Home > On Globalization (Page 13)

“โอม นมัส ศิวะ”

 Column: AYUBOWAN นัยความหมายของวันสำคัญที่ทำให้แต่ละสังคมหรือประเทศประกาศให้เป็นวันหยุดของทางราชการหรือภาคเอกชนในแต่ละพื้นที่ของโลก นอกจากจะสะท้อนมิติทางประวัติศาสตร์ ร่องรอยแห่งความจำเริญงอกเงยทางศิลปวัฒนธรรม รวมถึงคุณค่าที่สังคมเหล่านั้นเชื่อถือและให้ความสำคัญใส่ใจแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นภาพสะท้อนของความเคารพความแตกต่างของผู้คนในแต่ละสังคมให้ได้รับเกียรติและการยอมรับอย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ ให้ต้องถูกผลักออกไปเป็นส่วนเกินของสังคม ประเด็นที่ว่านี้ดูเหมือนว่าสังคมศรีลังกาซึ่งแม้จะมีประชากรชาวพุทธสิงหลมากกว่าร้อยละ 70-75 ของประชากรจำนวน 20 ล้านคนและให้ความสำคัญกับ “วันพระใหญ่” หรือวันพระจันทร์เต็มดวง (Poya Day) ของศาสนาพุทธให้เป็นวันหยุดราชการอย่างน้อยเดือนละครั้ง พร้อมกับการงดเว้นกิจกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาแล้ว ด้วยเหตุแห่งความเป็นพหุสังคมที่มีการเรียนรู้อดีต ทำให้วันสำคัญทางศาสนาของศาสนาอื่นๆ ก็ได้รับการยอมรับและบรรจุให้เป็นวันหยุดราชการไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ศาสนาฮินดู ซึ่งมีชาวศรีลังกาทมิฬนับถืออยู่ประมาณร้อยละ 13-15 ของประชากรทั้งหมด ก็เป็นศาสนาที่มีวันสำคัญและได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในปฏิทินวันหยุดประจำปีของศรีลังกา ไม่น้อยเช่นกัน หรืออาจกล่าวได้ว่ามีวันหยุดของศาสนาฮินดูในปฏิทินวันหยุดของศรีลังกาเฉลี่ย 2 เดือนต่อครั้งเลยทีเดียว วันสำคัญที่นำไปสู่วันหยุดครั้งล่าสุดของศาสนาฮินดูในศรีลังกา คือวัน Maha Shivaratri ที่เป็นวันสำคัญทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดย ศิวราตรี แปลว่า ราตรีหรือค่ำคืนแห่ง (การบูชา) พระศิวะเจ้า ศิวราตรีเป็นเทศกาลสำคัญยิ่งวันหนึ่งในรอบปีของชาวฮินดู โดยพิธีศิวราตรีจะจัดขึ้นในช่วงวันแรม (กฤษณปักษ์) แรม 13 ค่ำ (กฤษณไตรโยทศี) หรือ แรม 14 ค่ำ (กฤษณจตุรทศี) ของเดือน

