Home > Green (Page 2)

ซีเอสอาร์ 3 ขาของ AIA

สุขภาพ การศึกษา และชุมชน เป็น 3 ขาหลักในการทำซีเอสอาร์ของบริษัท เอไอเอ ประเทศไทย จำกัด เริ่มต้นพัฒนามาจากพฤติกรรมตัวแทนในการติดตามดูแลลูกค้า แล้วนำเสนอเป็นไอเดียสู่การช่วยเหลือสังคมที่กว้างขึ้นจนเป็น 3 รูปแบบกิจกรรมที่บริษัทเลือกดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ปีนี้เอไอเอประเทศไทยอายุ 75 ปี เริ่มต้นทำซีเอสอาร์ยุคแรกๆ ด้วยการให้ทุน การศึกษากับเด็กตั้งแต่ประมาณ 40 ปีก่อน เริ่มจากให้โดยคัดเลือกกันเองผ่านตัวแทนในชุมชนต่างๆ ที่แนะนำมา ก่อนจะปรับเข้าสู่การส่งเสริมอย่างเป็นระบบ "ตอนหลังเราจับมือกับมูลนิธินักเรียนขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้มูลนิธิเป็นผู้คัดเลือกเด็ก ปีหนึ่ง 48 ทุน เป็นทุนแบบต่อเนื่องจนจบระดับมหาวิทยาลัย ก็หลายคน ตอนนี้มีเด็กที่จบโดยทุนเกิน 2,000 คน" สุทธิ รจิตรังสรรค์ รองประธาน อาวุโสฝ่ายบริหารกล่าว ทำได้ประมาณ 10 ปี ก็เริ่มคิดทำซีเอสอาร์กับชุมชนโดยตรง ด้วยการบริจาค สร้างแท็งก์น้ำคอนกรีตสำหรับชุมชน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ในชุมชนที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ทำเรื่อยมาจนปัจจุบัน แต่เปลี่ยนรูปแบบแท็งก์ให้เหมาะสมตามยุคสมัย จากแท็งก์คอนกรีตที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ดูแลรักษาความสะอาดยาก เปลี่ยนเป็นโอ่งดินปั้นขนาดใหญ่ และยุคล่าสุดคือถังไฟเบอร์ที่รักษาความสะอาดง่ายขึ้น จนกระทั่งปี 2548 เอไอเอเริ่มมอง

Read More

ยุคสินค้าช่วยโลก

ดูปองท์ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจให้บริการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2345 (ค.ศ.1802) เน้นการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น ทำธุรกิจในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ธุรกิจเคมี อาหารและการเกษตร การก่อสร้าง การสื่อสาร และการขนส่ง ในระยะปัจจุบันเทรนด์การตลาดของดูปองท์เน้นไปในทิศทางเดียวกับองค์กร ส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการคิดสินค้าที่มีประโยชน์ต่อผู้คนในด้านต่างๆ ที่นำไป สู่การลดการพึ่งพิงการใช้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล และนำเสนอนวัตกรรมรักษ์โลกให้มากขึ้น เพราะตอบโจทย์ทั้งธุรกิจที่ต้อง การสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกระแสการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นไม่เว้น แม้แต่ตลาดไทย ในยุคที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีการขยายตัวมากขึ้นเพราะได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบของพลังงานที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด ทำให้ความต้องการ อุปกรณ์อย่างแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ สูงขึ้นตามไปด้วย ดูปองท์ก็มีบริษัทในเครือ ชื่อ ดูปองท์ อพอลโล เริ่มเข้าไปผลิต PV หรือแผงโซลาร์โฟโต้โวลทาอิคแบบฟิล์มบางซิลิกอนในจีนทั้งที่ฮ่องกงและเซินเจิ้น เพื่อตอบสนองตลาดนี้ทันทีตั้งแต่ปี 2551 การเข้ามาตั้งฐานผลิตในจีนของดูปองท์ มีเป้าหมายที่จะส่งสินค้าเข้ามาทำ ตลาดในไทยโดยตรง เพราะศึกษานโยบาย ด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทยแล้วพบว่าไทยมีแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกในช่วงปี 2555-2564 ให้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยมีการปรับเป้าหมายผลิตและใช้พลังงานทดแทนรวมจาก 20% เป็น 25% ซึ่งปัจจุบันการผลิตส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก

Read More

Eco Town มีอยู่จริง…หรือเปล่า

อุตสาหกรรมกับชุมชนอยู่รวมกันได้จริงหรือ ในที่นี้หมายถึงอุตสาหกรรมหนักประเภทโรงกลั่น ปิโตรเคมี ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมรีไซเคิล ซึ่งจะสะท้อนโอกาสของการสร้างอีโคทาวน์ (Eco Town) ในไทยว่าจะเป็นไปได้จริงไหม “จะเป็นอีโคทาวน์ควรจะคิดตั้งแต่ 30 ปีที่แล้วที่เริ่มโครงการมาบตาพุด แต่ตอนนี้แม้แต่ที่รัฐบาลบอกว่าควรจะลดเขตอุตสาหกรรมเก่า แต่พื้นที่อุตสาหกรรมยังขยายเพิ่มขึ้น” พัชรี ชาวบ้านจากบ้านชาก ลูกหญ้า หนึ่งในชุมชนของมาบตาพุด สะท้อนปัญหามาบตาพุด เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มคนมาบตาพุดที่รวมตัวกันแจ้งปัญหามลพิษจากนิคมต่อรัฐบาลเมื่อปี 2550 ร่วมยื่นฟ้องชะลอโครง การอุตสาหกรรม 76 โครงการ รวมถึงเรียกร้องให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศเขตควบคุมมลพิษ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ตามข้อเรียกร้อง เพียงแค่มีการปรับเปลี่ยนเป็นแผนลดและขจัดมลพิษของคนมาบตาพุดแทน ส่วนการควบคุมมลพิษและเฝ้าระวัง ที่เห็นเป็นรูปธรรมคือการติดตั้งสถานีตรวจคุณภาพอากาศเพิ่มขึ้นในพื้นที่รอบนิคม เป็น การตรวจวัดกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ VOC โดยกลุ่มอุตสาหกรรมร่วมกันเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ แต่กระนั้นสถานีตรวจ วัดเหล่านี้ก็ไม่ได้สร้างความไว้วางใจให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างพัชรีเท่าไรนัก ‘ตอนโรงงานบีเอสซีระเบิด สถานีตรวจวัดยังโชว์สัญลักษณ์หน้ายิ้ม (แสดงว่าอยู่ในภาวะปกติ) อยู่เลย” พัชรีบอก สิ่งที่เธอกังขามาตลอดในการอาศัยอยู่ในชุมชนใกล้นิคมก็คือเพราะเหตุใดหน่วย งานต่างๆ ยังทนเห็นความเจ็บป่วยของคนมาบตาพุดอยู่ได้ เธอบอกว่าทุกวันนี้พื้นที่ชุมชนมาบตาพุดยังมีค่าของสารเคมี 3 ตัวที่เกินมาตรฐานมาตลอด ได้แก่ ไวนีลคลอไรด์

