Home > Life (Page 16)

เรื่องเล่าจากเมนูสมุนไพร หอมรัญจวนใจ ได้ประโยชน์

ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด สมุนไพรไทยตัวละครเอกที่มักจะปรากฏอยู่ในเมนูอาหารไทยแทบจะทุกเมนู และบางบ้านแทบไม่ต้องหาซื้อพืชสมุนไพรจากตลาดเลย เชื่อว่าในสมัยเด็กๆ หลายคนอาจถูกไหว้วาน เรียกใช้จากแม่ครัวเอกประจำบ้าน ให้ไปขุด ตัด สมุนไพรที่ปลูกอยู่ในสวนหลังบ้านกันแทบทั้งนั้น แต่จะตัดหรือขุดออกมาได้ถูกใจแม่ครัวหรือไม่ก็ขึ้นกับความชำนาญ คำสอนถูกบอกกล่าวจากผู้สูงวัย เริ่มตั้งแต่วิธีการเลือกสมุนไพร ล้าง หั่น ซอย ถูกถ่ายทอดอย่างค่อยเป็นค่อยไป คนเฒ่า คนแก่จะใช้วิธีค่อยๆ สอนลูกหลานไปทีละนิดจนเกิดกระบวนการเรียนรู้และจดจำในที่สุด หลายครั้งเราแทบไม่เคยตั้งคำถามเลยว่า ทำไมต้องทำเช่นนั้น ทำไมต้องหั่นแบบนี้ เราเพียงแต่จดจำว่า ผู้ใหญ่ถ่ายทอดและส่งต่อกันมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายที่จะปฏิบัติตาม เพราะสุดท้ายแล้ว ผลลัพธ์ก็ทำให้อิ่มท้องได้ทุกมื้อ ณ ปัจจุบันขณะโลกเรากำลังต่อสู้และพยายามที่จะเอาชนะเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้จะมีนักวิจัยที่วิจัยและพัฒนาวัคซีนประสบความสำเร็จแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และปริมาณวัคซีนที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทำให้หลายคนเริ่มมองหาวิธีที่จะต่อสู้และรับมือกับไวรัสทางอ้อม หรืออย่างไทยๆ เรา คือการใช้สมุนไพรโดยมุ่งหวังที่จะบรรเทาอาการก่อนเชื้อลงปอด หรือเพื่อป้องกันไว้ก่อน ความธรรมดาสามัญประจำครัวถูกทำให้เป็นเรื่องพิเศษขึ้นในเวลาไม่นาน แม้สมุนไพรจะอยู่คู่ครัว คู่บ้านเรามาตลอดเวลา แต่เรากลับมองเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของอาหารเท่านั้น แม้จะรู้ว่าสมุนไพรเหล่านี้ให้ประโยชน์ทางยา แต่เรากลับรู้สึกตื่นเต้นและตื่นตัวมากกว่าแต่ก่อน แม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดลงไปว่าสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์หรือกลไกใดที่ต่อต้านเชื้อโควิด-19 ได้ แต่ความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมาทั้งรูปแบบออนไลน์ หรือบอกเล่ากันปากต่อปาก ทำให้หลายบ้านเริ่มเพิ่มเมนูที่มีองค์ประกอบของสมุนไพรลงไปในสำรับเกือบทุกมื้อ ผัดกะเพรา เมนูที่หลายคนให้คำนิยามว่า “เมนูสิ้นคิด” ที่มักจะสั่งทุกครั้งเมื่อสร้างสรรค์เมนูแปลกใหม่ไม่ออก ด้วยรสชาติเผ็ดร้อนจากพริก