Read More

สายสัมพันธ์ชาวเกาะ

 Column: AYUBOWAN การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของศรีลังกาในช่วงหนึ่งขวบปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากำลังผลิดอกออกผลไปในทิศทางที่ทำให้ศรีลังกาทวีความน่าสนใจสำหรับนานาประเทศไม่น้อย ไม่เฉพาะในมิติของความสามารถในการจัดการและเรียนรู้กระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น หากยังประกอบส่วนด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจที่พร้อมจะพัฒนาไปได้อีกไกล รายงานข่าวการเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ John Key นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างและประจักษ์พยานที่ดีในกรณีที่ว่านี้ อีกทั้งยังสร้างแรงกระตุ้นสำหรับพัฒนาการทางสังคมครั้งใหม่ให้กับดินแดนแห่งนี้ด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีลักษณะร่วมทางภูมิศาสตร์ในฐานะที่เป็นเกาะของทั้งสองประเทศนี้ แม้จะเกี่ยวเนื่องกันมายาวนานทั้งในมิติที่ต่างก็อยู่ในเครือจักรภพ (Commonwealth) และ John Key ก็เคยเดินทางมาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ ซึ่งศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 2013  แต่การเดินทางเยือนครั้งล่าสุดของ John Key นับเป็นจังหวะก้าวครั้งใหม่ในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีของสองประเทศ พร้อมกับการส่งสัญญาณการสานสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างหลากหลายและรอบด้านจากนิวซีแลนด์เข้าสู่ศรีลังกา “ศรีลังกาคือแสงที่เจิดจรัสของภูมิภาคเอเชีย” เป็นคำกล่าวสรุปของ John Key ที่บ่งบอกนัยความหมาย และทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายของนิวซีแลนด์ต่อประเทศที่อุดมด้วยโอกาสและพร้อมจะรองรับการลงทุนจากนิวซีแลนด์แห่งนี้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงคาบเกี่ยวกับกำหนดการเยือนศรีลังกาโดยผู้นำนิวซีแลนด์ครั้งนี้ก็คือ การสื่อโฆษณาทั้งโดยนิวซีแลนด์และออสเตรเลียผ่านโซเชียลมีเดีย ว่าด้วยการเปิดรับสมัครและคัดสรรชาวศรีลังกาที่มีทักษะและความสามารถเฉพาะทาง ทั้งวิศวกร แพทย์ พยาบาล รวมถึงผู้มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และไอทีให้เข้าไปทำงานและพำนักในประเทศทั้งสอง ขณะเดียวกันสถานศึกษาจากทั้งสองประเทศก็พยายามสื่อสารถึงโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับ O Level และ A Level ในศรีลังกาให้มาศึกษาต่อในนิวซีแลนด์และออสเตรเลียด้วย อาจเรียกได้ว่าเป็นการนำการศึกษาและโอกาสใหม่ในชีวิตมาผูกให้เกิดเป็นกระแสสำนึกและความตระหนักรู้ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ความนิยมในแบรนด์ “นิวซีแลนด์” ไปในคราวเดียวกัน ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของ John Key ในการเดินทางเยือนศรีลังกาครั้งนี้อยู่ที่กำหนดการเปิดศูนย์เกษตรกรรมสาธิต Fonterra

Read More

JKH: เสาหลักธุรกิจศรีลังกา

 Column: AYUBOWAN แม้ว่าศรีลังกาจะประกาศและได้รับสถานะการเป็นรัฐเอกราชที่พ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1948 หากแต่ร่องรอยจากอิทธิพลทางการค้าที่เป็นมรดกตกทอดมาจากยุคอาณานิคมที่ยาวนานกลับหยั่งรากลึกและขยายโอกาสครอบคลุมองคาพยพทางธุรกิจและเศรษฐกิจของศรีลังกาอย่างไม่อาจเลี่ยง ภาพแห่งความจำเริญที่ดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของอดีตบรรษัทที่ประกอบการโดยนักธุรกิจชาวอังกฤษในครั้งกาลเก่า ไม่เพียงแต่ปรากฏให้เห็นอดีตที่รุ่งเรือง แต่กำลังผลักดันศรีลังกายุคใหม่ให้ก้าวหน้าไปไกลอีกด้วย มรดกของบรรษัทจากอังกฤษในอดีตที่ยังปรากฏให้เห็น และขยายตัวครอบครองบริบททางธุรกิจของศรีลังกาอย่างกว้างขวางและทรงพลังที่สุดในห้วงยามปัจจุบัน คงไม่มีองค์กรใดจะโดดเด่นเท่ากับความเป็นไปของ John Keells Holdings ที่แผ่ขยายกิ่งก้านสาขาทางธุรกิจปกคลุมพื้นที่ตั้งแต่กิจการโรงแรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โลจิสติกส์และขนส่ง มาจนถึงอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเครื่องดื่ม เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงการให้บริการด้านสารสนเทศและการเงิน เรียกได้ว่ามีธุรกิจครอบคลุมวิถีชีวิตเกือบจะทุกระนาบของสังคมศรีลังกาเลยทีเดียวก็ว่าได้ ยังไม่นับรวมการเป็นบรรษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ศรีลังกา ที่มีมูลค่าการตลาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและยังจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก (1994) ซึ่งนับเป็นองค์กรธุรกิจจากศรีลังการายแรกที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ประวัติความเป็นมาของ John Keells Holdings หรือ JKH เริ่มต้นขึ้นในปี 1870 จากนักธุรกิจสองพี่น้องชาวอังกฤษ Edwin และ George John ริเริ่มจัดตั้งบริษัทผู้แทนการค้าและโบรกเกอร์ในนาม E.John & Co. เพื่อดำเนินการเป็นผู้แทนการค้าชาและส่งออกชาจากดินแดนอาณานิคมไปยังตลาดโลก ธุรกิจของ E.John & Co. เติบโตไปพร้อมกับการดำเนินไปของทั้งอาณานิคมอังกฤษและกิจการชาในดินแดนแห่งนี้ กระทั่งในปี 1948 เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราช E.John & Co.

