Home > Sasiphattra Siriwato (Page 4)

กฎหมายที่ไม่จริงจัง กับความรุนแรงในครอบครัวของบราซิล

Column: Women in Wonderland เมื่อปีที่แล้วเรื่องการลวนลามทางเพศในที่ทำงานได้รับความสนใจจากผู้คนในสังคม จากกรณีของ #MeToo ทำให้ผู้หญิงทั่วโลกจำนวนมากยอมออกจากเงามืดมาเล่าประสบการณ์ที่ถูกลวนลามในที่ทำงาน ทำให้ผู้คนจากทุกหน่วยงานหันมาให้ความสำคัญ และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่เป็นเรื่องที่ผู้หญิงทั่วทุกมุมโลกต้องเผชิญ ความรุนแรงในครอบครัวก็เช่นเดียวกัน หลายหน่วยงานคาดหวังว่าเรื่องนี้จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเหมือนกับเรื่องการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน และอยากให้ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจจากคนรักหรือคนในครอบครัวกล้าที่จะออกมาแจ้งความเพื่อป้องปรามไม่ให้ระดับความรุนแรงในบ้านเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นฆ่ากันตาย ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัวเพื่อป้องกันและปกป้องไม่ให้ผู้หญิงต้องถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจจากสามี คนรัก หรือผู้ชายคนอื่นๆ ในครอบครัว แต่สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวกลับไม่ลดลง องค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยสถิติเมื่อปลายปี 2017 ว่ามีผู้หญิง 35% จากทั่วโลกตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย จิตใจ หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์จากสามีหรือคนรัก และมีผู้หญิงถึง 38% ที่ถูกฆ่าตายโดยสามีหรือคนรัก บราซิลเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แม้ว่าบราซิลจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ แต่บราซิลก็ยังไม่ถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีรายได้ต่อหัวที่ค่อนข้างต่ำ มาตรฐานในการดำรงชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน ขาดแคลนน้ำสะอาด ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทเวลาเจ็บป่วยไม่มีโรงพยาบาลรักษา เป็นต้น และยังมีอัตราการเกิดและการตายของเด็กทารกที่ค่อนข้างสูง เรื่องความรุนแรงในครอบครัวก็เช่นกัน บราซิลมีการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัวในปี 2006 แต่ยังมีผู้หญิงบราซิลจำนวนมากที่ถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจ จากสามีหรือคนรัก และส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าแจ้งความเมื่อตกเป็นเหยื่อ ระหว่างปี 2009–2014 สถิติของประเทศบราซิลแสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2013–2014 จำนวนผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมีเพิ่มมากขึ้น มากกว่าปี 2009–2010 ถึง

Read More

ผู้หญิงขับรถได้ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

Column: Women in Wonderland อย่างที่เราทราบกันดีว่าซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่จำกัดสิทธิของผู้หญิงค่อนข้างมาก แม้รัฐบาลจะให้สัญญาว่า จะพยายามปรับเปลี่ยนกฎต่างๆ และให้สิทธิกับผู้หญิงมากขึ้น แต่ผู้หญิงในประเทศนี้ก็ยังคงถูกจำกัดสิทธิมากกว่าผู้หญิงในประเทศอื่นอยู่ดี ผู้หญิงในประเทศซาอุฯ จะต้องขออนุญาตผู้ชายที่เป็นผู้ดูแลหรือผู้ปกครอง เช่น พ่อ สามี พี่ชาย หรือลูกชาย เมื่อต้องการออกไปนอกบ้าน เดินทางไปยังเมืองต่างๆ หรือไปต่างประเทศ และแต่งงาน เมื่อต้องการออกไปทำงานหรือใช้บริการตามโรงพยาบาล จะต้องมีจดหมายยินยอมและอนุญาตจากผู้ชายที่เป็นผู้ดูแลหรือผู้ปกครอง ไม่อย่างนั้นแล้วจะไม่สามารถใช้บริการของโรงพยาบาลหรือได้รับเข้าทำงานในที่ต่างๆ ได้ ยิ่งไปกว่านั้น เอกสารทางราชการไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดี ขอพาสปอร์ต จดทะเบียนสมรส หรือหย่า เช่าคอนโดหรือห้องพัก และเซ็นสัญญาต่างๆ เป็นต้น ก็ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ชาย ธันวาคม ปี 2015 เป็นครั้งแรกที่การเลือกตั้งในระดับเทศบาลอนุญาตให้ผู้หญิงลงสมัครรับเลือกตั้งได้ และเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ลงคะแนนเลือกตั้ง ครั้งนี้มีผู้หญิงที่ได้รับการเลือกตั้งถึง 38 คน จาก 3,159 คน แม้ว่าผู้หญิงจะได้รับเลือกให้เข้าไปทำงาน แต่ก็มีคำสั่งว่า ให้แยกผู้หญิงออกมาทำงานอีกห้องหนึ่ง จะไม่มีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง และให้ประชุมผ่าน Video เท่านั้น นอกจากนี้ ผู้หญิงและเด็กหญิงก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเหมือนกับผู้ชายและเด็กชาย ทำให้ในเดือนกรกฎาคม