Read More

การฆ่าคนด้วยข้อมูลเท็จ บนโลกโซเชียล

ท่ามกลางสถานการณ์อันยากลำบากที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ความพยายามของภาครัฐของแต่ละประเทศคือการเอาชนะไวรัสโควิด-19 ในสงครามครั้งใหม่ มนุษยชาติกำลังพัฒนาอาวุธที่สยบไวรัสที่กำลังกลายพันธุ์อยู่ตลอด นอกจากสงครามไวรัสที่ยังไม่รู้บทสรุป ทว่า เรากลับต้องเปิดศึกครั้งใหม่บนโลกออนไลน์กับข้อมูลเท็จที่กำลังแพร่กระจายในวงกว้าง แม้ว่าสงครามด้านข้อมูลเท็จบนสื่อโซเชียลจะดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวนานแล้วก็ตาม ทว่า ในช่วงเวลานี้เป็นเวลาอันยากลำบากที่จะจำกัดวงและกำจัดข้อมูลปลอมเหล่านี้ รวมไปถึงการขุดให้ลึกถึงต้นตอของข้อมูล การถูกซ้ำเติมสถานการณ์ด้วยการเผยแพร่และกระจายข้อมูลอันเป็นเท็จในช่วงเวลานี้ ไม่ต่างอะไรกับการทำร้ายผู้คนด้วยกันเอง “พวกเขากำลังฆ่าผู้คน” คำตอบของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าว เกี่ยวกับบทบาทของสื่อโซเชียลอย่างเฟซบุ๊ก ที่ถูกกล่าวหาว่า แพร่กระจายข้อมูลแบบผิดๆ เกี่ยวกับวัคซีนและโรคโควิด-19 ส่งผลให้ทำเนียบขาวเพิ่มความกดดันต่อเหล่าบริษัทโซเชียลมีเดียมากขึ้น ในการให้จัดการขจัดข้อมูลแบบผิดๆ บนแพลตฟอร์มของตนเอง ขณะที่โฆษกทำเนียบขาว นางเจน ซากี ยังระบุด้วยว่า เฟซบุ๊กและแพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่ได้ดำเนินการมากเพียงพอในการต่อสู้กับการกระจายข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับวัคซีน ด้านนายเควิน แมคอลิสเตอร์ โฆษกเฟซบุ๊ก ตอบโต้ว่า เฟซบุ๊กได้ดำเนินการอย่างแข็งกร้าว ในการขจัดข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และวัคซีน เพื่อปกป้องสาธารณสุข โดยเฟซบุ๊กได้ลบข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโรคโควิดจำนวนมากกว่า 18 ล้านชิ้นออกไปจากแพลตฟอร์มแล้ว และยังได้ทำการปิดบัญชีผู้ใช้ที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จด้วย คำถามคือ นโยบายและความพยายามของเฟซบุ๊กต่อกรณีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จบนแพลตฟอร์มของตัวเองนั้น เพียงพอแล้วหรือยังที่จะสกัดกั้นไม่ให้ข้อมูลเท็จถูกนำมาเผยแพร่ในช่วงเวลาที่ผู้คนสมควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน รวมไปถึงการที่ข้อมูลเหล่านั้นต้องไม่ถูกบิดเบือนจากกลุ่มคนไม่หวังดี แน่นอนว่าแพลตฟอร์มอย่างเฟซบุ๊กตกเป็นที่วิจารณ์ว่า ยังปล่อยให้มีข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิดเผยแพร่อยู่บนแพลตฟอร์มของพวกเขาอย่างกว้างขวางและเฟซบุ๊กยังไม่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังมากพอ ขณะที่ประเทศไทยพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

Read More

อยู่อย่างไรให้รอดจากโควิดระลอก 4

ณ เวลานี้ เราคงต้องยอมรับว่าสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการระบาดในบ้านเรา ยอดติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนตัวเลขเกินครึ่งหมื่นต่อเนื่องมาหลายวัน ความคาดคิดและคาดหวังของคนส่วนใหญ่คงเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า อีกไม่ช้าไม่นานคงจะจบลงเสียที แบบระลอกแรกและระลอกสอง ที่จบลงภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่ทิศทางการแพร่ระบาดจากระลอกสามกลับไม่จบลงง่ายๆ เช่นเดิม กระทั่งเราเดินทางมาสู่ระลอกสี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กล่าวว่า “ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทั้งโลกมีการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลตาอย่างมาก ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้ว 96 ประเทศ ส่วนประเทศไทย 2 เดือนที่แล้ว 85-90 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อที่ตรวจพบคือ สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) พอมิถุนายนถึง กรกฎาคม ทั้งประเทศเป็นเชื้อเดลตา 30 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเร็วมาก เฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเดลตา 50 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา 40 เปอร์เซ็นต์ คาดว่า 1-2 เดือน ทั้งไทยและโลกจะเป็นเดลตาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด “เชื้อตัวนี้ภาพรวมไม่ได้มีความรุนแรงมากกว่าอัลฟา แต่มีลักษณะพิเศษทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะออกซิเจนต่ำกว่าปกติเร็วขึ้น ปอดอักเสบเร็วขึ้น อย่างอัลฟาใช้เวลา 7-10 วัน