Read More

ตุ๊กตาบาร์บี้ปรับโฉมใหม่เพื่อส่งเสริมรูปร่างที่แตกต่างกันในสังคม

 Column: Women in Wonderland ถ้าพูดถึงตุ๊กตาบาร์บี้ คงไม่มีเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงคนไหนที่ไม่รู้จักตุ๊กตายอดนิยมตลอดกาลและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกมานานกว่า 57 ปี ตุ๊กตาบาร์บี้เป็นตุ๊กตาผู้หญิงผมบลอนด์ที่มีรูปร่างและหน้าตาที่แสนจะเพอร์เฟ็กต์  ในตอนแรกนั้นตุ๊กตาบาร์บี้ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นตัวแทนของเด็กหญิงชาวอเมริกันทุกคน โดยบาร์บี้มีหน้าตาที่สวยงาม รูปร่างที่ดีมาก ตู้เสื้อผ้าที่อลังการมากๆ แฟนหนุ่มที่มีรูปร่างเพอร์เฟ็กต์และร่ำรวยมหาศาล และมีบ้านที่เป็นเหมือนบ้านในฝันของทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้ว บาร์บี้ดูจะมีรสนิยมที่เลิศหรูเกินจริงไปสักหน่อยเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กหญิงชาวอเมริกันทั่วๆไป และที่แย่กว่านั้นคือ รูปร่างของบาร์บี้นั้นผอมจนเกินไปเมื่อเทียบกับคนจริงๆ Galia Slayen ซึ่งเป็นศิลปินได้สร้างหุ่นขนาดเท่ากับคนจริงๆ แต่ได้นำสัดส่วนของบาร์บี้มาใช้คือ มีหน้าอกขนาด 36 นิ้ว เอว 18 นิ้ว และสะโพก 33 นิ้ว ซึ่งนี่เป็นรูปร่างที่เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง  การที่บาร์บี้มีเอวบาง และขาที่เรียวเล็ก อาจจะทำให้เด็กๆ อยากมีรูปร่างแบบบาร์บี้เมื่อพวกเธอโตขึ้น ซึ่งนี่จะนำไปสู่ปัญหาเรื่องการกินอาหารที่ผิดปกติของเด็กๆ ตั้งแต่ครั้งแรกที่บาร์บี้มีการออกวางขายในตลาด บาร์บี้ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาเป็นเวลานานกว่า 50 ปี ว่าบาร์บี้กำลังสนับสนุนความคิดในสังคมเรื่องภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ขาดสารอาหาร เพราะบาร์บี้กำลังปลูกฝังความคิดให้เด็กผู้หญิงทางอ้อมว่า ผู้หญิงควรจะมีรูปร่างที่ผอมบางเหมือนกับตุ๊กตาบาร์บี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วรูปร่างแบบตุ๊กตาบาร์บี้นั้นเป็นรูปร่างที่ไม่สามารถเป็นไปได้  นอกจากนี้ในปี 2506 ทางบริษัทแมทเทล (Mattel) ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ออกจำหน่าย ได้มีการวางขายตุ๊กตาบาร์บี้พร้อมหนังสือทำอย่างไรในการลดน้ำหนัก โดยหนังสือเล่มนี้ให้คำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานอาหารในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก มีนักวิจัยได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับรูปร่างของตุ๊กตาบาร์บี้ ซึ่งในงานวิจัยพบว่า ถ้าผู้หญิงมีรูปร่างแบบบาร์บี้

