Home > Life (Page 15)

Sourdough Bread ขนมปังเปรี้ยว ถูกปากคนรักแป้ง โดนใจสายคราฟท์

นอกจากโชกุปัง (Shokupan) ขนมปังนุ่มสไตล์ญี่ปุ่น และครัวซองต์กรอบนอกฉ่ำเนยจากฝรั่งเศสที่เข้ามาสร้างกระแสความอร่อยจนทำให้บรรดาผู้ชื่นชอบขนมนมเนยต้องเสาะหามาลิ้มลองกันแล้ว ขนมปังชื่อชวนน่าสงสัย อย่าง “ขนมปังซาวโดวจ์” ก็กำลังเข้ามาสร้างกลุ่มแฟนคลับของตัวเองอยู่อย่างเงียบๆ แต่กลับโดนใจใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเหล่าคนรักแป้งและสายคราฟท์ทั้งหลาย ในกระบวนการทำขนมปังธรรมดาทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนมปังที่เป็นอุตสาหกรรมมักใช้ยีสต์สำเร็จรูปในการทำให้ขนมขึ้นฟู เพราะรวดเร็วไม่ต้องใช้เวลามาก และคุมรสชาติได้ตามที่ต้องการ แต่ขนมปังซาวโดวจ์ (Sourdough Bread) นั้นกลับแตกต่าง เพราะเป็นขนมปังที่หมักจากหัวเชื้อธรรมชาติ ที่เรียกว่า Sourdough Starter ซึ่งเกิดจากการเพาะเลี้ยงยีสต์เอง จนได้เป็นขนมปังที่มีเอกลักษณ์ทั้งเนื้อสัมผัส รสเปรี้ยวที่ติดปลายลิ้น และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ขนมปังซาวโดวจ์หรือขนมปังเปรี้ยว เป็นขนมปังเก่าแก่ อาจเรียกว่าเป็นขนมปังสูตรโบราณก็ว่าได้ เพราะมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณช่วงประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์กาล โดยเชื่อกันว่าเจ้าขนมปังชนิดนี้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญจากยีสต์ธรรมชาติที่ปะปนอยู่ในอากาศ ก่อนที่ชาวอียิปต์จะพัฒนาจนได้เป็นขนมปังเปรี้ยวที่มีเอกลักษณ์อันเกิดจากการหมักด้วยยีสต์ที่เกิดจากการบ่มเชื้อ จากอียิปต์ ขนมปังซาวโดวจ์ได้กลายเป็นที่นิยมของชาวยุโรปในยุคต่อๆ มา รวมถึงสหรัฐอเมริกาที่ขนมปังเปรี้ยวชนิดนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่คนงานเหมืองในยุคตื่นทองของซานฟรานซิสโก จนกลายเป็นอาหารคู่ยุคตื่นทอง และถือเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของซานฟรานซิสโก แม้แต่ตัวนำโชคหรือมาสคอตของทีมอเมริกันฟุตบอล San Francisco 49ers ยังมีชื่อเล่นว่า “Sourdough Sam” เลยทีเดียว นอกจากนั้น ซานฟรานซิสโกยังมีร้านขนมปังซาวโดวจ์ที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์อันยาวนานอย่าง “Boudin