Read More

ก่อน-หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปฏิบัติตัวอย่างไรดี

หลังจากที่โลกเราทำความรู้จักกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตของมนุษยชาติ และก่อวิกฤตทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศ นักวิจัยเริ่มพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเพื่อหวังให้เป็นเกราะป้องกันมนุษย์จากเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีวัคซีนที่ถูกพัฒนาแล้วหลายบริษัท เช่น ซิโนแวค แอสตราเซเนกา ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ซิโนฟาร์ม จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนก็แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีการผลิต อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการฉีดวัคซีนจะเป็นเรื่องความสมัครใจ ทว่า รัฐบาลของแต่ละประเทศต่างเชิญชวนให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่หรือ Herd Immunity ซึ่งนอกจากจะลดโอกาสการติดเชื้อแล้ว ยังช่วยให้สามารถเปิดประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น ก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีน สิ่งที่พึงปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายพร้อมที่สุดคือ 1. การพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ซึ่งการพักผ่อนให้เพียงพอนั้น ส่งผลต่อสภาพร่างกายโดยรวม ทั้งในเรื่องของความดันที่แต่ละคนต้องรับการตรวจเช็กก่อนฉีดวัคซีน หากความดันสูงหรือต่ำเกินไป เจ้าหน้าที่การแพทย์จะวินิจฉัยไม่ให้รับวัคซีน 2. ดื่มน้ำเปล่าปริมาณมากๆ การดื่มน้ำ 2-3 ลิตรเป็นอย่างน้อยก่อนรับวัคซีน จะช่วยบรรเทาอาการที่จะเกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนได้เป็นอย่างดี 3. ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป หากเป็นผู้ที่ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องหยุด เพียงแต่ให้ปรับระดับความหนักของการออกกำลังกายให้เบาลง อย่าหักโหม อาจลดเวลาออกกำลังกาย หรือปรับรูปแบบการออกกำลังกาย เช่น โยคะ พิลาทิส หรือยืดเหยียด 4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ปล่อยให้หิวหรือท้องว่าง ก่อนเข้ารับวัคซีน เพราะอาจทำให้ผู้รับวัคซีนเป็นลม

Read More

COVID-19: คนไทยเผชิญวิกฤต ภาวะเครียดแทรกซ้อนซ้ำเติม

สถานการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาดอีกครั้ง และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากกว่าครั้งก่อนนอกจากจะมีประเด็นว่าด้วยการควบคุมโรคและการทำงานหนักของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่คนไทยต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดยังอยู่ที่ความเครียด และการรับมือกับสภาพจิตใจของตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่มองข้ามไม่ได้โดยเด็ดขาด วิกฤต COVID-19 นำไปสู่ความเครียดของคนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากความกังวลใจสงสัยว่าตัวเองติดเชื้อหรือยัง หรือความเครียดจากการที่ค้าขายไม่ได้ นายจ้างลดการจ้างงาน เครียดเพราะเดินทางไม่ได้ รวมถึงการที่ครอบครัวมีลูกอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้าน จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทบกระทั่งและทะเลาะกันมากยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้คนมีความเครียดเพิ่มขึ้น และถูกทับถมให้หนักขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ในแต่ละระลอกให้หนักขึ้นไปอีก จากสถิตินับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมาพบว่าแนวโน้มที่คนไทยมีความเครียดจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอัตราที่สูงมาก คำแนะนำสำคัญสำหรับคนที่เครียดจาก COVID-19 จึงอยู่ที่การรับฟังเพื่อพยายามหาว่าปัญหาคืออะไร และพิจารณาปัญหาที่สำคัญสุดที่เผชิญอยู่คืออะไรกันแน่ สิ่งต่อมาคือการประเมินว่าปัญหาที่แต่ละคนเผชิญอยู่เป็นปัญหาที่แก้ได้หรือไม่ได้ เช่น เรื่องหนี้สิน ก็ต้องประสานหาข้อมูลเพื่อบรรเทาผลกระทบ หากเป็นเรื่องทะเลาะกับคนในบ้านหลังจากต้องล็อกดาวน์ตัวเองกับคนในครอบครัว ทำให้มีปากเสียงกันบ่อย ก็ต้องระงับจิตใจให้ผ่อนคลายลง ส่วนปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ เช่น ภาวะซึมเศร้าจากผลของการที่บางคนได้รับรู้หรือประสบเจอเจอเหตุจากคนรู้จักเสียชีวิตจาก COVID-19 อาจต้องพิจารณาว่ามีแนวโน้มขอบเขตความเครียดอยู่ระดับไหน ถึงขั้นต้องไปพบแพทย์หรือไม่ ซึ่งทุกครั้งที่สังคมเจอวิกฤต เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งมีคนก่อเหตุฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 25% จากปีก่อนหน้า และอัตรานี้จะคงอยู่ไป 3-4 ปี กว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ข้อสังเกตประการหนึ่งจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในสังคมทุกครั้งนั้น จะเห็นได้ว่าแต่ละวิกฤตส่งผลเป็นความเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนจำนวนมาก

Read More

“สะพานเขียว” สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง

ทางเดินลอยฟ้าทาสีเขียวสบายตาขนาบข้างด้วยรั้วสแตนเลสทอดผ่านชุมชนเก่าแก่และศาสนสถานใจกลางย่านธุรกิจของเมือง เชื่อมสวนสาธารณะขนาดใหญ่สองแห่งเข้าไว้ด้วยกัน มีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่เป็นระยะ และถูกโอบล้อมด้วยตึกสูงรอบด้าน ที่รู้จักกันในชื่อ “สะพานเขียว” กำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนจำนวนไม่น้อย ในฐานะพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่หลายสถานที่ถูกสั่งปิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 การได้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านจึงกลายเป็นสิ่งที่ใครหลายคนถวิลหา “สะพานเขียว” อาจจะเป็นที่รู้จักของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกันใครอีกหลายคนยังคงไม่รู้ถึงการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้ แม้ว่าจะถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 2543 แล้วก็ตาม สะพานเขียวเป็นโครงสร้างทางเดินและจักรยานยกระดับที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District – CBD) ของกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างสวนลุมพินีสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศและสวนเบญจกิติเข้าด้วยกัน โดยมีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกสารสินพาดผ่านชุมชนโปโล ชุมชนโบสถ์มหาไถ่ และชุมชนร่วมฤดี แหล่งพักอาศัยของชาวบ้านหลายร้อยครัวเรือน คร่อมคลองไผ่สิงโต ข้ามทางด่วนเฉลิมมหานคร ทอดยาวไปจนถึงปากซอยโรงงานยาสูบ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 1.3 กิโลเมตร นับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายและซับซ้อนทั้งในเชิงของมิติเศรษฐกิจและสังคม และเป็นสกายวอล์กแห่งแรกๆ ของกรุงเทพฯ แต่ก่อนจะเป็นสะพานเขียวอย่างในทุกวันนี้ ในอดีตสะพานเขียวทำหน้าที่เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนที่ใช้เดินทางไปมาระหว่างแยกสารสินและซอยโรงงานยาสูบ และใช้เพื่อการออกกำลังกายของคนในพื้นที่บ้าง โดยมีการใช้งานพลุกพล่านเพียงช่วงเช้าและยามเย็น แต่แทบไร้การใช้งานในช่วงเวลากลางวัน เพราะความร้อนระอุของเมือง รวมถึงโครงสร้างของสะพานที่ไร้ที่กันแดดกันฝน และร่มเงาจากต้นไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่เอื้อกับการออกมาทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน เพราะตลอดเส้นทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ค่อนข้างเปลี่ยว ไฟส่องสว่างมีไม่เพียงพอ เป็นแหล่งมั่วสุมและเอื้อต่อการเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ จึงยากที่จะปฏิเสธว่าสะพานเขียวเป็นพื้นที่อันตรายในภาพจำของใครหลายคน

