Home > Vanida Toonpirom (Page 3)

สหฟาร์ม (เตรียม) come back ทวงบัลลังก์เบอร์ 1 ผู้ส่งออกไก่สด

หลังเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการมานานกว่า 7 ปี ในที่สุด “สหฟาร์ม” ผู้ผลิตและส่งออกไก่เนื้อรายใหญ่ ได้กลับคืนสู่ตระกูล “โชติเทวัญ” อีกครั้ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่ง “ยกเลิก” การฟื้นฟูกิจการตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งการกลับมาครั้งนี้นอกจากจะเป็นการกลับเข้ามาบริหารสหฟาร์มอีกครั้งของโชติเทวัญแล้ว ยังเป็นการกลับมาเพื่อทวงบัลลังก์ของผู้ส่งออกไก่สดของไทย ผ่านแผนธุรกิจและการลงทุนใหม่ๆ ในรอบ 7 ปีอีกด้วย ดร.ปัญญา โชติเทวัญ เริ่มก่อตั้งบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยเงินลงทุนเพียง 5,000 บาท จากการเลี้ยงไก่สัปดาห์ละ 500 ตัว โดยพื้นเพของเขาเป็นชาวอำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทาง สําเร็จการศึกษาวิชาเสนารักษ์ จากกรมการแพทย์ทหารเรือ เมื่อปี พ.ศ. 2494 ภายหลังจบการศึกษาเขาเข้ารับราชการตำแหน่งพยาบาลในกองทัพเรือถึง 11 ปี (ตั้งแต่ปี 2495-2506) จากนั้นรับราชการในตำแหน่งพนักงานสุขาภิบาลกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 12

Read More

น้ำผึ้ง-จารุวรรณ โชติเทวัญ ทายาทสหฟาร์มกับการพลิกฟื้นธุรกิจ

“ตั้งแต่เด็ก เวลาที่ใครๆ ถามว่าโตขึ้นมาอยากเป็นอะไร ทุกคนก็จะมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่น้ำผึ้งไม่เคยโดนคำถามแบบนั้นเลย แต่เราโตมากับคำพูดที่ว่า โตขึ้นมาน้ำผึ้งต้องมาทำงานช่วยสหฟาร์ม มันเลยเป็นจุดเริ่มต้นว่าเวลาที่เราเรียน เราต้องเลือกเรียนในสิ่งที่มันเกี่ยวข้องกับการทำงานของสหฟาร์ม เหมือนเราโตมาเพื่อสหฟาร์ม” น้ำผึ้ง-จารุวรรณ โชติเทวัญ ทายาทหมื่นล้านของสหฟาร์ม กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ในวันที่สหฟาร์มกลับคืนสู่ครอบครัว “โชติเทวัญ” อีกครั้ง หลังอยู่ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการมานานกว่า 7 ปี  จารุวรรณ โชติเทวัญ หรือ “น้ำผึ้ง” เป็นลูกสาวคนเดียวท่ามกลางพี่ชายและน้องชายทั้ง 4 คนของ ดร.ปัญญา โชติเทวัญ กับ ดร.มนูญศรี โชติเทวัญ เจ้าของธุรกิจหมื่นล้านแห่งสหฟาร์ม ที่ประกอบธุรกิจผู้ผลิตและส่งออกไก่รายใหญ่ของประเทศ และเจ้าของอาณาจักร “บ้านสุขาวดี” แลนด์มาร์กและแหล่งท่องเที่ยวสุดอลังการของ จ.ชลบุรี ที่สร้างบนเนื้อที่กว่า 80 ไร่ น้ำผึ้งใช้เวลาเกือบ 10 ปี ในการศึกษาที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงปริญญาโท โดยเริ่มที่ Trent College

