Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 4)

ตลาดรถยนต์ EV ไทยแข่งสนุก AION บุกไทยชูคุณภาพเหนือกว่า

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยความร้อนแรงในการแข่งขัน แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและไทยจะยังคงอ่อนไหว อีกทั้งยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทว่า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากลับเต็มไปด้วยสีสันเมื่อมีหลายค่ายเริ่มเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่และประกาศสร้างฐานการผลิตในประเทศไทย ล่าสุด AION แบรนด์รถไฟฟ้า Top3 ประกาศเปิดเกมรุกในไทย ก่อนจะสยายปีกสู่ตลาดใหญ่ในอาเซียน โดย นายโอเชี่ยน หม่า (Ocean Ma) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลังกับอีก 7 พันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ชั้นนำจาก 4 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ Gold Integrate (ประเทศไทย), AIONIC (ประเทศไทย), V Group AI (ประเทศไทย), Harmony Auto (ประเทศไทย), 99 เมียนมา (เมียนมา), Harmony Auto (เวียดนาม), EV HUB PRE

Read More

ส่องทิศทางอสังหาฯ ไทย บวก-ลบ กับรัฐบาลสมานฉันท์

สถานการณ์การเมืองไทยที่กำลังจะมีข้อสรุป และมีการเผยโฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1 ซึ่งเป็นที่จับตามองของหลายฝ่าย ทั้งนักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรมต่างเฝ้ารอ ว่าใครจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเด็นนโยบายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางแนวทางการบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลใหม่ ว่าจะดำเนินไปอย่างไรในอนาคต อย่างไรก็ดี การควบตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ที่รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วยนั้น กำลังถูกพูดถึงความเหมาะสม แน่นอนว่าในแง่มุมการบริหารงานในฐานะนักธุรกิจที่บริหารงานกลุ่มแสนสิริมาก่อน คงไม่อาจปฏิเสธได้ถึงชื่อชั้นและความสามารถในการบริหาร ทว่า ในฐานะของผู้นำฝ่ายบริหารประเทศเป็นอีกเรื่องที่ต้องขบคิด แม้ว่าสถานการณ์การเมืองจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งน่าจะสร้างความพอใจไม่มากก็น้อย เพราะนั่นหมายถึง ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการขับเคลื่อนเครื่องจักรและฟันเฟืองเศรษฐกิจที่กำลังเริ่มประกอบส่วนเข้าด้วยกัน กระนั้นแม้ว่าสถานการณ์การเมืองอาจจะเป็นปัจจัยบวกในห้วงยามนี้ แต่ภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ การส่งออกที่ยังต้องอาศัยอานิสงส์จากประเทศคู่ค้าเป็นหลัก ภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดอกเบี้ยค่อยๆ ก้าวสู่ขาขึ้น และดูเหมือนมีเพียงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเท่านั้นที่ดูจะพึ่งพาได้ในเวลานี้ ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งหากรวมธุรกิจที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานแล้วจะมีมูลค่าตลาดคิดเป็นสัดส่วนกว่า 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ปี 2565 เนื่องจากมีการกระตุ้นให้มีการหมุนเวียนในระบบจำนวนมาก เกิดจากการจ้างงานและสร้างรายได้ ทั้งยังเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น เช่น การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งและสถาบันการเงิน ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยมุมมองต่อสถานการณ์ธุรกิจที่อยู่อาศัยในไตรมาส 2/2566

Read More

ก้าวสำคัญของ ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ สู่สะพานเชื่อมการลงทุนในนาม บริดจ์ แคปปิตอล

ปัจจุบันธุรกิจสินเชื่อมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงตามสภาพความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ในแง่มุมหนึ่งหากเศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวสูง แต่ภาคครัวเรือนขาดสภาพคล่องส่งผลให้มีความต้องการธุรกิจสินเชื่อมากขึ้น แต่ บริดจ์ แคปปิตอล ภายใต้การนำของ ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ เป็นการปล่อยสินเชื่อระยะสั้นและผลิตภัณฑ์ร่วมลงทุนในหนี้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Private Credit Business and Real-Estate Investment Participation Product) แห่งแรกในประเทศไทย การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยากของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม และในแง่ของนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่มีเงินเย็น เงินเก็บ แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนที่ไหน คือจุดเริ่มต้นของ บริดจ์ แคปปิตอล ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริดจ์ แคปปิตอล แมเนจเม้นท์ จำกัด “เราเล็งเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย ในขณะที่ธุรกิจกำลังเติบโต การขาดเงินทุนส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันทางธุรกิจ และอีกด้านคือ นักลงทุนคนไทยมีเงินเก็บเยอะ แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนในด้านไหน เราจึงเป็นทางเลือกให้นักลงทุน ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนน่าจูงใจ” ฐิติวัฒน์นำประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการเงินที่มีหลายสิบปี และการมองเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจนี้ เพื่อให้บริการปล่อยสินเชื่อภาคเอกชนแก่ผู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพในประเทศไทยเป็นหลักประกัน หลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาในการขอเงินกู้จากแหล่งสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม แม้ว่าจะมีอสังหาริมทรัพย์มาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และหลายครั้งผู้ประกอบการหันไปพึ่งพาการกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าทั่วไป เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง “ด้วยเหตุผลที่ว่ามา เราจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนที่ดี โดยบริดจ์

