Home > Suporn Sae-tang (Page 7)

Korean Wave แรงส์ เน็ตฟลิกซ์อัดคอนเทนต์ ยอดพุ่ง 6 เท่า

แม้สงครามสตรีมมิ่งแข่งขันด้านราคารุนแรง แต่ “คอนเทนต์” คือตัวชี้ขาดสำคัญ ไม่ว่า Netflix, Disney+, Amazon, HBO Go, viu, iQIYI และ Apple TV+ ซึ่งซีรีส์และภาพยนตร์เกาหลีเป็นหนึ่งจุดขายที่สามารถขยายฐานสมาชิกในตลาดบ้านเราตามกระแส Korean Wave หรือ Hallyu ที่โด่งดังทั่วโลกแถมยาวนานและเหนียวแน่น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริการายงานกำไรในไตรมาส 2 ปี 2566 สูงกว่าคาดการณ์ หลังใช้มาตรการห้ามแชร์รหัสบัญชีบริการสตรีมมิ่งโดยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 3.29 ดอลลาร์ และรายได้อยู่ที่ 8.19 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สำหรับจำนวนสมาชิกที่จ่ายค่าบริการสตรีมมิ่งทั่วโลก เพิ่มขึ้น 5.9 ล้านราย หรือประมาณ 8% และคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 3/2566 จะอยู่ที่ 8.5

Read More

ปิดฉาก “แฟมิลี่มาร์ท” ในไทย เซ็นทรัลลุย “ท็อปส์เดลี่”

ในที่สุด Family Mart ร้านสะดวกซื้อสัญชาติญี่ปุ่น ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา จะถอนแบรนด์ออกจากสมรภูมิร้านสะดวกซื้อเมืองไทย หลังตะลุยสู้ศึกช่วงชิงส่วนแบ่งกับเซเว่นอีเลฟเว่นมานานมากกว่า 30 ปี และสัญญาแฟรนไชส์กับบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC สิ้นสุดไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนร้านสาขาเดิมทั้งหมดจะทยอยพลิกโฉมเปลี่ยนชื่อเป็น Tops Daily ของกลุ่มเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล พร้อมๆ กับการปรับยุทธศาสตร์ใหม่ ปลุกปั้นมินิซูเปอร์มาร์เกตที่มีความเหนือชั้นมากกว่าเจ้าตลาดคอนวีเนียนสโตร์ สำหรับแฟมิลี่มาร์ทเป็นกิจการร้านค้าประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซันกรุ๊ป เจ้าของกิจการห้างสรรพสินค้าเซบุและร้านซูเปอร์สโตร์เซยู เปิดสาขาแรกเมื่อปี 2518 และบุกเข้าสู่ตลาดประเทศไทย โดยบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซัน กรุ๊ป บริษัท อิโตชู ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) จับมือเซ็นสัญญาซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการค้าปลีก

Read More

สาวกโอปป้า กำลังซื้อสูง ค้าปลีกขยายฐานแห่เจาะ

กระแส Korean Wave ที่ร้อนแรงกลายเป็นอีกช่องทางขยายฐานลูกค้าของห้างค้าปลีก เพราะเหล่าสาวกส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ มีไลฟ์สไตล์ กำลังซื้อสูง และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ทั้งเหล่าแฟนคลับคนไทย รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวเกาหลีที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ล่าสุด องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี (อสท. เกาหลี) ประจำประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของการท่องเที่ยวเกาหลี โดยปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเที่ยวประเทศเกาหลีราว 570,000 คน ขณะเดียวกันมีนักท่องเที่ยวเกาหลีเดินทางมาประเทศไทยมากกว่า 1.89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มาเยือนประเทศไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ดังนั้น เมื่อการแพร่ระบาดผ่อนคลายและมีการเปิดประเทศ โดยเฉพาะปี 2565 ถือเป็นปีแห่งการฟื้นฟูตลาดการท่องเที่ยวขนานใหญ่ โดยเกาหลีไฟเขียวให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 มีการจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ ภายใต้แคมเปญ Travel to Korea, Begins Again และจับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศความร่วมมือระดับทวิภาคี กำหนดให้ปี 2566-2567 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวระหว่างเกาหลีและไทย (2023-2024

