KBank จับคู่พ่อค้า ไทย-จีน เสริมกลยุทธ์ ธุรกิจ เอสเอ็มอี

จากภาพรวมการค้าการลงทุนธุรกิจเอสเอ็มอีไทย-จีน ที่ดำเนินไปด้วยดี ธนาคารกสิกรไทย เล็งเห็น ช่องทางในการหาลู่ทางจับคู่ทางธุรกิจ หวัง สร้างเครือข่ายและหากลยุทธ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า โดยเน้น ธุรกิจ มันสำปะหลัง เป็นหลัก คาดจะสามารถกระตุ้นการส่งออกมันสำปะหลังไปยังจีนในปีนี้ได้ถึง 1 ล้านตัน มูลค่าราว 7,000 ล้านบาท พิพิธ เอนกนิธิ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ภาพรวมการค้าระหว่างไทยกับจีน ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการค้าสูงถึง 78,684.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ

Read More

ไตรภัค สุภวัฒนา “เสื้อเหมือนป้ายโฆษณา”

 “ไตรภัค สุภวัฒนา” หนึ่งในดีไซเนอร์ยุคแรกๆ ของ “ERR-OR DESIGN” ถือเป็นจุดขายและเอกลักษณ์หนึ่งที่ทำให้เสื้อยืดธรรมดาไม่ธรรมดา เพราะลายเสื้อทุกชิ้นล้อเลียนและเสียดสีสังคม โดยเฉพาะการต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม คอลเลกชั่น “Foodland” ซึ่งไม่ต่างจากอาชีพนักเขียนการ์ตูนที่ไตรภัคพยายามนำเสนอผลงานในฐานะนักเขียนการ์ตูนไทยท่ามกลางการ์ตูนญี่ปุ่นที่ล้นทะลักตลาด แม้มี “โทริยาม่า อากิระ” ซึ่งโด่งดังจากการ์ตูนเรื่อง “ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่” และ “ดราก้อนบอล” เป็นไอดอลในดวงใจก็ตาม“ผมทำเสื้อเพื่อบอกเล่าอะไรบางอย่าง เสื้อเป็นสื่ออย่างหนึ่ง เป็นป้ายโฆษณา เพื่อบอกความชอบส่วนตัว ผมสร้างเสื้อที่บอกความชอบและแสดงจุดยืน ผมคิด ถึงอาหารก่อน ผมต่อต้านบริโภคนิยม ผมนำเสนอลายข้าวหน้าหมู แต่เป็นข้าวหน้า หมูจานใหญ่มากที่คนกินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ไม่รู้จักพอ เขียนถึงฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังให้วัยรุ่นที่กำลังเห่อว่าเรากินมันและเรากำลังถูกมันกินเช่นกัน”ทุกครั้งที่ทำลายเสื้อ ไตรภัคมักมีคำอธิบายเล็กๆ เพื่อสื่อทัศนคติ เป้าหมาย ไม่ใช่ยับยั้งระบบ เพราะในความจริง ตัวเขากินฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังๆ เช่นกัน แต่แนวคิด “Foodland” อยากให้เด็กวัยรุ่นมองอาหารต่างชาติราคาแพงเหล่านี้เป็นเพียงอาหารมื้อหนึ่งที่กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่ค่านิยม ไม่ใช่แฟชั่น ไม่ใช่เครื่องประดับ กินแล้วดูเท่กว่าข้าวแกงจานละ 25 หรือ 30 บาทสำหรับคอลเลกชั่นใหม่ เขาเตรียมทำลายเสื้อนำเสนอทัศนคติเกี่ยวกับ “คนไร้บ้าน” เนื่องจากเป็นปัญหาที่สะท้อนสภาพ สังคมหลายอย่าง ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจในระดับประเทศ การบริหารของ รัฐบาล การกระจายรายได้ที่ล้มเหลว ซึ่งเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้สึกจากการไปเฝ้าดูกลุ่มคนเหล่านี้ที่สนามหลวง เยาวราช แต่ทำเนื้อหาให้สนุกขึ้นแม้ไม่ใช่ลูกค้าทั้งหมดที่ชอบ ERR-OR DESIGN แต่เสื้อยืดสไตล์ไตรภัคนี่แหละ ที่มัดใจแฟนขาประจำได้ชะงัดนัก