Read More

ยิ่งเครียด สุขภาพก็ยิ่งแย่

ก่อนหน้านี้ "ผู้จัดการ 360 องศา" เคยนำเสนอว่า หากเราอยู่ในภาวะความเครียดแค่เพียงไม่กี่นาที แต่จะส่งผลต่อร่างกาย ซึ่งจะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายตกนานหลายชั่วโมง ลองมาสำรวจตัวเองว่า กำลังอยู่ในภาวะความเครียดโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ ด้วยสถานการณ์ของสังคมในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่รู้สึกอะไร ความกดดันจากหลายสภาวะที่ต้องเผชิญ หน้าที่การงาน ภาวะโรคระบาด สภาพเศรษฐกิจ ปัญหาชีวิต ครอบครัว อาจส่งผลต่อตัวเองและคนรอบข้าง การแสดงออกทางกายที่บ่งบอกว่าเรากำลังสะสมความเครียด คือ การแสดงออกทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว โมโหร้ายกว่าปกติ ระงับอารมณ์หรือคุมสติไม่อยู่ กระบวนความคิดในการวิเคราะห์หาเหตุผลน้อยลง สิ่งที่ผู้มีความเครียดแสดงออกมา เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนสารทุกข์ออกมา นั่นคือ อะดรีนาลีน สตีรอยด์ เมื่อฮอร์โมนตัวนี้เข้าสู่กระแสเลือดจะนำไปสู่อวัยวะสำคัญต่างๆ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะสำคัญๆ ซึ่งผลของความเครียดทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ ดังนี้ 1. หัวใจจะเต้นแรงขึ้น เร็วขึ้น ประมาณ 100-120 ครั้งต่อนาที ทั้งที่ปกติแล้วหัวใจจะเต้นประมาณ 60-70 ครั้งต่อนาที ดังนั้นผู้ที่เครียดจะรู้สึกว่าหัวใจตนเองเต้นแรงจนรู้สึกได้ ใจสั่น หรือรู้สึกเจ็บหน้าอก เมื่อหัวใจเต้นมากกว่าปกติสักพักจะเหนื่อย 2. หลอดเลือดความเครียดจะทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัวตีบตัน ทำให้อวัยวะต่างๆ ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอ เช่น หากเกิดกับสมอง ทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดหัว

Read More

การ์ดไม่ตก มาตรฐานสาธารณสุขครบ ลดเสี่ยงติดเชื้อโควิด

“ผู้อยู่รอด” หลายคนอาจใช้คำนี้เป็นคำพูดติดตลกสำหรับสถานการณ์ที่ไทยต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด และผ่านพ้นการติดเชื้อ ทั้งจากระลอกแรก ระลอกสอง กระทั่งเข้าสู่ระลอกสามในปัจจุบัน แม้จะเป็นเรื่องที่ดีที่เรายังไม่ติดเชื้อร้ายนี้ แต่แน่ใจหรือไม่ ว่าเวลานี้ตัวเราเองไม่ได้การ์ดตก หรือมาตรการสาธารณสุขบกพร่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพียงเพราะหลงอยู่กับคำว่า “ผู้อยู่รอด” ในช่วงแรกที่เชื้อโควิดมาถึงไทย หลังจากที่เรารับทราบมาตรการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่ไปในสถานที่เสี่ยงหรือแออัด เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นในระยะ 1-2 เมตร แทบทุกคนในสังคมเคร่งครัดกับแนวทางปฏิบัตินี้แม้จะดูยุ่งยากในช่วงแรก แต่มนุษย์รู้จักปรับตัวได้เพียงเวลาไม่นาน และยกการ์ดขึ้นป้องกันตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติจนน่าชื่นชม แต่หลังจากไทยต้องเผชิญการติดเชื้อในระลอกสอง จนถึงระลอกสาม สิ่งที่ปรากฏขึ้นในสังคมแม้จะยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายอยู่ในวงกว้าง และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจนแตะหลักพันในเวลานี้ ปรากฏว่า การ์ดที่เคยยกตั้งสูงตระหง่านชนิดที่เรียกว่า ไม่ประมาทง่ายๆ กลับสร้างมาตรการผ่อนคลายให้ตัวเอง การ์ดตกลงอย่างง่ายดาย แม้ว่าจะยังใส่หน้ากากอนามัยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็ตาม ลองสำรวจตัวเองดูก่อนว่า ทุกวันนี้ เรายังเว้นระยะห่างทางสังคมอยู่ไหม เมื่อเวลาต้องเข้าไปในพื้นที่จำกัด เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัด ตลาดสด เรายืนรอคิวชำระเงินชนิดที่ยืนหายใจรดต้นคอคนข้างหน้ารึเปล่า ขณะที่ผู้คนกำลังเลือกซื้อสินค้ากันจำนวนมาก เราได้ถอยออกมาและรอเวลาให้คนน้อยลงแล้วค่อยกลับไปอีกครั้งไหม ทุกวันนี้ เราล้างมือบ่อยแค่ไหน หลังจากที่จับหรือสัมผัสสิ่งของที่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น เรายังทำตามคำแนะนำจากภาครัฐแบบในระยะแรกอยู่หรือไม่ ทั้งการถูสบู่นาน 20 วินาที ทำความสะอาดทุกซอกนิ้วมือ

