Home > Suporn Sae-tang (Page 4)

เจาะแบ็กอัปใหม่ KFC กลุ่มทุนอินเดีย-IVL เสริมทัพ

เป็นประเด็นฮือฮาเมื่อกลุ่มทุนอินเดีย Devyani International DMCC ในเครือ Devyani International Limited (DIL) เซ็นสัญญาลงทุนในบริษัทอาร์ดี บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ (RD) แฟรนไชซีบริหารร้านไก่ทอดเคเอฟซี (KFC) ในประเทศไทย รายที่ 3 โดยพ่วงพันธมิตรระดับบิ๊ก ทั้งกองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ “เทมาเส็กโฮลดิ้ง” และบริษัท White Snow Company Limited (ไทย) ที่มีชื่อ อานุช โลเฮีย ทายาทบิ๊กปิโตรเคมีแสนล้านร่วมวงด้วย  การลงทุนครั้งนี้ปิดดีลที่ 4,580 ล้านบาท คาดกระบวนการทางสัญญาเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2567 ที่ว่าระดับบิ๊ก เริ่มตั้งแต่กลุ่ม DIL ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านอาหารจานด่วน QSR แถบเอเชียใต้ มีจำนวนร้านกว่า 1,350 สาขา ใน 240 เมือง บริหารไลเซนส์แบรนด์หลักๆ ทั้ง

Read More

นางสาวสยาม กิมมิกงานฉลองรัฐธรรมนูญ

รัฐบาลจัดการประกวดนางสาวไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2477 ใช้ชื่อว่า “นางสาวสยาม” ในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ สโมสรคณะราษฎร โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมงานฉลองรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนซึ่งเดินทางมาจากทุกจังหวัด เพราะมีการคัดเลือกตัวแทนสาวงามจากทั่วประเทศ  ปี 2482 รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ เปลี่ยนเรียกชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” การประกวด “นางสาวสยาม” จึงเปลี่ยนเป็น “นางสาวไทย” พร้อมปรับใช้ชุดผ้าไหม เสื้อเปิดหลัง กางเกงกระโปรงยาวถึงเข่า และเพิ่มการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมา ปี 2484-2488 ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสงครามหลังกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งหลายแห่ง ต้องยกเลิกงานฉลองรัฐธรรมนูญจนสงครามสงบและใช้เวลาฟื้นฟูประเทศระยะหนึ่ง ปี 2491 รัฐบาลฟื้นงานฉลองรัฐธรรมนูญ รวมถึงการประกวดนางสาวไทย โดยปี 2492 เพิ่มการสวมใส่ชุดว่ายน้ำ ปี 2497 เป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลมีบทบาทในการจัดการประกวด เพราะงานฉลองรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกด้วยเหตุผลทางการเมืองในช่วงรอยต่อของประชาธิปไตยและเผด็จการ แต่มีการจัดประกวดระดับท้องถิ่นและในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น การประกวดเทพีลุมพินี

Read More

JKN ลุยไทม์ไลน์หนีตาย เกมกอบกู้เรตติ้งครั้งใหญ่

กว่า 5 เดือนแล้ว บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ของ แอน-จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ยังหนีไม่พ้นปมปัญหาหนี้ก้อนใหญ่ โดยเฉพาะกรณีผู้ถือหุ้นกู้มูลค่ารวมมากกว่า 3,200 ล้านบาท แม้พยายามยืนยันว่า การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อปรับโครงสร้างกิจการและโครงสร้างทางการเงิน เป็นหนทางดูแลผู้ถือหุ้นและผู้ถือหุ้นกู้ให้ได้รับเงิน และได้รับความยุติธรรมมากที่สุด แต่ดูเหมือนผู้ถือหุ้นกู้ส่วนใหญ่ยังคลางแคลงใจ เพราะกว่าจะได้เงินต้องรอกระบวนการฟื้นฟูกิจการนานนับปี ล่าสุด นางนรินธร อนุเคราะห์ธนาพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานการเงินและบัญชี JKN ออกมาระบุว่า ตั้งแต่บริษัทจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยการระดมทุน ทั้งเพิ่มทุน กู้ยืมธนาคารพาณิชย์ และออกหุ้นกู้  มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งบริษัทนำเม็ดเงินมาขยายธุรกิจมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือนำมาเป็นเงินทุนดำเนินธุรกิจ แต่เมื่อลูกค้าของ JKN ชำระเงินล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้มีปัญหาการขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถชำระคืนหุ้นกู้ได้ตามกำหนด โดยที่ปรึกษาการเงินและที่ปรึกษากฎหมายแนะนำให้ JKN ยื่นขอเข้าแผนฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลาง

Read More

พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ดันแอปฯ KANNA ปฏิวัติชาวนารุ่นใหม่

ประเด็นข้าว Ong Cua ST25 ของเวียดนามคว้ารางวัลชนะเลิศในการประชุมสุดยอดข้าวโลกนานาชาติ ประจำปี 2566 ที่เมืองเซบู ในประเทศฟิลิปปินส์ กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายหวั่นวิตกมากขึ้น ทั้งที่ข้าวหอมมะลิจากไทยเคยยึดแชมป์รางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลก แต่ปี 2565 เสียตำแหน่งให้ “ผกาลำดวน” ของกัมพูชา และปีล่าสุดไม่ผ่านแม้กระทั่งรอบ 3 อันดับแรก ตัวแปรหนึ่งที่ถกเถียงกัน คือ การพัฒนาพันธุ์และนวัตกรรมการเพาะปลูกแนวใหม่ ซึ่งข้าว ST25 ของเวียดนามมีการพัฒนาต่อเนื่องได้สายพันธุ์ผสมระหว่างข้าวหอมมะลิไทย ข้าวบาสมาติของอินเดียและข้าวญี่ปุ่น จนได้เม็ดเรียวยาว มีความหอม และเหนียวนุ่ม ขณะที่ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมากถึง 4.68 ล้านครัวเรือน ประมาณ 17 ล้านคน เนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีและนาปรัง เฉลี่ยปีละ 70-71 ล้านไร่ คิดเป็น 47% ของเนื้อที่ทำการเกษตรทั้งประเทศ 149 ล้านไร่ มีผลผลิตข้าว 31-32 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี หรือ 20 ล้านตันข้าวสาร แม้การส่งออกเติบโตแต่ยังต้องการการพัฒนาพันธุ์ข้าวและการเพิ่มผลผลิต พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์

Read More

เจาะหุ้นนางงาม MGI ลุ้นตลาด มงจะลง-ไม่ลง

ได้ฤกษ์ซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ไปแล้วเมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา สำหรับหุ้นนางงาม บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MGI หลังจากซีอีโอใหญ่ ณวัฒน์ อิสรไกรศีล ใช้เวลาแต่งตัวปลุกปั้นมานานกว่าสิบปีด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท ขณะเดียวกันการนำร่องเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 60 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 4.95 บาท เมื่อวันที่ 4, 6 และ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา สามารถสร้างแรงดึงดูดนักลงทุนจองซื้อหมดเกลี้ยง ซึ่งนายณวัฒน์ประกาศใช้เม็ดเงินลงทุนปรับปรุงอาคารสำนักงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า และผลิตรายการ เพื่อเพิ่มศักยภาพและผลักดันการเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากย้อนดูผลการดำเนินงานของ MGI ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากปี 2563 มีรายได้รวม 338.80 ล้านบาท

