Home > Cover Story

ศึกสตรีทราเมน “เอบิสึ” ลุยเป้าหมาย 200 สาขา

3 ปีก่อน ชินวุฒิ จุลไกวัลสุจริต ตัดสินใจปรับทิศทางกิจการร้านอาหารชาบู TOTOSAMA  หลังเจอสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด โดยปลุกปั้นแบรนด์ Ebisu Ramen ฉีกคอนเซ็ปต์ในสไตล์ Street Ramen ลุยสตรีทฟูดต้นตำรับญี่ปุ่นแบบ Yatai มีเอกลักษณ์ คือ ร้านกลางแจ้ง ขนาด 15-20 ที่นั่ง ราคาไม่แพง เจาะทำเลย่านธุรกิจ ที่พักอาศัยและหมู่บ้านขนาดใหญ่ ล่าสุด เอบิสึราเมน ผุดสาขาไปทั่วประเทศกว่า 70 แห่ง และตั้งเป้าหมายจะปูพรมบุกทุกจังหวัด 200 สาขาภายใน 3 ปี โดยพยายามชูจุดขายความเป็นพรีเมียมจนกลายเป็นการประกาศสงครามการแข่งขันอย่างดุเดือด ทั้งในตลาดร้านราเมนหลักสิบและไล่ชิงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ จากบิ๊กแบรนด์ของไทยอย่าง “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” ด้วย จุลพงษ์ ถวัลย์เถลิงฤทธิ์ Business Development แฟรนไชส์ เอบิสึ ราเมน กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า เอบิสึอยากทำธุรกิจอาหารที่กินง่าย

Read More

“นิดา วงศ์พันเลิศ” ปั้นแบรนด์ 137 Pillars บูติกลักชัวรีโฮเทลจากเชียงใหม่สู่กรุงเทพฯ

ตลาดโรงแรมลักชัวรีเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งก่อนสถานการณ์โควิด-19 และหลังสถานการณ์คลี่คลายที่การเดินทางท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง และเป็นการแข่งขันที่มีทั้งผู้เล่นแบรนด์ใหญ่ระดับสากล ไปจนถึงแบรนด์จากผู้ประกอบการชาวไทยที่พัฒนาขึ้นมาได้อย่างไม่น้อยหน้า ซึ่งหนึ่งในนั้นต้องยกให้ “137 Pillars” (137 พิลลาร์) บูติกลักชัวรีโฮเทลของคนไทยที่สร้างชื่อจากเชียงใหม่เมื่อ 14 ปีที่แล้ว ก่อนจะสยายปีกมาสร้างสีสันให้กับตลาดโรงแรมลักชัวรีในกรุงเทพฯ โดยมี “นิดา วงศ์พันเลิศ” ผู้จัดการทั่วไปและผู้บริหารเครือโรงแรม 137 พิลลาร์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท เป็นกำลังสำคัญในการปั้นแบรนด์ 137 พิลลาร์ จนประสบความสำเร็จ โดยนิดาได้ย้อนที่มาของ 137 พิลลาร์ ให้ “ผู้จัดการ 360 องศา” ฟังว่า 137 พิลลาร์ เป็นธุรกิจโรงแรมของครอบครัววงศ์พันเลิศที่มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้เป็นพ่อที่สนใจทางด้านอสังหาริมทรัพย์ และเห็นโอกาสในธุรกิจโรงแรมระดับลักชัวรี “จริงๆ ธุรกิจหลักของครอบครัวคือธุรกิจเท็กซ์ไทล์ที่ราชบุรี ชื่อกังวาลเท็กซ์ไทล์ แต่คุณพ่อมีความสนใจเรื่องธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อ 15 ปีที่แล้วจึงเริ่มไปสำรวจดูโรงแรมหลายๆ ที่ในแถบเอเชีย ประจวบกับได้มาเจอที่ดินที่เชียงใหม่ที่ร่มรื่นและถูกจริต ซึ่งเขาขายพร้อมบ้านไม้สักเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือที่รู้จักกันในชื่อบ้านบอร์เนียวที่มีเสามากถึง 137 ต้น