Read More

ดูแลผิวหน้าให้ห่างไกลสิว เมื่อต้องใส่หน้ากากอนามัยทั้งวัน

สถานการณ์ของโรคระบาดในปัจจุบัน ทำให้เราต้องใส่หน้ากาก…อนามัยเข้าหากันตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน หรือที่บ้าน แน่นอนว่าปัญหาผิวที่หลายคนประสบคือ สิว ซึ่งมักพบบริเวณที่ใส่หน้ากากอนามัย เช่น คาง แก้ม การเกิดสิวบริเวณที่ใส่หน้ากากอนามัยนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด จากภาวะที่ทำให้วิตกกังวลต่อสถานการณ์ความเป็นไปต่างๆ หรือการเสียดสีของตัวหน้ากากอนามัยกับผิวหน้าของเรา ความเครียดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการทำงานของสมอง จิตใจ อาจทำให้นอนไม่หลับหรือหลับยากกว่าปกติ หากเป็นสิวที่เกิดจากความเครียดนั้น แก้ไขได้ด้วยมองหาสิ่งบันเทิงใจที่ชอบ ที่จะทำให้เราห่างไกลจากข่าวสารที่ทำให้วิตกกังวล หากิจกรรมอื่นๆ ทำ เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง จัดห้อง หรือปลูกต้นไม้ เมื่อความเครียดลดลง การอักเสบหรือการเกิดใหม่ของสิวก็จะลดลงไปด้วย การเสียดสีของหน้ากากอนามัยกับผิวหน้า เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ค่อนข้างยาก เมืองไทยเป็นเมืองร้อน โอกาสที่จะเกิดเหงื่อใต้หน้ากากจึงมีมากกว่าประเทศอื่น เมื่อเหงื่อเกิดขึ้นใต้หน้ากาก ผสมกับฝุ่น มลพิษจากสภาพอากาศ ทำให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนขึ้น ขณะที่ผิวบางคนที่ขับน้ำมันออกจากรูขุมขนเมื่อเจอกับแบคทีเรียดังกล่าว จึงทำให้เรามีโอกาสที่จะเป็นสิวได้ง่ายขึ้น มีคำแนะนำจาก พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านตจศัลยศาสตร์ และผิวหนังด้านความงาม แนะนำวิธีการป้องกันสิวจากการใช้หน้ากากอนามัย ดังนี้ 1. ระยะเวลาในการใส่หน้ากากอนามัย ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้มีช่วงพัก หรือถอดหน้ากากอนามัยออกจากผิวหน้าบ้าง อย่างน้อย

Read More

เยียวยาจิตใจด้วย Kitchen Therapy เมื่อการเข้าครัว ไม่เพียงทำให้ท้องอิ่ม

ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า สภาพการณ์ปัจจุบันทำให้เราอยู่ในสภาวะ “จิตตก” ได้ง่ายๆ ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ต้องนั่งลุ้นกันทุกวัน สภาพเศรษฐกิจที่ดูน่าเป็นห่วง ประกอบกับการที่ต้องอยู่กับบ้านนานๆ ล้วนแล้วแต่ทำให้สภาพจิตใจเราย่ำแย่ไปตามๆ กัน หลายคนจึงต้องหาวิธีปลอบประโลมจิตใจ ควบคู่กับหาวิธีป้องกันตัวเองจากโรคระบาดทางกาย บางคนเลือกที่จะปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง เลี้ยงสัตว์ หรือออกกำลังกายเพื่อเป็นการเยียวยาจิตใจ แต่บางคนก็เลือกที่จะใช้การเข้าครัว ทำอาหาร อบขนม เป็นการผ่อนคลายแทน เห็นได้จากกระแสหม้อทอดไร้น้ำมันพร้อมเมนูสร้างสรรค์ต่างๆ ที่อวดโฉมอยู่บนโซเชียลมีเดีย แต่การทำอาหารที่บางคนเลือกใช้เป็นวิธีผ่อนคลายหรือเป็นงานบ้านที่ต้องทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันของใครอีกหลายๆ คนนั้น กลับส่งผลดีต่ออารมณ์และจิตใจได้มากกว่าที่เราคิด และยังเป็นหนึ่งในวิธีการบำบัดปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม รวมถึงสภาวะซึมเศร้า ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชื่อ “การบำบัดด้วยการทำอาหาร” หรือ Kitchen Therapy การศึกษาทางจิตวิทยาในหัวข้อ “Everyday creative activity as a path to flourishing” ของ แทมลิน คอนเนอร์ (Tamlin S. Conner) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโอทาโก (University of