Read More

เศรษฐีศรีลังกา

 Column: AYUBOWAN ความเป็นไปทางเศรษฐกิจของประเทศเล็กๆ อย่างศรีลังกาในช่วงหลังสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ อาจทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าจักรกลที่หนุนนำทางเศรษฐกิจของดินแดนแห่งนี้คงเป็นผลจากแรงกระทำและกระตุ้นของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) แต่โดยลำพัง หากแต่ในความเป็นจริงศรีลังกามีบรรษัทและนักธุรกิจที่ประกอบการและดำเนินธุรกิจหนุนนำสังคมให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอยู่จำนวนไม่น้อยเลยนะคะ หนึ่งในจำนวนนักธุรกิจที่โดดเด่นและถือว่าเป็นผู้มีบทบาทอิทธิพลในสังคมเศรษฐกิจศรีลังกามากที่สุดรายหนึ่งในทำเนียบนักธุรกิจศรีลังกา คงต้องยกให้ Don Harold Stassen Jayawardena (D.H.S. Jayawardena) หรือที่เรียกขานกันทั่วไปว่า Harry Jayawardena เป็นนักธุรกิจลำดับต้นๆ ที่ทุกคนจะต้องนึกถึง ลำดับชีวิตของ Harry Jayawardena ในวัย 73 ปี (เกิด 17 สิงหาคม 1942) เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานในบรรษัทค้าใบชาจากอังกฤษซึ่งควบคุมกลไกทางเศรษฐกิจของดินแดนอาณานิคมแห่งนี้ ก่อนที่จะผันตัวเองมาสู่ภาคราชการด้วยการเป็นผู้จัดการแผนกชา (Tea Department) ในวิสาหกิจการค้าแห่งรัฐ ที่ทำหน้าที่ผูกขาดกิจกรรมทางการพาณิชย์ของศรีลังกาในยุคหลังอาณานิคมไว้อย่างเบ็ดเสร็จ ความเปลี่ยนแปลงในแนวนโยบายจากเศรษฐกิจที่ควบคุมโดยรัฐไปสู่การค้าเสรีนับตั้งแต่ช่วงปี 1977 ของ Junius Richard Jayewardene (นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีศรีลังกา ระหว่างปี 1977-1989) กลายเป็นข้อต่อและจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญให้กับวิถีชีวิตของ Harry Jayawardena ก่อนการสร้างอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา Harry