Read More

VERTIER เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทย ที่เกิดจากความหลงใหลในการออกแบบ

เรียกว่าน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เลยทีเดียว สำหรับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทย ที่โดดเด่นด้วยคุณภาพและดีไซน์ที่เรียบหรูมีเอกลักษณ์ไม่แพ้แบรนด์ชั้นนำจากต่างประเทศ อย่าง “VERTIER” (เวอร์เทียร์) แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่เกิดจากความหลงใหลในงานออกแบบของ “วรวุฒิ จันทวี” ที่เพิ่งเปิดแฟล็กชิพ แกลอรี บนทำเลทองอย่างถนนราชดำริ ด้วยพื้นที่โชว์รูมที่มากถึง 800 ตารางเมตร ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วรวุฒิ จันทวี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วี เดคคอร์ จำกัด (Vie Décor) และผู้ก่อตั้งแบรนด์  VERTIER เล่าถึงที่มาของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทยว่า จุดเริ่มต้นของ VERTIER มาจากความหลงใหลในงานออกแบบที่ผนวกกับความรู้เรื่องเฟอร์นิเจอร์เป็นทุนเดิม “ผมมีโอกาสได้ไปเรียนและทำงานที่สหรัฐอเมริกา พบรุ่นพี่คนหนึ่งเขาทำงานตกแต่งร้านอาหารที่นิวยอร์ก เป็นการนำเอาความชอบมาทำเป็นอาชีพ พอกลับมาเมืองไทยก็เลยลองทำ โดยใช้ความชอบในเรื่องการออกแบบและชอบทำงานประดิดประดอยมาใช้ พอดีมีเพื่อนทำร้านเสื้อผ้า เราก็อาสาทำเป็นชั้นวางเครื่องประดับ ราวแขวนเสื้อผ้าให้เขา เป็นงานดิสเพลย์สินค้า เริ่มจากงานเล็กๆ ในร้านเสื้อผ้าเล็กๆ” ชิ้นงานดิสเพลย์สินค้าของวรวุฒิได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งร้านเสื้อผ้าและร้านอาหาร ขนาดที่ว่าต้องเข้าห้างสรรพสินค้าเกือบทุกคืนเพื่อนำผลงานไปวาง ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แต่จากงานดิสเพลย์สินค้าชิ้นเล็กๆ ปรากฏว่าทำไปทำมา ผลงานของวรวุฒิได้ไปเข้าตาดีไซเนอร์จากร้านเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง และนั่นทำให้งานออกแบบของเขาขยายสเกลจากร้านเล็กๆ ไปสู่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ “เวลาดีไซเนอร์เขามาสั่งงานเรา เขาไม่ได้บอกว่าจะเอาไปตั้งที่ร้านไหน

Read More

อสังหาฯ EEC โตไม่หยุด แกรนด์แอสเสท ผุดเมกะโปรเจกต์

ทำเลในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ถือเป็นทำเลอสังหาฯ ที่ฆ่าไม่ตาย เพราะผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยเฉพาะรายใหญ่มักจะเลือกไปปักหมุดและสร้างอาณาจักรเมื่อมองเห็นทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งแตกต่างจากทำเลอสังหาฯ ที่ขายไม่ดี และมีโอกาสที่จะไปต่อได้ยาก เช่น สายไหม, ติวานนท์-นวลฉวี, บางนา-ตราด กม.10-30, แบริ่ง วัดด่าน, รัตนาธิเบศร์-ท่าอิฐ และพหลโยธิน-วังน้อย เป็นต้น โดยเหตุผลส่วนใหญ่ของทำเลที่ขายไม่ดี มีทั้งเป็นโครงการที่เก่าแล้ว ไม่ใช่พื้นที่ในยุคสมัย และโอกาสกู้เงินจากสถาบันการเงินมีจำกัด ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อพื้นที่ EEC คือการเป็นหมุดหมายสำคัญของภาครัฐในการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมา คือโอกาสในธุรกิจท่องเที่ยว การขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า หากผู้ประกอบการอสังหาฯ ศึกษาเรื่องราวโครงการในพื้นที่ EEC เป็นอย่างดี จะมองเห็นโอกาสในการลงทุนอสังหาฯ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า การลงทุนซื้อบ้านหรือสร้างบ้านเพื่อขายทำกำไร การลงทุน ออฟฟิศ สำนักงานสำหรับขายหรือให้เช่า