Read More

ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเลือกเป็นโสเภณี

Column: women in wonderland การขายบริการหรือค้าประเวณีหมายถึงผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปสมัครใจที่จะขายบริการทางเพศ โดยเป็นการตกลงร่วมกันของทั้งสองฝ่ายและไม่มีการกักขังหน่วงเหนี่ยว ปัจจุบันในประเทศไทยการค้าประเวณียังผิดกฎหมาย แต่ในหลายประเทศการค้าประเวณีเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย สิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาองค์กร ProCon เปิดเผยว่าจากการสำรวจพบว่า มี 53 ประเทศที่การค้าประเวณีเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น อาร์เจนตินา ออสเตรีย บราซิล อิสราเอล อิตาลี เยอรมนี อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ เม็กซิโก และตุรกี เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีอีกประมาณ 12 ประเทศที่การค้าประเวณีนั้นถูกกฎหมายแค่บางส่วน ประเทศเหล่านี้อนุญาตให้มีการขายบริการทางเพศได้ แต่ไม่อนุญาตให้มีการจัดหาหรือจ้างคนมาทำงานเพื่อขายบริการ เช่น ฝรั่งเศส แคนาดา ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ เป็นต้น ปัจจุบันการขายบริการทางเพศที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้ามาเกี่ยวข้องถือเป็นการค้ามนุษย์ และกลายเป็นปัญหาใหญ่ของหลายประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อธิบายเพิ่มเติมว่า การค้ามนุษย์ เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลโดยเฉพาะผู้หญิง เด็กหญิง และเด็กชาย ไม่ว่าจะสมัครใจหรือไม่ก็ตาม มีนายหน้าเป็นธุระจัดหา ชักชวน หรือกักขังหน่วงเหนี่ยว

Read More

กระบวนการยุติธรรมล้มเหลวในคดีข่มขืนที่ประเทศเปรู

Column: Women in Wonderland การข่มขืนเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ผู้หญิงถูกข่มขืนกลับเกิดขึ้นอย่างมากมายในทุกประเทศ ไม่ใช่เพียงแค่การข่มขืนเท่านั้นที่เกิดขึ้นจำนวนมาก การลวนลามทางเพศในสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงที่สาธารณะก็เกิดมากขึ้นเช่นกัน จากการรวบรวมสถิติของ United Nations Office on Drugs and Crime ในปี 2012 พบว่า 10 ประเทศที่มีสถิติการข่มขืนสูงที่สุดคือ สวีเดน จาเมกา โบลิเวีย คอสตาริกา นิวซีแลนด์ เบลเยียม สหรัฐอเมริกา บราซิล นอร์เวย์ และฟินแลนด์ จากสถิตินี้จะเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็ยังมีจำนวนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อค่อนข้างสูง ยกตัวอย่างเช่น ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา องค์กร Rape, Abuse and Incest National Network หรือ RAINN ได้เปิดเผยสถิติผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการข่มขืนและการใช้ความรุนแรงทางเพศซึ่งองค์กรพบว่า ทุกๆ 98 วินาที จะมีผู้หญิงอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปถูกข่มขืนหรือตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศอย่างน้อย