Read More

เนด้า หนุนการรถไฟลาว เอื้อเศรษฐกิจเวียงจันทน์ หนองคาย

หากเอ่ยถึงองค์การที่ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา JICA หรือ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เป็นหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น ที่คอยให้คำปรึกษาตลอดจนความช่วยเหลือด้านการพัฒนาประเทศอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น ขณะที่ไทยมีหน่วยงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency หรือ NEDA (เนด้า) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ด้วยบทบาทหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ทั้งด้านการเงินและวิชาการ โดยประเทศที่เนด้าให้ความช่วยเหลืออยู่ในกลุ่ม CLMV เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สปป.ลาว ซึ่งที่ผ่านมาเนด้าได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วกว่า 30 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท และอีกหนึ่งโครงการใน สปป.ลาว ที่เนด้าให้ความช่วยเหลือคือ การก่อสร้างสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ที่เริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ปี 2562 โดยใช้งบประมาณก่อสร้างรวม 994.68 ล้านบาท ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการส่งมอบเนื่องจากยังต้องรอการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของไทยแล้วเสร็จ ซึ่งการส่งมอบและพิธีเปิดน่าจะเกิดขึ้นในช่วงการประชุมความร่วมมือ “อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง” หรือ ACMECS ครั้งที่ 10

Read More

ECOM ยกระดับผู้ประกอบการ E-commerce ไทย พร้อมสู้ศึกนักลงทุนจากจีน

นับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในประเทศไทยคลี่คลาย ภาพรวมของตลาดชอปปิ้งออนไลน์ที่เคยมีมูลค่าลดลงในช่วงวิกฤต กลับมีทิศทางที่สดใสมากยิ่งขึ้น ปัจจัยหลักมาจากการเปิดประเทศ การเดินทางระหว่างประเทศ ภาคการผลิต ที่กลับสู่ภาวะปกติส่งผลเป็นแรงบวกสำคัญต่อตลาดนี้ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซ ของไทยว่า ปัจจุบันคนไทยมากกว่าครึ่งมีการซื้อหรือเคยซื้อสินค้า/บริการผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ใช้งานสูงขึ้นจาก 30.7 ล้านคนในปี 2562 มาอยู่ที่ 41.5 ล้านคนในปี 2566 แรงผลักดันหลักมาจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจาก eCommerce-Thailand ชี้ว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า/บริการผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่สูงขึ้นเกือบสามเท่าตัวจากปีละ 2,970 บาทต่อคนในปี 2562 ขึ้นมาอยู่ที่ 8,840 บาทต่อคนในปี 2566 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยในปี 2565 มีมูลค่ากว่า 6.2 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องปีละ 6% และอาจแตะที่ 6.34-6.94 แสนล้านบาท ในปี 2566-2567 อีกด้านของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยที่น่าสนใจคือ สินค้านำเข้าจากจีนเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคไทย เนื่องจากมีราคาถูก สินค้ามีความหลากหลาย

Read More

เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ-NIA ดึงสตาร์ทอัปไทยโชว์ของ ปลุกตลาดเทรนด์การแพทย์และสุขภาพ

