ้านอยู่ห่างออกไปเพียง 20 นาทีเท่านั้น แต่ก็ยังตัดสินใจย้ายบ้านเพื่อให้ลูกทั้งสองได้เรียน ที่โรงเรียนใกล้บ้าน “จริงๆ แล้วบ้านเดิมของเราก็ดีเยี่ยมสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว แต่เรามองในระยะยาวว่า การย้ายบ้านหมายถึงได้อยู่บ้านสไตล์คันทรีที่มีแต่เรื่องราวในประวัติศาสตร์และเต็มไปด้วยเอกลักษณ์” กระท่อมหลังนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานจริงเสียด้วย สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16 เริ่มแรกเป็นบ้านโล่งๆ ชั้นเดียว แต่ถูกต่อเติมในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาจนกลายเป็นบ้านสองชั้นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม กระท่อมโบราณนี้ยังมีโครงสร้าง ดั้งเดิมหลงเหลืออยู่มากมาย อาทิ คานไม้ที่โค้งงอตามธรรมชาติ เตาผิงที่มีม้านั่งข้างเตา หน้าต่างที่ใช้ไม้แบ่งหน้าต่างกระจกออกเป็นช่องๆ ตามอย่างโบสถ์ฝรั่ง และพื้นปูด้วยอิฐและแผ่นกระดาน ไม้โอ๊กขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาจากอายุของบ้านแล้วต้องถือว่าน่าทึ่งเป็นที่สุด ที่โครงสร้างยังแข็งแรง แทบไม่จำเป็นต้องบูรณะหรือซ่อมแซมอะไรเลย ดังที่ Kay ยืนยันว่า “ฉันมีสามีเป็นผู้อำนวยการบริษัทก่อสร้าง แน่นอนว่าเขาพร้อมที่จะลงมือบูรณะซ่อมแซมบ้านได้ตลอดเวลา แต่กับบ้านหลังนี้ เรากลับไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพียงเน้นงานตกแต่งตามแนวทาง ที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเท่านั้น”

Read More

เหล้ากับศาสนา

ระหว่างการประกอบพิธีมิสา ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า แมซ (messe) มีขึ้นตอน commu- nion อันมีขนมปังและไวน์เป็นสำคัญ บาทหลวงผู้ประกอบพิธี จะมอบขนมปังชิ้นเล็กให้คริสต์ศาสนิกชนผู้เคยผ่านพิธีรับศีลจุ่ม (bapteme) มาก่อน ส่วนไวน์นั้นให้แต่บาทหลวงรูปอื่นๆที่อยู่ในพิธีหรือผู้ใกล้ชิดทำงานให้โบสถ์เท่านั้น ดื่มแล้วต้องเช็ด ขอบแก้วไวน์ด้วย แล้วจึงส่งต่อ ขนมปังและไวน์นั้นมิใช่มาจากท้องตลาดทั่วไป เพราะจะมีแหล่งผลิตพิเศษ เป็นขนมปังกลมๆ แบนๆ ชิ้นเล็กที่บาทหลวงจะใส่ในปากหรือวางบนมือ ไวน์ที่ใช้ในพิธีมิสาเป็นเหล้าที่ทำจากองุ่นเท่านั้น โบสถ์ที่ตั้งในแถบที่มีการผลิตไวน์จะสั่งกับผู้ผลิตโดยตรง ผู้ผลิตบาง รายจัดส่งไวน์ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ถือเป็น การรับใช้ศาสนา พวกนักบวชชอบไวน์ที่มีรสอ่อน ออกหวาน และหากจะขายก็ราคา ถูกมาก Nicolas เป็นเชนขายเหล้าและไวน์ ที่มีอยู่ทั่วฝรั่งเศส ส่งเหล้าให้โบสถ์และวัดทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังมีขายตามร้านค้าของวัดต่างๆ ด้วย เหล้านั้นพันผูกกับนักบวชมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังเช่นเหล้าชาร์เทริซ (chartreuse) ซึ่งเป็นเหล้าหลังอาหารเพื่อช่วยย่อยก็เป็นเหล้าที่นักบวชสาย Chartreuse de Vauvert ได้รับสูตรมาจากนายพลเอสเทรส์ (Estrees) แล้วส่งต่อให้ la Grande Chartreuse