Read More

“ขันเงิน เนื้อนวล” เราจะเป็นสปริงบอร์ดของธุรกิจบันเทิง

เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีข่าวใหญ่ในแวดวงธุรกิจและวงการบันเทิง เมื่อบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ Major แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า “ขันเงิน เนื้อนวล” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ขัน ไทยเทเนี่ยม” ศิลปินและผู้ก่อตั้ง ‘ไทยเทเนี่ยม’ วงดนตรีแนว Hip Hop ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จํากัด (มหาชน) (“MPIC”) ที่เมเจอร์ถือไว้ โดยขันเงินเข้าซื้อหุ้นเป็นจำนวน 1,202,130,480 หุ้น คิดเป็น 92.46% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด มูลค่าหุ้นละ 0.54 บาท และใช้เม็ดเงินถึง 650 ล้านบาท ส่งผลให้ขันเงินขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ในทันที หลังจากนั้นปลายเดือนกันยายนขันเงินออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง ด้วยการประกาศรีแบรนด์จากบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จํากัด (มหาชน)

Read More

ความสามารถในการแข่งขันของไทย ผ่านมุมมองของ “ธีรนันท์ ศรีหงส์” แห่ง TMA

เป็นประจำทุกปีที่สถาบัน IMD (International Institute for Management Development) แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จะออกมาเผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของโลก (World Competitiveness Ranking) ซึ่งผลการจัดอันดับประจำปี 2566 พบว่า เดนมาร์กยังคงได้รับการจัดอันดับเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในบรรดา 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 30 ปรับดีขึ้น 3 อันดับจากอันดับที่ 33 ในปีที่แล้ว โดยมีผลคะแนนสุทธิดีขึ้นจาก 68.67 มาอยู่ที่ 74.54 ในปีนี้ ในขณะที่สิงคโปร์ยืนหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ด้วยอันดับที่ 4 ตามมาด้วยมาเลเซียในอันดับที่ 27 ปรับขึ้นมา 5 อันดับ ส่วนอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 34 ปรับขึ้นมาถึง 10 อันดับจากอันดับที่ 44 ในปี 2565 และฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 52

Read More

สมรภูมิน้ำอัดลม 62,000 ล้าน กับการแก้เกมของ “เอส” จากไทยเบฟฯ

ตลาดน้ำอัดลมเมืองไทยมีมูลค่ารวมกว่า 62,000 ล้านบาท แบ่งเป็นน้ำดำ 75% และน้ำสี 25% มีผู้เล่นเบอร์ใหญ่ที่ครองตลาดอย่าง “โค้ก” ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 54% ในขณะที่ “เป๊ปซี่” ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 30% ตามมาด้วยแบรนด์สัญชาติไทยอย่าง “เอส” ในเครือไทยเบฟฯ ที่แม้จะตามมาห่างๆ แต่กำลังตีตื้นขึ้นมาทุกขณะ ท่ามกลางการขับเคี่ยวที่ดุเดือดของ 2 แบรนด์ใหญ่ เอส (est) เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2555 โดยมีบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ก่อนที่จะเข้าไปอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ อาณาจักรยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องดื่มในระยะต่อมา สำหรับ บมจ. เสริมสุข ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานอุตสาหกรรมน้ำอัดลมในประเทศไทยมากว่า 6 ทศวรรษ โดยเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มโคล่า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เป๊ปซี่” ในประเทศไทย จากเป๊ปซี่โค อินค์. สหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่ปี 2496 กระทั่งปี 2555 บริษัท เป๊ปซี่โค

Read More

อิน สาริน – ไท้ วสุวัส ปั้นแบรนด์ Holiday Pastry จากร้านขนมออนไลน์ สู่ Food Retail

