Home > Darunee Sae-Liew (Page 5)

ฝึกดูแลตนเองไว้รับมือไมเกรน

Column: Well-being เมื่อมีอาการตกค้างจากปวดศีรษะก็แย่พออยู่แล้ว แต่ถ้ายังถูกคุกคามจากอาการปวดไมเกรนล่ะ? ลองนึกภาพดูว่าจะยิ่งแย่แค่ไหน? ถ้าคุณโชคร้ายเป็นผู้ที่ต้องทุกข์ทรมานจากไมเกรน (อาการปวดศีรษะข้างเดียว) ไม่ว่าจะนานแค่ไหน คุณรู้ดีว่าสมองและร่างกายรู้สึกอย่างไรหลังจากการคุกคามนั้นผ่านพ้นไป คุณจะรู้สึกเหนื่อยล้า ใจสั่น อารมณ์ฉุนเฉียว และอาจรู้สึกเหมือนกำลังร้องไห้ ปล่อยให้มันเป็นไปเถอะ แต่คุณต้องกลับมาเป็นตัวเองอีกครั้งหนึ่งด้วยวิถีปฏิบัติเพื่อดูแลตนเองซึ่งจะทำให้รู้สึกดี ที่ต้องสังเกตอย่างหนึ่งคือ กิจกรรมดูแลตนเองเหล่านี้จะทำเมื่อคุณผ่านพ้นอาการปวดไมเกรนไปแล้ว และไม่แนะนำว่าการฝึกนี้เป็นวิธีบำบัดโรคไมเกรนโดยตรง อย่างไรก็ตาม ดร.เอลิซาเบธ เซ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มหาวิทยาลัยเยชิวา กล่าวว่า เมื่อรวมเอาการฝึกดูแลตนเองและเทคนิคการผ่อนคลายมารวมอยู่ในวิถีชีวิตปกติของคุณ มีเครื่องบ่งชี้ว่า สามารถลดความถี่ของการปวดไมกรนได้ นิตยสาร Shape แจกแจงรายละเอียดการฝึกดูแลตนเองไว้รับมือกับอาการปวดไมเกรนดังนี้ กินอาหารบ้าง ดร.เซ่ง กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์โดยซอยย่อยเป็นมื้อเล็กๆ วันละหลายมื้อ สามารถช่วยควบคุมไมเกรนให้สงบลงได้ อันที่จริง เป็นที่รู้กันว่าการอดอาหารบางมื้อ ทำให้มีอาการปวดไมเกรนพุ่งขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นนิสัยการกินที่แย่พอๆ กับความเครียดและการนอนไม่พอ ที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดไมเกรนเร็วขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นสาเหตุเสมอไป ดร.เซ่งจึงแนะนำให้กินอะไรบ้างหลังถูกไมเกรนคุกคาม (ทันทีที่อาการคลื่นไส้หายไป) ขณะที่คุณต้องการจะผ่อนคลายกลับไปสู่สุขภาพปกติโดยเร็ว อาหารโดยรวม เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีนไร้มัน จะช่วยฟื้นฟูความแข็งแกร่งได้ โดยเฉพาะถ้าคุณต้องทุกข์ทรมานกับการอาเจียน ดร.เซ่งสนับสนุนให้คุณกินอาหารที่ทำให้คุณมีความสุข ฝึกหายใจลึกๆ คุณเพิ่งผ่านประสบการณ์ที่ทำร้ายคุณทั้งทางร่างกายและจิตใจมาหมาดๆ คุณจำเป็นต้องลดความเครียดอย่างรวดเร็ว

Read More

เผยแหล่งโพแทสเซียมที่สูงกว่ากล้วย

Column: Well – Being เมื่อคิดถึงสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ใจของคุณอาจกระโดดไปที่โปรตีน เส้นใย วิตามินดี หรือแม้แต่โอเมก้า–3 แต่โพแทสเซียมล่ะ? สารอิเล็กโตรไลต์สำคัญตัวนี้อาจไม่อยู่ในความคิดของคุณด้วยซ้ำ โพแทสเซียมมีบทบาท คือ ช่วยให้เซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อของคุณสื่อสารกันได้ ช่วยขนส่งสารอาหารอื่นๆ เข้าสู่เซลล์ในร่างกาย และช่วยรักษาระดับของโซเดียมในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่า หากร่างกายได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง (เพราะโพแทสเซียมสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเกลือ) และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วในไตได้ ข่าวดีคือ คุณสามารถหาแหล่งโพแทสเซียมได้มากเกินความต้องการจากอาหารทุกชนิด แต่ถ้าคุณตั้งธงว่าต้องเป็นกล้วยเท่านั้น อาจไม่เร็วนักที่ร่างกายจะได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอ เพราะกล้วยขนาดกลางหนึ่งผลให้โพแทสเซียม 422 มิลลิกรัม หรือประมาณร้อยละ 9 ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (DV) คือ 4,700 มิลลิกรัม คุณสามารถหาได้จากผลไม้และผักต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย นิตยสาร Prevention แนะนำอาหาร 16 ชนิดที่มีโพแทสเซียมมากกว่ากล้วยหนึ่งผลดังนี้ มันเทศ มันเทศอบขนาดกลางหนึ่งหัว มีโพแทสเซียม 542 มิลลิกรัม หรือร้อยละ 12 ของ DV มันเทศยังอุดมด้วยวิตามินเอ ที่ดีต่อสายตา วิตามินซี