Read More

ฟื้นตำนานพม่ากุลาร้องไห้ 30 ปี พลิกท้องทุ่งหอมมะลิ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดวิกฤตอาหารทั่วโลก องค์การสหประชาชาติจึงริเริ่มโครงการปฏิวัติเขียว ซึ่งประเทศไทยถือเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ คนไทยทำไร่นามาอย่างยาวนาน ปี 2493 รัฐบาลอเมริกาส่งผู้เชี่ยวชาญ 2 คนมายังประเทศไทย เพื่อช่วยปรับปรุงพันธุ์ข้าว มีการส่งพนักงานข้าว 30 คนที่เข้าอบรมแยกย้ายไปเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวพันธุ์ดีจากทั่วประเทศ ศึกษาทดลองและคัดเลือกพันธุ์ เมื่อการคัดพันธุ์และปลูกทดลองข้าวหอมมะลิเป็นผลสำเร็จ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์จึงประกาศให้ใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ที่ 105 ขยายพันธุ์ได้ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2502 ใช้ชื่อว่า “ขาวดอกมะลิ 4-2-105”  ซึ่ง 4 หมายถึงอำเภอที่ 4 คือ อำเภอบางคล้า 2 หมายถึงพันธุ์ข้าวที่ 2 และ 105 คือ รวงข้าวที่เลือกพันธุ์ออกมา แต่มักเรียกกันว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปี 2502 กรมการข้าวเริ่มโครงการทำนาสาธิตแปลงใหญ่นับร้อยไร่รอบๆ ทุ่งกุลา ซึ่งขณะนั้นเป็นทุ่งร้างกว้างใหญ่ ครอบคลุมเขตรอยต่อ 5 จังหวัด คือ สุรินทร์

Read More

ไร่ปิดทองหลังพระ ชวนหนีกรุงมาเป็นเกษตรกร

“ใช้ชีวิตในเมืองสิบกว่าปี ร่างกายเริ่มไม่ไหว ครั้งแรกเจอเนื้องอกในไตแบบไม่รู้สาเหตุ อาจเกิดจากการเป็นออฟฟิศซินโดรมและกินยาเยอะ ทำร้ายไต แต่เป็นเพียงก้อนเนื้อ พอช่วงโควิดเจออีกก้อนบริเวณปีกมดลูกข้างซ้าย ครั้งนี้เป็นมะเร็งระยะ 2 ต้องตัดมดลูกและรังไข่ รู้เลยว่าต้องกลับบ้าน กลับไปหาธรรมชาติ บำบัดทั้งร่างกายและจิตใจ...” นุชจรินทร์ เฉลิมบุญ เล่าถึงการตัดสินใจหนีกรุงมาเป็นเกษตรกรเมื่อปี 2559 เอ่ยปากขอที่นากว่าสิบไร่จากพ่อแม่สร้างศูนย์เรียนรู้วนเกษตร “ไร่ปิดทองหลังพระ ก้าวหน้ายั่งยืน (เฉลิมบุญ)” ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตั้งเป้าหมายระยะยาวเปิดจุดแคมปิ้งธรรมชาติบำบัดให้คนเมืองได้สูดอากาศบริสุทธิ์ กินอาหารอินทรีย์ ปลูกผักสวนครัว ปั่นจักรยาน และทำกิจกรรมในบรรยากาศธรรมชาติสุดๆ เธอเล่าว่า พ่อแม่เป็นลูกชาวนาสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ มีที่ดินนับร้อยไร่เป็นโฉนดที่ดินที่ออกในสมัยในหลวงรัชกาลที่ 5 แต่ครอบครัวแบ่งขายไปเรื่อย เหลือที่นาส่วนหนึ่งของพ่อ ซึ่งเป็นกำนัน ต.บ้านใหม่ อ.มหาราช และพี่น้องบางคน จริงๆ เธอไม่เคยคิดอยากเป็นเกษตรกร พ่อแม่รู้สึกเช่นกันไม่อยากให้ลูกๆ 3 คน เป็นชาวนา เพราะลำบาก ต้องปากกัดตีนถีบ รายได้ไม่พอ ปีหนึ่งทำนาได้ครั้งเดียว 3 เดือน เนื่องจากที่ไม่อุ้มน้ำ น้ำไม่ถึง ต้องรอเก็บเกี่ยวผลผลิตและปล่อยร้างอีก