Read More

NIA เผยงานวิจัยเพื่อสุขภาพและสุขภาวะ โอกาสสตาร์ทอัปสร้างนวัตกรรมรับมือ

เศรษฐกิจและสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างไม่อาจเลี่ยง จากข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมามักจะสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และระบบบริการสุขภาพของประเทศ และอย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ไทยมีประชากรผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 13 ล้านคนของประชากรไทยทั้งประเทศ 66,057,967 คน อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ เศรษฐกิจด้านสุขภาวะ GenZ ตอบสนองต่อสินค้าและบริการดิจิทัลด้านสุขภาพสูงกว่าคนกลุ่มอื่นถึง 2 เท่า และยินดีแลกเปลี่ยน เปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพเชิงลึกของตนเองกับส่วนลดบริการด้านสุขภาพมากขึ้น “ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตและความเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลากหลายประการ โดยข้อมูลจากคลังข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานถึงความเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช ซึ่งพบว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 จากจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช 1.3 ล้านคนในปี 2565 เพิ่มขึ้นถึง 2.4 ล้านคน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่พบได้ในทุกช่วงวัย เช่น เด็กและเยาวชนมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ความเครียดและความวิตกกังวล อีกทั้งยังป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำร้ายตัวเอง”

Read More

7 ปี เดอะ ฟอเรสเทียส์ เปิดนิยามความสุขของ MQDC

7 ปีก่อน บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ภายใต้กลุ่มดีที (DT Group) ของ “ทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ (เจียรวนนท์)” นำเสนอแนวคิดโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่จะเป็นพื้นฐานของความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง ให้ชื่อว่า เดอะ ฟอเรสเทียส์ (THE FORESTIAS) มาจากคีย์เวิร์ด 2 คำ คือ Forest ผืนป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และ Fantasia ความมหัศจรรย์แห่งการสร้างสรรค์ที่ไม่รู้จบ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ทุกสรรพสิ่ง หรือ For All Well-Being MQDC ย้ำว่า บิ๊กโปรเจกต์และบิ๊กไอเดียนี้มีการระดมทีมงาน ทั้ง Foster and Partners ที่ปรึกษาการออกแบบวางผังและงานสถาปัตยกรรม, EEC Engineering Network วิจัยและพัฒนางานระบบอาคารตามแนวทาง sustainnovation, Atelier

Read More

เคานต์ดาวน์ One Bangkok ปิดจ็อบปลุกทำเลทองพระราม 4

วัน แบงค็อก (One Bangkok) ซูเปอร์บิ๊กโปรเจกต์ในเครือทีซีซีของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี พื้นที่รวม 108 ไร่ บริเวณหัวมุมถนนวิทยุตัดถนนพระราม 4 มูลค่าลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท จะประเดิมเปิดตัวเฟสแรกในไตรมาส 4 ปีนี้ และตั้งเป้าเผยโฉมเต็มรูปแบบไม่เกินปี 2570 แน่นอนว่า วัน แบงค็อก ซึ่งพัฒนาภายใต้บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายและสำคัญที่สุดตามยุทธศาสตร์ยึดและเชื่อมโยงย่านธุรกิจหลักตลอดเส้นถนนพระราม 4 แผนเริ่มตั้งแต่ปี 2559 เปิดให้บริการโครงการเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ บริเวณหัวมุมแยกรัชดา-พระราม 4 พัฒนาโดยบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือโกลเด้นแลนด์ คอนเซ็ปต์  For Your Inspiration