Read More

12 สาเหตุทำหน้าคุณเหี่ยวย่นก่อนวัย

Column: Well – Being นิตยสาร Shape เสนอบทความการค้นพบ 12 สาเหตุที่ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่นและริ้วรอยที่เกิดจากวัย พร้อมทั้งชี้แนะวิธีเปลี่ยนนิสัยในชีวิตประจำวันของคุณเพื่อรักษาใบหน้าไว้ดังนี้ อาหารก่อภาวะอักเสบ สิ่งที่อยู่บนจานอาหารเป็นสาเหตุของรอยเหี่ยวย่นได้ ลองคิดดูง่าย ๆ คุณกินอาหารวันละ 3 มื้อหรือมากกว่า และถ้าอาหารในชีวิตประจำวันของคุณเต็มไปด้วยอาหารประเภทน้ำมันพืช มาการีน เนื้อแดง ขนมปังขาว อาหารแปรรูปหรืออาหารรสหวานเพราะน้ำตาล คุณไม่ได้ทำให้ผิวหนังชอบใจแม้แต่น้อย อาหารเหล่านี้สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาจเร่งการก่อตัวของรอยเหี่ยวย่นได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า glycation นอกจากนี้ น้ำตาลในอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงยังทำให้คอลลาเจนและอีลาสตินอ่อนแอลง เพื่อป้องกันการแก่ก่อนวัย ให้เน้นอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า–3 และกรดอัลฟา–ไลโนเลอิค เช่น เมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ อะโวคาโด ปลาแซลมอน และน้ำมันมะกอก อาหารเหล่านี้จะช่วยให้ผิวของคุณคงความอ่อนนุ่มแลดูยืดหยุ่นด้วย ให้แน่ใจว่าได้ให้ความสำคัญกับผักและผลไม้ด้วยเช่นกัน ผลิตผลที่สดนั้นอุดมด้วยสังกะสี เซเลเนียม วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกุญแจสำคัญของการผลิตคอลลาเจน ซึ่งทำให้ผิวหนังในร่างกายของคุณเต่งตึง รวมทั้งป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ ทางเลือกที่ดีสองอย่างคือ พริกหวานสีแดงและแคร์รอต ถ้าไม่ชอบให้หันมาบริโภคบรอกโคลีเพียงหนึ่งถ้วยมีปริมาณวิตามินซีที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันครบทั้งร้อยละ 100 ท้ายที่สุด ต้องให้แน่ใจว่าคุณบริโภคโปรตีนมากพอ ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า การบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดการฉีกขาด รอยเหี่ยวย่น

Read More

โรคสมองเสื่อมทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น …อย่างไร?

Column: well-being ไม่มีใครปฏิเสธว่า ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่แสนโหด แต่รายงานใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขว่า ในระยะไม่ถึงสองทศวรรษ การเสียชีวิตจากโรคสมองเสื่อมในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงกว่า 2 เท่า ศูนย์สถิติสุขภาพแห่งชาติระบุรายละเอียดว่า ปี 2000 โรคสมองเสื่อมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 30.5 คนต่อแสนประชากร และพุ่งพรวดขึ้นเป็น 66.7 คนต่อแสนประชากรในปี 2017 โดยโรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 46 ของการเสียชีวิตด้วยโรคสมองเสื่อมปี 2017 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ระบุว่า ภาวะสมองเสื่อมเป็นคำที่ใช้อธิบายกลุ่มของเงื่อนไขที่ส่งผลกระทบต่อความคิด ความทรงจำ และพฤติกรรมได้มากพอที่จะรบกวนชีวิตประจำวันของคนคนหนึ่ง สถาบันชราศาสตร์แห่งชาติระบุเงื่อนไขดังกล่าวรวมถึงโรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม และโรคสมองเสื่อมเหตุสมองขาดเลือด ทำไมจึงมีผู้เสียชีวิตจากโรคสมองเสื่อมมากขึ้น ความเห็นของ นพ.เดวิด เอ. เมอร์ริลล์ นักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ผู้สูงอายุแห่งศูนย์สุขภาพประจำโพรวิเดนซ์ เซนต์ จอห์น เมืองซานตา โมนิก้า รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่กล่าวว่า เป็นเพราะหลายปัจจัยร่วมกัน “มันเป็นสึนามิสีเงิน” เขาอธิบาย “คนมีอายุยืนยาวขึ้นและก้าวเข้าสู่วัยชรา และเราก็รู้ว่าอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ที่สำคัญที่สุดของโรคสมองเสื่อม” นอกจากนี้ เขาเพิ่มเติมว่า “ชุมชนการแพทย์และคนทั่วไปยังตระหนักถึงโรคนี้มากขึ้นด้วย