Read More

วันสตรีสากล 2018

Column: Women in wonderland  วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสตรีสากล (International Women’s Day) ซึ่งในแต่ละปีแต่ละประเทศก็จะมีการเดินขบวนขององค์กรและกลุ่มต่างๆ เพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้กับผู้หญิงและลดความไม่เท่าเทียมกันในสังคมลง ปี 2018 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศที่จะใช้กรอบแนวคิดที่ “Time is now: Rural and urban activists transforming women’s lives” โดยมุ่งเน้นไปที่สิทธิของผู้หญิง ความเท่าเทียมกันในสังคม และความยุติธรรม โดยเฉพาะเรื่องการลวนลามทางเพศ การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง และความไม่เท่าเทียมกันในที่ทำงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2017 เป็นต้นมา จะเห็นปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวทางสังคมจากเกือบทุกประเทศทั่วโลกจากเหตุการณ์ของ Harvey Weinstein ซึ่งเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ในวงการฮอลลีวูด และเป็นเจ้าของบริษัท Weinstein ถูกเปิดเผยจากนักแสดงหญิงในวงการฮอลลีวูดจำนวนมากเรื่องการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน นักแสดงเหล่านี้ต้องยอมมีเพศสัมพันธ์กับเขาเพื่อให้ได้งานและมีอนาคตที่ดีในวงการ หลังจากเรื่องนี้ถูกเปิดเผยออกไป ผู้หญิงจากทั่วทุกมุมโลกได้ออกมาเปิดเผยและเล่าประสบการณ์ของตนเองในโลกโซเชียล ที่พวกเธอถูกลวนลามทางเพศในที่ต่างๆ และถูกข่มขืนทั้งจากคนใกล้ชิดและคนที่ไม่รู้จัก ซึ่งหลังจากที่เล่าประสบการณ์ของตัวเองแล้วก็จะใส่แฮชแท็ก (Hashtag) คำว่า MeToo เอาไว้ด้วย นอกจากนี้คำว่า

Read More

ความสูญเสียของผู้หญิงที่ต้องแลกมากับความสำเร็จในหน้าที่การงาน

Column: Women in Wonderland ในปัจจุบันผู้หญิงส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกบ้าน และแน่นอนว่าพวกเธอส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ได้รับเงินเดือนที่สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นว่าผู้หญิงเหล่านี้มีความสุข ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้น จริงๆ แล้วพวกเธอจะต้องสูญเสียอะไรไปบ้างเพื่อแลกกับความสำเร็จในหน้าที่การทำงานที่ได้มา ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องเงินเดือน ทั้งๆ ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานเหมือนกัน หรือการทำงานอย่างหนักเพื่อพิสูจน์ให้หัวหน้างานยอมรับในความสามารถ และการได้ความไว้วางใจและเชื่อใจจากผู้ที่เป็นลูกน้อง ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้หญิงมีความกดดันในที่ทำงานสูง รวมถึงต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นการประสบความสำเร็จในที่ทำงานจึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้หญิง ผู้หญิงที่ทำงานอย่างหนักเพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้น มักจะต้องเผชิญกับความเศร้า ความเจ็บปวด และการถูกทอดทิ้งจากคนใกล้ชิด ซึ่งถือเป็นความสูญเสียหรือความเศร้าที่เกิดขึ้นในชีวิตของผู้หญิงส่วนใหญ่ที่จะต้องแลกมา เมื่อไม่นานมานี้ที่ประเทศสวีเดนได้ทำการวิจัยเรื่องความแตกต่างทางเพศ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างอาจารย์ Olle Folke จากภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Uppsala กับอาจารย์ Johanna Rickne จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Stockholm โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้พบว่า นักการเมืองส่วนใหญ่ที่เป็นผู้หญิง เมื่อได้รับเลือกเข้าไปทำงานในรัฐสภา หลังจากนั้นพวกเธอจะต้องเผชิญกับการหย่าร้าง และนักการเมืองหญิงส่วนใหญ่ก็จะพบเจอสถานการณ์นี้แทบจะทุกคน ซึ่งงานวิจัยได้ทำการศึกษาเฉพาะคู่แต่งงานระหว่างหญิงกับชายเท่านั้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผู้ชายก็พบว่า นักการเมืองชายที่ได้รับเลือกเข้าไปทำงานในรัฐสภากลับไม่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การหย่าร้าง ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้อธิบายเพิ่มว่า นักการเมืองหญิงแทบทุกคนจะต้องเจอกับสถานการณ์หย่าร้าง โดยเฉพาะนักการเมืองหญิงที่ได้รับเลือกให้เข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับสูง อย่างเช่นตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น ยิ่งมีอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้นกว่าปกติอีก นักการเมืองหญิงที่ชนะการเลือกตั้งกับการหย่าร้างนั้นแทบจะยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นกับนักการเมืองหญิงแทบจะทุกคน

