Home > Suporn Sae-tang (Page 8)

39 ปี แสนสิริ พลิก 1 ล้าน สู่แสนล้าน

28 กันยายน 2527 จุดเริ่มต้นของอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ “แสนสิริ” เมื่อกลุ่มจูตระกูลจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท แสนสราญ โฮลดิ้ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ปี 2531 หลังวางยุทธศาสตร์นานกว่า 4 ปี บริษัท แสนสำราญ บุกเข้าสู่ธุรกิจเรียลเอสเตท ปลุกปั้นโครงการแรก คือ “บ้านไข่มุก” คอนโดมิเนียมตากอากาศริมหาดหัวหิน มีมูลค่าต้นทุน 250 ล้านบาท และประสบความสำเร็จกลายเป็นผู้เล่นใหม่ในฐานะผู้พัฒนาโครงการในตลาดระดับสูง ภายใต้การบริหารของ 2 บิ๊กเนม คือ อภิชาติ จูตระกูล และเศรษฐา ทวีสิน คนแรกเป็นลูกชายคนที่ 2 ของชนาทิพย์ น้องสาวของบัญชา ล่ำซำ ที่แต่งงานกับโชติ จูตระกูล ส่วนคนหลัง คือ ลูกโทนของชดช้อย จูตระกูล ซึ่งแต่งงานกับอำนวย ทวีสิน ปี 2536 แสนสำราญ โฮลดิ้ง

Read More

ม้าเร็ว คนเร็ว จดหมาย ย้อนยุค 140 ปี ไปรษณีย์ไทย

การสื่อสารยุคสมัยใหม่ที่มีหลากหลายรูปแบบ การพูดคุยทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ การส่งข้อความผ่านไลน์ ผ่าน Messenger ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทวิตเตอร์ สไกป์ ทำให้การเขียนจดหมายกลายเป็นช่องทางที่ล่าช้า ยกเว้นในพื้นที่ห่างไกลที่สื่อสารสมัยใหม่ยังเข้าไปไม่ถึง หากย้อนรูปแบบการสื่อสารในประเทศไทยสมัยก่อน หลังการสร้างเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการค้า มีทั้งการส่งข่าวผ่านกลุ่มพ่อค้า ใช้ม้าเร็ว ตั้งคนเร็วไว้ตามเมืองสำคัญ กระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สนพระทัยการเขียนจดหมายโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ และทรงใช้การไปรษณีย์ติดต่อกับประมุข ติดต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปี 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช หัวหมื่นมหาดเล็กเวรสิทธิ์ ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายคำแนะนำให้เปิดบริการไปรษณีย์ในประเทศไทย ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบและทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงมีประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดส่งหนังสือพิมพ์รายวัน “ข่าวราชการ” ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์ วันที่ 4 สิงหาคม 2426 มีการประกาศเปิดรับฝากส่งจดหมายหรือหนังสือ เป็นการทดลองในเขตพระนครและธนบุรี มีที่ทำการ ณ ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองโอ่งอ่าง ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อและสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ เรียกว่า “ไปรษณียาคาร” ปี 2428 รัฐบาลได้ตรากฎหมายด้านการไปรษณีย์ฉบับแรก “พระราชบัญญัติการไปรษณีย์ไทย จุลศักราช 1248” เพื่อเป็นระเบียบข้อบังคับให้ประชาชนผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ วันที่

Read More

“ขนส่งพัสดุ” แสนล้าน ปณท ซุ่มเปิดศึกแฟรนไชส์

“ขนส่งพัสดุและไปรษณีย์” เป็นหนึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ยอดนิยมไม่แพ้ร้านสะดวกซื้อ จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและการขายของออนไลน์ รวมถึงแฟรนไชส์ร้านสารพัดบริการ One Stop Service มีตั้งแต่ไปรษณีย์เอกชน รับส่งพัสดุ จ่ายบิลออนไลน์ ค่าน้ำค่าไฟ บัตรเครดิต เติมเงินโอนเงิน ถ่ายรูปด่วน ถ่ายเอกสาร จองตั๋วเดินทาง ต่อภาษี ไปจนถึงทำประกัน แน่นอนว่า ไลฟ์สไตล์ของผู้คนเน้นความสะดวกสบาย ลดการเดินทาง ทำให้แฟรนไชส์ทั้งสองรูปแบบเกิดขึ้นมากมาย เอาเฉพาะที่ Thaifranchise center รวบรวมไว้ เช่น เมล์บ็อกซ์ วินเซ็นท์เซ็นเตอร์เซอร์วิส น้องฟ้าเซอร์วิส ควิกเซอร์วิส เก้าหน้าโพสเซอร์วิส กะปุกท็อปอัพ/สยามท็อปอัพ แอร์เพย์เคาน์เตอร์ เพย์พอยท์ เซอร์วิส ชิปป์สไมล์ เซอร์วิส ซุปเปอร์เอส มายเซฟ เดอะ เลตเตอร์โพสต์ เซอร์วิส ส่วนแฟรนไชส์ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุอย่างเดียว เช่น แฟลชเอ็กซ์เพรส, J&T Express, ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ, เบสท์ เอ็กซ์เพรส,