หากเอ่ยชื่อ “อิน-สาริน รณเกียรติ” เชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่ไม่น้อย ในบทบาทการเป็นนักแสดงซีรีส์ชื่อดังหลายๆ เรื่อง ทั้งบท “ภูผา” ในซีรีส์ชุดลูกผู้ชาย หรือบท “พ่อเพิ่ม” ในละครเรื่องทองเอก หมอยา ท่าโฉลง รวมถึงผลงานสร้างชื่อในซีรีส์วายออริจินัลเรื่องแรกของช่อง 3HD อย่าง “คุณหมีปาฏิหาริย์” แต่นอกจากการเป็นนักแสดงแล้ว อีกหนึ่งบทบาทที่น่าจับตาไม่แพ้กัน คือการเป็นเจ้าของแบรนด์ Holiday Pastry ร้านขนมสุดฮิต ที่มีนักธุรกิจหนุ่มทายาทตระกูลดังอย่าง “ไท้-วสุวัส คูหาเปรมกิจ” เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และที่สำคัญเขากำลังต่อยอดสร้างการเติบโตให้กับ Holiday Pastry จากร้านขนมออนไลน์ สู่การเป็น Food Retail ที่รวบรวมความอร่อยจากทุกมุมโลกมาไว้ที่ไทย Holiday Pastry เปิดตัวครั้งแรกในฐานะร้านขนมออนไลน์ เมื่อปี 2563 ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยความแปลกใหม่และรสชาติของตัวขนม โดยมีพระเอกของร้านอย่าง “Premium Basque Burnt Cheesecake” ชีสเค้กหน้าไหม้สัญชาติสเปน, “Fountain Chocolate

Read More

Duck Donuts จากนอร์ทแคโรไลนา สู่สยามดิสคัฟเวอรี่

ตลาดโดนัทเมืองไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อ Duck Donuts โดนัทชื่อดังจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา บินตรงมาเปิดสาขาในไทย ปักหมุดสยามดิสคัฟเวอรี่เป็นสาขาแรก พร้อมชิงส่วนแบ่งตลาดมูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท และเป็นหนึ่งในตัวเลือกให้กับเหล่าคนรักโดนัท ตลาดโดนัทในเมืองไทยเป็นอีกหนึ่งตลาดขนมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งมูลค่าตลาดที่สูงถึง 3,500 ล้านบาท และผู้เล่นที่หลากหลายทั้งแบรนด์ใหญ่ที่มีหลายร้อยสาขาทั่วประเทศ ไปจนถึงแบรนด์เล็กๆ สไตล์โฮมเมด ปี 2521 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของตลาดโดนัทในไทย โดยมีสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ และสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ในนามบริษัท ไทยแฟรนไชซิ่ง จำกัด เป็นผู้บุกเบิก ด้วยการนำเข้าแบรนด์โดนัทชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาอย่าง “มิสเตอร์ โดนัท” (MISTER DONUT) เข้ามาเปิดในไทย โดยปักหมุดสยามสแควร์เป็นสาขาแรก กระทั่งปี 2546 มิสเตอร์ โดนัท จึงได้เข้าไปอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG มิสเตอร์ โดนัท ถือเป็นผู้นำในตลาดโดนัท ที่ครองส่วนแบ่งสูงกว่า 52%

Read More

เปิดบ้านยูนิลีเวอร์ ‘U-House 2.0’ บริษัทขวัญใจคนรุ่นใหม่

เดือนกันยายนที่ผ่านมา ยูนิลีเวอร์คว้ารางวัล HR Asia Best Companies to Work For in Asia Awards 2023 สุดยอดองค์กรดีเด่นที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2566 ที่จัดโดย HR Asia นิตยสารชั้นนำด้านทรัพยากรบุคคลของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้รับเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน นอกจากนั้น จากการสำรวจ 50 บริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดประจำปี 2566 ของ WorkVenture ที่ประกาศผลไปเมื่อต้นปี ยูนิลีเวอร์ยังติดอันดับที่ 13 จากบรรดา 50 บริษัทชั้นนำของไทยอีกด้วย และล่าสุดยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ยังทุ่มงบประมาณกว่า 30 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสำนักงานใหญ่บริเวณถนนพระราม 9 สู่การเป็น ‘U-House 2.0’ สำนักงานใหญ่โฉมใหม่ เพื่อรองรับการทำงานแบบ “Hybrid Working” รูปแบบการทำงานแห่งอนาคตที่กำลังเข้ามามีบทบาทในหลายๆ องค์กร ทำไมยูนิลีเวอร์ถึงเป็นองค์กรที่ครองใจคนรุ่นใหม่