Read More

การป้องกันการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน

Column: Women in Wonderland ทุกวันนี้ปัญหาการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน เป็นปัญหาหนึ่งที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญและใส่ใจมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเร็วๆ นี้กรณีของ Harvey Weinstein ซึ่งเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ในวงการฮอลลีวูด และเป็นเจ้าของบริษัท Weinstein ถูกหนังสือพิมพ์ New York Times เปิดโปงเรื่องที่ดาราและลูกจ้างหลายคนถูกลวนลามทางเพศเพื่อที่จะได้มีงานและมีอนาคตที่ดีในวงการฮอลลีวูด เรื่องนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์แฮชแท็ก (Hashtag) คำว่า MeToo ที่ผู้คนในประเทศต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกเล่าประสบการณ์ของตัวเองที่ตกเป็นเหยื่อการลวนลามทางเพศ กลางเดือนธันวาคม ปี 2017 BBC News เปิดเผยผลการสำรวจของคนในสหราชอาณาจักร ว่าเคยมีประสบการณ์ถูกลวนลามทางเพศในที่ทำงานหรือไม่ โดย BBC News ทำการสำรวจประชาชนมากกว่า 6,000 คนจากทั่วประเทศ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า 40% ของผู้หญิงในสหราชอาณาจักรเคยถูกลวนลามทางเพศในที่ทำงาน และมีผู้ชายถึง 18% ที่ตกเป็นเหยื่อ ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 34 ปี และ 43% ถูกลวนลามในที่ทำงาน นอกจากนี้ผู้หญิงและผู้ชายที่รับจ้างทำงานอิสระเป็นฟรีแลนซ์ หรือเป็นเจ้าของกิจการ

Read More

สถานการณ์ที่เลวร้ายลงของการลวนลามทางเพศและการข่มขืนในที่ทำงาน

การถูกลวนลามทางเพศ (Sexual Harassment) เป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสที่จะได้พบเจอในการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่สาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้หญิงจะต้องเดินผ่านกลุ่มผู้ชายที่นั่งคุยกันอยู่ตรงมุมใดมุมหนึ่งของถนน แน่นอนว่าเมื่อเธอเดินผ่านก็อาจจะโดนแซ็ว หรือพวกเขาอาจจะยืนขวางไม่ให้เธอเดินต่อ หรือร้ายแรงที่สุดเธออาจจะโดนข่มขืนก็ได้ อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อปี 2012 ที่นักเรียนหญิงถูกข่มขืนบนรถเมล์จากกลุ่มเด็กหนุ่มที่นั่งอยู่บนรถเมล์คันเดียวกัน ดังนั้นการลวนลามทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ทุกเวลา และไม่สามารถคาดคะเนได้เลยว่าในแต่ละสถานการณ์ ความรุนแรงระดับไหนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สถานการณ์ความรุนแรงเรื่องการลวนลามทางเพศนั้นดูจะเลวร้ายมากขึ้น จะเห็นได้ว่าเราได้รับรู้ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับผู้หญิงที่ถูกลวนลามในที่สาธารณะมากขึ้น และผู้หญิงที่ต้องตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ก็มีอยู่ในทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ เป็นต้น จากการเปิดเผยเรื่องราวการถูกลวนลามทางเพศในโลกออนไลน์พบว่า ไม่ว่าจะเป็นถนนในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ถนนในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย หรือถนนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ล้วนแต่มีผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อถูกลวนลามทางเพศมาแล้วทั้งนั้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2017 องค์การอนามัยโลกได้สรุปไว้ว่า มีผู้หญิงประมาณ 35% จากทั่วโลกในแต่ละปีที่ถูกลวนลามทางเพศหรือถูกข่มขืนอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงชีวิตของพวกเธอ จากการสำรวจขององค์การสหประชาชาติในปี 2016 ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. พบว่ามีผู้หญิงถึง 1