Read More

สื่อ: เสรีภาพและการคุกคาม

 Column: AYUBOWAN เดือนมกราคมที่ผ่านมาดูเหมือนว่า แวดวงการทำงานของสื่อในสังคมไทยจะถูกตั้งคำถามและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม รวมถึงมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพอย่างกว้างขวาง ซึ่งคงทำให้นักวิชาชีพสื่อสารมวลชนในประเทศไทยต้องให้ความสนใจและทบทวนบทบาทและภาพลักษณ์ที่ผ่านมาพอสมควร การรณรงค์ในช่วงก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะด้วยถ้อยวลี “Journalism is not a crime” หรือ “เสรีภาพสื่อ คือเสรีภาพของสังคม” ดูจะกลายเป็นการรณรงค์ที่ไร้น้ำหนักและถูกผลักให้ห่างจากสังคมโดยรวมออกไปไกลขึ้นทุกขณะ ไม่ต้องกล่าวถึงภาพลักษณ์โดยรวมของสื่อมวลชนไทยถูกเหมารวมจากประพฤติกรรมและท่วงทำนองที่กลายเป็นการคุกคามและละเมิดสิทธิของผู้อื่นเสียเองอีกต่างหาก แต่สำหรับสังคมศรีลังกา เดือนมกราคมที่ผ่านมา วงการสื่อสารมวลชนที่นี่ได้จัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์และเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ซึ่งถูกคุกคามด้วยการลอบสังหาร อุ้มหาย และประทุษร้ายต่อชีวิต ในนาม “Black January” เพื่อกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงความรุนแรงอีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบวิชาชีพนี้ เหตุที่คณะจัดกิจกรรมเลือกเดือนมกราคม มาเป็นหลักในการรณรงค์ให้ยุติการคุกคามเสรีภาพในการทำงานของสื่อก็เนื่องเพราะในช่วงเดือนมกราคมระหว่างปี 2008-2010 มีเหตุการณ์คุกคามสื่อรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการประทุษร้ายต่อผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ Lal Hemantha Mawalage ในปี 2008  ยิ่งไปกว่านั้น และเป็นกรณีที่หนักหน่วงและกระตุ้นความรู้สึกร่วมคงเป็นผลมาจากการลอบสังหาร Lasantha Wickrematunga บรรณาธิการ Sunday Leader เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2009 และการอุ้มหาย Prageeth Ekneligoda คอลัมนิสต์และการ์ตูนนิสต์การเมืองคนดังของศรีลังกา เมื่อวันที่ 24

Read More

KALPITIYA: จุดหมายใหม่การท่องเที่ยว

 Column: AYUBOWAN ความเป็นไปของ Puttalam และภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกา ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเร่งระดมสรรพกำลังในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในภาคการผลิต อุตสาหกรรมและพลังงานเท่านั้น  หากแต่ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่ประกอบส่วนด้วย Lagoon ขนาดใหญ่ ชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวกำลังได้รับการประเมินศักยภาพเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีจุดมุ่งหมายจะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศ พื้นที่เป้าหมายที่ได้รับการยกระดับและเร่งพัฒนาเพื่อเชื้อเชิญนักธุรกิจผู้ประกอบการการท่องเที่ยวจากทั้งภายในและภายนอกประเทศให้เข้ามาลงทุนในระยะที่ผ่านมาอีกแห่งหนึ่ง อยู่ที่เขต Kalpitiya หมู่บ้านชาวประมง ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากโคลัมโบทางทิศเหนือ 160 กิโลเมตร และมีประวัติการณ์เชื่อมโยงกับการค้าทางทะเลและการเป็นจุดพักเรือมาตั้งแต่อดีตกาล ยังไม่นับรวมถึงการเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้ทั้งโปรตุเกสและดัตช์ เจ้าอาณานิคมต่างลงหลักปักฐาน และสถาปนาให้ Kalpitiya เป็นที่มั่นที่อุดมด้วยป้อมค่าย พร้อมกับส่งผ่านอิทธิพลทางวัฒนธรรมและทิ้งร่องรอยแห่งมรดกทางประวัติศาสตร์นี้ไว้ในนาม Dutch Bay จนถึงปัจจุบัน ขณะที่ภูมิประเทศซึ่งเป็นแหลมทอดยาวไปกว่า 48 กิโลเมตรและมีความกว้าง 6-8 กิโลเมตรขนาบข้างด้วย Puttalam Lagoon ทางด้านตะวันออกและมหาสมุทรอินเดียทางชายหาดด้านตะวันตก ควบคู่กับการมีเกาะแก่งแวดล้อมอีกกว่า 14 แห่ง ทำให้ Kalpitiya กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ และกลายเป็นจุดขายที่น่าสนใจไม่น้อย  ความพยายามที่จะพัฒนาให้ Kalpitiya เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่หนึ่งใน 15 แห่งของศรีลังกานี้ ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติมาตั้งแต่เมื่อปี 2003 และเริ่มมีกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวและสันทนาการขยับขยายเข้ามาจับจองพื้นที่กว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งหมดใน Kalpitiyaในรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันไป กระบวนการไล่รื้อหรือผลักดันชาวบ้านดั้งเดิมออกจากพื้นที่ เพื่อรวบรวมที่ดินมาพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 2,500