Read More

หมอแนะวิธีลดน้ำหนักที่ดีที่สุดหลังหมดประจำเดือน

Column: Well – Being ตอนนี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ในภาวะกำลังหมดประจำเดือน หรือผ่านพ้นช่วงเวลานั้นมาแล้วก็ตาม คุณอาจสังเกตว่า การลดน้ำหนักทำได้ยากขึ้น และ “ความคิดนี้ไม่ได้วนเวียนอยู่ในหัวของคุณเท่านั้น” พญ. อแมนด้า ฮอร์ตัน สูตินรีแพทย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ กล่าว “มันยากจริง ๆ กับการพยายามลดน้ำหนักในช่วงนี้” นิตยสาร Prevention ให้ข้อมูลน่าสนใจว่า พญ.ฮอร์ตันยังกล่าวว่า จริง ๆ แล้วผู้หญิงช่วงอายุเกิน 50 ปีและ 60 ปี จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.5 ปอนด์ต่อปี ที่เป็นอย่างนี้สาเหตุเพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในระหว่างหมดประจำเดือน สามารถเปลี่ยนสมดุลของระดับฮอร์โมนเลปตินและเกรลินได้ ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่ควบคุมความหิว และทำให้เกิดความอยากอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ความเครียด อาการนอนไม่หลับ และการกินยาบางตัวก็เป็นสาเหตุของการเพิ่มน้ำหนักได้ “สาเหตุทุกอย่างที่นำไปสู่การเพิ่มน้ำหนักยังทำให้การลดน้ำหนักทำได้ยากด้วย แต่เราเชื่อมั่นว่าทำได้ เพียงต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องเท่านั้น” นพ.วิลเลียม แยนซี ผู้อำนวยการโครงการประจำศูนย์ Duke Diet and Fitness

Read More

รังไข่ … อวัยวะจิ๋วสุดเจ๋งของคุณผู้หญิง

Column: Well – Being นิตยสาร Prevention เสนอบทความว่าด้วยรังไข่ อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่มีขนาดเล็กแต่ทรงพลังมหาศาลต่อร่างกายทั้งระบบของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ รังไข่เป็นต่อมไร้ท่อรูปทรงลูกมะเดื่อ ตั้งอยู่ที่อุ้งเชิงกราน 2 ข้างของมดลูก นอกจากจะมีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง รังไข่ยังมีบทบาทสำคัญอื่นๆ ในร่างกายเช่นกัน รังไข่ทำอะไร หน้าที่ของรังไข่ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ผลิตไข่ของผู้หญิง ซึ่งมีขนาดเล็กจิ๋วมาก และเต็มไปด้วย DNA (ครึ่งหนึ่งเป็น DNA ของฝ่ายหญิง และถ้าไข่ใบนั้นได้ผสมกับสเปิร์มที่นำ DNA ของผู้ชายอีกครึ่งหนึ่ง ก็สามารถสร้างตัวอ่อนขึ้นมาได้) ในแต่ละเดือนรังไข่สร้างไข่ราวกว่าสิบใบ แต่มีไข่เพียงหนึ่งหรือสองใบ (ในกรณีลูกแฝด) ออกจากรังไข่ แล้วเดินทางผ่านท่อนำไข่ไปยังมดลูก ที่ที่ไข่อาจหรืออาจไม่ได้ผสมกับสเปิร์มก็เป็นได้ รังไข่ยังทำหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่นอกเหนือจากการเป็นที่เก็บไข่ในระยะยาว นั่นคือ ผลิตฮอร์โมน ส่วนใหญ่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ควบคู่กับการควบคุมอนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง รังไข่ยังผลิตฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนบางส่วนด้วยเช่นกัน ฮอร์โมนทั้งหมดนี้ออกจากรังไข่และไหลเวียนไปทั่วร่างกายของคุณผ่านทางกระแสเลือดนั่นเอง ฮอร์โมนไม่เพียงคอยรักษาให้ระบบสืบพันธุ์แข็งแรง แต่ยังส่งผลต่อการพัฒนากระดูก กล้ามเนื้อ และสมองด้วย ในรังไข่มีไข่มากน้อยแค่ไหน คุณเกิดมาพร้อมรังไข่ที่มีไข่ราว 1–2 ล้านใบ เมื่อย่างเข้าสู่วัยแตกเนื้อสาว ไข่จะค่อยๆ ลดจำนวนลงเหลือ 300,000 ใบ