Read More

การมีอยู่ของสัตว์เลี้ยง บำบัดหัวใจเจ้าของ

สัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดมีคุณลักษณะ คุณสมบัติแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความฉลาด น่ารักและมีเสน่ห์เฉพาะสายพันธุ์ ขณะที่มนุษย์มีเหตุผลในการเลี้ยงสัตว์แตกต่างกันไป บางคนใช้ความฉลาดของสัตว์เลี้ยงให้เป็นประโยชน์ บางคนเลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อนแก้เหงา หรือบางคนที่รับเลี้ยงเพราะสงสารเมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกทอดทิ้ง แต่ทุกเหตุผลหลอมรวมเป็นบทสรุปสุดท้ายคือ “รัก” แน่นอนว่า การเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะชนิดไหน ผู้เลี้ยงควรมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งความรู้ ความเข้าใจในสายพันธุ์ที่เลี้ยง ความพร้อมด้านสถานที่ ได้รับความยินยอมจากคนในบ้าน ปัจจัยสำคัญต่อมาคือ เงิน และเวลา นั่นเพราะการเลี้ยงสัตว์แต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้เงินพอสมควร สำหรับค่าอาหาร ค่ายาวัคซีนประจำปี อุปกรณ์การเลี้ยง หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษา บางคนอาจมองว่าการมีสัตว์เลี้ยงไว้ในบ้านเป็นเรื่องที่สร้างความลำบาก และแน่นอนว่าบางสายพันธุ์ บางประเภทอาจสร้างความปวดหัวให้แก่ผู้เลี้ยงในบางครั้ง แต่นั่นก็นำมาซึ่งการหัวเราะ ความสุขใจ ที่ลอยอบอวลกำจายอยู่ทุกอณูในบ้าน คุณอาจเคยเห็นประโยคเหล่านี้ถูกแชร์อยู่บนโลกออนไลน์ “ถ้ามีภาวะซึมเศร้า ให้ลองเลี้ยงสัตว์ เราจะหายจากซึมเศร้า แต่เป็นโรคประสาทแทน” เป็นประโยคที่บอกเล่าประสบการณ์การเลี้ยงสัตว์ได้อย่างชัดเจน ทว่าประโยคนี้มีนัยสำคัญมากกว่านั้น เพราะนอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากสัตว์เลี้ยง เช่น เลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เลี้ยงไว้แก้เหงา สัตว์เลี้ยงยังเป็นนักบำบัดจิตใจได้ดี นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการบำบัดด้วยสัตว์เอาไว้อย่างน่าสนใจ “การบำบัดด้วยสัตว์” มาจากคำว่า “Animal Assisted Therapy” หรือ “Animal Therapy” คือการนำสัตว์มาร่วมในโปรแกรมการบำบัดรักษาผู้ป่วย

Read More

รับมือความเครียดยุคโควิด ร่างกายปลอดภัย ใจไม่ป่วย

ดูเหมือนว่าคนไทยยังจะต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงที่เกิดการกลายพันธุ์สู่สายพันธุ์เดลต้า ที่ส่งผลให้เกิดแพร่ระบาดอย่างหนัก และประชาชนติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้ออยู่ที่หลักหมื่นต่อวัน เป็นเวลาเกือบ 1 เดือน และผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณวัคซีนยังมีไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรในประเทศ สถานการณ์เลวร้ายหลายอย่างที่อุบัติขึ้นในเวลานี้ย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้คน ทั้งการที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง สภาพเศรษฐกิจและสังคมติดลบ สร้างความกดดันในชีวิต ความกังวลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลในครอบครัว ความกลัวที่จะติดเชื้อ ปัจจัยต่างๆ ล้วนแต่สร้างให้เกิดความเครียด ความหดหู่ อันนำมาซึ่งอาการป่วยทางสภาพจิตได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ หรือ CDC ยังแนะนำให้สังเกตอาการเหล่านี้ อารมณ์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน กลัว เครียด กังวล เบื่อ เฉยชา หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ฝันร้ายต่อเนื่อง พฤติกรรมการกินผิดปกติ กินน้อยลง หรือกินมากผิดปกติ ไม่กระปรี้กระเปร่า เฉื่อยชา มีความรู้สึกเบื่อไม่อยากทำอะไร สมาธิไม่ดี หลงลืม ทำงานบกพร่อง สูญเสียการตัดสินใจ บางรายดื่มแอลกอฮอล์หนักขึ้น หรือสูบบุหรี่ใช้สารเสพติดมากขึ้น ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต หัวใจ

