Home > Suporn Sae-tang (Page 17)

ย้อนเส้นทาง BNK48 “คุกกี้เสี่ยงทาย” ปลุกกระแสเกิร์ลกรุ๊ป

กระแสเกิร์ลกรุ๊ป (girl group) หรือกลุ่มนักร้องหญิงในต่างประเทศเริ่มต้นเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ส่วนในไทยเริ่มต้นเมื่อปี 2524 ภายใต้ชื่อ “สาว สาว สาว” ได้รับความนิยมมากและมีวงนักร้องหญิงเกิดขึ้นตามมามากกว่า 30 วง เช่น ปุยฝ้าย ทีสเกิร์ต ซาซ่า 2002 ราตรี กระทั่งปี 2560 เกิร์ลกรุ๊ปต่างชาติเข้ามาบุกประเทศไทยอย่างมีพลัง ในชื่อ BNK48 ซึ่งบริษัท โรส อาร์ทิสท์ แมเนจเม้นท์ ติดต่อ AKS บริษัทที่จัดการและบริหารกลุ่มไอดอลญี่ปุ่น AKB48 เพื่อขอสิทธิ์มาทำวงน้องสาวในประเทศไทย ก่อนหน้าการขอสิทธิ์นั้น ช่วงปลายปี 2556 โรส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่น แพ้การประมูลทีวีดิจิทัล หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำให้บริษัทเดินหน้าทำงานเกี่ยวกับการดูแลศิลปินแทน โดย จิรัฐ บวรวัฒนะ

Read More

BNK48 อัดบิ๊กอีเวนต์ ดัน Soft Power เอนเตอร์เทนเมนต์

“อินดิเพนเด้นท์ อาร์ทิสท์ เมเนจเม้นท์” หรือ iAM ต้นสังกัดศิลปินไอดอลหญิงวง BNK48 และ CGM48 กำลังเร่งใช้โอกาสผลักดันการเติบโต หลังประเทศไทยหลุดพ้นสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดและการพลิกฟื้นธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ โดยเฉพาะการใช้กลยุทธ์ Soft Power และอัดบิ๊กอีเวนต์ช่วงโค้งสุดท้ายโดนใจกลุ่มแฟนคลับให้ได้มากที่สุด จิรัฐ บวรวัฒนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินดิเพนเด้นท์ อาร์ทิสท์ เมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ iAM กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แต่ยังมั่นใจเป้าหมายรายได้ในปี 2565 จะไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท โดยเตรียมจัดกิจกรรมช่วงโค้งสุดท้ายของปีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด บริษัทเพิ่งเปิดกิจกรรมงานวัดญี่ปุ่นครั้งแรกในเมืองไทย ภายใต้ชื่อ Matsuri -มัตสึริ ช่วงวันที่ 26-28 สิงหาคมที่ผ่านมา เน้นคอนเซ็ปต์กิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเมมเบอร์ทั้งวง BNK48+CGM48 กว่า 77 เมมเบอร์รวมตัวเปิดบูทจำหน่ายสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม เพื่อให้แฟนคลับได้ใกล้ชิด สนุก ตื่นเต้น

Read More

ตรวจแนวรบซีพี “แม็คโคร-โลตัส” ฮุบทำเลลุยแพกคู่

หากเจาะยุทธศาสตร์ค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ “ซีพี” ยังถือแต้มต่อเหนือคู่แข่ง ทั้งการวางเครือข่ายตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำบุกตลาดทุกเซกเมนต์และทุกกลุ่มผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้น มีการ Synergy ทุกแบรนด์และรุกตลาดไปพร้อมๆ กัน อย่างกรณี “แม็คโคร” ที่เตรียมผุดสาขาใหม่ในทำเลติดกับ “โลตัส” สาขาเลียบคลองสอง เร่งขยายฐานลูกค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง ที่สำคัญ อาณาจักรธุรกิจของกลุ่มตระกูลเจียรวนนท์ครอบคลุมทุกการใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งถือเป็นจุดแข็งสูงสุดและทำให้กลยุทธ์การตลาดกว้างขวางกว่าค่ายอื่นๆ โดยอัปเดตล่าสุดเครือซีพีแตกไลน์ 8 สายธุรกิจหลัก ครอบคลุม 14 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและดิจิทัล ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรม ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ ธุรกิจการเงินและการธนาคาร ดังนั้น ถ้าตรวจแนวรบเฉพาะกลุ่ม Retail ธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย แบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก คือ ค้าปลีก ค้าส่ง และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ประกอบด้วยบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) บริหารกิจการร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น และบริษัท สยามแม็คโคร