Read More

ยุโรปอบรมผู้ลี้ภัย เน้นเคารพสิทธิสตรี

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว หลายประเทศในทวีปยุโรปต้องเผชิญปัญหาผู้อพยพลักลอบเข้ามาอยู่ในยุโรปมากเกินไป ทำให้หลายประเทศที่แม้จะมีฐานะทางเศรษฐกิจดีและสามารถรับผู้อพยพมาอยู่ในประเทศได้จำนวนหนึ่ง อย่างเยอรมนี สวีเดน และออสเตรีย ก็ยังต้องเผชิญปัญหา การที่มีผู้อพยพทั้งที่ขอลี้ภัยแบบถูกกฎหมายและที่ลักลอบเข้าประเทศมากเกินไป อาจส่งผลให้มีปัญหาอาชญากรรมและการว่างงานเพิ่มมากขึ้น และยังอาจเป็นโอกาสในการแฝงตัวแทรกซึมเข้ามาในประเทศต่างๆ ในยุโรปของผู้ก่อการร้ายอีกด้วย   สถานการณ์ผู้อพยพยิ่งแย่ลงไปอีกเมื่อสถานการณ์สงครามกลางเมืองในประเทศซีเรียมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีชาวซีเรียหรือคนมุสลิมจำนวนมากขอลี้ภัยไปอยู่ในหลายประเทศในยุโรป และมีจำนวนมากยอมเสี่ยงชีวิตเดินทางลักลอบเข้าทวีปยุโรป  องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า IOM) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ ได้เปิดเผยว่า ในช่วงเวลา 8 เดือนของปีที่แล้ว (พ.ศ.2558) มีคนอพยพเข้ามาอยู่ในยุโรปถึง 267,121 คน ในขณะเดียวกันก็มีผู้เสียชีวิตถึง 3,000 คน จากการลักลอบเข้ามาในทวีปยุโรป โดยส่วนใหญ่จะเดินทางข้ามทะเลมา และสาเหตุการเสียชีวิตมาจากเรือประสบเหตุอับปางลงกลางทะเล การขาดอากาศหายใจ และถูกรมด้วยควันพิษจากเครื่องยนต์ของเรือ เพราะมีผู้อพยพจำนวนมากที่ขออาศัยมากับเรือของพวกนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ และพวกเขาจะถูกขังรวมกันไว้ใต้ท้องเรือในสภาพที่แออัด จากการสำรวจจำนวนผู้อพยพครั้งหลังสุดพบว่า มีคนซีเรียที่อพยพเข้าไปอยู่ในยุโรปแบบถูกกฎหมายแล้ว 313,000 คน โดยเยอรมนีรับผู้อพยพไว้มากที่สุดประมาณ 89,000 คน และสวีเดนรับไป