Read More

สำเพ็ง สามแพร่ง ซำเพ้ง เปิดฉาก Chinese Bazaar

สำเพ็ง เป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้กับย่านเยาวราช ถนนราชวงศ์ และต่อเนื่องไปถึงสะพานหัน พาหุรัด วังบูรพา รู้จักกันดีในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซอยวานิช 1 และช่วงระหว่างสะพานหันถึงถนนจักรวรรดิเรียกว่า ตรอกหัวเม็ด ที่มาของชื่อ “สำเพ็ง” ไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่มีการระบุหลายที่มา เช่น มาจากสามแพร่ง สามแผ่น หรือสามแผ่นดิน มาจากชื่อพืช “ลำเพ็ง” มาจากชื่อวัดสามปลื้ม หรือมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว “ซำเพ้ง” แปลตรงตัวได้ว่า “ศานติทั้งสาม” นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่า สำเพ็งเป็นภาษามอญ แปลว่า เจ้าขุนมูลนาย จึงเป็นไปได้ว่าที่นี่เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชาวมอญมาก่อนชาวจีนจะย้ายเข้ามาอยู่  ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ระบุมาจากภาษาเขมร “ซำเปียะลี” (សម្ពលី) แปลว่า แม่สื่อ แม่เล้า ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บอกว่า อาจมาจากชื่อคน “เพ็ง” 3 คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตาม

Read More

สวัสดี Moshi Moshi ได้ฤกษ์ติดจรวดขายแฟรนไชส์

อาณาจักรร้านสินค้าไลฟ์สไตล์แนวใหม่ สีสันน่ารักๆ Moshi Moshi ที่มีสาขาทั่วประเทศไทยมากกว่าร้อยร้าน เริ่มต้นจากร้านกิฟต์ช็อป “พร้อมภัณฑ์” ย่านฝั่งธนบุรีเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน ซึ่ง สง่า บุญสงเคราะห์ ลุยบุกเบิกจนกลายเป็นร้านที่ลูกค้าแถวนั้นรู้จักอย่างดี ก่อนปรับกลยุทธ์เน้นสินค้าที่มีดีไซน์และสินค้านำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อจำหน่ายให้ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และร้านค้าต่างๆ แน่นอนว่า ฐานลูกค้ากว้างขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้นและยอดขายเติบโตมากขึ้น ปี 2530 นายสง่าขยายธุรกิจ เปิดร้านค้าส่งแบบดั้งเดิมในตลาดสำเพ็ง แต่ใช้วิธีตกแต่งร้านและเพิ่มจำนวนสินค้าเหมือนย่านค้าส่งในประเทศญี่ปุ่น ฉีกแนวคู่แข่งกลายเป็นร้านฮอตฮิตของลูกค้า กระทั่งปี 2543 ตัดสินใจเปิด บริษัท บีกิฟท์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจร้านค้าส่งแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ในตลาดสำเพ็ง ในช่วงจังหวะที่ตลาดกิฟต์ช็อปและสินค้าไลฟ์สไตล์เติบโตสูงมาก พร้อมๆ กับกลุ่มลูกค้าต่างเรียกหาสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น อชิระ บุญสงเคราะห์ ลูกชายของสง่า มองเห็นโอกาสและแนวทางใหม่ๆ หลังเรียนรู้การทำธุรกิจและสั่งสมประสบการณ์จากผู้เป็นพ่อ เขาปรึกษาครอบครัวและลงมติร่วมกัน จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัท บี กิฟท์ เป็นบริษัท โมชิ โมชิ เจแปน จำกัด

Read More

ผวาหนี้ BNPL “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” บานเบอะ

12 ธันวาคมนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นัดหมายเปิดแถลงปฏิบัติการแก้หนี้แบบครบวงจรอีกครั้ง ในส่วนหนี้ในระบบ หลังประกาศวาระแห่งชาติล้างหนี้นอกระบบ 5 หมื่นล้านบาทไปเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยยืนยันจะปลดปล่อยพี่น้องประชาชนจากการเป็นทาส ลืมชีวิตที่เคยลำบาก มีกำลังแรงใจที่จะทำตามความฝันนับจากนี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานเร่งเสนอแนะมาตรการแก้หนี้ของรัฐบาลต้องเจาะลึกรอบด้าน โดยเฉพาะสินเชื่อในระบบที่กำลังฮิตติดเทรนด์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องยื่นเอกสารและใช้เวลาอนุมัติรวดเร็วแค่ 3 นาที ยิ่งกว่าแช่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่เรียกว่า “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) ซึ่งพุ่งเป้าเจาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งรูปแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ และกำหนดเงื่อนไขสมัครใช้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า สินเชื่อประเภท “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) เกิดจากการขยายตัวของการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ การเชื่อมโยงของฐานข้อมูลและพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ยอดฮิตทั่วโลก