Read More

เสริมโภชนาการที่ดี ติดเกราะป้องกันให้ร่างกายสู้โควิด

เรียกว่าหายใจหายคอไม่ทั่วท้องกันเลยทีเดียว เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในแต่ละวันที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ต่างคนต่างหาวิธีป้องกันตัวเองกันอย่างเข้มข้นเพื่อให้รอดปลอดภัยจากไวรัสตัวร้าย ทั้งการสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ลดการเดินทางและกักตัวอยู่กับบ้านเพื่อลดความเสี่ยง แต่นอกเหนือจากมาตรการป้องกันตัวเองข้างต้นแล้ว การเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงเพื่อเป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่โควิด-19 กำลังมาเคาะประตูบ้านอยู่ในขณะนี้ ระบบภูมิคุ้มกันที่ดีส่วนหนึ่งมาจากภาวะโภชนาการที่ดี โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อให้ได้รับปริมาณสารอาหารแต่ละชนิดให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุลเพื่อสร้างโภชนาการที่ดีนั้น เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ ผักและผลไม้คือแหล่งวิตามินและใยอาหารชั้นดี ผักและผลไม้คือสิ่งที่ไม่ควรขาด และควรบริโภคให้ได้ครบทุกวัน เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และนับเป็นความโชคดีที่เมืองไทยมีพืชผักและผลไม้หลายชนิดให้เลือกบริโภคได้ตลอดทั้งปี ผลไม้หลากชนิดไม่ว่าจะเป็น ส้ม ฝรั่ง แอปเปิล ส้มโอ กล้วย สับปะรด มะละกอ ผลเบอร์รี่ต่างๆ นับเป็นแหล่งวิตามินชั้นดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิตามินซี” ที่ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง ซึ่งผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีอันดับต้นๆ เมื่อเทียบน้ำหนักต่อ 100 กรัม คือ มะขามป้อม มีวิตามินซี 276 มิลลิกรัม, ฝรั่ง 160 มิลลิกรัม, กีวี 105 มิลลิกรัม, ลิ้นจี่ 71.5 มิลลิกรัม, มะละกอ 62

Read More

เรื่องเล่าจากเมนูสมุนไพร หอมรัญจวนใจ ได้ประโยชน์

ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด สมุนไพรไทยตัวละครเอกที่มักจะปรากฏอยู่ในเมนูอาหารไทยแทบจะทุกเมนู และบางบ้านแทบไม่ต้องหาซื้อพืชสมุนไพรจากตลาดเลย เชื่อว่าในสมัยเด็กๆ หลายคนอาจถูกไหว้วาน เรียกใช้จากแม่ครัวเอกประจำบ้าน ให้ไปขุด ตัด สมุนไพรที่ปลูกอยู่ในสวนหลังบ้านกันแทบทั้งนั้น แต่จะตัดหรือขุดออกมาได้ถูกใจแม่ครัวหรือไม่ก็ขึ้นกับความชำนาญ คำสอนถูกบอกกล่าวจากผู้สูงวัย เริ่มตั้งแต่วิธีการเลือกสมุนไพร ล้าง หั่น ซอย ถูกถ่ายทอดอย่างค่อยเป็นค่อยไป คนเฒ่า คนแก่จะใช้วิธีค่อยๆ สอนลูกหลานไปทีละนิดจนเกิดกระบวนการเรียนรู้และจดจำในที่สุด หลายครั้งเราแทบไม่เคยตั้งคำถามเลยว่า ทำไมต้องทำเช่นนั้น ทำไมต้องหั่นแบบนี้ เราเพียงแต่จดจำว่า ผู้ใหญ่ถ่ายทอดและส่งต่อกันมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายที่จะปฏิบัติตาม เพราะสุดท้ายแล้ว ผลลัพธ์ก็ทำให้อิ่มท้องได้ทุกมื้อ ณ ปัจจุบันขณะโลกเรากำลังต่อสู้และพยายามที่จะเอาชนะเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้จะมีนักวิจัยที่วิจัยและพัฒนาวัคซีนประสบความสำเร็จแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และปริมาณวัคซีนที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทำให้หลายคนเริ่มมองหาวิธีที่จะต่อสู้และรับมือกับไวรัสทางอ้อม หรืออย่างไทยๆ เรา คือการใช้สมุนไพรโดยมุ่งหวังที่จะบรรเทาอาการก่อนเชื้อลงปอด หรือเพื่อป้องกันไว้ก่อน ความธรรมดาสามัญประจำครัวถูกทำให้เป็นเรื่องพิเศษขึ้นในเวลาไม่นาน แม้สมุนไพรจะอยู่คู่ครัว คู่บ้านเรามาตลอดเวลา แต่เรากลับมองเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของอาหารเท่านั้น แม้จะรู้ว่าสมุนไพรเหล่านี้ให้ประโยชน์ทางยา แต่เรากลับรู้สึกตื่นเต้นและตื่นตัวมากกว่าแต่ก่อน แม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดลงไปว่าสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์หรือกลไกใดที่ต่อต้านเชื้อโควิด-19 ได้ แต่ความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมาทั้งรูปแบบออนไลน์ หรือบอกเล่ากันปากต่อปาก ทำให้หลายบ้านเริ่มเพิ่มเมนูที่มีองค์ประกอบของสมุนไพรลงไปในสำรับเกือบทุกมื้อ ผัดกะเพรา เมนูที่หลายคนให้คำนิยามว่า “เมนูสิ้นคิด” ที่มักจะสั่งทุกครั้งเมื่อสร้างสรรค์เมนูแปลกใหม่ไม่ออก ด้วยรสชาติเผ็ดร้อนจากพริก