Read More

อาหาร GMO ปัญหาใกล้ตัวและใหญ่ระดับโลก

เมือง Dendermonde ในเบลเยียม มีการเปิดพิจารณาคดีเกี่ยวกับพืชดัดแปลงตัดแต่งพันธุกรรม (genetically-modified organism (GMO) เมื่อเดือนพฤษภาคม มีนักเคลื่อนไหว 11 คนถูกฟ้องร้องในข้อหา ทำลายแปลงทดลองปลูกมันฝรั่ง GMO? คดีนี้ไม่เพียงเป็นที่สนใจในเบลเยียม แต่ยังเป็นที่สนใจไปทั่วโลก และเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อภาคการเกษตรของไทยด้วย ทั้งที่เป็นคดีความที่เกิดขึ้นในประเทศที่ห่างไกลจากไทย เพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คำถามที่โยงคดีความที่เกิดขึ้นในเบลเยียมกับสถานการณ์ด้านอาหารในไทย คือคำถามที่ว่า “เราจะสร้างความมั่นคงทางอาหารและต่อสู้กับความหิวโหยที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างไร โดยไม่สูญเสียการควบคุมการผลิตและจัดจำหน่ายอาหาร” ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นสำคัญมากในประเทศอย่างเช่นไทย เพราะความอยู่ดีกินดีของคนไทยจำนวนมากขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรมที่จะต้องให้ผลผลิตสูงเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ด้วย บริบทเช่นนี้จึงมีคำถามเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงในการผลิตพืชพาณิชย์ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหม่ การเกษตรกำเนิดขึ้นในโลกเมื่อประมาณ 5,000-6,000 ปีล่วงมาแล้ว บนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ระหว่างแม่น้ำไทกริส และยูเฟรติสในตะวันออกกลาง สมัยนั้น สังคมมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มนุษย์เปลี่ยนวิถีจากการใช้ชีวิตเป็นนักล่าและนักเก็บ ที่ต้องย้ายถิ่นที่อยู่ตลอดเวลาเพื่อหาอาหาร เรียนรู้ที่จะอยู่กับที่และดำรง อยู่ได้ด้วยการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อการพัฒนาเกษตร ก้าวหน้ามากขึ้น การผลิตอาหารเหลือกิน สามารถนำไปเลี้ยงคนอื่นๆ ได้ ก่อให้เกิดอาชีพหลากหลาย ทั้งหมดนี้คือกระบวนการ ที่หากขาดไปก็คงจะไม่มีเมืองและชีวิตทันสมัยในเมืองเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม

Read More

ดวงอาทิตย์กับความปรวนแปรของโลก

ท่ามกลางภัยพิบัติทางธรรมชาติและความปรวนแปรของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในทศวรรษนี้ ชีวิตคนเดินดินอย่างเราก็มีแต่ความไม่แน่นอนและความสับสนสงสัยว่าต้นสายปลายเหตุมันมาจากอะไรกันแน่ และควรจะปรับตัวไปในทิศทางไหน จึงจะอยู่รอดปลอดภัย ควรจะเชื่อนักวิทยาศาสตร์หรือนักโหราศาสตร์ดี ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองกำลังร้อนแรงไปทั่วโลก สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ร้อนระอุด้วยเช่นกัน ภัยพิบัติรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายครั้งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีมูลเหตุมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) บ้าง รังสีที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ (sunspots, solar winds, solar storms) บ้าง สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงเบนไปบ้าง และดวงจันทร์ที่เลื่อนลอยออกไปจากแรงดึงดูดของโลกบ้าง เราจึงจำเป็นต้องขุดคุ้ยข้อมูลขึ้นมาจากเว็บไซต์แหล่งต่างๆ และประมวลทำความเข้าใจถึงคำกล่าวอ้างต่างๆ ที่แพร่สะพัดอยู่ว่ามีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน โลกร้อนขึ้น! เพราะรังสีที่ลุกโพลงจากดวงอาทิตย์ หรือการเผาผลาญเชื้อเพลิงของมนุษย์ IPCC ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติออกมาป่าวประกาศ ว่า มีหลักฐานยืนยันมากมายว่าโลกร้อนด้วยฝีมือมนุษย์ แต่ก็มีนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งเห็นแย้งว่าเหตุที่โลกร้อนขึ้นน่าจะเป็น เพราะรังสีร้อนแรงที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์เสียมากกว่า นักวิชาการกลุ่มหลังนี้ ได้อ้างข้อมูลการสำรวจของยานอวกาศ Ulysses ซึ่งเป็นยานตรวจวัดรังสีดวงอาทิตย์ และสังเกตจุดดับและพายุสุริยะ (sunspots, solar winds) และส่งข้อมูลมายังโลกอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพบว่า sunspots ที่ผิวของดวงอาทิตย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุณหภูมิของโลกก็ร้อนตามไปด้วย ฉะนั้น sunspots เหล่านี้ต้องมีอิทธิพลที่ทำให้โลกของเราร้อนขึ้นเป็นแน่ ปฏิกิริยาการปล่อยรังสีของดวงอาทิตย์ที่นักวิชาการกลุ่มแย้งอ้างถึงนั้น ปรากฏว่ามีขึ้นมีลงเป็นประจำทุกๆ