Read More

ความรุนแรงในประเทศซิมบับเว

Column: Women in Wonderland ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กนั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศกำลังเผชิญ หลายครั้งมักจะได้ยินว่ารัฐบาลหลายประเทศออกกฎหมายเพื่อลดปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก แน่นอนว่ากฎหมายเหล่านี้บางประเทศก็ประสบความสำเร็จในการยุติปัญหาการใช้ความรุนแรง และปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ที่ใช้ความรุนแรงได้สำเร็จ แต่ในบางประเทศกฎหมายเหล่านี้ก็ไม่ช่วยให้จำนวนผู้หญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงลดลงเลย ซิมบับเวเป็นประเทศหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ด้านเศรษฐกิจนั้นซิมบับเวเป็นประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลกกว่า 2,000,000% ส่งผลให้ซิมบับเวมีอัตราคนว่างงานสูงกว่า 80% และยังมีวิกฤตด้านอาหารอีกด้วย การที่ซิมบับเวมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจทำให้ประชาชนต้องเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกด้วย โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสุขภาพ อัตราการติดเชื้อเอดส์สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก หรือผู้ใหญ่ 1 ใน 10 คนที่อาศัยอยู่ในประเทศซิมบับเวจะติดเชื้อเอดส์ และมีชาวซิมบับเวถึงประมาณ 30,000 คนที่เสียชีวิตในแต่ละปีจากการติดเชื้อเอดส์ การติดเชื้อเอดส์มีอัตราสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกนั้นเป็นปัญหาหนึ่งที่ซิมบับเวกำลังเผชิญ ในขณะเดียวกันอีกปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ก็คือการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง ประเทศซิมบับเวมีผู้หญิงที่อายุระหว่าง 15–49 ปี มากกว่า 1 ใน 3 ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางร่างกายครั้งหนึ่งในชีวิตจากสามี และมีผู้หญิงประมาณ 1 ใน 4 ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศตั้งแต่อายุ 15 ปี ไม่ได้มีเพียงผู้หญิงเท่านั้นที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง แม้แต่เด็กเองก็ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงมากเช่นกัน มีเด็กถึงประมาณ 34% ที่ถูกบังคับให้แต่งงาน การที่เศรษฐกิจของซิมบับเวนั้นแย่มากๆ ประชาชนอดมื้อกินมื้อ

Read More

ความรุนแรงในครอบครัวของคนผิวดำในประเทศอเมริกา

Column: Women in Wonderland ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กนั้นอาจจะไม่ได้เป็นปัญหาโดยตรงที่กระทบกับความมั่นคงทางการเมือง หรือการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ จึงทำให้หลายประเทศไม่เห็นว่าปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กนั้นเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข แต่หากเราได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วนจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนทุกชนชั้น ทุกเชื้อชาติ และทุกวัฒนธรรม การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กถือเป็นการแสดงออกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของบางสังคมที่ยังคงมีบรรทัดฐานและความเชื่อในสังคมว่า ผู้หญิงมีฐานะที่ต่ำต้อยกว่าผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงถูกเลือกปฏิบัติจากผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น บรรทัดฐานและความเชื่อต่างๆ เหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่ และยังคงถูกแสดงออกให้เห็นว่าผู้หญิงได้รับการเลือกปฏิบัติผ่านองค์กรทางสังคมและการเมืองต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งความเชื่อและบรรทัดฐานเหล่านี้ทำให้มีผู้หญิงและเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2016–2017 องค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยข้อมูลสถิติเรื่องการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กดังนี้ 7 ใน 10 ของผู้หญิงจากทั่วโลกเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือ/และถูกใช้ความรุนแรงทางเพศอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต 1 ใน 3 ของผู้หญิงจากทั่วโลกถูกทำร้ายร่างกายหรือ/และถูกใช้ความรุนแรงทางเพศจากคนที่เป็นสามีหรือคนรู้จักอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต มีผู้หญิงถึง 603 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่การใช้ความรุนแรงในครอบครัวไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรม 1 ใน 3 ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีแฟนถูกทำร้ายร่างกายหรือ/และถูกใช้ความรุนแรงทางเพศจากคนที่เป็นสามีหรือเป็นแฟนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต 38% ของผู้หญิงจากทั่วโลกที่ถูกฆาตกรรมโดยสามีของตัวเอง 1 ใน 4 ของผู้หญิงเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกใช้ความรุนแรงทางเพศระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้หญิงอายุระหว่าง 15–44 ปี มีความเสี่ยงสูงมากในการถูกข่มขืนและถูกทำร้ายจากคนในครอบครัวมากกว่าที่จะเป็นมะเร็ง ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน สงคราม

Read More