Read More

“ด้อมส้ม” แพร่กระจาย ปลุกตลาดโหนกระแส

ภาพกิจกรรมพบปะประชาชนของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล บริเวณลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย และเหล่า “ด้อมส้ม” เต็มพรึ่บ ดูเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว เพราะไม่ว่าพ่อทิมลุยไปที่ไหน แฟนคลับต้องมาเต็มพื้นที่ แต่สิ่งที่สร้างความประหลาดใจในวันนั้น คือ จอภาพ LED ด้านหน้าเซ็นทรัลเวิลด์เปลี่ยนเป็น “สีส้ม” !!! หลายฝ่ายตีความไปต่างๆ ไม่มีการยืนยันใดๆ เป็นการประกาศตัวเลือกข้าง แผนทุ่มงบซื้อสื่อโฆษณา หรือเป็นเพียงการเกาะกระแสสร้างสีสันเท่านั้น ซึ่งไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ภาพลักษณ์ของเซ็นทรัลเวิลด์ในวันนั้นสามารถซื้อใจเหล่าด้อมส้มไปได้มาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายของห้างเช่นกัน แน่นอนว่า ความร้อนแรงของกลุ่มด้อมส้มวันนี้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ เป็นปรากฏการณ์ชัดเจนตั้งแต่ช่วงหาเสียงและหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ซึ่งพรรคก้าวไกลกวาดคะแนนเสียงรวมมากกว่า 14 ล้านคน ได้ที่นั่ง ส.ส. เขต 112 คน ส.ส. บัญชีรายชื่อ 39 คน รวม 151 คน การเปิดปฏิบัติการเดินสายขอบคุณประชาชนในจังหวัดหลักๆ ทุกภูมิภาค บวกกับเกมรุกสร้างแนวร่วมผ่านสื่อต่างๆ ยิ่งตอกย้ำถึงฐานผู้คนขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้

Read More

“ไปรษณีย์ไทย” ล้างภาพเก่า ปลุก Logistics ยุคดิจิทัล

ประเมินกันว่า ธุรกิจขนส่งพัสดุในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่องถึง 18% มูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 1.15 แสนล้านบาท ตามการเติบโตของตลาด E-Commerce แต่สงครามการแข่งขันที่มีเอกชนหน้าใหม่กระโดดเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทุกปี ทำให้ “ไปรษณีย์ไทย” เจ้าตลาดนานกว่า 140 ปี ต้องพลิกกลยุทธ์อยู่นาน เพื่อผลักดันรายได้ทะลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ถ้าพลิกดูข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ยังคงมีรายได้ลดลง โดยปี 2563 มีรายได้ 23,824.48 ล้านบาท ปี 2564 ขยับลดลงมาอยู่ที่ 21,434.17 ล้านบาท และปี 2565 อยู่ที่ 19,714.27 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากสงครามราคาในธุรกิจขนส่งด่วนและการใช้เทคโนโลยีทดแทนของบริการสื่อสารดั้งเดิม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรณรงค์การลดใช้กระดาษทำให้ปริมาณงานในกลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ลดลงชัดเจน ขณะเดียวกัน เจาะเฉพาะปี 2565 แยกตาม 6 กลุ่มธุรกิจหลัก ยอดรายได้ตกลงกว่าปีก่อนหน้าเกือบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ เช่น