ระบบการดูแลสุขภาพของไทยติดอันดับ Top5 ของโลก และมีค่าใช้จ่ายการทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำที่สุดใน 10 ประเทศ ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีการดูแลด้านสุขภาพที่ดี หรือมีความมั่นคงทางสุขภาพสะท้อนจาก Gloval Health Security (GHS) Index 2021 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ไทยอยู่ในอันดับ 5 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ในการรับมือวิกฤตโควิด ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทยธนชาติ คาดการณ์แนวโน้มรายได้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยเติบโตเทียบเท่าก่อนวิกฤตโควิด-19 ได้ในปีนี้ รายได้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในปี 2562 อยู่ที่ราว 2.47 หมื่นล้านบาท และลดลงมากกว่า 100% ในช่วงวิกฤตโควิด เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวได้อย่างดี แต่ตัวเร่งที่จะทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นคือการผสานเทคโนโลยี นวัตกรรมเข้ามาในอุตสาหกรรมการแพทย์ การดูแลสุขภาพในทุกมิติ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสุขภาพกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ startup ให้ความสนใจและสร้างแรงกระเพื่อมให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพมากขึ้น นั่นเพราะทิศทางการเติบโตของธุรกิจนี้ในไทยเริ่มเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เดฟนี โยว ผู้อำนวยการบริหารโครงการ กลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ในฐานะผู้จัดงาน Medical Fair Thailand

Read More

บันยัน หัวหินเนื้อหอม พลิกวิกฤตสร้างโอกาสดันยอดขายฉลุย

หัวหิน จัดว่าเป็นทำเลทองสำหรับการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พื้นที่นี้ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ความนิยมที่เกิดขึ้นเพราะการเดินทางที่สะดวก ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งสถานการณ์ก่อนโควิดมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาปีละเกือบ 4 ล้านคน ทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในพื้นที่หัวหินปีละหลายหมื่นล้านบาท เมื่อมีจำนวนนักเดินทางท่องเที่ยวเข้ามายังหัวหินเพิ่มขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการจะมุ่งพัฒนาพื้นที่หัวหิน โดยเฉพาะบริเวณริมหาด ซึ่งนั่นทำให้ที่ดินบริเวณดังกล่าวแทบหาไม่ได้แล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเบนเข็มไปยังแนววิวเขามากขึ้น แม้ว่าจะห่างไกลจากจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการท่องเที่ยว แต่การเดินทางที่สะดวก ทำให้โครงการที่อยู่ในหัวหินยังคงเป็นที่ต้องการ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดการณ์ว่า พื้นที่ชะอำ หัวหิน ปราณบุรี จะเป็นพื้นที่ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญรองจากชลบุรีและระยอง หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย พื้นที่ท่องเที่ยวเช่นหัวหิน จะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโซนหัวหิน ที่มีโครงการจัดสรรจำนวนมาก ทั้งอาคารชุดติดถนนเพชรเกษม วิลล่าโซนภูเขา รวมไปถึงโครงการจัดสรรทั้งที่พัฒนาเพื่อขายคนในพื้นที่ เช่น ทาวน์เฮาส์ชั้นเดียว ระดับ 1-2 ล้านบาท บ้านแฝดชั้นเดียวระดับราคา 1.6-2.3 ล้านบาท บ้านเดี่ยวชั้นเดียว ระดับราคา 2.3-3 ล้านบาทเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นราคาที่ไม่แพงเกินไปสำหรับ “มนุษย์เงินเดือน” นอกจากผู้ประกอบการไทยอย่าง บมจ.

Read More

กลุ่มสามารถดัน SAV ลุยวิทยุการบินกัมพูชา ไร้คู่แข่ง เหมาสัมปทานยาว 49 ปี

กัมพูชา อีกหนึ่งประเทศกำลังพัฒนาบนภูมิภาคอาเซียน ที่มีนักลงทุนจากจีนทั้งภาครัฐและเอกชนใส่เม็ดเงินลงไปเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม ท่าเรือ แต่โควิดที่ผ่านมาการปิดเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของจีนส่งผลโดยตรงต่อกัมพูชา ที่กำลังอยู่ในจังหวะเร่งของการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันในภาวการณ์ที่ทุกอย่างเริ่มคลี่คลายแล้ว ทว่า การกลับมาดำเนินกิจการภายใต้การบริหารงานของทุนจีนยังไม่สามารถกลับมาได้เท่าที่ควรบนแผ่นดินกัมพูชา ธนาคารโลก หรือ World Bank คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2566 ประมาณร้อยละ 5.2 เนื่องจากจีนกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง ในขณะที่ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะอาเซียนแข็งแกร่งกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ทั่วโลกยังคงลดลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น เพื่อตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลกัมพูชาได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2566 ว่าจะเติบโตร้อยละ 5.6 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.6 เนื่องจากความไม่แน่นอนของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตโควิด ด้านรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง มร. Vongsey Vissoth เปิดเผยว่า แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิดจะคลี่คลายลง แต่วิกฤตจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังไม่จบลง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงสร้างแรงกดดันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน ซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อรายใหญ่ของกัมพูชา ดังนั้น กัมพูชาอาจจะเผชิญกับความเสี่ยงเช่นกัน กัมพูชานอกจากจะเป็นผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแล้ว การท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่รัฐบาลกัมพูชาเร่งส่งเสริมและมีนโยบายเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมตัวนี้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ล่าสุด กัมพูชามีการลงทุนสร้างสนามบินนานาชาติใหม่ 3 แห่ง เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว นักเดินทางที่คาดว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น