Read More

ปณต สิริวัฒนภักดี จาก Day 1 ถึง “วัน แบงค็อก” ล่าสุด

วันแรกของการเป็นหัวเรือใหญ่รับผิดชอบโปรเจกต์แสนล้าน One Bangkok (วัน แบงค็อก) ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ย้ำกับสื่อในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเมื่อ 7 ปีก่อนว่า “ผมประเมินอย่างเดียว คือ คุณเจริญมีความเชื่อมั่นผมหรือเปล่า!!” เพราะ One Bangkok ไม่ใช่แค่อภิมหาโครงการแรกที่เครือทีซีซีกรุ๊ปผนึกกำลังกับกลุ่มเฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ในเครือเอฟแอนด์เอ็น หลังเจริญ สิริวัฒนภักดี ทุ่มเม็ดเงินกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3 แสนล้านบาท ซื้อกิจการ “เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ” หรือ เอฟแอนด์เอ็น บริษัทอาหารเครื่องดื่ม และอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 130 ปี ในประเทศสิงคโปร์เมื่อต้นปี 2556 แต่ยังเป็นแผนสร้าง “เมือง” แลนด์มาร์กระดับโลกที่เจริญไฟเขียวให้ ปณต เปิดตัวลุยเดี่ยวบริหารโครงการทั้งหมด ชนิดที่ยกครอบครัวในตระกูลทุกคน

Read More

Plantable Bangkok ภารกิจค้นหาสุดยอด “นักปลูกผัก”

ทั้งปัญหาสารเคมีปนเปื้อนบวกกับกรุงเทพมหานครมีขนาดพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ เฉลี่ยเพียง 7.7 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าคำแนะนำขององค์อนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการสร้างพื้นที่สีเขียวกินได้ Plantable Bangkok ปลุกระดมสร้าง “นักปลูกผัก” ทั่วเมือง ทั้งนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC-CEUS) เจ้าของโปรเจกต์ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า แนวทางการพัฒนาเมืองในอดีต เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองใหญ่ที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ตลอดจนการรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมทำให้เมืองสูญเสียความสามารถในการผลิตอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะทั้งทางกายและจิตใจของคนเมือง สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ ช่วงเกิดสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด คนกรุงเทพฯ เจอปัญหาขาดแคลนอาหาร ทั้งที่การปลูกผักสวนครัวในรั้วบ้านเป็นเรื่องที่ทำได้เองไม่ยากนัก เวลาเดียวกัน แม้มีผู้ประกอบการร้านอาหารมากมาย แต่ใช่ว่าทุกคนสามารถจับจ่ายได้ทุกวันและส่วนใหญ่มีราคาสูงมากกว่าผักผลไม้ตามตลาดสดทั่วไป ที่สำคัญ การเลือกซื้อผักปลอดสาร 100% ยังเป็นเรื่องยากในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ร้านอาหารกลุ่มเกษตรอินทรีย์หลายแบรนด์สามารถเจาะตลาดกลุ่มคนกำลังซื้อสูง มีการออกเมนูหลากหลายรูปแบบ และทำยอดขายได้มากมาย อย่าง OHKAJHU (โอ้กะจู๋)  Salad Factory (สลัด แฟคตอรี่) Jones’

Read More

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อีกก้าวของการสนับสนุนวงการศิลปะ

เราอาจจะคุ้นเคยกับชื่อของ “กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร” ในบทบาทของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาและผู้บริหารในองค์กรใหญ่ๆ ทั้งประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง กอบกาญจน์ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการสนับสนุนวงการศิลปะของเมืองไทย ทั้งโดยความชื่นชอบส่วนตัวและการสนับสนุนผ่านโครงการศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ของโตชิบา ไทยแลนด์ ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2532 สำหรับบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2512 โดย ดร. กร และท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ โดยเป็นการร่วมทุนกับบริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ 20 ในไทย โตชิบา ไทยแลนด์ จึงได้ริเริ่มจัดการประกวดศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคม โดยใช้

Read More