Read More

6 ปัจจัยเพิ่มเสี่ยงหัวใจวาย

Column: Well – Being ศูนย์เพื่อการควบคุมโรค (ซีดีซี) รายงานว่า แต่ละปีมีชาวอเมริกันเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 610,000 ราย หรือราวหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทำให้โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตระดับต้น ๆ ทั้งของชายและหญิงในสหรัฐฯ ซีดีซีให้ข้อมูลต่อไปว่า แม้อาการหัวใจวายจะไม่ได้หมายถึงการเสียชีวิตทุกครั้งไป แต่ซีดีซีประเมินว่า แต่ละปีมีชาวอเมริกันราว 735,000 คน ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหัวใจวาย ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจกลัวไม่เบา ตราบใดที่คุณควบคุมระดับโคเลสเตอรอลได้ รวมทั้งสามารถจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารจานด่วน คุณก็ปลอดภัยใช่ไหม? โชคร้ายที่ทุกอย่างไม่ได้เรียบง่ายตรงไปตรงมาอย่างนั้น ขณะที่หลาย ๆ ปัจจัยอย่างเช่น การขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกหลัก และคนในครอบครัวมีประวัติหัวใจวาย จะเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายก็จริง แต่ยังมีอีก 6 ปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงจากอาการหัวใจวายได้อย่างน่าประหลาด นิตยสาร Prevention นำเสนอ 6 ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ 1 โรคแพ้ภูมิตัวเอง นีก้า โกลด์เบิร์ก แพทย์โรคหัวใจและผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของศูนย์เพื่อสุขภาพสตรีโจน เอช. ทิสช์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่า ถ้าคุณมีประวัติเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคลูปัส โรคไขข้ออักเสบ หรือโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน คุณมีแนวโน้มจะมีอาการหัวใจวายมากขึ้น

Read More

เมื่อพังผืดเกิดติดยึดขมวดเป็นปม

Column: Well – Being พังผืดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันสำคัญอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ซึ่งสามารถทำให้เกิดความรู้สึกเป็นปมตึงเขม็งเกลียวขึ้นได้ นิตยสาร shape ให้ความกระจ่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับพังผืดไว้ดังนี้ เครือข่ายของพังผืด พังผืดมีลักษณะเหมือนสายรัดแบบเต็มตัวที่ยึดโยงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังให้อยู่ในที่ในทาง มีหน้าที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะ เส้นประสาท และหลอดเลือด ให้อยู่ในเครือข่ายของคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติกที่เชื่อมต่อกัน ดังนั้น การเคลื่อนไหวทุกฝีก้าว และการนั่งนอนนานๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อพังผืดของคุณ อาร์คาดี้ ลิปนิตสกี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการจัดกระดูก (chiropractor) แห่งศูนย์ Rebalance NYC อธิบายว่า “หลังจากนั่งเป็นเวลานาน เวลาที่ลุกขึ้น ถ้าคุณรู้สึกว่าเกิดอาการข้อติด พูดได้เลยว่า เป็นเพราะพังผืดสูญเสียคุณสมบัติยืดหยุ่นของตัวเองไปชั่วคราว” ซู ฮิทซ์มานน์ นักกายภาพบำบัดและผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมการวิจัยพังผืด ให้คำแนะนำว่า “ให้เคลื่อนไหวไปรอบๆ ความรู้สึกว่าข้อติดนั้นจะหายไปเอง นี่คือเหตุผลสำคัญที่ตอกย้ำว่า ทำไมการเคลื่อนไหวอยู่เสมอจึงจำเป็นมาก” เมื่อเกิดการติดยึด จอร์แดน เม็ทเซิล แพทย์ด้านการกีฬากล่าวไว้ในหนังสือ The Athlete’s Book of Home Remedies ว่า เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า (หรือเพราะอาการบาดเจ็บ) พังผืดสามารถฉีกขาด อักเสบ หรือหดตัวสั้นลง