Read More

การฆ่าคนด้วยข้อมูลเท็จ บนโลกโซเชียล

ท่ามกลางสถานการณ์อันยากลำบากที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ความพยายามของภาครัฐของแต่ละประเทศคือการเอาชนะไวรัสโควิด-19 ในสงครามครั้งใหม่ มนุษยชาติกำลังพัฒนาอาวุธที่สยบไวรัสที่กำลังกลายพันธุ์อยู่ตลอด นอกจากสงครามไวรัสที่ยังไม่รู้บทสรุป ทว่า เรากลับต้องเปิดศึกครั้งใหม่บนโลกออนไลน์กับข้อมูลเท็จที่กำลังแพร่กระจายในวงกว้าง แม้ว่าสงครามด้านข้อมูลเท็จบนสื่อโซเชียลจะดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวนานแล้วก็ตาม ทว่า ในช่วงเวลานี้เป็นเวลาอันยากลำบากที่จะจำกัดวงและกำจัดข้อมูลปลอมเหล่านี้ รวมไปถึงการขุดให้ลึกถึงต้นตอของข้อมูล การถูกซ้ำเติมสถานการณ์ด้วยการเผยแพร่และกระจายข้อมูลอันเป็นเท็จในช่วงเวลานี้ ไม่ต่างอะไรกับการทำร้ายผู้คนด้วยกันเอง “พวกเขากำลังฆ่าผู้คน” คำตอบของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าว เกี่ยวกับบทบาทของสื่อโซเชียลอย่างเฟซบุ๊ก ที่ถูกกล่าวหาว่า แพร่กระจายข้อมูลแบบผิดๆ เกี่ยวกับวัคซีนและโรคโควิด-19 ส่งผลให้ทำเนียบขาวเพิ่มความกดดันต่อเหล่าบริษัทโซเชียลมีเดียมากขึ้น ในการให้จัดการขจัดข้อมูลแบบผิดๆ บนแพลตฟอร์มของตนเอง ขณะที่โฆษกทำเนียบขาว นางเจน ซากี ยังระบุด้วยว่า เฟซบุ๊กและแพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่ได้ดำเนินการมากเพียงพอในการต่อสู้กับการกระจายข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับวัคซีน ด้านนายเควิน แมคอลิสเตอร์ โฆษกเฟซบุ๊ก ตอบโต้ว่า เฟซบุ๊กได้ดำเนินการอย่างแข็งกร้าว ในการขจัดข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และวัคซีน เพื่อปกป้องสาธารณสุข โดยเฟซบุ๊กได้ลบข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโรคโควิดจำนวนมากกว่า 18 ล้านชิ้นออกไปจากแพลตฟอร์มแล้ว และยังได้ทำการปิดบัญชีผู้ใช้ที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จด้วย คำถามคือ นโยบายและความพยายามของเฟซบุ๊กต่อกรณีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จบนแพลตฟอร์มของตัวเองนั้น เพียงพอแล้วหรือยังที่จะสกัดกั้นไม่ให้ข้อมูลเท็จถูกนำมาเผยแพร่ในช่วงเวลาที่ผู้คนสมควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน รวมไปถึงการที่ข้อมูลเหล่านั้นต้องไม่ถูกบิดเบือนจากกลุ่มคนไม่หวังดี แน่นอนว่าแพลตฟอร์มอย่างเฟซบุ๊กตกเป็นที่วิจารณ์ว่า ยังปล่อยให้มีข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิดเผยแพร่อยู่บนแพลตฟอร์มของพวกเขาอย่างกว้างขวางและเฟซบุ๊กยังไม่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังมากพอ ขณะที่ประเทศไทยพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