Read More

ตำนานวันสารทกับจังหวัดกำแพงเพชร

“สารท” คือเทศกาลงานบุญในวันสิ้นเดือน 10 งานบุญวันสารทของไทยปรากฏหลักฐานในหนังสือนางนพมาศว่ามีมาแต่สมัยสุโขทัย โดยศาสนาพราหมณ์เข้ามายังประเทศไทย คนไทยจึงได้รับประเพณีวันสารทมาด้วย เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีช่วงวันหยุดยาว เพื่อนสนิททำงานอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ชวนให้ไปเที่ยวที่นั่น เพราะเขาต้องคอยดูแลพื้นที่ที่รับผิดชอบให้มีความสงบเรียบร้อย เมื่อไปอยู่ในพื้นที่ทำให้ได้รู้ว่านอกจากความเจริญด้านสาธารณูปโภค ถนนหนทาง ไฟฟ้าสว่างไสว เหมาะเป็นเมืองท่องเที่ยวแล้ว อาหารการกินของฝากที่มีชื่อเสียงของที่นี่ยังมีอีกมากมาย อย่างไก่อบฟางโพธิ์พระยา ที่คนต่างถิ่นกล่าวขวัญ ยิ่งเมื่อได้เข้าไปในตลาดสดโดยเฉพาะในช่วงบ่ายแล้ว มีแผงร้านค้าทำน้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก ได้อร่อยปากทีเดียว มีโอกาสไปเดินเล่นที่ตลาดร้อยปีสามชุกเห็นมีร้านค้าขยายไปกว่าแต่ก่อนมากมาย จนข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งตรงข้าม มีสินค้าของกิน ของฝาก ของใช้ เลียนแบบโบราณเต็มไปหมด ริมแม่น้ำยังมีเรือเมล์แดงจอดไว้ให้ชม ซึ่งเมื่อก่อนวิ่งจากสุพรรณบุรีหรือจังหวัดแถบนั้นมาสู่ท่าเตียน ที่ปู่ย่าตายายจะกะเตงหิ้วชะลอมของฝากไปให้ลูกหลาน สิ่งคุ้นตาและยังจดจำได้คือตะกร้าเชี่ยนหมาก นั่งชั้นบนของเรือ นั่งๆ นอนๆ คุยกันไป ตำหมากกินกันไปจนกว่าจะถึงจุดหมาย ที่สะดุดตาคืออาหารการกิน นอกจากเป็ดพะโล้ ข้าวห่อใบบัว ปลาช่อน ปลาสลิดแดดเดียว ขนมหวานต่างๆ แล้วยังมีขนมกระยาสารท แม้จะไม่ใช่เทศกาลสารท ทำให้นึกถึงกล้วยไข่ของกำแพงเพชร ที่รับประทานกับกระยาสารททำให้อร่อยลิ้นขึ้นมาก นึกอยากไปเที่ยวขึ้นมาทันที จังหวัดกำแพงเพชรมีการจัดงานบุญซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียง

Read More

Dine in the Dark ลองตาบอดกันสักมื้อ

สำหรับคนตาดี ความมืดนั้นมักจะมืดกว่าที่เคยคาด แต่สำหรับคนตาบอด ความมืดนั้นหาได้มืดอย่างที่ใครคิด สำหรับคนตาดี ความมืดอาจทำให้รู้สึกกลัว แต่สำหรับคนตาบอด ความมืดนั้นมีความงาม ถ้าจะให้คนตาดีเข้าใจคนตาบอดอาจมีเพียงทางเดียวคือต้องลองให้พวกเขาตาบอดดูสักครั้ง “อยากบอกคนทั่วไปว่า คนตาบอด ก็คือคนคนหนึ่ง เรายังปกติดีอยู่ เราแค่มองไม่เห็น เราไม่ต้องการให้ปฏิบัติกับเราจนพิเศษมากเกินไป แค่ช่วยเติมเต็มในสิ่งที่เราขาดหาย แค่ช่วยเป็นตาแทนเราในบางเวลา ไม่ต้องมาทำเหมือนเราทำอะไรเองไม่ได้” ไกด์น้องกล่าว “น้อง” อายุ 32 ปี เธอเคยเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารแห่งหนึ่ง ก่อนจะมารับหน้าที่เป็นบริกรประจำร้านอาหารแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า Dine in the Dark ซึ่งเป็นร้านอาหารภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ “ดินเนอร์ในความมืดมิด” ที่เพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา Dine in the Dark หรือ DID เป็นร้านอาหารที่ขายคอนเซ็ปต์การทานอาหารภายใต้ “โลกมืด” ราว คนตาบอด และมีบริกรเป็นคนตาบอดคอยให้บริการ โดย มร.เบนจามิน บาสกิ้นส์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการประจำร้านนี้ อธิบายว่าคอนเซ็ปต์นี้ได้รับความนิยม มานานกว่า 10

Read More

“บ้านนพวงศ์” จับตำนานมาปั้นมูลค่า

“ความโบราณ” จะถูกลดคุณค่าเป็นเพียง “ความเก่า” ทันทีที่ไร้ซึ่งเรื่องราวเชื่อมร้อย “อดีต” กับวัตถุแห่งความทรงจำ แต่กลับมี “มูลค่า” ขึ้นทันที เมื่อทุกอย่างเชื่อมโยงกันเป็นตำนาน ถึงจะเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ก็ตามที ท่ามกลางความแออัดของรถราบนถนนราชดำเนินกลาง ถนนสายนี้ไม่ได้มีแต่ภาพอดีตความวุ่นวายทางการเมือง แต่ยังอบอวลไปด้วยอดีตทางสังคม ที่สวยงาม เพียงแค่หลบหนีความจอแจบนท้องถนนใหญ่เข้าไปในซอยดำเนินกลางใต้ จนไปหยุดยืนอยู่หน้าบ้านไม้สไตล์โคโลเนียลสีครีมหลังหนึ่ง กลิ่นอาย บ้านโบราณเบื้องหน้าบวกกับบรรยากาศเงียบสงบละแวกนั้น อาจทำให้หลายคนเผลอรู้สึกราวกับได้หลุดเข้ากระจกย้อนเข้าไปอยู่อีกภพ ณ ปัจจุบัน “บ้านนพวงศ์” เป็นโรงแรมบูติกสไตล์บ้านไทยโบราณ ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายนในปีที่ผ่านมา “นพวงศ์” เป็นชื่อราชสกุลซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หรือพระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 1 ในรัชกาลที่ 4 ประสูติกับเจ้าจอมมารดาน้อย ธิดาของพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับกรมหลวงบริจาภักดี ศรีสุดารักษ์) มีบุตรธิดารวม 21 คน หนึ่งในนั้นคือ หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ มีบุตรธิดาอีกมากมาย

Read More