Read More

เป็นมิตรกับไขมันกันดีกว่า & กินมากไปทำไงดี

Column: Well – Being ที่พูดกันว่า ไขมันทำให้คุณอ้วนได้นั้น เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะไขมันให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีน แต่ร่างกายของคุณจำเป็นต้องได้รับไขมันเพื่อทำหน้าที่ให้ได้ดีที่สุด และไขมันบางชนิดก็มีคุณสมบัติและคุณภาพดีกว่าชนิดอื่นๆ ในการช่วยค้ำจุนสุขภาพโดยรวมของคุณ การตรวจสอบปริมาณไขมันที่กินเข้าไปอย่างระมัดระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักตัว แต่การกินอะโวคาโดสักสองสามชิ้น เนยถั่วสักหนึ่งช้อนพูน หรือเหยาะน้ำมันมะกอกลงในสลัดสักหน่อย สามารถทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น หรือสามารถช่วยให้ร่างกายของคุณเผาผลาญไขมันได้มากขึ้นด้วยซ้ำ และที่ไม่อาจปฏิเสธได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไขมันทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้นเสียด้วย หนังสือ Prevention Guide: Eat Clean กล่าวว่า หัวใจสำคัญอยู่ที่การเลือกกินไขมันให้ถูกชนิด เพราะไขมันที่มีอยู่ทั้งหมดไม่ได้ถูกผลิตขึ้นอย่างเท่าเทียมหรือเหมือนกัน แล้วคุณจะแยกแยะได้อย่างไรล่ะว่าไขมันชนิดไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร วิธีที่ง่ายที่สุดคือ นึกถึงไขมันในรูปของสัญญาณไฟจราจรนั่นเอง ไขมันบางชนิดจัดอยู่ในประเภทไฟเขียว บางชนิดเป็นไฟเหลือง และบางชนิดเป็นไฟแดง ไขมันประเภทไฟเขียว เป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fat) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fat) และกรดไขมันโอเมก้า–3 ซึ่งสามารถช่วยให้คุณลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจได้ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้คงที่ ซึ่งช่วยลดอาการอยากอาหารขยะที่มีรสหวานได้ด้วย คุณแสวงหาไขมันประเภทไฟเขียวนี้ได้จากอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งอาหารประเภทธัญพืชเต็มเมล็ดด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ได้แก่ น้ำมันมะกอก ผลมะกอก อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง และเนยถั่ว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

Read More

เปิดข้อมูลใหม่…ช่วยหนีไกลจากไข้หวัด

Column: Well – Being แม้เรายังอยู่ในอิทธิพลของฤดูหนาว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณต้องป่วยเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่เสมอไป นิตยสาร Shape นำเสนอกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่มีวิทยาศาสตร์หนุนหลัง ทำให้คุณแข็งแรงดี รอดพ้นจากการถูกโรคภัยไข้เจ็บตามฤดูกาลเล่นงานได้ เลือกออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่คุณสามารถทำได้ เพื่อรักษาร่างกายให้มีสุขภาพดี ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร British Journal of Sports Medicine พบว่า คนที่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 ครั้งหรือมากกว่า มีแนวโน้มป่วยน้อยกว่าคนที่ออกกำลังกายเพียงสัปดาห์ละครั้งถึงร้อยละ 43 และการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออาจเป็นประโยชน์มากเป็นพิเศษ ดร.เดวิด ไนแมน หัวหน้าทีมวิจัยและผู้เขียนรายงานการวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า “ระหว่างออกกำลังกายแบบแอโรบิก เซลล์ภูมิคุ้มกันของคุณจะเคลื่อนที่ไปทั่วร่างกายและเคลื่อนที่ไปในกระแสเลือดได้มากกว่า ผลคือคุณสามารถตรวจพบและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่า” เขายังเพิ่มเติมว่า การออกกำลังกายอย่างการวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และพายเรือ ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพที่สุด นอนเพิ่มขึ้นอีกหน่อย วารสาร Sleep รายงานผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ที่ระบุว่า หลังจากให้กลุ่มตัวอย่างสัมผัสเชื้อไวรัสก่อไข้หวัด ปรากฏว่าร้อยละ 39 ของผู้ที่นอนวันละ 6 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า ถึงกับล้มป่วยเมื่อเทียบกับผู้ที่นอนวันละมากกว่า 6 ชั่วโมง ที่ป่วยเพียงร้อยละ 18 ดร.เอริค

Read More