Read More

เซเว่นฯ โต้กลับศึกโชห่วย แม็คโครดัน “บัดดี้มาร์ท” หนุน

กลุ่ม “ซีพี” ต้องเร่งเสริมทัพหนุนร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” ครั้งใหญ่ หลังคู่แข่งเปิดเกมรุกผุดเครือข่ายร้านชุมชนล้อมกรอบทุกพื้นที่ ทั้งร้านโดนใจของค่ายบิ๊กซี กลุ่มตระกูลเจริญสิริวัฒนภักดี ร้านถูกดีมีมาตรฐานของเจ้าพ่อคาราบาวกรุ๊ป “ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส” รวมถึงกลุ่มเซ็นทรัลที่ลุยยกเครื่อง “ท็อปส์ เดลี่-แฟมิลี่มาร์ท” เพิ่มพื้นที่เช่าและโซนที่นั่งรับประทานอาหาร ล่าสุด แม็คโคร ประเทศไทย หนึ่งในกลุ่มค้าปลีกค้าส่งของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ประกาศเปิดตัวร้านค้าปลีกชุมชนแบรนด์ใหม่ “บัดดี้มาร์ท (Buddy Mart)” เสมือนเป็นทัพหนุนร้านชุมชน “มิตรแท้ชุมชน” แบรนด์เดิมและยังช่วยอุดช่องว่างในพื้นที่ชุมชนและฐานลูกค้าที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นรุกเข้าไปไม่ถึง ธนิศร์ เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจค้าส่งแม็คโคร ประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดค้าปลีกไทยมีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาท ซึ่งธุรกิจโชห่วยมีสัดส่วนมากถึง 55% และร้านโชห่วยเหล่านี้เป็นหนึ่งในฐานลูกค้าสำคัญของบริษัท โดยจากฐานสมาชิกผู้ประกอบการกว่า 500,000 รายนั้น สร้างยอดขายถึง 30% ของยอดขายรวม การเปิดร้านบัดดี้มาร์ทจะเป็นกลไกเพิ่มศักยภาพของฐานลูกค้ากลุ่มนี้และหมายถึงฐานรายได้ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นด้วย “แม็คโครกับลูกค้าโชห่วยทั่วประเทศมีความผูกพันกันมานานกว่า 30 ปี ทุกปีเราจัดงานตลาดนัดโชห่วย เพื่ออัปเดตเทรนด์ธุรกิจให้ร้านค้าเล็ก ๆ มีโครงการประกวดทายาทโชห่วยแข่งขันไอเดียพัฒนาร้านของคนรุ่นใหม่หรือลูกหลานเจ้าของธุรกิจโชห่วย เมื่อนำมาเสริมกับข้อมูลเชิงลึกของแม็คโคร

Read More

กนกวรรณ วัชระ ดีดนิ้วเนรมิตหนังไทย

“เริ่มต้นจากความชอบส่วนตัวและ Passion อยากเห็นภาพยนตร์ของไทยทัดเทียมสากล ทำไมเวลาเราดูหนังสนุกและตื่นเต้น จำเป็นต้องสตูดิโอใหญ่ๆ มาร์เวลสตูดิโอส์ วอร์เนอร์บราเธอส์ ทำไมในไทยไม่มีภาพยนตร์แบบนี้บ้าง พอเกิด Passion มากๆ เข้า อยากลองทำเอง เป็นนายทุนเอง เพราะคนไทยมีฝีมือเยอะมาก ทั้งสตูดิโอ บุคลากร นี่คือจุดเริ่มต้น อยากดีดนิ้วเนรมิตหนังอย่างที่ชอบได้ทันที” กนกวรรณ วัชระ หรือคุณน้อย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนรมิตรหนัง ฟิล์ม จำกัด เล่าถึงแรงบันดาลใจและความท้าทายใหม่ในฐานะผู้ผลิตภาพยนตร์ในวัยเพียง 28 ปี เธอกล่าวว่า ในเมืองไทยมีบริษัทใหญ่ๆ จีทีเอช ทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟิล์ม สหมงคลฟิล์ม แต่เหมือนเราต้องการความหลากหลายของภาพยนตร์มากขึ้น อย่างค่ายจีทีเอช ส่วนใหญ่เป็นหนังแนวโรแมนติกคอเมดี้ เป็นซิกเนเจอร์ สหมงคลฟิล์มเป็นแนวขุนพันธุ์ ต้มยำกุ้ง แต่เรามีความรู้สึกอยากเห็นความหลากหลาย อยากมีภาพยนตร์ที่หลากหลายในตลาดไทย ถ้าอย่างนั้นตัดสินใจลุยเอง ใช้เวลาฟอร์มทีมประมาณ 1 ปี ปรากฏว่าผลงานหนังเรื่องแรก “4 KING” ประสบความสำเร็จเกินคาด ทั้งในแง่การปลุกกระแสกลุ่มผู้ชม