Read More

อยู่อย่างไรให้รอดจากโควิดระลอก 4

ณ เวลานี้ เราคงต้องยอมรับว่าสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการระบาดในบ้านเรา ยอดติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนตัวเลขเกินครึ่งหมื่นต่อเนื่องมาหลายวัน ความคาดคิดและคาดหวังของคนส่วนใหญ่คงเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า อีกไม่ช้าไม่นานคงจะจบลงเสียที แบบระลอกแรกและระลอกสอง ที่จบลงภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่ทิศทางการแพร่ระบาดจากระลอกสามกลับไม่จบลงง่ายๆ เช่นเดิม กระทั่งเราเดินทางมาสู่ระลอกสี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กล่าวว่า “ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทั้งโลกมีการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลตาอย่างมาก ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้ว 96 ประเทศ ส่วนประเทศไทย 2 เดือนที่แล้ว 85-90 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อที่ตรวจพบคือ สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) พอมิถุนายนถึง กรกฎาคม ทั้งประเทศเป็นเชื้อเดลตา 30 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเร็วมาก เฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเดลตา 50 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา 40 เปอร์เซ็นต์ คาดว่า 1-2 เดือน ทั้งไทยและโลกจะเป็นเดลตาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด “เชื้อตัวนี้ภาพรวมไม่ได้มีความรุนแรงมากกว่าอัลฟา แต่มีลักษณะพิเศษทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะออกซิเจนต่ำกว่าปกติเร็วขึ้น ปอดอักเสบเร็วขึ้น อย่างอัลฟาใช้เวลา 7-10 วัน

Read More

ก่อน-หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปฏิบัติตัวอย่างไรดี

หลังจากที่โลกเราทำความรู้จักกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตของมนุษยชาติ และก่อวิกฤตทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศ นักวิจัยเริ่มพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเพื่อหวังให้เป็นเกราะป้องกันมนุษย์จากเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีวัคซีนที่ถูกพัฒนาแล้วหลายบริษัท เช่น ซิโนแวค แอสตราเซเนกา ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ซิโนฟาร์ม จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนก็แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีการผลิต อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการฉีดวัคซีนจะเป็นเรื่องความสมัครใจ ทว่า รัฐบาลของแต่ละประเทศต่างเชิญชวนให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่หรือ Herd Immunity ซึ่งนอกจากจะลดโอกาสการติดเชื้อแล้ว ยังช่วยให้สามารถเปิดประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น ก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีน สิ่งที่พึงปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายพร้อมที่สุดคือ 1. การพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ซึ่งการพักผ่อนให้เพียงพอนั้น ส่งผลต่อสภาพร่างกายโดยรวม ทั้งในเรื่องของความดันที่แต่ละคนต้องรับการตรวจเช็กก่อนฉีดวัคซีน หากความดันสูงหรือต่ำเกินไป เจ้าหน้าที่การแพทย์จะวินิจฉัยไม่ให้รับวัคซีน 2. ดื่มน้ำเปล่าปริมาณมากๆ การดื่มน้ำ 2-3 ลิตรเป็นอย่างน้อยก่อนรับวัคซีน จะช่วยบรรเทาอาการที่จะเกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนได้เป็นอย่างดี 3. ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป หากเป็นผู้ที่ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องหยุด เพียงแต่ให้ปรับระดับความหนักของการออกกำลังกายให้เบาลง อย่าหักโหม อาจลดเวลาออกกำลังกาย หรือปรับรูปแบบการออกกำลังกาย เช่น โยคะ พิลาทิส หรือยืดเหยียด 4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ปล่อยให้หิวหรือท้องว่าง ก่อนเข้ารับวัคซีน เพราะอาจทำให้ผู้รับวัคซีนเป็นลม

Read More