Read More

ขบวนการมนุษย์ 5 สี Err-or design

 จากเด็กนักศึกษาขายเสื้อยืดแบกะดินแถวถนนข้าวสารเมื่อ 5 ปีก่อน วันนี้ “ERR-OR DESIGN” แปลงร่างกลายเป็นแบรนด์เสื้อยืดแนวกราฟกดีไซน์ที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มเด็กวัยรุ่น มีชอปในตลาดนัดจตุจักร ในย่านแฟชั่นสตรีทอย่างสยามสแควร์ ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ เทอร์มินอล 21 และเซ็นทรัลพลาซา พระราม 9 รวมทั้งกำลังบุกหนักขยายตลาดในต่างจังหวัดและตลาดออนไลน์ขบวนการมนุษย์ 5 สีที่หุ้นส่วนทั้ง 5 คนมักบอกกับใครๆ เริ่มจากหัวเรือใหญ่ วุฒิพณ สุขเจริญนุกูล หรือ “จิ๊ง” ซึ่งเวลานั้นเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดไอเดียชวนเพื่อนคู่หู พัชรดนัย ศรีธนะขัณฑ์ หรือ “เป้า” และวิชญะ วิเศษสรรโชค หรือ “แนท” ลงขันทำเสื้อยืดขาย เริ่มจากการขายแบกะดินแถวถนนข้าวสาร ตลาดนัดจตุจักร เสื้อส่วนใหญ่ตอนนั้นใช้ลายกราฟิกที่ค้นจากอินเทอร์เน็ตบ้าง ลายของนักออกแบบบ้างจนกระทั่งเรียนจบ จิ๊งไปฝึกงานที่บริษัท Drugstore the design guru ซึ่งเป็นบริษัทกราฟิกดีไซเนอร์ที่รวมกลุ่มพี่ๆ ที่จิ๊งชื่นชอบผลงานอย่างมากเขาเกิดความคิดว่าทำไมเมืองไทยไม่มีใครทำอย่างเมืองนอกที่นำเอากราฟิกดีไซน์มาต่อยอดบนเสื้อผ้าและให้เครดิตชื่อ เจ้าของผลงานเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ใช้สินค้ารู้ ให้แฟนๆ ติดตาม ซึ่งนั่นกลายเป็นที่มาของโปรเจ็กต์ “ERR-OR DESIGN” โดยดึงเพื่อนอีก 2 คนเข้ามาร่วมทีมคือ ชาติเชื้อ เชื้อชาติ หรือ “เดียร์” และ สิทธวัชร์ นิลศรี หรือ “นนท์”“จิ๊ง แนท เป้า เป็นเพื่อนเรียนอัส-สัมชัญด้วยกัน

Read More

นีโอ สุกี้ ทำธุรกิจ สู้ยิบตา

หากเอ่ยถึงสุกี้ ในใจคนไทยคงมีเพียงไม่กี่แบรนด์ที่ติดตลาดในขณะนี้ และอยู่ในแทบทุกห้าง ในขณะที่นีโอ สุกี้ แม้จะก่อกำเนิดมา 10 กว่าปี แต่ชื่อเสียงเรียงนามต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่แทบจะไม่รู้จักด้วยซ้ำ แต่สามารถไปเปิดตลาดใน AEC นีโอ สุกี้ เป็นแบรนด์สินค้าที่ก่อตั้งขึ้นโดยบริษัท นีโอ สุกี้ ไทยเรสเทอรองส์ จำกัด เมื่อปี 2542 เพื่อให้บริการอาหารสุกี้ในรสชาติที่หลากหลาย มีสาขาที่เปิดใน ประเทศไทยในขณะนี้เพียง 7 แห่ง และในต่างประเทศอีก 5 แห่งเท่านั้น ปริมาณสาขาที่มีไม่มากและไม่สามารถเข้าไปเปิดในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือห้างโมเดิรน์เทรดได้นั้นเป็นเพราะพื้นที่ดังกล่าวถูกยักษ์ใหญ่อย่างเอ็มเคยึดครองไปเกือบทั้งหมด ซึ่งมีสาขามากกว่า 1 พันแห่ง อุปสรรคที่นีโอ สุกี้ประสบอยู่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งที่บริษัทพยายามหาจุดขายให้กับตัวเอง เพราะเส้นทางของบริษัทตั้งแต่ก่อนเริ่มทำธุรกิจเต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรคมากมาย สกนธ์ กัปปิยจรรยา รองประธาน บริษัท นีโอ สุกี้ ไทยเรสเทอรองส์ จำกัด เจ้าของธุรกิจเล่าให้ผู้จัดการ 360 ํ ฟังว่า แนวคิดเริ่มต้นทำธุรกิจเกิดก่อนที่จะมีนีโอ

Read More

Moly Care ปั้นแบรนด์ไทย ก้าวสู่ตลาด AEC

แบรนด์ Moly care หนึ่งในแบรนด์เอสเอ็มอีไทย ที่มีความฝันจะก้าวไปสู่ตลาด AEC ได้เตรียมตัวล่วงหน้ามาเป็นเวลา 5 ปี โดยใช้โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์เป็นยุทธศาสตร์รุกและรับในเวลาเดียวกัน ความคืบหน้าในการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ทั้ง 10 ประเทศที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 เริ่มจากธุรกิจการค้า (trading) ได้สร้างความกระตือรือร้นให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยเริ่มมองหาโอกาสอย่างต่อเนื่อง แม้ในประเทศไทยจะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 2 ล้านราย ทว่ายังมีจำนวนน้อยที่ให้ความสนใจการเปิดเสรีการค้าภายใต้ความร่วมมือ AEC อาจเป็นเพราะยังไม่เข้าใจความหมายอย่างถ่องแท้และไม่รู้สภาพการแข่งขันว่าจะเผชิญกับสิ่งใด ในขณะที่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังไม่เห็นโอกาส แต่เอสเอ็มอีอย่างบริษัท โมลี จำกัด กลับเตรียมตัวล่วงหน้ามาเป็นเวลา 5 ปี และมีเป้าหมายชัดเจนที่จะออกไปขยายและเติบโตในตลาด AEC บริษัท โมลี จำกัด ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ถือหุ้นโดยครอบครัวกาญจนบัตร 100 เปอร์เซ็นต์ ให้บริการภายใต้แบรนด์โมลี แคร์ บริการล้างสี ดูดฝุ่น

Read More