Read More

ไลฟ์สไตล์ กิฟต์ช็อป 8 พันล้าน ไดโซะ มินิโซ โมชิ ชิงเม็ดเงิน

นับจาก “ไดโซะ (Daiso)” ร้านขายสินค้าจิปาถะราคา 100 เยนจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาบุกตลาดไทย ผุดสาขาแรกเมื่อปี 2546 ปลุกกระแสร้านค้าไลฟ์สไตล์ สร้างสีสันใหม่ๆ ให้ลูกค้าคนไทย จนกลายเป็นอีกเซกเมนต์ที่มาแรงไม่หยุด โดยคาดการณ์มูลค่าตลาดรวมในปี 2566 เม็ดเงินสูงถึง 5,500 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มเป็น 6,400 ล้านบาทในปี 2567 แถมปี 2568 จะพุ่งพรวดเป็น 7,400 ล้านบาท ก่อนทะยานไปถึง 8,600 ล้านบาท ในปี 2569 ต้องยอมรับว่า ไดโซะจุดประกายการชอปปิ้งของผู้บริโภคชาวไทยพร้อมๆ กับการเติบโตของกลุ่มคนกำลังซื้อปานกลางที่มีระดับการศึกษาสูงขึ้น เกิดพฤติกรรมการจับจ่ายแนวใหม่ๆ ไม่ใช่แค่กิฟต์ช็อป หรือสินค้าทั่วไป แต่ต้องคุ้มค่า มีดีไซน์ สินค้าทุกชิ้นต้องสะท้อนบุคลิก ความชอบและตัวตน หลังไดโซะเข้ามาลุยตลาดได้ไม่นานและได้รับความนิยมสูงมาก แบรนด์ต่างๆ จึงกระโดดตามมาติดๆ อย่าง KOMONOYA หรือร้าน 100 Yen Shop ของบริษัท

Read More

พลิกปูม “เปาบุ้นจิ้น” สินค้าปลุกกระแสความซื่อสัตย์

อาณาจักรเครือสหพัฒน์ เริ่มก่อตั้งโดยเจ้าสัวเทียม โชควัฒนา เมื่อ 80 กว่าปีก่อน ภายใต้ชื่อ “เฮียบเซ่งเชียง” ที่ตรอกอาเนียเก็ง ถนนทรงวาด ด้วยเงินทุนเพียง 10,000 บาท เน้นขายของเบ็ดเตล็ดที่สั่งซื้อจากฮ่องกง ปี 2495 เฮียบเซ่งเชียงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท โดยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลายชนิด จากนั้นขยายหลายบริษัทในเครือ ทั้งบริษัท ไอซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล และร่วมทุนกับบริษัท เดอะไลอ้อน แพทแอนด์ออย ตั้งบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) เริ่มผลิตแชมพูผงไลอ้อนและผงซักฟอกท้อปในปี 2512 หนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ในช่วงปี 2519 บริษัทเปิดตัวผงซักฟอกยี่ห้อ “เปาบุ้นจิ้น” ภายใต้สโลแกน “คุณภาพซื่อสัตย์ ราคายุติธรรม” โดยเจ้าสัวเทียมต้องการปลุกปั้นให้เป็นสินค้าสร้างกระแสสังคม เรื่องความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และใช้กลยุทธ์ทางการตลาดหลากหลายรูปแบบต่อสู้กับแบรนด์คู่แข่ง เช่น การแจกกาละมัง การโฆษณาทางวิทยุ และการซื้อภาพยนตร์เรื่อง “เปาบุ้นจิ้น”

Read More