Read More

เซ็นทรัล-โลตัส แข่งเดือด พลิกโฉมค้าปลีกเอาใจนักชอป

ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกปรับตัวดีขึ้นเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ที่มีแรงหนุนจากการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ การท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น รวมถึงผู้บริโภคระดับกลาง-บน ยังมีศักยภาพในการใช้จ่ายอยู่มาก ด้านการขายสินค้าออนไลน์ยังมีแรงบวก ยอดขายมีทิศทางที่ดี แม้ว่าผู้บริโภคบางส่วนจะมีปัจจัยจากค่าครองชีพรบกวนอยู่บ้าง ทว่า ศูนย์วิจัยและวิเคราะห์เศรษฐกิจหลายสถาบันยังมองบวกและคาดคะเนว่า ธุรกิจค้าปลีกยังคงเติบโตในอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรง หนี้ครัวเรือนภาคประชาชนทรงตัวในระดับสูง แต่ศูนย์วิจัยกรุงศรียังคาดการณ์ธุรกิจค้าปลีกในมิติที่แตกต่างกันของแต่ละประเภท ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า คาดว่าจะมียอดขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.0-5.0% จากเดิม 3.5% ปี 2565 ดิสเคานต์สโตร์/ไฮเปอร์มาร์เกต/ซูเปอร์เซ็นเตอร์ คาดว่ายอดขายจะเติบโตเฉลี่ย 3.0-4.0% เพิ่มขึ้นจาก 3.0% ปี 2565 ซูเปอร์มาร์เกต คาดว่ายอดขายแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง 6.0-7.0% เพิ่มขึ้นจาก 6.0% ปี 2565 และร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท คาดว่ายอดขายจะเติบโตเฉลี่ย 4.5-5.5% จาก 4.5% ปี 2565 การขยับของเซ็นทรัลท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี เพื่อเป้าหมายสำคัญคือ The Next Sustainable Growth ของเซ็นทรัล

Read More

ภาครัฐ-เอกชน พร้อมเดินหน้าอุตสาหกรรมยาไทย ความมั่นคงทางการยาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ในเรื่องการบริหารจัดการและรับมือต่อโรคอุบัติใหม่อย่าง โควิด-19  นอกจากนี้ เว็บไซต์ Numbeo ที่มีฐานข้อมูลด้านค่าครองชีพและระบบสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยังได้จัดอันดับเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีระบบสาธารณสุขโดยรวมที่ดีที่สุดในช่วงกลางปี 2022 ปรากฏว่าจังหวัดเชียงใหม่ได้อันดับ 1 ที่มีระบบสาธารณสุขดีที่สุด ในขณะที่กรุงเทพฯ และพัทยา ได้อันดับ 3 และ 4 ตามลำดับ ซึ่งดัชนีระบบสาธารณสุขนี้เป็นการประมาณคุณภาพโดยรวมของระบบการดูแลสุขภาพ บุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ แพทย์ ค่าใช้จ่าย และอื่นๆ อ้างอิงจากการสำรวจผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ขณะที่ภาครัฐมีเป้าหมายจะยกระดับให้ไทยก้าวสู่การเป็น Medical Hub ทว่า นอกจากการบริหารจัดการในระบบสาธารณสุขอาจยังไม่เพียงพอที่จะเอื้อให้ไทยก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายดังกล่าวได้ “อุตสาหกรรมยา” อาจเป็นอีกหนึ่งแรงขับที่สำคัญที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสนใจ จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกรุงศรีระบุว่า ปี 2565 มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศมีแนวโน้มเติบโต 4.5-5.0% จากปี 2564 ผลจากความต้องการบริโภคยาและเวชภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่กลับสู่ระดับใกล้เคียงปกติ หลังความกังวลต่อการระบาดของ โควิด-19 ผ่อนคลายลง ขณะที่กำลังซื้อมีแนวโน้มขยับดีขึ้นตามทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย การท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปี 2566-2568 มูลค่าจำหน่ายยาจะเติบโตมากขึ้น ประเด็นที่ท้าทายของธุรกิจยา คือ ไทยยังขาดศักยภาพในการผลิตยาที่จำเป็น

Read More