Read More

แค่ “ทราย” กับ “ทะเล” ไม่โรแมนติก ยังชีพไม่ได้

“ทรายกับทะเล” เป็นคำพูดที่ชวนให้นึกถึงภาพบรรยากาศสวยงามโรแมนติก แต่สำหรับคนชุมชนบ้านกลาง ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา คือภาพแห่งความทรงจำอันเจ็บปวด เป็นภาพที่คนในชุมชนต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปี ลบภาพนั้นทิ้งไป พวกเขาตั้งใจจะไม่ปล่อยให้ภาพนั้นกลับมาเกิดขึ้นอีก ภาพล่าสุดที่ป่าชุมชนบ้านกลางวันนี้ พื้นทรายบริเวณกว้างที่สุดเป็นเพียงลานพักผ่อนริมทะเลขนาดไม่กี่ตารางเมตร สำหรับให้ชาวชุมชนมาทำกิจกรรมหรือพาลูกหลานมาเล่นหรือพักผ่อนชมวิวในยามแดดร่มลมตกหลังว่างจากกิจการงาน ขณะที่พื้นที่ส่วนที่เหลือแปรสภาพกลับมาเป็นป่าชายเลนแนวหนาทึบ จากแผ่นดินยื่นไปในทะเลมากกว่า 300 เมตร รวมพื้นที่กว่า 3,100 ไร่ ทำหน้าที่เป็นแนวชายฝั่งชั้นยอดให้กับชุมชน ทั้งการป้องกันภัยพายุ หรือแม้แต่สึนามิที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก กับการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ แหล่งรายได้ของชุมชนบ้านกลางให้ชุมชน หาเลี้ยงตัวเองได้อย่างอยู่ดีมีสุข ไม่ต้องทิ้งถิ่นไปทำงานรับจ้างให้เกิดภาวะขาดแคลนความอบอุ่นในครอบครัว “อาชีพหลักของคนในหมู่บ้านก็จับปลา หาปู วันหนึ่งออกไปไม่กี่ชั่วโมงกลับมาได้เงินเกือบ 2 พันบาท ไม่ต้องไป ทำงานที่อื่นได้อยู่กันพร้อมหน้าครอบครัว” แม่บ้านวัย 30 ปีรายหนึ่งเล่าด้วยสีหน้าเปี่ยมสุข เธอเล่าว่าสมัยที่เธอยังเด็ก สภาพของชุมชนผิดกับตอนนี้ ไม่มีป่าชายเลน เพราะมีนายทุนเข้ามาทำสัมปทานเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าชายเลน มองไปทางไหนมีแต่ ทรายที่ถูกแยกแร่ออกไปแล้วพ่นเป็นกองดำเลอะไปหมด คนในหมู่บ้านก็มีรายได้จากการเป็นลูกจ้างทำงานในเหมืองแร่ บางรายก็ถึงกับเฟื่องฟู รวมทั้งพ่อของเธอ แต่เมื่อเหมืองแร่เก็บของกลับบ้านก็ทิ้งไว้แต่ ทะเลทราย

Read More