Read More

ยูโอบีจับกลุ่มธุรกิจครอบครัว ส่งต่อแบบไม่สะดุด สร้างเครือข่ายระดับอาเซียน

ธุรกิจครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนไทยที่เป็นธุรกิจครอบครัวจำนวนถึง 451 บริษัท หรือคิดเป็นสัดส่วน 57% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด รวมกันประมาณ 8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 43% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมด โดยอายุเฉลี่ยของบรรดาบริษัทเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 34 ปี อีกทั้งยังเกิดการจ้างงานราวๆ 920,000 คน คิดเป็น 53% แม้ธุรกิจครอบครัวจะมีสัดส่วนเกินครึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกทั้งยังมีแต้มต่อในเรื่องความเป็นเจ้าของและรากฐานทางธุรกิจที่ถูกวางไว้อย่างแข็งแกร่งจากรุ่นแรก แต่ถึงกระนั้นการสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตต่อเนื่องและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ที่ผ่านมาธุรกิจครอบครัวจำนวนมากที่สามารถสร้างชื่อและเจริญรุ่งเรืองในยุคก่อตั้ง แต่กลับไม่สามารถส่งต่อธุรกิจสู่ทายาทรุ่นต่อไปได้อย่างราบรื่น หรือแม้กระทั่งต้องยุติการทำธุรกิจก็มีไม่น้อยเช่นกัน จนมีคำพูดที่หลายๆ คนคุ้นหูอย่าง “การสร้างธุรกิจเป็นเรื่องยากแล้ว แต่การรักษาธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตได้เป็นเรื่องที่ยากกว่า” โดยอัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ตามข้อมูลจาก The Family Firm Institute ระบุว่า รุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวอยู่ที่ 100%, รุ่นที่ 2 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว 30%, รุ่นที่ 3 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว

Read More

3 ทศวรรษ โรงพยาบาลบางมด ผู้บุกเบิกศัลยกรรมความงามของไทย

หากพูดถึงศัลยกรรมความงามแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ปัจจุบันการทำศัลยกรรมเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากคลินิกและโรงพยาบาลด้านความงามที่ผุดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เรื่องของศัลยกรรมความงามยังไม่เปิดกว้างนักและถือว่ายังเป็นช่วงแห่งการบุกเบิก ซึ่งหนึ่งในผู้บุกเบิกที่สำคัญและไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ “โรงพยาบาลบางมด” โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกบนถนนพระราม 2 ที่ไม่เพียงมีชื่อเสียงด้านการรักษาพยาบาล แต่ยังสร้างชื่อด้านศัลยกรรมความงามมาอย่างยาวนานถึง 3 ทศวรรษ โรงพยาบาลบางมดเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในย่านถนนพระราม 2 มีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นคลินิกขนาดเล็ก ก่อนที่จะขยายเป็นโพลีคลินิก จนคนไข้เพิ่มขึ้นจึงมีการขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 50 เตียงเมื่อปี 2526 กระทั่งก่อตั้งเป็นโรงพยาบาลบางมดขนาด 100 เตียงขึ้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2531 และเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2538 โรงพยาบาลบางมดจึงได้ขยายขนาดสู่โรงพยาบาลขนาด 400 เตียงในที่สุด สมัยแรกเริ่มโรงพยาบาลยังไม่มีแผนกศัลยกรรม แต่ในยุคนั้นถนนพระราม 2 เป็นถนนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีเคสที่ต้องทำศัลยกรรมอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการผ่าตัดใบหน้า แต่ในสมัยนั้นการทำศัลยกรรมส่วนใหญ่เป็นเพื่อการรักษา ส่วนศัลยกรรมความงามยังอยู่ในวงจำกัด ซึ่งนั่นเป็นการจุดประกายให้กับนายแพทย์สุรสิทธิ์ อัศดามงคล ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบางมด ให้ตัดสินใจบินไปศึกษาต่อเฉพาะทางเพิ่มเติมด้านศัลยกรรมที่สหรัฐอเมริกา เพื่อกลับมาเปิดศูนย์ศัลยกรรมความงามขึ้นที่โรงพยาบาลบางมดอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้คนไข้ที่รอรับการรักษาเป็นจำนวนมาก และนับว่า

Read More