Read More

แบ่งเบาภาระ “คุณหมอ” ฝึก คุณหมา ดมกลิ่น COVID-19

ความหนักหน่วงของการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 ที่ดำเนินไปท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่และการกลายพันธุ์ของเชื้อที่ทำให้สถานการณ์ของโรคที่ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลกยังเป็นไปอย่างน่าเป็นห่วง ขณะที่ความหวังว่าด้วยวัคซีนในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการยับยั้งดูจะกลายเป็นสิ่งที่อาจไม่เพียงพอสำหรับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสับสนว่าด้วยปริมาณของวัคซีนที่จะจัดหาได้ในระยะถัดจากนี้ และคุณภาพของวัคซีนที่มีอยู่ว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนได้มากน้อยเพียงใด ข้อกังวลใจในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอีกประการหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้อยู่ที่การคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ ที่อาจเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ และก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดในฐานะที่เป็นคลัสเตอร์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ดังที่ปรากฏเป็นการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ อยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน ความพยายามที่จะหาเครื่องมือหรือตัวช่วยที่เป็นทางเลือกในการคัดกรองและตรวจหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ ดูจะได้รับความสนใจจากนานาประเทศและได้ทำการวิจัยทดลองในหลายประเทศไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นที่ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี รวมถึงในสหราชอาณาจักร ซึ่งพบว่าสุนัขดมกลิ่นที่ได้รับการฝึกฝนสามารถจำแนกและระบุตัวบุคคลที่ติดเชื้อ COVID-19 ได้ และทำให้การนำสุนัขดมกลิ่นมาใช้อาจเป็นทางเลือกในการช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีต้นทุนลดลง มีความเป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่าย ที่อาจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยยับยั้งหรือชะลอการแพร่ระบาดของโรคไว้ได้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคและเชื้อ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมาก็คือการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ด้วยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบต่างๆ เป็นวิธีการคัดกรองเบื้องต้นและได้ผลสำหรับผู้ที่ติดเชื้อและแสดงอาการแล้วเท่านั้น ส่วนผู้ที่ติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ เครื่องมือเหล่านี้ยังไม่สามารถตรวจพบได้ แต่สุนัขที่ได้รับการฝึกมาแล้วสามารถทำสิ่งนี้ได้ ข้อมูลทางการแพทย์ที่สนับสนุนวิธีการดังกล่าวนี้ อยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าในอดีตที่ผ่านมา วงการแพทย์เคยมีการใช้สุนัขดมกลิ่นเพื่อตรวจหาผู้ป่วยในหลายโรคมาก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคมาลาเรีย รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส การนำสุนัขดมกลิ่นมาช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 มาใช้ในประเทศไทย ดูจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการใช้วิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและยับยั้งชะลอการแพร่ระบาดของโรคเมื่อคณะวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More

สร้างเกราะเสริมภูมิ ป้องกันตัวเองจากโควิด

คนไทยเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 มานานกว่า 1 ปี แม้เราจะรู้หลักเบื้องต้นในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างจากบุคคลอื่น การล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ที่ทำให้เราลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้ ทว่า ประการสำคัญที่เราควรหันกลับมาใส่ใจ คือ การเสริมภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นจากภายในร่างกายตัวเอง เพราะการสร้างความแข็งแรงให้ตัวเองนั้นเป็นเกราะชั้นดีที่จะทำให้เราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” รวบรวมมา ได้แก่ ห่างจากภาวะความเครียด มีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องความเครียด ที่ระบุว่า เมื่อคุณประสบกับสภาวะเครียดเพียงแค่ 4 นาที ภูมิในร่างกายของคนเราจะตกไปนาน 4-6 ชั่วโมง อย่าเอาตัวเองเข้าไปอยู่กับสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจ หรือความเศร้า วิธีง่ายๆ ที่ทำได้ในช่วงนี้คือ หาหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจ เรื่องราวที่ชวนให้คิดบวก ภาพยนตร์หรือซีรีส์แนวตลก เฮฮา ที่ทำให้เราได้หัวเราะ ได้ยิ้มบ่อยๆ เมื่อเราเครียดร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่ชื่อคอร์ติซอลออกมามากกว่าปกติ ดังนั้น เราต้องทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนตรงข้าม นั่นคือ เอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขนั่นเอง ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเรื่องเครียดได้ เช่น การทำงานที่เคร่งเครียด เร่งรีบ ความวิตกกังวลต่อสภาพการเงิน เศรษฐกิจในครอบครัว อาจต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ การนอน

Read More