Read More

ค่ายหนัง เกิด-ดับ สู้กระแสต่างชาติ ฮอลลีวูด

หากพูดถึงบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ของไทยมีหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น “สหมงคลฟิล์ม” ก่อตั้งเมื่อปี 2513 โดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ แรกเริ่มทำธุรกิจจำหน่ายภาพยนตร์ ต่อมาลงทุนสร้างภาพยนตร์ไทยตั้งแต่ปี 2516 ได้แก่ นี่แหละสิ่งที่ข้าต้องการ, คุ้งตะเคียน, มารรัก, ตลาดพรหมจารี, เศรษฐีถังแตก, ดาร์บี้ และผลิตออกสู่ตลาดต่อเนื่องปีละไม่ต่ำกว่าสิบเรื่อง นอกจากนี้ ร่วมกับพันธมิตรสร้างหนัง เช่น บั้งไฟ ฟิล์ม ของเพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา หรือ หม่ำ จ๊กมก เช่น บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม และ แหยม ยโสธร ที่ทำรายได้เกิน 100 ล้านบาท “พร้อมมิตร โปรดักชั่น” เดิมชื่อ พร้อมมิตรภาพยนตร์ ก่อตั้งโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย ชื่อบริษัทมาจากชื่อซอยที่ตั้งของวังละโว้และโรงถ่ายของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ มีโรงถ่ายทำภาพยนตร์ขนาดใหญ่ พร้อมมิตร สตูดิโอ

Read More

แท็กซี่ตบเท้าขึ้นราคา จ๊าก! แอปฯ โขกค่าเรียกทะลุ 100%

ค่าครองชีพคนไทยยังพุ่งไม่หยุด น้ำมัน ค่าไฟ บะหมี่ซอง และล่าสุด เครือข่าย 4 สมาคมแท็กซี่ ได้แก่ สมาคมประสานงานรถรับจ้างสุวรรณภูมิ สมาคมผู้ขับรถแท็กซี่สาธารณะ สมาคมแท็กซี่ยานยนต์ไฟฟ้า และสมาคมแท็กซี่สาธารณะไทย ยื่นเรื่องกดดันนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้พิจารณาปรับอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 45 บาท จากปัจจุบัน 35 บาท รายละเอียด คือ รถเล็กเครื่องยนต์ 1600-1800 ซีซี 1 กม. แรก 45 บาท ส่วนรถใหญ่เครื่องยนต์ 2000 ซีซีขึ้นไป 1 กม. แรก 50 บาท จากนั้น กม. ที่ 2-20 กม. ละ 10 บาท กม. ที่ 21-40 กม.

Read More

เจาะแบ็กอัพ ไททัน แคปปิตอล จากเทรดเดอร์บิตคอยน์ สู่นักเทกโอเวอร์รุ่นใหม่

นักธุรกิจรุ่นใหม่ กลุ่มสตาร์ทอัป หลายคนกอบโกยเม็ดเงินจากการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล Cryptocurrency และต่อยอดสร้างอาณาจักรสนอง Passion เหมือน “แทนไท ณรงค์กูล” เปิดตัวบริษัท ไททัน แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 505 ล้านบาทแบบชำระเต็มจำนวน โดยใช้ทุนทั้งหมดจากผลกำไรในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี แทนไทเล่าว่า เขาเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดมาจากวิถีชีวิตแบบคนรุ่นใหม่แห่งยุคเทคโนโลยีบล็อกเชน ชอบท่องเที่ยว ชอบการลงทุน ศึกษาและเรียนรู้ช่องทางต่างๆ จนเข้าใจจึงสร้างรายได้มากมาย ทั้งผลกำไรจากการเทรดในตลาดการลงทุนโลก มีพอร์ต Bitcoin ที่ได้จากการขุด การเทรด และการซื้อสะสมตั้งแต่ยุคแรกๆ จนปัจจุบันพอร์ตคริปโทฯ ของเขามีมูลค่านับพันล้านบาท และถือเป็นฐานต้นทุนการลุยธุรกิจผ่านไททัน แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เป้าหมายของเขา คือการสร้างและวาง Positioning ให้ไททัน แคปปิตอล เป็น “Angel Investor” โฟกัสการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์และมีขีดความสามารถระดับโลก โดยเฉพาะบริษัทที่ฉายแววโดดเด่นเป็น Rising Star และใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี เขาเลือกลงทุนใน