Read More

Harley-Davidson ตำนานความฝันของชาย 3 คน

รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ (Big Bike) แบรนด์แรกๆ ที่คนไทยรู้จัก คือ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน (Harley-Davidson) หรือเรียกกัน “ฮาร์เล่ย์” ของบริษัทผลิตรถจักรยานยนต์ในสหรัฐอเมริกา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มิลวอกี รัฐวิสคอนซิน ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน เกิดขึ้นจากความฝันของชาย 3 คน คือ วิลเลียม ฮาร์ลีย์ และสองพี่น้อง อาร์เธอร์ กับ วอลเตอร์ เดวิดสัน จนออกแบบและพัฒนารถมอเตอร์ไซค์สัญชาติอเมริกันได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1903 ที่เมืองมิลวอกี้ รัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการพลิกรูปแบบการใช้รถจักรยานเป็นจักรยาน+เครื่องยนต์ กลายมาเป็นจักรยานยนต์อย่างทุกวันนี้ ทั้งสามคนตั้งโรงงาน มีการขยายโรงงานและรุกตลาดอย่างต่อเนื่องยาวนาน เจาะกลุ่มลูกค้าเศรษฐีที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ หรูหรา และเครื่องยนต์แรงๆ ช่วงต้นปี 2566 ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน เพิ่งฉลองครบรอบปีที่ 120 โดยเปิดไลน์อัปรถมอเตอร์ไซค์ Harley-Davidson รุ่นปี 2023 รุ่น CVO™ Road Glide Limited Anniversary

Read More

เจาะไอเดียธุรกิจนักบิดสาว เสาวณีย์ กาญจนโอฬารศิริ  

“เราเป็นคนชอบความเร็ว ขับรถเร็ว แต่เพิ่งมาหัดขี่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์เมื่อเกือบสิบปีก่อนนี้เอง มีก๊วนแก๊งสี่ห้าคนคบกันมาตั้งแต่สมัย ม.1 ขี่ไปเที่ยวหลายจังหวัด จนวันหนึ่งขี่ไปเที่ยวเขาใหญ่ ประทับใจ ชอบอากาศ ภูเขา ถนนสวยๆ ตัดสินใจหาซื้อบ้านอยู่เลย” เสาวณีย์ กาญจนโอฬารศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Make A Whiz จำกัด กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการ Rango pool villa บ้านพักพูลวิลล่าบนเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งถือเป็นธุรกิจตัวแรกในชีวิตเมื่อ 3 ปีก่อน เธอเล่าว่า ตอนนั้นประทับใจเขาใหญ่มากและเริ่มหาที่ทาง ทั้งที่ไม่ใช่คนพื้นเพ เพื่ออยู่อาศัยและทำธุรกิจ โดยชิมลางทำฟาร์มก่อน แต่ลุยได้แค่ระยะหนึ่งเหมือนไม่ค่อยเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เพราะเป็นคนชอบกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวและชอบบ้านสไตล์ทัสคานี ซึ่งมีที่มาจากชื่อเมือง Tuscany เป็นสถาปัตยกรรมแบบชนบทสไตล์อิตาลี เน้นสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ เรียบง่าย สวยงาม แต่แฝงไว้ด้วยความอบอุ่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลักษณะเด่นตรงหลังคาเป็นทรงปั้นหยาค่อนข้างลาดหรือเป็นหลังคาเรียบ เสาวณีย์ลงทุนซื้อบ้านและตกแต่งตามสไตล์ทัสคานี วาดภาพให้เป็นบ้านบนภูเขา วางคอนเซ็ปต์ทะเลทรายเหมือนในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Rango เพราะชอบหนังการ์ตูนกิ้งก่าแรงโก้มาก เป็น Passion เอามาเป็นไอเดียจัดสวนและออกแบบบรรยากาศทะเลทราย มีต้นตะบองเพชรตามจุดต่างๆ “ในย่านแถวนั้นไม่มีใครตกแต่งบ้านเหมือนเรา

Read More

ครีเอทีฟบาร์ “นารีแดง” Passion และไอเดียที่ไม่มีวันหมด

เสาวณีย์ กาญจนโอฬารศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Make A Whiz หรือในวงการเรียกกัน “ครูปิ๋ม” อดีตผู้อยู่เบื้องหลังปลุกปั้นศิลปินนักร้องชื่อดัง วันนี้พลิกบทบาทสู่นักธุรกิจแบบเต็มตัว พร้อมเปิดโปรเจกต์ล่าสุด “นารีแดงบาร์” คาเฟ่ฉีกแนวแหวกตลาดแบบโดนๆ ชนิดที่ว่าเผยโฉมร้านเพียงไม่กี่เดือน ยอดขายพุ่งพรวดถึง 3 เท่า ครูปิ๋มกล่าวกับ “ผู้จัดการ360 องศา” ว่า นารีแดงบาร์เกิดขึ้นจาก Passion ความเป็นคนชอบเที่ยว ได้เห็นความหลากหลายของคาเฟ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีโอกาสแวะชิม แวะดื่ม เกิดความรู้สึกอยากทำคาเฟ่สไตล์บาร์ ให้คนมีประสบการณ์กับเครื่องดื่มแปลกใหม่ ดื่มง่าย ถ่ายรูปได้ อยู่ในสถานที่ท่องเที่ยว จนตัดสินใจจับมือสองหุ้นส่วนนักธุรกิจ คือ ประณิชา กัลยาณมิตร และธนินธร จันทรวรรณ (เชฟหนุ่ม) ลุยสาขาแรกในโครงการ House of Benedict Pattaya หาดจอมเทียน ซึ่งกำลังเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในเมืองพัทยาที่ฮอตมากๆ “นารีแดงบาร์มี Story ตั้งแต่ชื่อและบรรยากาศร้าน เราอยู่ใน