Read More

PUTTALAM: จากนาเกลือสู่แหล่งพลังงาน

 Column: AYUBOWAN ฉากแห่งวิถีชีวิตบนทางหลวงหมายเลข A3 ที่เริ่มต้นจากชายขอบตอนเหนือของกรุงโคลัมโบเลียบเลาะชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของประเทศมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือก่อนสิ้นสุดสู่จุดหมายที่เมือง Puttalam รวมระยะทางกว่า 130 กิโลเมตรกำลังปรับเปลี่ยนโฉมหน้าและเพิ่มเติมบทบาทความสำคัญขึ้นอย่างช้าๆ แต่น่าสนใจยิ่ง Puttalam เป็นเมืองขนาดใหญ่ในเขตจังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ (North Western หรือ Wayamba Province) ที่มีประวัติการณ์ยาวนานนับเนื่องได้กว่า 2,500 ปี หรือตั้งแต่เมื่อครั้งที่เจ้าชายวิชัยอพยพผู้คนจากแผ่นดินใหญ่ในชมพูทวีปเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสถาปนาวงศ์กษัตริย์ ตัมพปาณี (Tambapanni หรือ Thambaparni) และถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งประวัติการณ์ชนชาติของศรีลังกาบนแผ่นดินลังกาทวีป ในอาณาบริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของ Puttalam ในปัจจุบัน ชื่อของ Puttalam เชื่อว่ามาจากรากฐานในภาษาทมิฬที่ว่า Uppuththalam โดย Uppu หมายถึงเกลือ และ Thalam มีความหมายว่า แหล่งผลิต ก่อนที่จะกร่อนเสียงเหลือเพียง Puttalam ในเวลาต่อมา แต่มรดกจากที่มาและต้นทางของชื่อบ้านนามเมืองที่ว่านี้ ไม่ได้หล่นหายหรือมลายสูญลงไป ด้วยเหตุที่ข้อเท็จจริงสำคัญก็คือ Puttalam เป็นแหล่งผลิตเกลือแหล่งใหญ่ของศรีลังกา และยังดำเนินความสำคัญอยู่อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตเกลือทะเลที่หล่อเลี้ยงสังคมศรีลังกาเลยทีเดียว อุตสาหกรรมการผลิตเกลือที่ Puttalam ได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เพราะนอกจากจะเป็นจักรกลในการขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารแล้ว ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือศรีลังกามีปริมาณการบริโภคเกลือมากถึง

Read More

ขวบปีของท่านผู้นำ

 Column: AYUBOWAN วันเวลาหมุนผ่านและแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเหลือเกินนะคะ ผู้เขียนขออนุญาตกล่าวสวัสดีปีใหม่กับท่านผู้อ่านในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2559 ขอขอบพระคุณที่ติดตามและให้ความอนุเคราะห์คอลัมน์ AYUBOWAN และผู้จัดการ 360  ํ ด้วยดีตลอดมานะคะ สำหรับศรีลังกา ขวบปีที่ผ่านมา ดำเนินไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจเก่า-ใหม่ ด้วยการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของ Maithripala Sirisena ที่มีชัยชนะเหนือ Mahinda Rajapaksa ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2015 อย่างพลิกความคาดหมายของผู้สังเกตการณ์และผู้สันทัดกรณีทางการเมืองไม่น้อย ขวบปีที่ผ่านมาของ Maithripala Sirisena เริ่มต้นด้วยความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางกฎหมายให้สามารถรองรับกับพัฒนาการทางสังคมใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้มีกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจและการคานอำนาจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะกระบวนการพัฒนาทางการเมืองของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา ได้รับการประเมินว่าเปิดช่องทางให้มีการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งหรือแม้กระทั่งขจัดคู่แข่งขันทางการเมือง การใช้อำนาจเอื้อหรือแสวงประโยชน์จากกลุ่มทุนที่กำลังรุกคืบเข้ามาในศรีลังกาผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ยังไม่นับรวมถึงความพยายามที่จะส่งผ่านและสืบต่ออำนาจในกลุ่มเครือข่ายที่ใกล้ชิดนักการเมืองด้วย ความคาดหมายของสาธารณชนต่อบทบาทและผลงานของ Maithripala Sirisena มิได้จำกัดอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยการกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมของศรีลังกามาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ แผนการปฏิรูป 100 วันของ Maithripala Sirisena ที่ประกาศหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ล่าช้าผิดเป้าหมายไปท่ามกลางความกังวลว่าถึงที่สุดแล้ว การสร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่ให้กับศรีลังการวมถึงคำมั่นสัญญาหลากหลายที่ Maithripala Sirisena ได้ประกาศในช่วงรณรงค์หาเสียงอาจกลายเป็นเพียงสายลมพัดผ่านที่ไม่สามารถจับต้องได้ Maithripala Sirisena อาจเริ่มต้นดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามแผนปฏิรูปที่วางไว้ได้ช้าไปสักหน่อย เพราะผู้คนที่เคยคุ้นชินกับระบอบเดิมต่างไม่แน่ใจว่าหนทางใหม่ที่ Maithripala Sirisena

Read More