Read More

ย้อนจุดสตาร์ต REV RUNNR เส้นทางปฏิวัติสปอร์ตรีเทล

“ชื่อบริษัท REV ดั้งเดิม คือ Sport Revolution คำว่า REV ย่อมาจาก Revolution ที่มาของชื่อเป็นเป้าหมายของการตั้งบริษัท คือ เราต้องการปฏิวัติวงการกีฬาประเทศไทยในมุมมองของ Retail จากตลาดการขายกีฬาแบบดั้งเดิม นำคอนเซ็ปต์สโตร์ใหม่ๆ วิธีการนำเสนอประสบการณ์ของแบรนด์ต่างๆ ให้ลูกค้า เราต้องการปรับเปลี่ยนวงการ Sport Retail ในบ้านเรา” พรศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรฟ อีดิชั่น (REV) จำกัด หรือคุณโอ้ก กล่าวถึงเป้าหมายของการรุกเข้าสู่ธุรกิจร้านค้าปลีกสินค้ากลุ่มสปอร์ต (Sportswear and Footwear) เมื่อ 22 ปีก่อน “ช่วงปี 2542-2543 พวกเราเป็นกลุ่มคนชอบเล่นกีฬา ชอบไปร้านกีฬาต่างๆ ได้เดินทางไปต่างประเทศ มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ ได้เห็นรูปแบบร้านกีฬาในต่างประเทศ พอกลับมาเมืองไทยเรารู้สึกอยากเอาร้านกีฬาแบบนั้น บรรยากาศแบบนั้นมาให้นักกีฬาในเมืองไทยมีประสบการณ์บ้าง เพราะช่วงนั้นร้านกีฬาในบ้านเราเป็นแบบดั้งเดิม Traditional รองเท้าเทนนิส รองเท้าวิ่ง ห่อพลาสติกโชว์บนผนังไม้

Read More

สงคราม Sport Retail รุ่นใหม่มาแรงไล่เบียดเจ้าตลาด

ธุรกิจร้านค้าปลีกกีฬาในไทยดั้งเดิม ทุกคนต้องนึกถึง 2 ค่ายบุกเบิก “เอฟบีที-แกรนด์สปอร์ต” สำหรับบริษัท โรงงานฟุตบอลล์ไทย สปอร์ตติ้งกู๊ดส์ จำกัด หรือ FBT (Football Thai Factory Sporting Goods) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2493 จากการรับเย็บลูกฟุตบอลของนายกมล โชคไพบูลย์กิจ จากนั้นอีก 2 ปี จึงก่อตั้งโรงงานขึ้นที่ลาดกระบัง และปี 2505 ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ เอฟบีทีเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรก ถือเป็นจุดเปลี่ยนการเข้ามามีบทบาทในวงการกีฬาอย่างชัดเจนและเติบโตขยายกิจการต่อเนื่อง ปัจจุบันเอฟบีทียังเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กีฬาประเภทต่าง ๆ ในตรายี่ห้ออื่น เป็นผู้ส่งออกบุกตลาดมากกว่า 40 ประเทศ มีกิจการห้างสรรพสินค้า เอฟบีทีสปอร์ตคอมเพล็กซ์ จัดจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาชนิดต่าง ๆ ย่านหัวหมาก ส่วน “แกรนด์สปอร์ต กรุ๊ป” ก่อตั้งเมื่อปี 2504 โดยนายกิจ พฤกษ์ชะอุ่ม อดีตนักบาสเกตบอลที่อยากเห็นประเทศไทยมีแบรนด์เสื้อผ้ากีฬาเป็นของคนไทย เขาเริ่มเปิดกิจการจากห้องแถวเล็กๆ ย่านวงเวียน 22

Read More