Read More

Good Noodle บุกเบิก ปลุกบะหมี่ดีไอวาย

อังกูร วงศ์กลธูต ใช้เวลากว่า 2 ปี ปลุกปั้นร้านอาหารแนวใหม่แบรนด์ Good Noodle Bkk โดยรวบรวมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากทั่วสารทิศ มากกว่า 300 รสชาติ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “มาแต่ละครั้ง จะได้ลองชิมรสชาติใหม่ๆ และเราได้เลือกให้คุณแล้ว” พร้อมไอเดีย DIY หรือ Do it yourself  ให้ลูกค้าสามารถเลือกทอปปิ้งสร้างสรรค์เมนูโดนใจด้วยตัวเองได้ อังกูรเล่าถึงจุดเริ่มต้นการสร้างอาณาจักรบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแห่งแรกในประเทศไทยมาจากความพยายามพลิกวิกฤตโควิด เพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจและอยากสร้างโมเดลร้านอาหารที่ไม่ธรรมดา ไม่ใช่แค่ร้านครัวซองต์ ร้านกาแฟ หรือคลาวด์คิทเช่น รวมทั้งเป็นจังหวะพอดีเพื่อนจากต่างประเทศส่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เขามองกระป๋องบะหมี่สำเร็จรูปถ้วยนั้นอยู่นานและเกิดจุดประกายไอเดียขึ้นมาทันที เขาเริ่มทำรีเสิร์ชตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติต่างๆ จากหลากหลายแบรนด์ ทั้งแบรนด์ในประเทศ แบรนด์เกิดใหม่ แบรนด์ไทยๆ ของกลุ่มเอสเอ็มอีที่รสชาติดีแต่ขาดเงินทุนทำตลาด แบรนด์โด่งดังในโซเชียล และแบรนด์จากต่างประเทศ ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น จีน อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน และเวียดนาม “เดิม ผมเป็นที่ปรึกษาแบรนด์มาก่อน เช่น คิวเฮาส์, 3 เคแบตเตอรี่,

Read More

ส.ขอนแก่น ยุคใหม่ ตลาดสแน็กฉีกแนวโตฉลุย

จุดกำเนิดของ ส.ขอนแก่น เริ่มจากนายเจริญ รุจิราโสภณ และภรรยา นิรมล เกิดไอเดียนำสินค้าอาหารแปรรูปจากหมู เช่น หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่นและมักเป็นของฝากยอดนิยมของหลายๆ คน มาขายในกรุงเทพฯ จนเป็นที่มาของชื่อ ส.ขอนแก่น หรือสินค้าของขอนแก่น ทั้งที่ไม่ได้เป็นคนพื้นถิ่นอีสาน ไม่มีพื้นเพอยู่เมืองขอนแก่น ปรากฏว่า “ขายดีมาก” เจริญเคยเล่าผ่านสื่อว่า ประสบการณ์สำคัญเกิดขึ้นหลังเรียนจบโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ เขาเริ่มทำงานรับจ้างบริษัทต่างๆ นานถึง 15 ปี เป็นเซลส์แมนขายเครื่องจักรอาหาร 3 ปี ทำงานบริษัทต่างประเทศด้านส่งออก 2 ปี และทำงานในบริษัทผู้ผลิตอาหารยักษ์ใหญ่อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ “ซีพี” ในยุคบุกเบิกนานถึง 10 ปี เวลานั้นเมื่อหลายสิบปีก่อน เขาถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปอาหาร อยู่เบื้องหลังการคิดค้นสูตรลูกชิ้นไก่และมีส่วนผลักดัน “ไก่ย่างห้าดาว” กระทั่งตัดสินใจออกมาทำกิจการของตัวเอง ยิ่งเห็นแนวโน้มความนิยมสินค้าอาหารพื้นเมืองขอนแก่น เขาจึงหันมาศึกษาการใช้เนื้อหมูเป็นวัตถุดิบแปรรูปอาหารชนิดต่างๆ เร่งสร้างแบรนด์ และลงทุนเปิดโรงงานผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ ส.ขอนแก่น ในปี 2531 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่ง ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์

Read More