Read More

ส่งออกข้าวพุ่งทะยาน สวนทางชีวิตชาวนาจนที่สุด

ขณะที่เถ้าแก่โรงสีและผู้ส่งออกกำลังตื่นเต้นกับราคาข้าวพุ่งทะยานต่อเนื่องรับตลาดส่งออกขยายตัว ผลพวงสถานการณ์ภัยแล้ง พิษปรากฏการณ์เอลนีโญและการประกาศมาตรการห้ามการส่งออกข้าวขาวของอินเดีย แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาชีวิตชาวนายังเรื้อรัง หนี้เพิ่ม และยากจนที่สุดเมื่อเปรียบเทียบประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินเดีย เวียดนาม และเมียนมา ทั้งนี้ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ราคารับซื้อข้าวในประเทศไทย ทั้งข้าวเปลือกและข้าวขาวปรับสูงขึ้นทุกชนิด โดยราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้า กข.89 และข้าวหอมปทุม ความชื้น 15% เดิมอยู่ที่ 8,000-8,500 บาทต่อตัน ปรับขึ้นเป็น 12,000 บาทต่อตัน ข้าวปทุมธานี 1 จากเดิม 6,000-6,500 บาท/ตัน ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 9,800 บาทต่อตัน ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่า การส่งออกข้าวไทยยังขยายตัวทั้งปริมาณและมูลค่า โดยส่งออกข้าวได้ทั้งสิ้น 4.04 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 75,526.2 ล้านบาท (2,223.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 14.9% และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น

Read More

กาแฟพันธุ์ไทย หรอยแรง ชู Story เมนูภูมิปัญญาไทย

กาแฟพันธุ์ไทยยังเร่งเปิดเกมสร้างการรับรู้กับกลุ่มลูกค้า งัดเครื่องดื่มที่ใช้วัตถุดิบ “ภูมิปัญญาไทย” ตั้งแต่เมล็ดกาแฟอาราบิก้า 100% จากแหล่งเพาะปลูกในอำเภอดอยสะเก็ด เมืองเชียงใหม่ ไปจนถึงเครื่องดื่มร้อนๆ เย็นๆ ที่ใช้ผลผลิตเกษตรหากินยากในประเทศไทย ปีที่ผ่านมา พันธุ์ไทยออกเมนูตามยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำตาลโตนดจากสงขลา ครีเอตเป็นกาแฟโตนด ชาไทยโตนด และนมสดโตนด การนำส้มมะปี๊ด ผลไม้ประจำท้องถิ่นของจันทบุรี มาทำเมนู จี๊ดกาแฟ และ จี๊ดชาไทย ซึ่งมีกระแสตอบรับจากลูกค้าอย่างดีและบรรจุเป็นเมนูถาวรของร้าน รวมถึงเมนูสีสัน “สตรอเบอร์เร่อ” ใช้ตรอเบอร์รี่พันธุ์ 80 ที่ปลููกในดอยสููง โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน จังหวัดเชียงใหม่ มาปีนี้ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทแม่เดินหน้าทันที เซ็นเอ็มโอยูประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบบระยะยาว ด้านหนึ่งดึงองค์ความรู้ต่อยอดเมนูใหม่ๆ ขณะที่อีกด้านหนึ่งเป็นการเน้นภาพลักษณ์การช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชน เปิดช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร ผ่านร้านค้าแบรนด์ต่างๆ ในเครือข่ายพีทีจี ทั้งสถานีบริการน้ำมันพีที ร้านกาแฟพันธุ์ไทย และร้านสะดวกซื้อแมกซ์มาร์ท ทั่วประเทศ โดยเฉพาะวัตถุดิบท้องถิ่นเป็นจุดขายหลักต่างจากคู่แข่ง ความร่วมมือสองฝ่ายนำร่องโครงการแรก จัดซีรีส์เมนู “โพดจุกใจ ไร่สุวรรณ” ใช้น้ำนมและเมล็ดข้าวโพดจากศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ

Read More

โคคา-แคนตัน คู่แข่งอังรีดูนังต์

ยุคสมัยเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน ย่านสยามสแควร์ด้านถนนอังรีดูนังต์มีสุกี้ 2 ร้านใหญ่ที่ดึงดูดผู้คนมากมาย เจ้าแรกคือ โคคา (COCA) ที่ถือเป็นต้นกำเนิดเชนร้านสุกี้ในปัจจุบัน สำหรับสุกี้โคคา (COCA) เริ่มตำนานเมื่อปี 2500 จากห้องอาหารจีนกวางตุ้งขนาด 20 ที่นั่งย่านถนนเดโช ก่อตั้งโดย ศรีชัย พันธุ์เพ็ญโสภณ และปัทมา ภรรยาคู่ใจ หลังจากนั้นไม่นานย้ายไปอยู่ที่ซอยทานตะวัน ถนนสุรวงศ์ เปิดภัตตาคารขนาด 800 ที่นั่ง ในยุคนั้นโคคาถือเป็นภัตตาคารแห่งแรกที่นำการปรุงอาหารแบบสุกี้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบหลากหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล และผักสดต่างๆ แยกเป็นจานเล็กๆ แทนการจัดจานและเสิร์ฟรวมเป็นชุดใหญ่ๆ แบบดั้งเดิม เป็นจุดขายสร้างชื่อเสียงให้โคคา ในฐานะสุกี้ต้นตำรับ และชื่อเรียก  “COCA” แปลว่า “ความอร่อย” เป็นคำดัดแปลงจากภาษาจีนกลางที่ออกเสียงว่า “เคอโคว์ (Kekou)” หมายถึง “เอร็ดอร่อย” และสำเนียงกวางตุ้งที่ออกเสียงว่า “หอเห่า (HouHào)” หรือความอร่อยที่น่ารับประทาน ซึ่งโดนใจทั้งลูกค้าคนไทยและต่างชาติ ส่วนโคคายุคใหม่ ศรีชัยส่งต่อให้ลูกชาย คือ

Read More

ตี๋น้อย จัดเต็มชน MK “คาเฟ่-เป็ดย่าง” ต้องมา

ปี 2566 “สุกี้ตี๋น้อย” เร่งเครื่องรุกตลาดแบบจัดเต็ม หลังช่วงปลายปีที่ผ่านมาปิดดีลได้ยักษ์ใหญ่กลุ่มบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรถือหุ้นในบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (BNN) จำนวน 352,941 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 30% เม็ดเงินเต็มหน้าตักกว่า 1,200 ล้านบาท ที่สำคัญ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART ประกาศว่า การเข้าลงทุนกับบี เอ็น เอ็นฯ ผู้บุกเบิกแบรนด์ร้านอาหาร “สุกี้ตี๋น้อย” ถือเป็น Strategic Partner ที่มีศักยภาพการเติบโตในระดับสูง เพราะบี เอ็น เอ็นฯ ใช้เวลาเพียง 4 ปี ผลักดันรายได้จากปี 2562 อยู่ที่ 499 ล้านบาท

Read More

ลาซาด้า-เซเว่นฯ ศึกชิงชัยช่องทางออนไลน์

แม้บิ๊กคอนวีเนียนสโตร์ “เซเว่นอีเลฟเว่น” รุกหนักแพลตฟอร์มออนไลน์ เร่งสปีดเครือข่ายสาขาตามการขยายตัวของชุมชน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ แหล่งท่องเที่ยวและทุกทำเลทอง หวังเจาะเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุดและต่อยอดผลักดันบริการ All Online และแอปพลิเคชัน 7-Elven พร้อมบริการดีลิเวอรีส่งฟรีรวดเร็ว แต่ยังมีโจทย์ใหญ่ การแข่งขันต่อสู้กับยักษ์ออนไลน์ที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน แต่กลับรุกคืบแย่งชิงลูกค้าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ ผลวิจัยของ Kantar บริษัทข้อมูลการตลาดและการวิเคราะห์ระดับโลกในรายงาน Brand Footprint Thailand 2023 ที่แสดงถึงความแข็งแกร่งและความสามารถในการปรับตัวของแบรนด์ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย ในกลุ่มค้าปลีก พบว่า Top Outstanding Retailer กลายเป็นกลุ่ม Online Pure Player ที่แซงขึ้นมาเป็นช่องทางที่มีอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคสูงสุดในการจับจ่ายทางออนไลน์ (Online Shopping) และลาซาด้า (Lazada) ยืนที่ 1 สถิติ 8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 3 ล้านครั้งจากปีก่อน ถ้าย้อนดูผลวิจัยปีก่อนหน้า Top Outstanding Retailer คือ ช่องทาง

Read More